๑۩۞۩๑ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล๊อกของผมครับ ๑۩۞۩๑

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คำอ่านผิด-อ่านถูกในภาษาไทย

คำที่อ่านถูกเรียงตามตัวอักษร

กกุธภัณฑ์ อ่านว่า กะ-กุด-ทะ-พัน
กฐินกาล อ่านว่า กะ-ถิน-นะ-กาน
กฐินทาน อ่านว่า กะ-ถิน-นะ-ทาน
กรกฏ, กรกฎ อ่านว่า กอ-ระ-กด
กรกฎาคม อ่านว่า กะ-ระ-กะ-ดา-คม,กะ-รัก-กะ-ดา-คม
กรณี อ่านว่า กะ-ระ-นี,กอ-ระ-นี
กรณียกิจ อ่านว่า กะ-ระ-นี-ยะ-กิด,กอ-ระ-นี-ยะ-กิด
กรมการ อ่านว่า กรม-มะ-การ
กรมขุน อ่านว่า กรม-มะ-ขุน
กรมคลัง อ่านว่า กรม-มะ-คลัง
กรมท่า อ่านว่า กรม-มะ-ท่า
กรมธรรม์ อ่านว่า กรม-มะ-ทัน
กรมนา อ่านว่า กรม-มะ-นา
กรมพระ อ่านว่า กรม-มะ-พระ
กรมพระยา อ่านว่า กรม-พระ-ยา
กรมวัง อ่านว่า กรม-มะ-วัง
กรมเวียง อ่านว่า กรม-มะ-เวียง
กรมสมเด็จ อ่านว่า กรม-สม-เด็ด
กรมหมื่น อ่านว่า กรม-มะ-หมื่น
กรมหลวง อ่านว่า กรม-มะ-หลวง
กรรบิด อ่านว่า กัน-บิด
กรรมวาจาจารย์ อ่านว่า กำ-มะ-วา-จา-จาน
กรรมวิธี อ่านว่า กำ-มะ-วิ-ที
กรรมาชีพ อ่านว่า กำ-มา-ชีบ
กรรมาธิการ อ่านว่า กำ-มา-ทิ-กาน
กรวิก อ่านว่า กะ-ระ-วิก, กอ-ระ-วิก
กริยา อ่านว่า กริ-ยา, กะ-ริ-ยา
กฤดาธิการ อ่านว่า กรึ-ดา-ทิ-กาน, กริ-ดา-ทิ-กาน
กฤดาภินิหาร อ่านว่า กรึ-ดา-พิ-นิ-หาน, กริ-ดา-พิ-นิ-หาน
กลไก อ่านว่า กน-ไก
กลวิธี อ่านว่า กน-ละ-วิ-ที
กลอักษร อ่านว่า กน-อัก-สอน, กน-ละ-อัก-สอน
กลอุบาย อ่านว่า กน-อุ-บาย
กลอุปกรณ์ อ่านว่า กน-อุ-ปะ-กอน, กน-อุบ-ปะ-กอน
กษีณาศรพ อ่านว่า กะ-สี-นา-สบ
กักขฬะ อ่านว่า กัก-ขะ-หละ
กัลปนา อ่านว่า กัน-ละ-ปะ-นา
กัลปพฤกษ์ อ่านว่า กัน-ละ-ปะ-พรึก
กากภาษา อ่านว่า กา-กะ-พา-สา
กามกรีฑา อ่านว่า กาม-มะ-กรี-ทา
กามคุณ อ่านว่า กาม-มะ-คุน
กามตัณหา อ่านว่า กาม-มะ-ตัน-หา
กามราคะ อ่านว่า กาม-มะ-รา-คะ
กามโรค อ่านว่า กาม-มะ-โรก
กามวิตถาร อ่านว่า กาม-วิด-ถาน
กายภาพ อ่านว่า กาย-ยะ-พาบ
การกสงฆ์ อ่านว่า กา-ระ-กะ-สง
กาลกิณี อ่านว่า กา-ละ-กิ-นี, กาน-ละ-กิ-นี
กาลกิริยา อ่านว่า กา-ละ-กิ-ริ-ยา, กาน-กิ-ริ-ยา
กาลเวลา อ่านว่า กาน-เว-ลา
กาลสมัย อ่านว่า กา-ละ-สะ-ไหม, กาน-ละ-สะ-ไหม
กาลสมุตถาน อ่านว่า กา-ละ-สะ-หมุด-ถาน
กาสาวพัสตร์ อ่านว่า กา-สา-วะ-พัด
กาฬจักร อ่านว่า กา-ละ-จัก
กาฬปักษ์ อ่านว่า กา-ละ-ปัก
กาฬโรค อ่านว่า กาน-ละ-โรก, กา-ละ-โรก
กำเนิด อ่านว่า กำ-เหนิด
กำสรด อ่านว่า กำ-สด
กำสรวล อ่านว่า กำ-สวน
กิจกรรม อ่านว่า กิด-จะ-กำ
กิจการ อ่านว่า กิด-จะ-กาน
กิตติมศักดิ์ อ่านว่า กิด-ติ-มะ-สัก
กุณฑี อ่านว่า กุน-ที
กุนที อ่านว่า กุน-นะ-ที
กุลธิดา อ่านว่า กุน-ละ-ทิ-ดา
กลุสตรี อ่านว่า กุน-ละ-สัด-ตรี
กุศลกรรม อ่านว่า กุ-สน-ละ-กำ
กุศโลบาย อ่านว่า กุ-สะ-โล-บาย, กุด-สะ-โล-บาย
เกตุมาลา อ่านว่า เก-ตุ-มา-ลา, เกด-มา-ลา
เกษตรกร อ่านว่า กะ-เสด-ตระ-กอน
เกษตรกรรม อ่านว่า กะ-เสด-ตระ-กำ
เกษตรศาสตร์ อ่านว่า กะ-เสด-ตระ-สาด
เกสรี อ่านว่า เก-สะ-รี, เกด-สะ-รี
เกียรติคุณ อ่านว่า เกียด-ติ-คุน
เกียรตินิยม อ่านว่า เกียด-นิ-ยม
เกียรติประวัติ อ่านว่า เกียด-ติ-ประ-หวัด, เกียด-ประ-หวัด
เกียรติภูมิ อ่านว่า เกียด-ติ-พูม
เกียรติยศ อ่านว่า เกียด-ติ-ยด
เกียรติศักดิ์ อ่านว่า เกียด-ติ-สัก
โกฐเขมา อ่านว่า โกด-ขะ-เหมา


