๑۩۞۩๑ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล๊อกของผมครับ ๑۩۞۩๑

วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความหมายและความสำคัญของประชาคมอาเซียน

UploadImage 

ความหมายและความสำคัญของประชาคมอาเซียน
“ประชาคมอาเซียน” เป็นเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศ สมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่าง ประเทศในทุกด้าน รวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ในระดับโลกที่ส่งผลกระทบมาถึงภูมิภาคอาเซียน เช่น ภาวะโลกร้อน การก่อการร้าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเป็นประชาคมอาเซียน คือการทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็น “ครอบครัวเดียวกัน” ที่มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี โดยสมาชิกในครอบครัวมีสภาพความอยู่ที่ดี ปลอดภัย และสามารถทำมาค้าขายได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

แรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงกันที่จัดตั้งประชาคม อาเซียน อันถือเป็นการปรับปรุงตัวครั้งใหญ่และวางรากฐานของการพัฒนาของอาเซียน คือ สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ที่ทำให้อาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ เช่นโรคระบาด อาชญากรรมข้ามชาติ ภัยพิบัติธรรมชาติ และปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน และความเสี่ยงที่อาเซียนอาจจะไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจได้กับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด

ประชาคมอาเซียนถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2546 จากการที่ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” เพื่อเห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี 2558


UploadImage

ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 ประชาคมย่อย ซึ่งเปรียบเสมือนสามเสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ได้แก่
1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศใน ภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูป แบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทาง เศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน

3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
ในตอนนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการให้บรรลุการเป็นประชาคมอา เซียนภายในปีเป้าหมาย 2558 โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในช่วงปลายเดือน ก.พ.2552 นี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจะรับรองแผนงานหรือแผนกิจกรรมการจัดตั้งประชาคมการ เมืองและความมั่นคงอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

กำเนิดอาเซียนและวัตถุประสงค์การจัดตั้ง
 เมื่อวันที่ 8สิงหาคม 2510ณ วังสราญรมย์ (ที่ตั้งของกระทรวงการต่างประเทศไทย ในขณะนั้น) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ 5ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ลงนามใน “ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือในระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้ชื่อ “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้“ หรือ “อาเซียน” (ASEAN) ซึ่งเป็นตัวย่อของ Association of SouthEast Asian Nations ชื่อทางการ ในภาษาอังกฤษของอาเซียน ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ รัฐมนตรี-ต่างประเทศของทั้ง 5ประเทศได้หารือกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการจัดตั้งสมาคมอาเซียนและยก ร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ที่แหลมแท่น จังหวัดชลบุรี


UploadImage

ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
(1)ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
(2)ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
(3)เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
(4)ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
(5)ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(6)เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
และ(7)เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ


นับตั้งแต่วันก่อตั้ง อาเซียนได้พยายามแสดงบทบาทในการธำรงรักษาและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคงและความเจริญร่วมกันในภูมิภาค ตลอดจนมีวิวัฒนาการ อย่างต่อเนื่องในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก ตลอดจนพัฒนาการในเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม จนเป็นที่ประจักษ์แก่นานาประเทศ และนำไปสู่การขยายสมาชิกภาพ โดยบรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6เมื่อปี 2527เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7ในปี 2538ลาวและพม่า เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันเมื่อปี 2540และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกล่าสุดเมื่อปี 2542ทำให้ในปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10ประเทศ

ได้รู้จัก ที่มาที่ไปของประชาคมอาเซียน กันไปแล้ว ในตอนหน้า เรามาเรียนรู้ผลกระทบ ผลได้ผลเสีย ของประเทศไทยในด้านต่างๆกันบ้างนะคะ  จะได้เตรียมตัว รับมือกันได้ทันปี 2558 ค่ะ


