๑۩۞۩๑ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล๊อกของผมครับ ๑۩۞۩๑

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความหมาย ความเป็นมาของภูมิปัญญาไทย

ความหมายของภูมิปัญญาไทย หมายถึงพื้นเพรากฐานของความรู้ของท้องถิ่นที่ได้ความรู้จากการดำเนินชีวิต และสามารถสืบทอดภูมิปัญญาของพวกเขาต่อ ๆ มาได้โดยตลอด เป็นเรื่องสั่งสมกันมาแต่อดีต และเป็นเรื่องของการจัดความสัมพันธ์ระหว่างตนกับคน คนกับธรรมชาติแวดล้อม คนกับเหนือธรรมชาติ โดยผ่านกระบวนการทางจารีตประเพณี วิถีชีวิตการทำมาหากินและพิธีกรรมต่าง ๆ ทุกอย่างเพื่อให้เดความสมดุลระหว่างความสัมพันธ์เหล่านี้ เป้าหมายก็คือเพื่อให้เกิดความสงบสุขทั้งในส่วนที่เป็นชุมชนหมู่บ้าน และในส่วนที่เป็นปัจเจกชนของชาวบ้านเอง เกิดจากการสะสมการเรียนรู้มาเป็นระยะเวลายาวนาน มีลักษณะเชื่อมโยงกันไปหมดทุกสาขาวิชา ความรอบรู้ของชาวบ้านที่เรียนรู้และมีประสบการณ์สืบต่อกันมา ทั้งทางตรง คือ ประสบการณ์ด้วยตนเอง หรือทางอ้อม ซึ่งเรียนรู้จากผู้ใหญ่ หรือความรู้ที่สะสมสืบต่อกันมา กระบวนการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิตของบุคคล ซึ่งอยู่ในท้องถิ่น โดยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสงบสุขสอดคล้องสภาพของสังคมที่เปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย มวลความรู้ และมวลประสบการณ์ของชาวบ้านที่ใช้ในการดำเนินชีวิตให้เป็นสุข โดยได้รับการถ่ายทอดสั่งสมกันมา ผ่านกระบวนการพัฒนาให้สอดคล้องกับกาลสมัย ความรู้ที่สะสมและถ่ายทอดกันมาจากบรรพบุรุษรุ่นหนึ่ง และถ่ายทอดระหว่างชาวบ้านด้วยกัน ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดได้เองที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นสติปัญญา เป็นองค์ความรู้ทั้งหมดของชาวบ้าน ทั้งกว้าง ทั้งลึก ที่ชาวบ้านสามารถคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่ แก้ปัญหาการดำเนินวิถีชีวิตได้ในท้องถิ่นอย่างสมสมัย ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคนเรา ผ่านกระบวนการศึกษา สังเกต คิดวิเคราะห์จนเกิดปัญญา และตกผลึกมาเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจากความรู้เฉพาะหลาย ๆ เรื่อง ไม่ได้แยกย่อยออกมาให้เห็นเป็นศาสตร์เฉพาะสาขาวิชาต่าง ๆ จัดเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้สมันใหม่ ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจัดการ และการปรับตัวในการดำเนินชีวิตของคนเรา เป็นความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคม ชุมชน และในตัวของผู้รู้เอง หากมีการสืบค้นหาเพื่อศึกษาและนำมาใช้ ก็จะเป็นที่รู้จักกัน เกิดการยอมรับ ถ่ายทอด และพัฒนาไปสู่คนรุ่นใหม่ตามยุคตามสมัยได้
ความรู้ที่เกิดจากความคิดของชาวบ้าน ซึ่งมีลักษณะผสมผสานของความรู้ต่าง ๆ และได้ถ่ายทอดสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน เป็นความรู้ที่ชาวบ้านใช้ดำเนินชีวิต ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

