๑. การทำบัตรประจำตัวประชาชน กฎหมายกำหนดว่า ผู้ที่จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
๑) เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย
๒) มีอายุ ๑๕ ปี บริบูรณ์ขึ้นไป จนถึงอายุ ๗๐ ปี บริบูรณ์
๓) มีภูมิลำเนาหรือชื่อในทะเบียนบ้านในท้องที่ที่ไปยื่นคำร้องขอมีบัตร
๑) เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย
๒) มีอายุ ๑๕ ปี บริบูรณ์ขึ้นไป จนถึงอายุ ๗๐ ปี บริบูรณ์
๓) มีภูมิลำเนาหรือชื่อในทะเบียนบ้านในท้องที่ที่ไปยื่นคำร้องขอมีบัตร
๒. กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดว่า
๑) บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
๒) บุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สังคมการสื่อสารและการเรียนรู้ หรือร่างกายพิการทุพพลภาพ หรือบุคคลไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือผู้ด้อยโอกาส จะมีสิทธิและมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือทางการศึกษาตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดว่า
๑) บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
๒) บุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สังคมการสื่อสารและการเรียนรู้ หรือร่างกายพิการทุพพลภาพ หรือบุคคลไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือผู้ด้อยโอกาส จะมีสิทธิและมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือทางการศึกษาตามกฎหมาย
๓. กฎหมายทะเบียนราษฎร์
๑) การแจ้งเกิด เจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีคนเกิดภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันเกิด เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการเกิดไว้แล้วก็จะเอา ใบแจ้งการเกิด หรือสูติบัตร ให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน
๒) การแจ้งตาย เจ้าบ้านจะต้องแจ้งแก่นายทะเบียนท้องถิ่นภายใน ๒๔ ชั่วโมง หรือ ๑ วัน นับแต่เวลาตาย
๑) การแจ้งเกิด เจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีคนเกิดภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันเกิด เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการเกิดไว้แล้วก็จะเอา ใบแจ้งการเกิด หรือสูติบัตร ให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน
๒) การแจ้งตาย เจ้าบ้านจะต้องแจ้งแก่นายทะเบียนท้องถิ่นภายใน ๒๔ ชั่วโมง หรือ ๑ วัน นับแต่เวลาตาย
๔. กฎหมายจราจรทางบก เป็นกฎหมายที่ควบคุมการใช้รถ ใช้ถนน ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
๑) การปฏิบัติตามกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยาน
(๑) ขับขี่รถจักรยานในทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน
(๒) รถจักรยานที่ใช้ขับขี่ต้องมีกระดิ่งให้สัญญาณ เครื่องห้ามล้อ โคมไฟติดหน้ารถ
(๓) ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับให้ชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถหรือไหล่ทาง
(๔) ไม่ขับขี่รถจักรยานโดยประมาทเป็นที่หวาดเสียว หรือขับขี่โดยไม่จับคันบังคับ
๒) การปฏิบัติตามกฎจราจรของคนเดินเท้า
(๑) ให้คนเดินเท้าบนทางเท้าหรือไหล่ทางที่มี
(๒) ห้ามไม่ให้คนเดินเท้าข้ามถนนนอกทางม้าลาย ภายในระยะไม่เกิน ๑๐๐ เมตร
(๓) ให้คนเดินเท้าที่ต้องการข้ามถนนปฏิบัติตามไฟสัญญาณจราจร
(๔) ห้ามไม่ให้ผู้ใดเดินแถวหรือเดินเป็นขบวนแห่ในลักษณะกีดขวางจราจร ยกเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร
๑) การปฏิบัติตามกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยาน
(๑) ขับขี่รถจักรยานในทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน
(๒) รถจักรยานที่ใช้ขับขี่ต้องมีกระดิ่งให้สัญญาณ เครื่องห้ามล้อ โคมไฟติดหน้ารถ
(๓) ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับให้ชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถหรือไหล่ทาง
(๔) ไม่ขับขี่รถจักรยานโดยประมาทเป็นที่หวาดเสียว หรือขับขี่โดยไม่จับคันบังคับ
๒) การปฏิบัติตามกฎจราจรของคนเดินเท้า
(๑) ให้คนเดินเท้าบนทางเท้าหรือไหล่ทางที่มี
(๒) ห้ามไม่ให้คนเดินเท้าข้ามถนนนอกทางม้าลาย ภายในระยะไม่เกิน ๑๐๐ เมตร
(๓) ให้คนเดินเท้าที่ต้องการข้ามถนนปฏิบัติตามไฟสัญญาณจราจร
(๔) ห้ามไม่ให้ผู้ใดเดินแถวหรือเดินเป็นขบวนแห่ในลักษณะกีดขวางจราจร ยกเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก : เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.4 . พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ .
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น