ปรัชญาการศึกษาไทยมีผู้ให้แนวคิดสำคัญๆคือ
1.ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพุทธธรรม โดย พระธรรมปิฎก(ประยุทธ์ ปยุตโต) สรุปได้ว่าการศึกษามีวัตุประสงค์เพื่อทำให้ชีวิตเข้าถึงอิสรภาพคือ ทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำของปัจจัยแวดล้อมภายนอกให้มากที่สุด และมีความเป็นใหญ่ในตัว ในการที่จะกำหนดความเป็นอยู่ของตนให้ได้มากที่สุด พระราชวรมุนี (ประยุตธ์ ปยุตโต) ได้กล่าวว่า การศึกษาจึงเป็นกิจกรรมของชีวิตโดยชีวิตและเพื่อชีวิต บนฐานความคิดข้างต้นกระบวนการศึกษาจึงควรประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1.การมีความรู้ ความเข้าใจในสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงสามารถฝึกอบรบและพัฒนาได้โดยใช้ไตรสิกขา 1 ศีล การประพฤติปฏิบัติถูกต้อง 2 สมาธิ การวางใจแน่วแน่ 3 ปัญญา การเห็นทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมและถูกต้อง
2.การปรับตัวเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการดำรงอยู่
3.การรู้จักและเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันของตนกับสิ่งแวดล้อม
ความสัมพันธ์ของปราชญ์การศึกษากับการสอน
“ปรัชญา”มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525ว่าเป็น วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง ปรัชญาการศึกษากับทฤษฎีการศึกษาไว้ว่าปรัชญาการศึกษาเป็นเรื่องของความคิดหรือระบบของความคิดที่เกี่ยวกับการศึกษาที่ตั้งไว้บนรากฐานของปรัชญาแม่บทอันใดอันหนึ่งไม่ใช่เป็นความคิดแบบล่องลอยแต่ต้องเป็นความคิดที่แตกหน่อออกมาจากปรัชญาแม่บทอันใดอันหนึ่ง ถ้าไม่ได้แตกหน่อออกมาจากปรัชญาแม่บทใดๆแล้ว จะเป็นเพียงหลักการศึกษาหรือทฤษฎีการศึกษา ดังนั้นปรัชญาการศึกษาจึงมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนอย่างลึกซึ้งในฐานะที่เป็นหลักหรือเหตุผลของการคิดและการกระทำต่างๆในด้านการจัดการศึกษาและการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน
1.ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพุทธธรรม โดย พระธรรมปิฎก(ประยุทธ์ ปยุตโต) สรุปได้ว่าการศึกษามีวัตุประสงค์เพื่อทำให้ชีวิตเข้าถึงอิสรภาพคือ ทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำของปัจจัยแวดล้อมภายนอกให้มากที่สุด และมีความเป็นใหญ่ในตัว ในการที่จะกำหนดความเป็นอยู่ของตนให้ได้มากที่สุด พระราชวรมุนี (ประยุตธ์ ปยุตโต) ได้กล่าวว่า การศึกษาจึงเป็นกิจกรรมของชีวิตโดยชีวิตและเพื่อชีวิต บนฐานความคิดข้างต้นกระบวนการศึกษาจึงควรประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1.การมีความรู้ ความเข้าใจในสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงสามารถฝึกอบรบและพัฒนาได้โดยใช้ไตรสิกขา 1 ศีล การประพฤติปฏิบัติถูกต้อง 2 สมาธิ การวางใจแน่วแน่ 3 ปัญญา การเห็นทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมและถูกต้อง
2.การปรับตัวเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการดำรงอยู่
3.การรู้จักและเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันของตนกับสิ่งแวดล้อม
ความสัมพันธ์ของปราชญ์การศึกษากับการสอน
“ปรัชญา”มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525ว่าเป็น วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง ปรัชญาการศึกษากับทฤษฎีการศึกษาไว้ว่าปรัชญาการศึกษาเป็นเรื่องของความคิดหรือระบบของความคิดที่เกี่ยวกับการศึกษาที่ตั้งไว้บนรากฐานของปรัชญาแม่บทอันใดอันหนึ่งไม่ใช่เป็นความคิดแบบล่องลอยแต่ต้องเป็นความคิดที่แตกหน่อออกมาจากปรัชญาแม่บทอันใดอันหนึ่ง ถ้าไม่ได้แตกหน่อออกมาจากปรัชญาแม่บทใดๆแล้ว จะเป็นเพียงหลักการศึกษาหรือทฤษฎีการศึกษา ดังนั้นปรัชญาการศึกษาจึงมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนอย่างลึกซึ้งในฐานะที่เป็นหลักหรือเหตุผลของการคิดและการกระทำต่างๆในด้านการจัดการศึกษาและการจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน
ปรัชญาการศึกษาสากลแนวต่างๆ
1.ปรัชญาสารัตถนิยม
ปรัชญาสารัตถนิยม เป็นปรัชญาการศึกษาที่ได้รับอิทธิพลจากปรัชญาจิตนิยมและปรัชญาสัจนิยมซึ้งเป็นปรัชญาทั่วๆไป
ปรัชญาสารัตถนิยมตามแนวจิตนิยมว่าการศึกษาคือเครื่องมือในการสืบทอดมรดกทางสังคม ดังนั้นหลักสูตรการศึกษาจึงควรประกอบไปด้วย ความรู้ ทักษะ เจตคติ ค่านิยม และวัฒนธรรมอันเป็นแกนสำคัญ ผู้เรียนในฐานะผู้รับสืบทอดมรดกทางสังคม ก็จะต้องอยู่ในระเบียบวินัย และพยายามเรียนรู้สิ่งที่ครูถ่ายทอดให้อย่างตั้งใจ
ส่วนปรัชญาสารัตนิยมนั้นเชื่อว่าการศึกษาคือเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้และความจริงตามธรรมชาติเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นจึงเน้นการให้ผุ้เรียนแสวงหาขอมูล ข้อเท็จจริง และการสรุปกฎเกณฑ์จากข้อมูลข้อเท็จจริงเหล่านั้น
2.ปรัชญาสัจนิยมวิทยา
ปรัชญานี้บางท่านเรียกว่า ปรัชญานิรันดรนิยม ปรัชญานี้มีบางสิ่งที่มีคุณค่าถาวร คงที่ และไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ ศาสนา ความดี และเหตุผล
การจัดการเรียนการสอนตามปรัชญานี้ จึงมุ่งเน้นการสอนให้ผู้เรียนจดจำ ใช้เหตุผล และตั้งใจกระทำสิ่งต่างๆ
3.ปรัชญาพิพัฒนิยม
บางท่านเรียกปรัชญาการศึกษานี้ว่า ปรัชญาพิพัฒนาการ ปรัชญานี้มีต้นกำเนิดมาจากปรัชญาแม่บทคือ ปรัชญาปฏิบัตินิยม
ปรัชญาปฏิบัตินิยมให้ความสนใจอย่างมากต่อการ “ปฏิบัติ หรือ การลงมือกระทำ” เน้นให้ผู้เรียนเน้นการลงมือทำ เด็กได้รับอิสระริเริ่มความคิดและลงมือทำตามความคิด ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์และการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
4.ปรัชญาอัตนิยม
การจัดการศึกษาตามปรัชญานี้จึงให้ความสำคัญกับการให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนรู้ ให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด สนับสนุนส่งเสริมผู้เรียนในการค้นหาความหมายและสาระสำคัญของชีวิตของเขาเอง เช่น ศิลปะ ปรัชญา การเขียน การอ่าน การละคร
5.ปรัชญาปฏิรูปนิยม
ปรัชญานี้เชื่อว่า การปฏิรูปสังคม หรือการจัดระเบียบของสังคมให้ดีขึ้น การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้
6.ปรัชญาการศึกษาผสมผสาน
เนื่องจากปรัชญาการศึกษาแต่ปรัชญาล้วนมีแง่มุมและมีจุดเด่นกันไปคนละแบบจึงมีการเอาประเด็นต่างๆของปรัชญามากกว่า1ปรัชญามาผสมผสานขึ้นเพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการ
ปรัชญาสารัตถนิยม เป็นปรัชญาการศึกษาที่ได้รับอิทธิพลจากปรัชญาจิตนิยมและปรัชญาสัจนิยมซึ้งเป็นปรัชญาทั่วๆไป
ปรัชญาสารัตถนิยมตามแนวจิตนิยมว่าการศึกษาคือเครื่องมือในการสืบทอดมรดกทางสังคม ดังนั้นหลักสูตรการศึกษาจึงควรประกอบไปด้วย ความรู้ ทักษะ เจตคติ ค่านิยม และวัฒนธรรมอันเป็นแกนสำคัญ ผู้เรียนในฐานะผู้รับสืบทอดมรดกทางสังคม ก็จะต้องอยู่ในระเบียบวินัย และพยายามเรียนรู้สิ่งที่ครูถ่ายทอดให้อย่างตั้งใจ
ส่วนปรัชญาสารัตนิยมนั้นเชื่อว่าการศึกษาคือเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้และความจริงตามธรรมชาติเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นจึงเน้นการให้ผุ้เรียนแสวงหาขอมูล ข้อเท็จจริง และการสรุปกฎเกณฑ์จากข้อมูลข้อเท็จจริงเหล่านั้น
2.ปรัชญาสัจนิยมวิทยา
ปรัชญานี้บางท่านเรียกว่า ปรัชญานิรันดรนิยม ปรัชญานี้มีบางสิ่งที่มีคุณค่าถาวร คงที่ และไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ ศาสนา ความดี และเหตุผล
การจัดการเรียนการสอนตามปรัชญานี้ จึงมุ่งเน้นการสอนให้ผู้เรียนจดจำ ใช้เหตุผล และตั้งใจกระทำสิ่งต่างๆ
3.ปรัชญาพิพัฒนิยม
บางท่านเรียกปรัชญาการศึกษานี้ว่า ปรัชญาพิพัฒนาการ ปรัชญานี้มีต้นกำเนิดมาจากปรัชญาแม่บทคือ ปรัชญาปฏิบัตินิยม
ปรัชญาปฏิบัตินิยมให้ความสนใจอย่างมากต่อการ “ปฏิบัติ หรือ การลงมือกระทำ” เน้นให้ผู้เรียนเน้นการลงมือทำ เด็กได้รับอิสระริเริ่มความคิดและลงมือทำตามความคิด ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์และการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