ณัฐตินัน วรรณารักษ์
ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย


ขอขอบคุณข้อมูลจาก  กระทรวงการต่างประเทศ

http://www.mfa.go.th
http://www.enn.co.th/2308

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

ข้อความเด็ดๆ สำหรับคนรักการส่ง Messag



ท่านใดจะเอาไปใช้ก็ ไม่ว่ากันนะ แต่บางข้อความอาจไม่ค่อยสุภาพ

- เคยคิดบ้างไหม ว่าคนที่ส่ง message มาให้ทำไมถึงได้หน้าตาดีขนาดนี้
- ขอให้ฝันร้าย ควายไล่ขวิด ตูดเป็นหิด ถ้าลืมคิดถึงกัน
- คิดถึงเธอมากมาย มองอะไรก้อเป็นเธอ มองหน้าหมาเบลอ ๆ ...เอ้ย !!!! เป็นเธอได้ไง
- เชื่อไหมว่า?? ปัจจุบันควายไม่ไถนา แต่เอาเวลามาอ่าน message
- มีไว้โชว์ห้ามโทรออก
- ถ้าข้อความนี้อยู่ที่เครื่องใคร แสดงว่าคนนั้นอยู่ในใจของคนที่ส่งมา
- มองรถคิดถึงถนน มองเมฆฝนคิดถึงฟ้า มองกาแฟคิดถึงน้ำชา มองปลาร้าคิดถึงเธอ
- นกเอี้ยงต้องคู่ควายเหมือนเรากับนายต้องคู่กัน
- คิดถึง.. ห่วงใย.. อยากเจอ.. ให้เธอรู้แค่นี้ ฉันไปขี้ก่อนนะ
- ห่วงนะ ห่วงใย..ห่างไกล ห่วงหา..ห่วงนะ ห่วงว่า..ใครจะคอยหาหญ้า….ให้เธอกิน
- ดูการ์ตูนเซลเลอร์มูน ตูดใหญ่ๆ แต่เธอไม่ต้องเสียใจ ความรักที่มีให้ใหญ่กว่าตูด
- คับ a คับ b คับ c แล้วคนดีคับอะไร ส่วนผมคับอกคับใจ ทำอะไรคิดถึงแต่เธอ
- อิจฉาปรอทที่อยู่ใกล้คนไข้ ………..อิจฉาเส้นเลือดใหญ่ที่อยู่ใกล้หัวใจเธอ
- รู้ไหมว่าแคร์.....[กระป๋องเท่าไร]
- ช่วงนี้ดูสดใส ผิวพรรนเปล่งปลั่ง น่าติดต่อให้ไปลงปกหนังสือดิฉัน .. ดิฉัน...ไม่ใช่คน
- จำไว้น่ะว่า จะเป็นนกเอี้ยง คอยเลี้ยง "เจ้า" ตลอดไป
- ก่อนส่ง message คิดถึงใจแทบขาด หลังส่ง message เสียสามบาท แทบขาดใจ
- ความรักเหมือนขี้ลอยน้ำ ปลาไม่ตอดขี้ไม่แตก เราไม่แยกจากกัน
- รักและคิดถึง…………..พูดจากปาก……………..แต่ออกจากใจจริงน่ะ
- ขอหอมหน่อยนะ...นะ นิดเดียวเอง...นะ จะเอาไปทำซุป
- ฟ้ามีดาว ลาวมีข้าวเหนียว รักกันแน่นเหนียว เหมือนข้าวเหนียวในมือลาว
- ในป่ายังมีผี เธอคนดียังมีฉัน หากวันใดเธอลืมกัน ขอให้ผีในป่านั้นหลอกหลอนเธอ
- ตำรวจกำลังตามจับคนน่ารักอยู่ เธอคงปลอดภัย แต่ฉันล่ะจะหลบที่ไหนดี
- ขอให้สวย ขอให้มีคนมารุมจีบ ขอให้มีแฟนเยอะๆ ……………….โอมเพี้ยง! พรเสื่อมเมื่ออ่านจบ
- แหม! ใจง่ายจัง ……….แค่เสียง message ดัง …………………ก็ต้องเปิดอ่านด้วย
- เป็นห่วงนะ ……………คิดถึงมาก ………………….โธ่เว้ย! ++ส่งผิดเบอร์อีกแหละ
- อย่าแปลกใจ...ถ้าใครๆ...ก็ชมว่า...เธอน่ารัก...................ตอแหลทั้ง นั้น
- หายใจเข้าก็เป็นเธอ หายใจออกก็เป็นเธอ เฮ้อ!ทำไมโลกนี้มีเชื้อโรคเยอะจัง
- สระอิอยู่บนหลังเจ้าควายน้อย เด็กตัวจ๋อยถือถุงเดินตามหลัง สระอึมีงูน้อยน่ารักจัง อยากบอกดัง ๆๆ ว่า คิดถึงเธอ
- ห้ามไม่ได้...ก็หัวใจมันคิดถึง ไม่ต้องยิ้มไม่ใช่คุณพี่ ……คิดถึงหมา

