บุคคลแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
1. บุคคลธรรมดา หมายถึงบุคคลที่มีความสามารถ มีสิทธิประกอบนิติกรรมได้ตามกฎหมาย
2. นิติบุคคล หมายถึงบุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้น มีสิทธิ
ประกอบนิติกรรมได้ตามกฎหมาย ได้แก่ วัด มูลนิธิ สมาคม ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทบวงการเมือง (กระทรวง ทบวง กรม เทศบาล จังหวัด)
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในระดับบุคคลสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ
1. กฎหมายที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร์ ได้แก่
1.1 การแจ้งคนเกิด ให้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ในท้องที่ที่เกิดภายใน 15 วันตั้งแต่เกิด
1.2 การแจ้งคนตาย ให้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ภายใน 24 ชั่วโมง
1.3 การแจ้งย้ายที่อยู่ ให้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ย้ายออก
2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประชาชน ได้แก่
2.1 บุคคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
2.2 บัตรประจำตัวประชาชนให้ใช้ได้ 6 ปี นับแต่วันออกบัตร และเมื่อบัตรหมดอายุผู้ถือบัตรต้องมีบัตรใหม่ภายใน 60 วันนับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หรือก่อนวันหมดอายุบัตร 60 วัน
3. กฎหมายที่เกี่ยวกับการับราชการทหาร ได้แก่
3.1 ชายที่มีสัญชาติไทยมีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน
3.2 ชายที่มีสัญชาติไทย เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปีใน พ.ศ. ใดให้ไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินภายในปี พ.ศ. นั้น ณ ภูมิลำเนาของตน
3.3 ทหารกองเกินเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปีในปี พ.ศ. ใดต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของตนภายในปี พ.ศ. นั้น เมื่อรับหมายเรียกแล้วทหารกองเกินต้องมาให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือกตามกำหนดนัด โดยนำใบสำคัญทหารกองเกิน บัตรประจำตัวประชาชน และประกาศนียบัตรหรือหลักฐานการศึกษา มาแสดงด้วย
4. กฎหมายที่เกี่ยวกับการทำนิติกรรมสัญญา
4.1 นิติกรรม หมายถึง การแสดงเจตนาของบุคคล ที่จะกระทำชอบด้วยกฎหมายด้วยความสมัครใจเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับใช้ซึ่งสิทธิ นิติกรรมที่สมบูรณ์นั้นผู้ทำนิติกรรมจะต้องมีความสามารถใช้สิทธิทำนิติกรรมโดยชอบธรรมของบุคคลคนเดียว
4.2 สัญญา หมายถึงการแสดงเจตนาของบุคคล 2 คน ที่ต้องตรงกัน เช่น สัญญาจ่งแรงงงาน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าทรัพย์ เป็นต้น สัญญาจะเป็นนิติกรรมเสมอ แต่นิติกรรมอาจไม่ใช่สัญญา เช่น การทำพินัยกรรม การโฆษณา การให้คำมั่นว่าจะทำให้ได้ ฯลฯ
กฎหมายประเภทนี้เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อควบคุมป้องกันมิให้ประชาชนทำสัญญาเอารัดเอาเปรียบกัน หรือทำความตกลงกันในเรื่องที่เป็นการขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น