ความเป็นมาของภูมิปัญญาไทย
ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน มนุษย์ล้วนต้องต่อสู้ดิ้นรน เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดในสังคมยุคนั้น ๆ ย่างสุขสงบ และสบายในการดำรงชีวิตประจำวัน ความพยายามของมนุษย์มีทั้งการเอาชนะธรรมชาติ การปรับตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม และการยอมรับนับถือสิ่งที่มองไม่เห็น โดยถือว่าเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติที่มีอำนาจเหนือสิ่งมีชีวิตทั้งปวงบนโลก ในสังคมหรือชุมชนที่เจริญแล้ว ผู้คนมีความรู้ความเข้าใจในวิทยาการทันสมัย ก็มีการนำความรู้ความเข้าใจมาใช้หรือปรับประยุกต์ เพื่อให้ชีวิตเป็นไปอย่างที่ต้องการ ส่วนในสังคมหรือชุมชนท่อยู่ห่างไกลความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ชาวบ้านต้องใช้ความพยายามของตนเองคิดค้นหาวิธีสร้างเครื่องมือเครื่องใช้หรือเทคนิควิธีต่าง ๆ ที่จะทำให้ชีวิตรอดอยู่ในสังคมและมีความสุขสงบ และสบายเท่าที่ต้องการ สิ่งที่เกิดจากความคิดของท้องถิ่นเช่นนี้ถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นสังคมที่ดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองมาเป็นเวลาช้านาน จะ ต้องมีภูมิปัญญาของตนเอง ภูมิปัญญาท้องถิ่นสะสมขึ้นมาจากประสบการณ์ของชีวิต สังคม และในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน และถ่ายทอดสืบต่อกันมาเป็นวัฒนธรรม

ลักษณะและประเภทขององค์ความรู้ไทย
มนุษย์จัดระบบการเรียนรู้ของสมาชิกในสังคมด้วยสติปัญญาอันล้ำเลิศของมนุษย์ สังคมในยุคต่าง ๆ ได้สร้างขนบธรรมเนียมประเพณีแนวประพฤติปฏิบัติ วิถีชีวิต และทักษะของการหาเลี้ยงชีพตลอดจนความเชื่อถือทางศาสนาเพื่อสั่งสอนเยาวชน เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของแต่ละสังคม กระบวนการเรียนรู้ของคนในสังคมสมัยก่อนจึงแทรกซึมอยู่กับวิถีชีวิตประจำวัน และสอดแทรกในพิธีการต่าง ๆ เช่น พิการโกนจุก พิธีการสมรส พิธีการบรรพชา พิธีสงกรานต์ พิธีกรรมทางศาสนา และพิธีงานศพ เป็นแนวประพฤติปฎิบัติที่ผู้ใหญ่จงใจสั่งสอนผู้น้อย และเป็นพลังจิตทีหลอมรวมผู้คนในสังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
การพัฒนาท้องถิ่นที่อาศัยถูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ประกอบมีลักษณะ คือ
๑. มีความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้ออำนวยชี้นำ และเป็นทางเลือกที่เหมาะสมต่อสภาวะท้องถิ่น และเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกที่เข้ามากระทบ
๒. ความรู้ ภูมิปัญญา และระบบคุณค่าต่าง ๆ ได้รับการประยุกต์ และสืบสานอย่างต่อเนื่อง โดยสมาชิกของชุมชน ด้วยกระบวนการเรียนรู้หลายลักษณะ ผ่านประเพณี พิธีกกรม ตัวบุคคล และการปฏิบัติซ้ำ มีการเลือกสรรและผสมผสานกับความรู้ที่เข้ามาจากภายนอก
๓. ผู้นำ ปัญญาชนชาวบ้าน นักเทคนิคพื้นบ้าน เครือข่ายของกลุ่มบุคคลและองค์กรชุมชนในรูปต่าง ๆ ซึ่งมีบาบาทในการพัฒนาการพิทักษ์ปกป้องชุมชนและขยายแนวร่วมในการพัฒนาชุมชน