ขำขำนะครับ

ลักษณะเด่นของวรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนต้น


ลักษณะเด่นของวรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนต้น 


เอกสารที่เกี่ยวข้อง

เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ลักษณะเด่นของวรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนต้น ตอนกลาง ตอนปลาย และสมัยกรุงธนบุรี  ทางคณะผู้จัดทำโครงงานนี้จึงได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
เนื่องจากการแต่งวรรณคดี มักจะมีส่วนสัมพันธ์กัน ประวัติศาสตร์และสภาพสังคมในยุคสมัยนั้น ๆ เพราะฉะนั้นการอ่านวรรณคดีให้ได้คุณค่าอย่างแท้จริง จำเป็นจะต้องเรียนประวัติวรรณคดีประกอบด้วย ซึ่งต้องพิจารณาถึงประเด็นสำคัญของวรรณคดี ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑.ผู้แต่งรวมถึงชีวประวัติและผลงานสำคัญ
๒.ที่มาของเรื่อง ได้แก่ เรื่องที่เป็นต้นเค้า อาจจะได้รับอิทธิพลภายในประเทศ หรือที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ
๓.ความมุ่งหมายที่แต่ง ได้แก่ ความบันดาลใจหรือความมุ่งหมายของผู้แต่งในการแต่งวรรณคดีนั้นๆ
๔.วิวัฒนาการและความสัมพันธ์ต่อเนื่องระหว่างวรรณคดีแต่ละสมัย
๕.สภาพสังคมในสมัยที่แต่ง ซึ่งได้แก่ วัฒนธรรม สภาพสังคม และเหตุการณ์ของบ้านเมืองในระยะเวลาที่แต่ง
๖ . อิทธิพลที่วรรณคดีมีต่อสังคมทั้งในสมัยที่แต่งและในสมัยต่อมา
ดร. สิทธา พินิจภูวดล กล่าวไว้ในหนังสือความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย ถึงเรื่องการศึกษาวรรณคดีในแนวประวัติ มีดังนี้
๑ . เพื่อให้ทราบต้นกำเนิดของวรรณคดีว่า วรรณคดีแต่ละเล่มเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดในสมัยใด และวรรณคดีอื่น ๆ ในสมัยนั้นมีลักษณะที่เกิดขึ้นมาอย่างเดียวกันหรือไม่
๒ .เพื่อให้ทราบวิวัฒนาการของสติปัญญาของชาติ พลังปัญญาของบุคคลในชาติ จะแสดงออกมาในรูปของศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งวรรณกรรมด้วย คนจะแสดงพลังปัญญาในการนำเรื่องราวทางการเมือง การทหาร การรบพุ่งปราบปรามศัตรู และอื่น ๆ มาเรียบเรียงร้อยกรองเป็นบทเพลงหรือบทประพันธ์ แทนการเล่าเรื่องอย่างธรรมดาๆ คนที่มีความสามารถจะหาทางออกในแนวแปลกงดงามและมีผลดี วรรณคดีที่มีแนวต่างๆ กันเป็นผลของการแสดงพลัง ปัญญาของบุคคลในชาติ
๓. เพื่อให้รู้จักเหตุการณ์ที่มีอิทธิพลต่อวรรณคดี วรรณคดีเป็นผลงานกวี กวีในแต่ละยุคแต่ละสมัยย่อมมีชีวิตความเป็นอยู่ต่างกัน มีแนวคิดต่างกัน มีเหตุการณ์ในยุคสมัยของตนแตกต่างกันไปด้วย เช่น คนไทยในยุคสุโขทัยระยะหลังได้รับความร่วมเย็นเป็นสุขอย่างเต็มที่ เอาใจใส่ในศาสนาและวรรณกรรม ศิลาจารึกในยุคนั้นจึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนามาก เหตุการณ์ต่าง ๆ ในบ้านเมืองหรือ ในสังคมย่อมสัมพันธ์กับเรื่องราวในวรรณคดี การศึกษาประวัติวรรณคดี จะทำให้เข้าใจ ตัววรรณคดี ชัดเจนยิ่งขึ้น และเข้าใจกวีว่าเหตุใดจึงแต่งวรรณคดีชนิดนั้น เช่น เหตุใดวรรณกรรมไทยในยุคปลายสุโขทัย จึงเป็นแต่ประเภท วรรณกรรมศาสนาเท่านั้น เป็นต้น
๔. เพื่อให้รู้จักผู้แต่งวรรณคดี ว่ากวีคือใคร มีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร อะไรเป็นเหตุทำให้เขาแต่งเรื่องเช่นนั้น เช่น เราต้องการทราบประวัติชีวิตของสุนทรภู่ พยายามสืบค้นว่าสุนทรภู่มีบิดามารดา ชื่ออะไร อาชีพอะไร เกิดที่เมืองไหน ครอบครัวของสุนทรภู่มีใครบ้าง อะไรทำให้สุนทรภู่เขียนลงไปว่า อนิจจาตัวเราก็เท่านี้ ไม่มีที่พสุธาจะอาศัย…… สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้ผู้ศึกษาวรรณคดีรู้จักวรรณคดีลึกซึ้งขึ้นทั้งสิ้น ในบางยุคสมัยผู้แต่งวรรณคดีจะเป็นคนในราชสำนักเป็นส่วนมาก ดังที่ปรากฏอยู่ในยุคสุโขทัยเรื่อยลงมาจนถึงอยุธยา และต่อมาจนถึงยุคต้นรัตนโกสินทร์ ประวัติวรรณคดีจะทำให้เราเข้าใจแนวสร้างวรรณคดีของเรา นับแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงราชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วรรณคดีไทยมีลักษณะเป็นแบบฉบับที่ยึดถือสืบต่อกันมา ในรัชกาลที่ ๔ คนไทยเริ่มมีความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก วิถีชีวิตจึงเปลี่ยนไปรวมถึงลักษณะของวรรณคดีของคนไทย เริ่มค้นเปลี่ยนแลงและทวีมากขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ จนถึงปัจจุบัน

วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น 
กรุงศรีอยุธยามีอายุยาวนานถึง ๔๑๗ ปี   ช่วงเวลาที่บ้านเมืองรุ่งเรืองในด้านต่าง ๆ พอที่จะเป็นปัจจัยให้เกิดวรรณคดีอยู่เฉพาะ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาต้อนต้น บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าทั้งในด้านการปกครอง การทหาร ศาสนาและศิลปกรรมในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  ทางวรรณคดีปรากหลักฐานชัดเจนว่า แต่งมหาชาติคำหลวงเมื่อ พ.ศ.๒๐๒๕ ตรงกับรัชกาลสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถส่วนลิลิตยวนพ่าย  ก็แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์พระองค์นี้จึงอาจแต่งในรัชกาลของพระองค์ หรือภายหลังเพียงเล็กน้อย คือ รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒
          นอกจากนี้วรรณคดีสำคัญเรื่องอื่น ๆ เช่น ลิลิตพระลอ โคลงกำสรวล โคลงทวาทศมาศและโคลงหริภุญชัย เมื่อพิจารณาถึงลักษณะคำประพันธ์ และถ้อยคำที่ใช้ก็น่าเกิดสมัยร่วมหรือระยะเวลาใกล้เคียงกับมหาชาติคำหลวง และลิลิตยวนพ่ายหลังจากรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ บ้านเมืองไม่สงบสุขเนื่องจากการทำสงครามกับข้าศึกภายนอกและแตกสามัคคีภายใน เป็นเหตุให้วรรณคดีว่างเว้นไปเป็นเวลาประมาณหนึ่งศตวรรษ วรรณคดีเรื่องแรกที่ปรากฏหลักฐานหลังรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ คือ กาพย์มหาชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๑๗๐ ต่อจากนั้นประมาณ ๓๐ ปี บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองสามารถเป็นรากฐานให้เกิดวรรณคดีได้อีกระยะเวลาหนึ่ง ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
          ลักษณะวรรณคดีในสมัยอยุธยาวรรณคดีสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่มีเรื่อง เกี่ยวกับศาสนาพิธีกรรมและพระมหากษัตริย์ จึงมีเนื้อเรื่องคล้ายวรรณคดีสุโขทัยส่วนลักษณะการแต่งต่างกับวรรณคดี สุโขทัยเป็นอย่างมากวรรณคดีในสมัยนี้แต่งด้วยร้อยกรอง ทั้งสิ้นคำประพันธ์ที่ใช้เกือบทุกชนิด คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ ขาดแต่กลอนส่วนใหญ่แต่งเป็นลิลิต คำบาลี สันสกฤตและเขมรเข้ามาปะปนในคำไทยมากขึ้น
          สุจิตต์ วงษ์เทศและนิธิ เอียวศรีวงษ์ได้สรุปภาพรวมของวรรณกรรมอยุธยากล่าวคือ "วรรณกรรมสมัยตำราที่เขียนเป็นวรรณกรรมของมูลนายผูกพันอยู่กับตำรับตำราที่ เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรภายใต้อิทธิพลของต่างประเทศเช่น บาลี สันสกฤต มอญ เขมรเนื่องจากอดีตของมูลนายผูกพันกับพงศาวดาร วรรณกรรมอยุธยาจึงแวดล้อมด้วยกษัตริย์ หรือเทพเจ้าที่สัมพันธ์ทางใดทางหนึ่งกับกษัตริย์" (สุจิตต์ วงษ์เทศ, ๒๕๔๖: ๒๕๓)

สรุปวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น 
           ศาสตราจารย์คุณหญิงกุลาบ มัลลิกามาส (๒๕๔๒ : ๖๔ ๖๕) ได้สรุปรูปแบบและลักษณะของวรรณกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นได้ดังนี้
          ๑.     จำนวนวรรณคดีมี ๔ เรื่อง คือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ ลิลิตยวนพ่าย มหาชาติคำหลวง ลิลิตพระลอ(หรืออาจเป็น ๗ เรื่องโดยเข้าใจว่ามีวรรณคดีอื่นในสมัยนี้ อีก ๓ เรื่อง คือ โคลงกำสรวล โคลงทวาทศมาศ และโคลงหริภุญไชย)
          ๒.   ลักษณะการแต่งเป็นร้องกรองทั้งหมด โดยแยกเป็นลิลิต ๓ เรื่อง คำหลวง ๑ เรื่อง และนิราศ ๓ เรื่อง ซึ่งในสมัยนี้กวีจะนิยมแต่งคำประพันธ์ประเภทลิลิต (โครงกับร่าย) ร่ายดั้น และโครงดั้นมากที่สุด
          ๓.   เนื้อเรื่องแบ่งเป็น ๔ ประเภท คือบทประกอบพิธี ได้แก่โองการแช่งน้ำ บทสดุดีและเล่าเรื่อง ได้แก่ ลิลิตยวนพ่าย, ศาสนา ได้มหาชาติตำหลวง และบันเทิงได้ลิลิตพระลอ
          ๔.   ผู้แต่คือพระมหากษัตริย์ ชนชั้นสูงที่มีการศึกษา หรือบุคคลในราชสำนัก และไม่ปรากฎชื่อผู้แต่งชัดเจน
          ๕.   เป็นสมัยที่เริ่มมีวรรณคดีเพื่อการบันเทิงใจเป็นเรื่องแรกในสมัยอยุธยาตอนต้น คือ ลิลิตพระลอ

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น(พ.ศ.๑๘๙๓-๒๐๗๒)