ขมีขมัน อ่านว่า ขะ-หมี-ขะ-หมัน
ขมุกขมัว อ่านว่า ขะ-หมุก-ขะ-หมัว
ขมุบขมิบ อ่านว่า ขะ-หมุบ-ขะ-หมิบ
ขยะแขยง อ่านว่า ขะ-หยะ-ขะ-แหยง
ขยักขย่อน อ่านว่า ขะ-หยัก-ขะ-หย่อน
ขยุกขยิก อ่านว่า ขะ-หยุก-ขะ-หยิก
ขยุบขยิบ อ่านว่า ขะ-หยุบ-ขะ-หยิบ
ขวนขวาย อ่านว่า ขวน-ขวาย
ขษีณาศรพ อ่านว่า ขะ-สิ-นา-สบ
ขะมักเขม้น อ่านว่า ขะ-มัก-ขะ-เม่น, ขะ-หมัก-ขะ-เม่น
ขัดสมาธิ อ่านว่า ขัด-สะ-หมาด
เขมาโกรย อ่านว่า ขะ-เหมา-โกรย
เข้าสมาธิ อ่านว่า เข้า-สะ-มา-ทิ
โขยกเขยก อ่านว่า ขะ-โหยก-ขะ-เหยก


คณนา อ่านว่า คะ-นะ-นา, คัน-นะ-นา, คน-นะ-นา
คณบดี อ่านว่า คะ-นะ-บอ-ดี
คณิตศาสตร์ อ่านว่า คะ-นิด-ตะ-สาด
คนธรรพ์ อ่านว่า คน-ทัน
คนธรรพศาสตร์ อ่านว่า คน-ทับ-พะ-สาด
คมนาการ อ่านว่า คะ-มะ-นา-กาน, คม-มะ-นา-กาน
คมนาคม อ่านว่า คะ-มะ-นา-คม, คม-มะ-นา-คม
ครรภธาตุ อ่านว่า คับ-พะ-ทาด
ครหา อ่านว่า คะ-ระ-หา, คอ-ระ-หา
คริสตกาล อ่านว่า คริด-ตะ-กาน
คริสต์ศตวรรษ อ่านว่า คริด-สะ-ตะ-วัด
คริสตัง อ่านว่า คริด-ตัง
ครีษมายัน อ่านว่า ครีด-สะ-มา-ยัน
ครุฑพ่าห์ อ่านว่า ครุด-พ่า
ครุภัณฑ์ อ่านว่า คะ-รุ-พัน
คหกรรมศาสตร์ อ่านว่า คะ-หะ-กำ-มะ-สาด
คุณค่า อ่านว่า คุน-นะ-ค่า, คุน-ค่า
คุณโทษ อ่านว่า คุน-โทด
คุณธรรม อ่านว่า คุน-นะ-ทำ
คุณประโยชน์ อ่านว่า คุน-นะ-ประ-โหยด, คุน-ประ-โหยด
คุณภาพ อ่านว่า คุน-นะ-พาบ
คุณลักษณะ อ่านว่า คุน-นะ-ลัก-สะ-หนะ
คุณวิเศษ อ่านว่า คุน-นะ-วิ-เสด
คุณวุฒิ อ่านว่า คุน-นะ-วุด-ทิ, คุน-นะ-วุด
คุณสมบัติ อ่านว่า คุน-นะ-สม-บัด, คุน-สม-บัด