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นมรดกที่สำคัญยิ่งที่มีการถ่ายทอดต่อ ๆ กันมา ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ในรูปลักษณะของขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ภาษา ศิลปะ ดนตรี การละเล่น ตลอดจนการดำรงชีวิตประจำวัน และทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้

ประเภทขององค์ความรู้ไทย
จำแนกภูมิปัญญาท้องถิ่นออกเป็น ๓ ลักษณะ คือ
๑. ภูมิปัญญาจากการใช้ชีวิตในธรรมชาติ เนื้อหาของภูมิปัญญา คือ การอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับธรรมชาติในลักษณะของกฎเกณฑ์ที่พึงปฏิบัติ และข้อห้ามที่ไม่ให้ชาวบ้านปฏิบัติ เช่น ความเชื่อของธรรมชาติต่าง ๆ เรื่องของผีที่ทำให้สภาวะธรรมชาติสมดุลของการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับธรรมชาติ ระบบเหมืองฝาย ผีน้ำ ผีนา เป็นต้น
๒. ภูมิปัญญาจาประสบการณ์การอยู่ร่วมกัน ภูมิปัญญาแบบนี้มีพฤติกรรมตามแบบของสังคม มีกฎเกณฑ์บอกว่าอย่างนั้นดีอย่างนี้ไม่ดี มีระบบความสัมพันธ์ของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติเป็นหลัก มีความเข้าใจในอนิจจังของชีวิตเป็นสูงสุด รูปธรรมที่แสดงออก คือ ความเชื่อเรื่องบรรพบุรุษ เช่น ปู่ตา ปู่ย่า ผีพ่อ ผีแม่ และพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
๓. ภูมิปัญญาจากประสบการณ์เฉพาะด้าน เช่น ภูมิปัญญาจากประสบการณ์การทำมาหากินในด้านต่าง ๆ ภูมิปัญญาในด้านการรักษาโรค เป็นต้น

แหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยใน ๔ ภูมิภาค
๑. ภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
แหล่งความรู้ การเรียนรู้ในวัฒนธรรมอีสาน เป็นมิติเดียวกับการดำเนินชีวิตซึ่งสัมพันธ์กับโลกภายนอกและสังคมในหมู่บ้าน การเรียนรู้ไม่มีขอบเขตจำกัดเรื่องวัย และเวลา ตราบใดที่ลมหายใจยังมีอยู่ต้องทำงานเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง จึงต้องเรียนรู้อยู่ร่ำไป แหล่งเรียนรู้คือธรรมชาติแวดล้อม ครอบครัว วัด หมู่บ้าน วัด
ชุมชนอีสานส่วนใหญ่จะมีวัดประจำหมู่บ้าน วัดที่เป็นแหล่งการศึกษานั้น มักตั้งอยู่ในชุมชนขนาดใหญ่ ชาวบ้านเจริญศรัทธา และมีกำลังทรัพย์พอที่จะค้ำจุนภิกษุ สามเณร สังฆการได้ หมู่บ้านบางแห่งมีทั้งวัดบ้านและวัดป่า หมู่บ้านแห่งมีวัดแต่ไม่มีพระสงฆ์   วัดบ้านตั้งอยู่ในที่ชุมชน พระสงฆ์บำเพ็ญตนเป็นผู้สืบศาสนา และประกอบพิธีกรรม   ตามความต้องการของชาวบ้าน ในตำนานการศึกษา วัดให้การศึกษาแก่ภิกษุ สามเณร และเยาวชน โดยมีพระผู้อาวุโสทำหน้าที่พระอาจารย์ถ่ายทอดความรู้ วิชาที่สอนนั้นมุ่งให้อ่านออกเขียนได้ และมีศีลธรรม ส่วนวัดป่าตั้งอยู่ในที่วิเวกท่ามกลางธรรมชาติ เพราะมุ่งสอนการปฏิบัติธรรมทั้งในเพศของสมณะและฆราวาส ทำให้ชุมชนอีสานมีพระวิปัสสนากรรมฐานผู้บรรลุญาณระดับสูง เป็นที่เคารพของศาสนิกชน และเป็นแบบอย่างอันดีในการดำรงชีวิต วิธีการขัดเกลาในพุทธศาสนา มุ่งการฝึกตน และพิจารณาสภาวะธรรมชาติตามแนวพุทธวัจนะ ผู้ฝึกต้องมีเวลา และดำเนินชีวิตตามระเบียบของธรรมจักรมิใช่อาณาจักร ผู้ผ่านขบวนการขัดเกลาแบบนี้ได้รับการยกย่องสูงส่งว่าเป็นคนสุก พร้อมที่จะเป็นผู้นำครอบครัว ผู้นำสังคม ผู้ให้การศึกษาทั้งพระอรรถกถาจารย์ (บุคคล) และพระไตรปิฎก (ธรรม)