ลักษณะวรรณคดี
วรรณคดี สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่มีเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรมและพระมหากษัตริย์จึงมีเนื้อหาคล้ายวรรณคดีสมัยสุโขทัย ส่วนลักษณะการแต่งต่างกับวรรณคดีสุโขทัยเป็นอย่างมาก วรรณคดีในสมัยนี้แต่งด้วยร้อยกรองทั้งสิ้น คำประพันธ์ที่ใช้มีเกือบทุกชนิด คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ ขาดแต่กลอน ส่วนใหญ่แต่งเป็นลิลิต คำบาลี สันสกฤต และเขมรเข้ามาปะปนในคำไทยมากขึ้นวรรณคดีสำคัญในสมัยนี้ได้แก่ ลิลิตโองการแช่งน้ำ ลิลิตยวนพ่ายและมหาชาติคำหลวง

ลิลิตโองการแช่งน้ำ
โองการ แช่งน้ำนั้น เรียกด้วยชื่อต่างๆ กัน กล่าวคือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ (ใช้ในตำราหรือแบบเรียน), โองการแช่งน้ำ, ประกาศแช่งน้ำโคลงห้า หรือ โองการแช่งน้ำพระพิพัฒนสัตยา อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ ล้วนแต่หมายถึงวรรณคดีเล่มเดียวกันนี้ สำหรับใช้อ่านเมื่อมีพิธีถือน้ำกระทำสัตย์สาบานต่อพระมหากษัตริย์เนื้อหาใน ลิลิตโองการแช่งน้ำอาจแบ่งได้เป็น 5 ส่วนด้วยกัน ดังนี้ -สดุดีเทพเจ้าทั้ง 3 องค์ ตามความเชื่อของฮินดู ได้แก่ พระผู้ประทับเหนือหลังครุฑ "สี่มือถือสังข์จักรคธาธรณี"(พระนารายณ์) พระผู้ประทับบนวัวเผือก "เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทรเปนปิ่น" (พระศิวะ) และผู้ประทับ "เหนือขุนห่าน" (พระพรหม) เป็นร่ายสามบทสั้นๆ กล่าวถึงกำเนิดโลก และสังคมมนุษย์ อัญเชิญเทพยดา พระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผีต่างๆ มาเป็นพยาน ทั้งหมดนี้พรรณนาด้วยโคลงห้า -คำสาปแช่งผู้ทรยศ คิดไม่ซื่อต่อเจ้าแผ่นดิน ให้ประสบภยันตรายนานา ทั้งหมดนี้พรรณนาด้วยโคลงห้า เป็นเนื้อหาที่ยาวที่สุดในบรรดา 5 ส่วน -คำอวยพรแก่ผู้จงรักภักดีแก่ผู้ที่มีความจงรักภักดี มีเนื้อหาสั้นๆ ถวายพระพรเจ้าแผ่นดิน เป็นร่ายสั้นๆ  เพียง        6     วรรค

ลิลิตยวนพ่าย
ลิลิต ยวนพ่ายเป็นกวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สันนิษฐานว่า แต่งในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (ประมาณ พ.ศ. ๒๐๓๔ - ๒๐๗๒) พระราชโอรสของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เนื้อเรื่องกล่าวถึงพระราชประวัติของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตั้งแต่ประสูติจนถึงการขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ณ กรุงศรีอยุธยา เล่าถึงพระปรีชาสามารถในด้านการปกครอง การทหาร และการศาสนา จุดสำคัญที่สุดของเนื้อเรื่องคือ การทำสงครามกับยวนหรือเชียงใหม่ ซึ่งยกทัพมาตีหัวเมืองทางเหนือจนตีสุโขทัยได้ แล้วยกทัพต่อลงมาจะตีพิษณุโลก และกำแพงเพชร ดังนั้น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงยกทัพไปปราบหลายครั้ง กว่าจะได้รับชัยชนะ กวีนิพนธ์ลิลิตยวนพ่าย แต่งด้วยรูปแบบคำประพันธ์ ร่ายดั้นและโคลงดั้นบาทกุญชร ใช้ภาษาที่ประณีตงดงาม ศัพท์สูงส่งวิจิตร เต็มไปด้วยชั้นเชิงสูงด้านการใช้ภาษา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึงลิลิตยวนพ่ายว่า "นับว่าเป็นหนังสือที่แต่งดีอย่างเอกในภาษา ไทยเรื่องหนึ่ง เป็นพงศาวดารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อครั้งพระเจ้าติโลกราช (กษัตริย์) เมืองเชียงใหม่ลงมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ (สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) ทรงพยายามทำสงครามจนมีชัยชนะ เอาหัวเมืองฝ่ายเหนือเหล่านั้นคืนมาได้จึงเรียกว่า”ยวนพ่าย"