โฆษณา อ่านว่า โคด-สะ-นา


จตุโลกบาล อ่านว่า จะ-ตุ-โลก-กะ-บาน
จรด อ่านว่า จะ-หรด
จรดพระนังคัล อ่านว่า จะ-หรด-พระ-นัง-คัน
จรรยา อ่านว่า จัน-ยา
จระเข้ อ่านว่า จอ-ระ-เข้
จลนศาสตร์ อ่านว่า จะ-ละ-นะ-สาด, จน-ละ-นะ-สาด
จักจั่น อ่านว่า จัก-กะ-จั่น
จั๊กจี้ อ่านว่า จั๊ก-กะ-จี้
จักรราศี อ่านว่า จัก-กระ-รา-สี
จักแหล่น อ่านว่า จัก-กะ-แหล่น
จัณฑาล อ่านว่า จัน-ทาน
จัตุสดมภ์ อ่านว่า จัด-ตุ-สุ-ดม
จันทรกานต์ อ่านว่า จัน-ทระ-กาน
จันทรคติ อ่านว่า จัน-ทระ-คติ
จันทรคราส อ่านว่า จัน-ทระ-คราด
จันทรุปราคา อ่านว่า จัน-ทรุ-ปะ-รา-คา, จัน-ทะ-รุบ-ปะ-รา-คา
จากพราก(ชื่อนก) อ่านว่า จาก-กะ-พราก
จิตกาธาน อ่านว่า จิด-ตะ-กา-ทาน
จิตนิยอม อ่านว่า จิด-ตะ-นิ-ยม
จิตบำบัด อ่านว่า จิด-ตะ-บำ-บัด, จิด-บำ-บัด
จิตแพทย์ อ่านว่า จิด-ตะ-แพด
จิตรกร อ่านว่า จิด-ตะ-กอน
จิตรกรรม อ่านว่า จิด-ตระ-กำ
จิตวิทยา อ่านว่า จิด-ตะ-วิด-ทะ-ยา
จิตวิสัย อ่านว่า จิด-ตะ-วิ-ไส
จิตเวช อ่านว่า จิด-ตะ-เวด
จุกชี อ่านว่า จุก-กะ-ชี
จุกผาม อ่านว่า จุก-กะ-ผาม
จุติ อ่านว่า จุ-ติ, จุด-ติ
จุนสี อ่านว่า จุน-นะ-สี
จุลกฐิน อ่านว่า จุน-ละ-กะ-ถิน
จุลศักราช อ่านว่า จุน-ละ-สัก-กะ-หราด
เจตคติ อ่านว่า เจ-ตะ-คะ-ติ
เจตภูต อ่านว่า เจด-ตะ-พูด
เจตสิก อ่านว่า เจ-ตะ-สิก, เจด-ตะ-สิก
เจรจา อ่านว่า เจน-ระ-จา
โจรกรรม อ่านว่า โจ-ระ-กำ, โจน-ระ-กำ
โจรสลัด อ่านว่า โจน-สะ-หลัด


ฉกษัตริย์ อ่านว่า ฉ้อ-กะ-สัด, ฉอ-กะ-สัด
ฉทานศาลา อ่านว่า ฉ้อ-ทาน-นะ-สา-ลา
ฉศก อ่านว่า ฉอ-สก
ฉัตรมงคล อ่านว่า ฉัด-ตระ-มง-คน
ฉิมพลี อ่านว่า ฉิม-พะ-ลี
เฉลิมพระชนมพรรษา อ่านว่า ฉะ-เหลิม-พระ-ชน-มะ-พัน-สา


ชนนี อ่านว่า ชน-นะ-นี
ชนมพรรษา อ่านว่า ชน-มะ-พัน-สา
ชนมายุ อ่านว่า ชน-นะ-มา-ยุ
ชลประทาน อ่านว่า ชน-ละ-ประ-ทาน, ชน-ประ-ทาน
ชักเย่อ อ่านว่า ชัก-กะ-เย่อ
ชันษา อ่านว่า ชัน-นะ-สา
ชัยเภรี อ่านว่า ไช-ยะ-เพ-รี
ชัยศรี อ่านว่า ไช-สี
ชาตินิยม อ่านว่า ชาด-นิ-ยม
ชาติพลี อ่านว่า ชาด-ติ-พะ-ลี, ชาด-พะ-ลี
ชาติพันธุ์ อ่านว่า ชาด-ติ-พัน
ชาติพันธุ์วรรณนา อ่านว่า ชาด-ติ-พัน-วัน-นะ-นา
ชาติภูมิ อ่านว่า ชาด-ติ-พูม
ชาติวุฒิ อ่านว่า ชาด-ติ-วุด-ทิ, ชาด-ติ-วุด
ชุกชี อ่านว่า ชุก-กะ-ชี
โชคลาภ อ่านว่า โชก-ลาบ, โชก-คะ-ลาบ