๒. ภาคเหนือ
การสร้างบ้านและยุ้งข้าว
ก่อนที่จะเริ่มลงเสาเพื่อสร้างบ้านหรือยุ้งข้าว จะต้องอธิษฐานบอกแก่ซึ่งเสียก่อน โดยนำข้าวสาร ๗ เมล็ด ครอบด้วยกะลามะพร้าว ณ จุดที่จะทำการสร้างบ้านเรือนหรือยุ้งข้าว แล้วอธิษฐานต่อซึ่งว่า จะขอทำการปลูกบ้าน (หรือยุ้งฉาง) ในบริเวณนี้ หากเจ้าธรณีอนุญาตก็ขอดลบันดาลให้คืนนี้หลับฝันถึงสิ่งที่ดี หากที่บริเวณนี้ผีแรงเจ้าธรณีไม่อนุญาต ก็ขอให้หลับฝันถึงแต่สิ่งที่ร้ายแรง หลังจากอธิฐานหาคืนนั้นกลับไปฝันถึงสิ่งที่ไม่ดี ผู้ที่จะปลูกบ้านจะต้องขยับพื้นที่ออกไปเสียเล็กน้อย แผ่นดินและซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดในชีวิตคนกะเหรี่ยง เพราะหากปราศจากการคุ้มครองจากผืนแผ่นดิน มนุษย์ก็ไม่ดำรงอยู่ ความเคารพในแผ่นดินจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ จะเห็นได้ว่าในกระบวนการเลือกพื้นที่เพื่อการทำไร่จะมีรายละเอียดซับซ้อนมาก และแม้ว่าเจ้าของไร่จะเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์และสภาพดินแล้วก็ตาม แต่หากมีเหตุอันแสดงให้เห็นว่าเจ้าธรณีไม่อนุญาต หรือมีลางบอกเหตุที่ไม่ดี ก็จำเป็นต้องทิ้งพื้นที่นั้นไป เพื่อเลือกพื้นที่ใหม่ ความเคารพนี้ถือเป็นสิ่งที่เคร่งครัดมากสำหรับชาวกะเหรี่ยง

๓. ภาคกลาง
โล้ชิงช้า
เสา ชิงช้าหน้าที่ว่าการกรุงเทพมหานคร สูง ๒๑ เมตร เท่ากบตึก ๖ - ๗ ชั้น ชิงช้ายักษ์ (The Giant Swing) สูงกว่ามนุษย์ธรรมดาจะนั่งเล่น ต่อถึงเดือนยี่หรือต้นเดือนมกราคมซึ่งจะใครขึ้นไปโล้ชิงช้าอย่างน่าหวาดเสียวให้ดู ๒ วัน แต่น่าเสยดายที่พิธีนี้เลิกไปนานแล้ว
การโล้ชิงช้าถือเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีตรียัมปวายหรือตรียัมพวาย ซึ่งเป็นพิธีต้อนรับพระอิศวรตามคติพราหมณ์อยู่ในช่วงปีใหม่ของพราหมณ์
พระอิศวรปกติเสด็จลงมาเยี่ยมโลกปีละครั้ง ครั้งละ ๑๐ วัน วันเสด็จลงวันขึ้น ๗ ค่ำเดือนยี่ วันเสด็จขึ้นวันแรม ๑ ค่ำ เดือนยี่
พระอิศวรเสด็จกลับแล้ว พราหมณ์จึงอัญเชิญเทพเจ้าอีกองค์คือพระนารายณ์ลงมาเรียกว่าตรีปวาย ใช้เวลา ๕ วัน ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ ขนถึงแรม ๕ ค่ำ พระนารายณ์จึงเสด็จกลับ วันรุ่งขึ้นมีการโกนจุกเด็ก    เหตุทำสองพิธีนี้ จึงเรียกต่อกันว่าพระราชพิธีตรียัมปวาย ตรีปวาย
ตรีปวายไม่มีการโล้ชิงช้า การโล้ชิงช้าทำในช่วงพระอิศวรเสด็จลงมาและโล้เฉพาะวันแรกกับวันที่ ๓ เท่านั้น วันอื่น ๆ ใช้ไปกับการสวดต่าง ๆ
การโล้วันแรก (ขึ้น ๗ ค่ำ) ดูช่วงเช้า วันขึ้น ๙ ค่ำ สลับไปโล้ตอนเย็น เรียกว่า เจ็ดค่ำถีบเช้า เก้าค่ำถีบเย็น