มหาชาติคำหลวง
มหาชาติ คำหลวง เป็นวรรณคดีเล่มแรกที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ประชุมปราชญ์ราชบัณฑิต ให้ช่วยกันแต่งขึ้นเมื่อปีขาล พ.ศ. 2025 เป็นหนังสือที่แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ว่า ได้ทรงบำเพ็ญบารมีขั้นสูงสุด คือ ปรมัตถบารมี 10 ประการ คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี สัจจบารมี ขันติบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี และอธิษฐานบารมี โดยการบำเพ็ญบารมีที่ยากยิ่งก็คือทานบารมีนั่นเอง และเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่กล่าวเป็นทานบารมีที่ยิ่งใหญ่ เพราะเป็นการบริจาคบุตรและภรรยา ซึ่งเป็นการยากหาผู้จะทำได้ พระองค์ทรงบริจาคทานทุกอย่างด้วยและภรรยา ซึ่งเป็นการยากหาผู้จะทำได้ พระองค์ทรงบริจาคทานทุกอย่างด้วยศรัทธาแรงกล้า จึงนับเป็นวรรณคดีเกี่ยวกับพุทธศาสนาประเภทชาดก ที่แทรกศาสนธรรมคำสั่งสอนทางพุทธศาสนาไว้โดยเฉพาะ มหาชาติคำหลวง ซึ่งได้กล่าวแล้วว่า ฉบับเดิมเป็นภาษามคธแต่งเป็นปัฐยาวัตรฉันท์ มีจำนวน ๑,๐๐๐  บท  หรือพันคาถาด้วยกัน
มหาชาติคำหลวงทำให้เกิดการเทศน์มหาชาติ ซึ่งสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมได้ทรงพระราชนิพนธ์กาพย์มหาชาติเพื่อใช้เทศน์ มหาชาติจนเป็นประเพณีสืบต่อมาจนทุกวันนี้

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๐๗๒)
ลักษณะวรรณคดีวรรณคดีสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่มีเรื่องเกี่ยวกับ ศาสนา พิธีกรรมและพระมหากษัตริย์จึงมีเนื้อหาคล้ายวรรณคดีสมัยสุโขทัย ส่วนลักษณะการแต่งต่างกับวรรณคดีสุโขทัยเป็นอย่างมาก วรรณคดีในสมัยนี้แต่งด้วยร้อยกรองทั้งสิ้น คำประพันธ์ที่ใช้มีเกือบทุกชนิด คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ ขาดแต่กลอน ส่วนใหญ่แต่งเป็นลิลิต คำบาลี สันสกฤต และเขมรเข้ามาปะปนในคำไทยมากขึ้นวรรณคดีสำคัญในสมัยนี้ได้แก่

ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และความเคลื่อนไหวทางวรรณคดี
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงตั้งกรุงศรีอยุธยา ๑๘๙๓ แต่งลิลิตโองการแช่งน้ำ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตีได้เมืองเชียงชื่น ( เชลียง ) ๒๐๑๗ แต่งลิลิตยวนพ่าย
(สันนิษฐาน)
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ฉลองวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ( ที่พิษณุโลก ) ๒๐๒๕ แต่งมหาชาติคำหลวงแต่งลิลิตพระลอ     (สันนิษฐาน)
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ซึ่งเป็นพระราชโอรสขึ้นครองราชย์ ๒๐๓๑ แต่งโคลงทวาทศมาส (สันนิษฐาน)
สมเด็จ พระรามาธิบดีที่ ๒ ซึ่งเป็นพระราชอนุชาขึ้นครองราชย์ ๒๐๓๔ แต่งลิลิตยวนพ่าย (สันนิษฐาน)         แต่งโคลงกำสรวล           (สันนิษฐาน)     แต่งลิลิตพระลอ
(สันนิษฐาน) ๒๐๖๐ แต่งโคลงหริภุญชัย ( สันนิษฐาน ) ๒๐๖๑ แต่งตำราพิชัยสงคราม

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ. ๒๑๖๓ - พ.ศ. ๒๒๓๑)
กวีและวรรณคดีสำคัญสมัยอยุธยาตอนกลางสมัยนี้ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของวรรณคดี ซึ่งมีกวีและวรรณคดีเกิดขึ้นมากมาย คือ
๑ . สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ( พ.ศ. ๒๑๖๓ - ๒๑๗๑ ) หนังสือที่ทรงพระราชนิพนธ์ คือกาพย์มหาชาติ
๒ . สมเด็จพระรานายณ์มหาราช ( พ.ศ.๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ ) หนังสือที่ทรงพระราชนิพนธ์ คือ
๒.๑.สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนกลาง
๒.๒.โคลงสุภาษิตพาลีสอนน้องทศรสอนพระรามราชสวัสดิ์
๒.๓.คำฉันท์กล่อมช้างเข้าใจกันว่าสมเด็จพระนารายณ์ฯทรงพระราชนิพนธ์
๒.๔ . เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา แต่บางคนกล่าวว่าขุนหลวงสรศักดิ์ ( พระศรีสรรเพชญ์ที่๘)ทรงพระราชนิพธ์
๓.พระมหาราชครูหนังสือที่แต่งคือ
๓.๑.สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนต้น
๓.๒.เสือโคคำฉันท์
๔.พระโหราธิบดีหนังสือที่แต่งคือ
๔.๑.จินดามณี
๔.๒.พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ
๕.พระศรีมโหสถหนังสือที่แต่งคือ
๕.๑.โคลงอักษรสามหมู่
๕.๒.โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช
๕.๓.กาพย์ห่อโคลง
๖.ศรีปราชญ์หนังสือที่แต่งคือ
๖.๑.อนิรุทธคำฉันท์
๖.๒.โคลงกำสรวล
๖.๓.โคลงเบ็ดเตล็ดอื่นๆ
๗.ขุนเทพกวีหนังสือที่แต่งคือคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง
๘.หนังสือที่ไม่ปรากฏนามผู้แต่งคือ
๘.๑.ลิลิตพระลอ
๘.๒ . โคลงนิราศหริภุญชัย

ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ความเคลื่อนไหวทางวรรณคดี
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงพระราชนิพนธ์กาพย์มหาชาติ ( พ.ศ. ๒๑๗๐ )
สมเด็จ พระเจ้าปราสาททองขึ้นครองราชย์ พระเจ้าลูกยาเธอฝ่ายในสิ้นพระชนม์ พบเนื้อในพระศพเผาไม่ไหม้ เชื่อกันว่า ต้อนคุณมีการทำลายตำราไสยศาสตร์เพราะเกรงต้องโทษ ( พ.ศ. ๒๑๗๓ ) วรรณคดีสำคัญ ๆ อาจถูกทำลายไปพร้อมกับตำราไสยศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จสวรรคต ๒๑๙๘
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชขึ้นครองราชย์ ๒๑๙๙ พระมหาราชครูแต่งเสือโคคำฉันท์
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีพระชนมายุ ครบเบญจเพส ๒๑๙๙ พระมหาราชครูแต่งสมุทรโฆษ คำฉันท์ (ตอนต้น)
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ สมุทรโฆษคำฉั นท์ ต่อจากพระมหาราชครู
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ โคลงพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระรามโคลงราชสวัสดิ์
พุทธศักราช      ๒๒๐๐ ภิกษุชาวเชียงใหม่แต่งปัญญาสชาดก
พุทธศักราช      ๒๒๐๑ พระศรีมโหสถแต่งโคลงนิราศนครสวรรค์
สมเด็จ พระนารายมหาราชเสด็จประพาส เมืองนครสวรรค์ทางชลมารค ( พ.ศ. ๒๒๐๑ ) ได้ช้างเผือกมาจากเมืองนครสวรรค์พระราชทานนามว่า เจ้าพระยาบรมคเชนทรฉันทันต์ ๒๒๐๓ ขุนเทพกวีแต่งฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง            (สันนิษฐาน)
พระศรีมหโหสถ           แต่งโคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระโหราธิบดีแต่งจินดามณี
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้รวบรวมจดหมายเหตุต่าง ๆ รวมถึงพระราชพงศาวดารของพระโหราธิบดี
พุทธศักราช      ๒๒๒๓               พระโหราธิบดีแต่งพระราชพงศาวดาร          กรุงศรีอยุธยา
ศรีปราชญ์แต่งอนุรุทธ์คำฉันท์และโคลงเบ็ดเตล็ด
พระศรีโหสถแต่งกาพย์ห่อโคลงและโคลงอักษรสาม
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ. ๒๒๗๕ - พ.ศ. ๒๓๑๐)
กวีและวรรณคดีสำคัญสมัยอยุธยาตอนปลาย
๑.พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศงานที่ทรงพระราชนิพนธ์คือโคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์
๒.เจ้าฟ้าอภัยงานที่ทรงนิพนธ์คือโคลงนิราศ
๓.เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรงานที่ทรงนิพนธ์คือ
๓.๑นันโทปนันทสูตรคำหลวง
๓.๒พระมาลัยคำหลวง
๓.๓กาพย์เห่เรือ
๓.๔กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
๓.๕กาพย์ห่อโคลงนิราศ
๓.๖บทเห่เรื่องกากีเห่สังวาสเห่ครวญและเพลงยาว
๔.เจ้าฟ้ากุณฑลงานที่ทรงนิพนธ์คือดาหลัง(อิเหนาใหญ่)
๕.เจ้าฟ้ามงกุฎงานที่ทรงนิพนธ์คืออิเหนา(อิเหนาเล็ก)
๖.พระมหานาควัดท่าทรายงานที่แต่งคือ
๖.๑.ปุณโณวาทคำฉันท์
๖.๒.โคลงนิราศพระบาท
๗ . หลวงศรีปรีชา ( เซ่ง ) งานที่แต่ง คือ กลบทสิริวิบุลกิติ

วรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี
สมัยกรุงธนบุรี บ้านเมืองอยู่ในระยะบูรณะประเทศ บ้านเมืองไม่สงบสุข นักปราชญ์ราชบัณฑิตที่มีชีวิตหลงเหลือมาจากกรุงเก่ามีไม่มากนัก นอกจากนั้นอยู่ตามหัวเมืองก็พอที่จะรวบรวมกันมาได้ช่วยราชการงานศิลป วัฒนธรรม วรรณกรรมและวรรณคดีต่างๆเท่าที่พอจะมีเวลากระทำได้ หลังจากรบทัพจับศึก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงพยายามทำนุบำรุงบ้านเมือง ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ เท่าที่จะทำได้ คำกล่าวที่ว่า "คนไทยรบพม่าไป แต่งรามเกียรติ์ไป" ก็น่าจะมีเหตุผลดี เพราะพระมหากษัตริย์ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ไว้ถึง ๔ ตอน
วรรณกรรมและวรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะคงสภาพมากกว่าที่จะเป็นงานสร้างสรรค์ให้มีความดีเด่น แนวโน้นของการแต่ง แต่งเพื่อปลุกใจให้ใจรักชาติบ้านเมืองและปลุกปลอบใจให้คลายจากความหวาดกลัว ภัยสงคราม นิยมแต่งเป็นร้อยกรอง จำนวนกวีมีน้อยเกินไป แต่ก็เหมาะสมกับเวลา วรรณคดีสมัยกรุงธนบุรีมีดังนี้
๑.รามเกียรติ์ ฉบับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มี ๔ ตอน คือ ตอนพระมงกุฎ หนุมานเกี้ยวนางวานริน ท้าวมาลีวราชว่าความ และทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกลดปลุกหอกกบิลพัทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้ากรุง ธนบุรี ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกลอนบทละคร เพื่อใช้เล่นละคร และเพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม
๒.ลิลิตเพชรมงกุฎประพันธ์โดย หลวงสรวิชิต (หน)ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทลิลิตเพื่อเล่านิทาน
๓.อิเหนาคำฉันท์ ประพันธ์โดย หลวงสรวิชิต (หน)ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทฉันท์เพื่อแต่งนิทานคำฉันท์
๔.โคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีประพันธ์โดย นายสวน มหาดเล็กใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพเพื่อยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี
๕.นิราศกวางตุ้ง ของพระยามหานุภาพประพันธ์โดย พระยามหานุภาพใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกลอนเพลงเพื่อบันทึกการเดินทาง
๖.กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ประพันธ์โดย พระภิกษุอินท์ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทฉันท์เพื่อสั่งสอนสตรี

ลักษณะเด่นของวรรณคดีไทย   จำแนกเป็นข้อๆ ได้ ดังนี้
1. นิยมด้วยคำประพันธ์ร้อยกรองมากกว่าร้อย แก้ว
 2. เน้นความประณีตของคำและสำนวนโวหาร ภาษาที่ใช้ในวรรณคดีไม่เหมือนภาษาพูดทั่วไป คือ เป็นภาษาที่มีการเลือกใช้ถ้อยคำตกแต่งถ้อยคำให้หรูหรา
3. เน้นการแสดงความรู้สึกที่สะเทือนอารมณ์จาการรำพันความรู้สึก ตัวละครในเรื่องจะรำพันความรู้สึกต่างๆ เช่น รัก เศร้า โกรธ ฯลฯ
4. มีขนบการแต่ง กล่าวคือ มีวิธีแต่งที่นิยมปฏิบัติแนวเดียวกันมาแต่โบราณ ได้แก่ ขึ้นต้นเรื่องด้วยการกล่าวคำไหว้ครู คือ ไหว้เทวดา ไหว้พระรัตนตรัย ไหว้ครูบาอาจารย์ สรรเสริญพระเกียรติคุณของพระหมากษัตริย์ หรือกล่าวชมบ้านเมือง

วรรณคดีมีประโยชน์ดังนี้
การเรียนวรรณคดีทำให้เราได้ศึกษาสิ่งต่างๆ หลายแง่มุมจากสิ่งที่เราอ่าน ได้สัมผัสเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย   โดยผ่านทางกวี สภาพสังคม วัฒนธรรม ศึกษาลักษณะคำประพันธ์ที่กวีใช้ สิ่งเหล่านี้ทำให้เรามีประสบการณ์มากขึ้น                      
๑ . วรรณคดีช่วยให้ความรู้หลายด้านที่จะช่วยสร้างเสริมสติปัญญาให้แก่ผู้อ่าน เช่นทางด้านภาษาจะทำให้ผู้อ่านมี ความรู้ด้านความหมายของคำ การใช้ภาษาของแต่ละยุคสมัย แต่ละภาค แบบแผนของฉันทลักษณ์แต่ละประเภท ทางด้าน ประวัติศาสตร์ พงศาวดาร ตำนาน นิทาน เรื่องราวพื้นเมืองต่างๆ
๒ . วรรณคดีให้คุณค่าทางอารมณ์ต่างๆ เพราะวรรณคดีเป็นเรื่องศิลปะของการถ่ายทอดความรู้สึกและอารมณ์ด้วยวิธี ร้อยกรองถ้อยคำที่มีชีวิตจิตใจ ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตาม ได้รับรสสุนทรียภาพของวรรณคดี
๓ . วรรณคดีจะช่วยสะท้อนภาพสังคม สภาพชีวิต วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ และค่านิยมต่างๆ กวีจะสอดแทรกอยู่ในวรรณคดีทั้งสิ้น
๔ . วรรณคดีช่วยขัดเกลาจิตใจและยกระดับจิตใจของผู้อ่านให้สูงขึ้น  ช่วยจรรโลงจิตใจ  ทำให้มนุษย์เห็นตัวอย่างของ ความทุกข์ ความสุข และปัญหาชีวิตต่างๆ  ทำให้ผู้อ่านมองชีวิต ด้วยความเข้าใจมากขึ้น  และวรรณคดีจะช่วยสอดแทรกธรรม  ผ่านตัวอักษร  เป็นการสอนใจผู้อ่านด้วย