4.ปรัชญาอัตนิยม
การจัดการศึกษาตามปรัชญานี้จึงให้ความสำคัญกับการให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนรู้ ให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด สนับสนุนส่งเสริมผู้เรียนในการค้นหาความหมายและสาระสำคัญของชีวิตของเขาเอง เช่น ศิลปะ ปรัชญา การเขียน การอ่าน การละคร
5.ปรัชญาปฏิรูปนิยม
ปรัชญานี้เชื่อว่า การปฏิรูปสังคม หรือการจัดระเบียบของสังคมให้ดีขึ้น การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้
6.ปรัชญาการศึกษาผสมผสาน
เนื่องจากปรัชญาการศึกษาแต่ปรัชญาล้วนมีแง่มุมและมีจุดเด่นกันไปคนละแบบจึงมีการเอาประเด็นต่างๆของปรัชญามากกว่า1ปรัชญามาผสมผสานขึ้นเพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการ
ปรัชญาการศึกษาไทย
ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ผู้สามารถให้คำตอบในเรื่องนี้ได้อย่างลึกซึ้ง คือ พระพรรมปิฎก(ประยุทธ์ ปยุตโต)
1.ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพุทธธรรม โดยพระธรรมปิฎก มนุษย์มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากชีวิตอื่นๆ คือมีองค์ประกอบภายในจิตใจที่เรียกว่า สติปัญญาจึงทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ และสามารถจัดปัจจัยแวดล้อมทั้งหลายให้เกื้อกูลแก่การดำรงชีวิตของตน ทำให้มนุษย์สามารถหลุดพ้นจากอำนาจคอบงำของสิ่งอื่น ทำให้มีอิสรภาพ
2.ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
การศึกษาต้องมุ่งพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษาควรจัดการศึกษาด้านวิชาการโดยการต่อยอดความรู้ควบคู่ไปกับการฝึกฝนขัดเกลาทางความคิด ความประพฤติ และคุณธรรม
3.ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพุทธธรรมจากการวิเคราะห์ของสาโรสบัวศรี การศึกษาตามความหมายในนัยทางพระพุทธศาสนา คือ การพัมฯ ขันธ์ 5 แนวทางตามหลักพุทธธรรม คือ มรรค 8 ซึ่งย่อได้เป็น ศีล สมาธิ และปัญญา นอกจากนั้นควรให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ ตนเอง สิ่งแวดล้อม และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อม การจัดการเรียนการสอนต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม ได้แก่ การสอนตามขั้นทั้ง สี่ ของอริยสัจ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
อ้างอิงข้อมูลมาจาก
http://learners.in.th
ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ผู้สามารถให้คำตอบในเรื่องนี้ได้อย่างลึกซึ้ง คือ พระพรรมปิฎก(ประยุทธ์ ปยุตโต)
1.ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพุทธธรรม โดยพระธรรมปิฎก มนุษย์มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากชีวิตอื่นๆ คือมีองค์ประกอบภายในจิตใจที่เรียกว่า สติปัญญาจึงทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ และสามารถจัดปัจจัยแวดล้อมทั้งหลายให้เกื้อกูลแก่การดำรงชีวิตของตน ทำให้มนุษย์สามารถหลุดพ้นจากอำนาจคอบงำของสิ่งอื่น ทำให้มีอิสรภาพ
2.ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
การศึกษาต้องมุ่งพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษาควรจัดการศึกษาด้านวิชาการโดยการต่อยอดความรู้ควบคู่ไปกับการฝึกฝนขัดเกลาทางความคิด ความประพฤติ และคุณธรรม
3.ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพุทธธรรมจากการวิเคราะห์ของสาโรสบัวศรี การศึกษาตามความหมายในนัยทางพระพุทธศาสนา คือ การพัมฯ ขันธ์ 5 แนวทางตามหลักพุทธธรรม คือ มรรค 8 ซึ่งย่อได้เป็น ศีล สมาธิ และปัญญา นอกจากนั้นควรให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ ตนเอง สิ่งแวดล้อม และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อม การจัดการเรียนการสอนต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม ได้แก่ การสอนตามขั้นทั้ง สี่ ของอริยสัจ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
อ้างอิงข้อมูลมาจาก
http://learners.in.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น