ตำนานการโล้ชิงช้ามีว่า เมื่อพราหมณ์สร้างโลกเสร็จแล้ว พระอิศวรลงไปตรวจดูว่าสร้างมั่นคงแข็งแรงหรือไม่ เวลาลงเกรงว่ายังไม่แข็งแรงเสด็จลงพระบาทเดียว เพราะถ้าลงสองข้างโลกจะแตก จากนั้นให้พญานาคทรงฤทธิ์มาโล้ยื้อยุดฉุดขุนเชาสองฝั่งมหาสมุทร เมื่อปรากฏว่าแผ่นดินของโลกแข็งแรง พญานาคทั้งหลายพากันโสมนัสยินดีลงสู่สาครใหญ่ เล่นน้ำเฉลิมฉลองเป็นที่สนุกสนาน
จากตำนานที่กล่าวมามีการสมมุติให้ขุนนางใหญ่คนหนึ่งรับหน้าที่เป็นพระอิศวร เรียกว่า พระยายืนชิงช้า มีพลแห่ติดตามเป็นเกียรติยศนับพันคน เริ่มแห่ตั้งแต่วัดราชบูรณะไปตามกำแพงเมืองจนถึงเสาชิงช้า ถนนบำรุงเมือง คึกคักใหญ่โตมาก เจ้านายเช่น พระเจ้าลูกเธอเสด็จไปทอดพระเนตรเสมอ ๆ
ฝ่ายพระยายืนชิงช้า พอถึงโรงพิธี ต้องปล่อยเท้าลงเดินเพียงข้างเดียว ห้ามเผลอ เสาชิงช้าสมมุติว่าเป็นขุนเขาสองช้าง เอาขันสาครใหญ่มาตั้ง สมมุติเป็นมหาสมุทร คน ๑๒ คนสวมหัวพญานาคต่างพญานาค เรียกพวกหลังนี้ว่า นาลิวัน ได้เวลา นาลิวันขึ้นไปโล้ชิงช้าทีละ ๔ คน  เหนือชิงช้ามีเชือก ๔ เส้น โยงลงมาให้จับ ช่วยป้องกันไม่ตกลงระหว่างอยู่บนอากาศคนหน้าต้องพยายามโล้ไปคาบถุงเงิน ซึ่งผูกเสาถือไว้ข้างหน้าทำให้คนดูใจหายใจคว่ำ ตื่นเต้น จากนั้นจึงลงมารำเขนงหรือรำเสนง หรือรำเขาสัตว์ สาดน้ำกันไปมา จบพิธี
การโล้ชิงช้าทำมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานในกฎหมายตราสามดวง อายุ ๕๐๐ กว่าปี และทำเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๗๗ เลิก ๖๒ ปีก่อน (นบจาก พ.ศ. ๒๕๓๙) แม้มีผู้ให้ข่าวว่าจะรื้อฟื้นพิธีขึ้นมาใหม่หลายครั้ง แต่ก็ไม่มีการทำจริงเสาชิงช้าปลูก พ.ศ. ๒๕๑๕ แทนเสาเก่าที่ถูกไฟไหม้ พ.ศ. ๒๔๙๐
เสาชิงช้าถือเป็นโบราณสถานกรมศิลปากรขึ้นมะเบียน พ.ศ. ๒๔๙๒ เดิมเสาชิงช้าปลูกแถว ๆ หน้าเทวสถาน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ สร้างโรงแก๊สขึ้น (ภายหลังรื้อสร้างเป็นตลาด แล้วรื้อเป็นของกรุงเทพมหานคร) จึงย้ายมาสร้างตรงที่ปัจจุบัน
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ระหว่างโล้ชิงช้า ผู้กูคนหนึ่งถอดรองเท้าทั้งสองข้าง ขว้างไปยังนาลิวัน พลตระเวนจับตัวไต่ถาม ความว่าเป็นคนญวน ถามไม่รู้เรื่องเป็นคนเสียจริต บางทีอาจเพราะอากาศร้อนหรือก็ดูสนุก  รูปวาดพระราชพิธีโล้ชิงช้ามีในพระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์

๔. ภาคใต้
เท่งสงขลา
คนสงขลาภูมิใจ ไอ้เท่ง ถ้ารู้ว่าเท่งเป็นคนสงขลา หมายถึงคนบ้านคูขุด อำเภอสทิงพระ แหล่งนกเป็ดน้ำ แต่ความภูมิใจนี้ไม่ควรจำกัดเฉพาะบ้านั้นเมืองนี้ คนปักษ์ใต้ทั้งมวลมีสิทธิที่จะรักเท่งด้วยกันทั้งนั้น และคนภาคอื่นก็มีสิทธิร่วมชอบพอเท่งด้วยเหมือนกัน
เมื่อร้อยปี เท่งเป็นคนจริง ๆ มีชีวิตและเลือดเนื้อ เป็นหมู่บ้านริมทะเลสาบ เห็นแผ่นดินรอบทะเลสาบด้านขวาขอบเหนือสุดที่อำเภอระโนด เป็นแหลมใหญ่ ยื่นลงมาปากทะเลสาบสงขลา คูขุดอยู่บริเวณกึ่งกลางแหลมใหญ่นี้ และเพราะเหตุที่บ้านอยู่ริมทะเล เท่งจึงมีอาชีพรุนกุ้งขาย
เท่งเป็นคนตลกโบกฮาบ้าบิ่นไม่กลัวใคร ในยุนั้นเองนายหนังตะลุงรุ่นเก่า บ้านเดียวกันชื่อ (นาย) หนังจ้วน (ครูจ้วนคูคุดในบทไหว้ครูหนังตะลุง) ชอบใจบุคลิกของเท่งมาก แล้วในที่สุดหนังจ้วนก็ตัดรูปเท่งขึ้นในฐานะเป็นตัวตลก ดังนั้น เท่ง หรือไอ้เท่งจึงเกิดขึ้น
เท่งบนจอหนังตะลุงยุคแรก ๆ ยังไม่มีชื่อเสียงโด่งดังนัก แต่ต่อมานายหนังคนอื่นที่ชอบใจบุคลิกเท่งที่หนังจ้วนสร้าง ก็เริ่มเอาเท่งเป็นตลกหน้าจอ เท่งรุ่นแรกแกะด้วยหนังวัวอย่าง
หนาไม่บางไสเหมือนเดี๋ยวนี้ ขนวัวก็ติดอยู่หลายเส้น และลงสืออย่างง่าย ๆ หน้าตาเป็นคนโผงผางไม่ยอมค้อมหัวให้ใคร นายหนังรุ่นต่อ ๆ มาค่อย ๆ ประจุความกล้าพูดกล้าทำลงไปในตัวเท่งทีละน้อยทีละนิดจยกลายเป็นไอ้เท่ง ที่ชาวบ้านยกย่องให้เป็นตัวแทนของตัวตลก ไอ้เท่งกล้าพูด พอกำนันโกงเงินผันเอาเงินช่วยน้ำท่วมไปเข้ากระเป๋า ไอ้เท่งก็จะสับแหลกแทนชาวบ้านจเป็นที่สะใจกันทั่วหน้า เพราะชาวบ้านพูดเองเหมือนเอาน้ำรดสาด ไอ้เท่งด่าตำรวจจริตไถประชาชนได้ สอนประชาธิปไตยทางอ้อมได้ เมื่อหน่วยงานวางแผนครอบครัว หรือหน่วยงานอื่นขอความร่วมมือให้นายหนังในนามของเท่งและตัวตลกอื่น ๆ ช่วยประกาศสรรพคุณของสิ่งที่ปรารถนา เท่งก็ทำได้ ไอ้เท่งด่าเด็กหนุ่มไว้ผมฮิปปี้ได้แสบถึงใจ ล้อใคร ด่าใคร ได้ทั้งนั้น
หนังตะลุงบางโรงตลกไอ้เท่งชนิดเรียกว่า กินรูป คือเข้าถึงวิญญาณกันจริง ๆ ก็ไดสมญานามเท่งต่อท้ายไป เช่นหนังคล้ายเท่ง จะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และหนังอิ่มเท่ง อำเภอรัตนภูมิ ถ้าอยากฟังเท่งตลก ก็หาโอกาสลงไปเที่ยวปักษ์ใต้ จะพบเท่งได้แทบทุกหนทุกแห่ง เท่งจะเป็นตลกชั้นแนวหน้าระดับขุนพลโดยมี หนูนุ้ย ศรีแก้ว ยอดทอง สะหม้อ ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เคยเป็นคนจริง ๆ มาแล้ว คอยประกบเสมอ นักการเมืองนั้นถ้าอยากฟังเสียงชาวบ้านก็ต้องหาฟังจากเท่ง หรือไม่ก็จากปากนายหนังทำให้ทราบอะไรได้มากมาย อาจหาซื้อภาพขงเท่งไปประดับบ้านได้ เท่งเป็นชาวบ้านจึงไม่พิถีพิถันกับการแต่งตัวนัก ตัวตลกส่วนมากระบายสีดำ ไม่แพรวพรายเหมือนพวกเจ้านาย ค่าตัวของเท่งก็ไม่แพงเกินไป ราว ๓๐ - ๔๐ บาท โดยทั่วไปคนทำรูปหนังตะลุงขายมักอยู่ตามชนบท สงขลา มีบางร้านในตัวเมืองเป็นคนกลาง คอยรับซื้อภาพหนังตะลุงจากศิลปินพื้นบ้านมาขายอีกทอดหนึ่ง แต่จะอุดหนุนศิลปินชาวบ้าน และอยากดูวิธีการทำหนังตะลุง ก็ไปที่บ้านช่างทิ้ง อ่างทอง (ต.ทุ่งหวัง จ.สงขลา) ซึ่งชาวบ้านละแวกนั้นแปลกตาน่าชม หรือบ้านช่าง…(จำชื่อไม่ได้) บ้านน้ำน้อย ทางไปหาดใหญ่ บ้านนางช้วน อายุ ๘๐ ปี บ้านดีหลวง อ.ระโนด ซึ่งเคยได้รับรางวัลมาแล้ว ใครอยากไปดูฝูงนกเป็ดน้ำนับพันนับหมื่นตัว เที่ยวชายทะเลอันงดงามสุดพรรณนา และถือโอกาสเยี่ยมบ้านเดิมของเท่ง ต้องวานเท่งเป็นปากเสียงให้สักนิดหนึ่งว่า เวลาจะข้ามแพจากฝั่งเมืองสงขลาไปยังปลายแหลมเสียเวลาตอนลอยแพ
แพมี ๓ ลำ แต่บางทีวิ่งลำเดียว บางทีวิ่ง ๒ ลำ วันหนึ่งแพวิ่งลำเดียวทำให้รถติดยาวเหยียดเป็นร้อย ๆคัน รถด่วนก็กลายเป็นรถช้า เพราะต้องคอยกัน ๕ ชั่วโมง ท่ามกลางแดด กว่าจะข้ามกันได้ชาวบ้านก็เจริญพรแก่ความเลวร้ายโดยทั่วหน้ากันและอย่างขมขื่น วันนั้นมีผู้ใหญ่คนหนึ่งไปติดแพอยู่ด้วยจนทนโมโหไม้ไหวไปจดการอย่างไร แต่รุ่งเช้าแพ ๓ ลำวิ่งกันขวักไขว่    เท่งช่วยเป็นปากเสียงชาวบ้านที แล้วถ้าเท่งสมัคร ส.ส. เมื่อไหร่รับรองว่าเท่งจะได้คะแนนเสียงอย่างท่วมท้น
ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิปัญญาไทยกับการพัฒนาการศึกษา
จากสภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นสามารถเป็นแนวคิด ในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ไปใช้ในการศึกษาได้ ๒ แนวทาง คือ
๑. โรงเรียนเป็นผู้นำเนื้อหาสาระที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นไปจัดการศึกษาให้นักเรียนได้เรียนรู้ โดยเนื้อหาสาระจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
๒. โรงเรียนเชิญเจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ปัญญาชน ช่างฝีมือ ช่างเทคนิค ในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  ทั้งนี้การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในการจัดการศึกษาจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละระดับชั้นด้วย
การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น แบ่งได้ ๒ วิธี ดังนี้
๑. ครูเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน ในกรณีนี้บทบาทการจัดกิจกรจมการเรียนการสอนอยู่ภายใต้การกระทำของครู ซึ่งเป็นไปตามลักษณะกิจกรรมที่ได้จัดการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น นั่นคือ ครูเป็นตัวแทนของปราชญ์ท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งภูมิปัญญาดังกล่าวได้รับการกำหนดเป็นหลักสูตรแล้ว
๒. ปราชญ์ท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน แทนที่ทางโรงเรียนจะให้ครูดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาก็เปลี่ยนเป็นปราชญ์ท้องถิ่น ทำหน้าที่เป็นผู้สอนหรือเป็นครูแทน รวมทั้งให้ปราชญ์ในท้องถิ่นทำหน้าที่ประเมินผลการเรียนของนักเรียนด้วย การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น แบ่งตามลักษณะได้ ๒ ลักษณะ คือ แบบเป็นลายลักษณ์อักษร และแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่วิธีการถ่ายทอดถูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียนมีหลายวิธี คือ
๑. โดยการถ่ายทอดความรู้โดยตรงต่อครูผู้สอน
๒. โดยการถ่ายทอดความรู้โดยตรงให้แก่นักเรียน
๓. โดยการให้คำปรึกษาหารือแนะนำให้กับครูผู้สอน
๔. โดยการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนร่วมกับครูผู้สอน
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ของชาวบ้านในท้องถิ่น เป็นความรู้ที่มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตและการพัฒนาท้องถิ่น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้เพื่อเยาวชนรุ่นหลัง ในฐานะที่โรงเรียนเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้แก่เยาวชน โรงเรียนจึงเป็นสถานที่ที่เหมาะสมในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การนำภูมิปัญญาไทยไปใช้ในการจัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา
แนวทางการจัดการศึกษาโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
โรงเรียนระดับอุดมศึกษาของประเทศมีแนวการจัดการศึกษา โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยยึดแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ
๑. การดำเนินการจัดการเรียนการอน
๑.๑ ให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนการสอน มีการมอบหมายงานกิจกรรมให้นักเรียนไปทำที่บ้าน ครูและชาวบ้านจะเป็นผู้ติดตามและประเมินผล
๑.๒ ให้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน โดยนำนักเรียนไปศึกษาขากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
๑.๓ โรงเรียนและชุมชนประสานให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและชุมชน
๒. วิธีการในการจัดการศึกษา
๒.๑ ควรมีการวางแผนร่วมกันระหว่างครูผู้สอน และปราชญ์ชาวบ้าน
๒.๒ เน้นการศึกษา วิเคราะห์ ทำความเข้าใจวิธีและความคิดของภูมิปัญญาท้องถิ่น
๒.๓ นำกระบวนการ หรือความคิด แนวปฏิบัติของภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดเป็นกระบวนการเรียนการสอน
๒.๔ เสริมสร้างกระบวนการคิดที่เป็นระบบ เป็นวิทยาศาสตร์
๒.๕ ฝึกให้ผู้เรียนคิดหลายด้านหลายมุม อย่างอิสระแล้วสรุปเป็นความรู้ และประสบการณ์ที่จะนำไปใช้ในการดำรงชีวิต
๒.๖ ผสมผสานระหว่างความรู้ความสากลกับความรู้ท้องถิ่น
๒.๗ เน้นที่กระบวนการมากกว่าผลผลิต
๒.๘ ครูผู้สอนหรือปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
๓. แนวทางการจัดการศึกษา
๓.๑ ครูผู้สอนเป็นผู้ควบคุมการใช้หลักสูตร โดยพิจารณานำหลักสูตรไปใช้ให้สอดคล้องกับกลุ่มประสบการณ์ตามในหลักสูตรแม่บท โดยใช้ระยะเวลา จำนวนคาบ เรียนตามที่กำหนดไว้ในแผนการสอนของประสบการณ์นั้น ๆ
๓.๒ เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง
๓.๓ นำบุคคลในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมให้ความรู้กับผู้เรียน
๓.๔ สอดแทรกคุณธรรมค่านิยมต่าง ๆ ที่ปรากฏตามเนื้อหาของหลักสูตรให้กับผู้เรียน
๓.๔.๑ มีความรู้ความเข้าใจในประวัติความเป็นมาของชุมชน
๓.๔.๒ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ของชุมชน
๓.๔.๓ สามารถพึ่งพาตนเองได้เกี่ยวกับการรักษาโรคเบื้องต้น
๓.๔.๔ ตระหนักและยอมรับสิ่งที่มีคุณค่า สิ่งที่ดีให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน
๓.๔.๕ สามารถปรับปรุงและประยุกต์ใช้ให้มีคุณค่า สิ่งที่ดีให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน
๓.๔.๖ มีความรักความภูมิใจ และเช้าใจในบทบาทของตนที่มีต่อชุมชน
การดำเนินการตามแนวทาง โดยมีผู้รู้ในท้องถิ่นหรือผู้ทรงภูมิปัญญาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ๓ ประการ คือ
๑. พัฒนาหลักสูตรของท้องถิ่นร่วมกับโรงเรียน หรือหน่วยงานกับท้องถิ่น
๒. วางแผนพัฒนาการจัดการเรียนการสอนร่วมกับครูผู้สอน
๓. ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ในการดำรงชีวิตให้กับผู้เรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น