ซอมซ่อ อ่านว่า ซอม-มะ-ซ่อ


ญาณวิทยา อ่านว่า ยา-นะ-วิด-ทะ-ยา, ยาน-นะ-วิด-ทะ-นา
ญาณศาสตร์ อ่านว่า ยา-นะ-สาด, ยาน-นะ-สาด
ญาติวงศ์ อ่านว่า ยาด-ติ-วง


ฐานกรณ์ อ่านว่า ถาน-กอน
ฐานันดรศักดิ์ อ่านว่า ถา-นัน-ดอน-ระ-สัก, ถา-นัน-ดอน-สัก


ด้วยประการฉะนี้ อ่านว่า ด้วย-ประ-กาน-ฉะ-นี้, ด้วย-ประ-กา-ระ-ฉะ-นี้ (เฉพาะในการแสดงธรรมเทศนา)
ดาษดา อ่านว่า ดาด-สะ-ดา
ดาษดื่น อ่านว่า ดาด-ดื่น
ดุลพินิจ อ่านว่า ดุล-ละ-พิ-นิจ
ดุลภาค อ่านว่า ดุน-ละ-พาก
ดุลยพินิจ อ่านว่า ดุน-ละ-ยะ-พิ-นิด, ดุน-ยะ-พิ-นิด
ดุลยภาพ อ่านว่า ดุน-ละ-ยะ-พาบ, ดุน-ยะ-พาบ
ดูกร อ่านว่า ดู-กะ-ระ, ดู-กอน
เดียรดาษ อ่านว่า เดีย-ระ-ดาด


ตกใจ อ่านว่า ตก-ไจ
ตนุ(ชื่อเต่า) อ่านว่า ตะ-หนุ
ตรัสรู้ อ่านว่า ตรัด-สะ-รู้
ตรีโกณมิติ อ่านว่า ตรี-โกน-มิ-ติ
ตัจวิทยา อ่านว่า ตัด-จะ-วิด-ทะ-ยา
ตุ๊กตา อ่านว่า ตุ๊ก-กะ-ตา
ไตรสรณคมน์ อ่านว่า ไตร-สะ-ระ-นะ-คม
ไตรสรณาคมน์ อ่านว่า ไตร-สะ-ระ-นา-คม


ถาวรวัตถุ อ่านว่า ถา-วอ-ระ-วัด-ถุ, ถา-วอน-วัด-ถุ
เถลิงถวัลยราชสมบัติ อ่านว่า ถะ-เหลิง-ถะ-หวัน-ละ-ยะ-ราด-ชะ-สม-บัด
แถง อ่านว่า ถะ-แหง


ทรมาทรกรรม อ่านว่า ทอ-ระ-มา-ทอ-ระ-กำ
ทระนง อ่านว่า ทอ-ระ-นง
ทรัพยสิทธิ อ่านว่า ซับ-พะ-ยะ-สิด
ทศนิยม อ่านว่า ทด-สะ-นิ-ยม
ทักทิน อ่านว่า ทัก-กะ-ทิน
ทัณฑกรรม อ่านว่า ทัน-ดะ-กำ
ทัณฑฆาต อ่านว่า ทัน-ทะ-คาด
ทัณฑนิคม อ่านว่า ทัน-ทะ-นิ-คม
ทัณฑสถาน อ่านว่า ทัน-ทะ-สะ-ถาน
ทานบดี อ่านว่า ทาน-นะ-บอ-ดี
ทานบารมี อ่านว่า ทาน-นะ-บา-ระ-มี
ทานมัย อ่านว่า ทาน-นะ-ไม
ทานศีล อ่านว่า ทาน-สีน
ทารุณกรรม อ่านว่า ทา-รุน-นะ-กำ
ทาสกรรมกร อ่านว่า ทาด-สะ-กำ-มะ-กอน
ทาสปัญญา อ่านว่า ทาด-สะ-ปัน-ยา
ทิฐิ อ่านว่า ทิด-ถิ
ทิวทัศน์ อ่านว่า ทิว-ทัด
ทิศานุทิศ อ่านว่า ทิ-สา-นุ-ทิด
ทุกขเวทนา อ่านว่า ทุก-ขะ-เว-ทะ-นา
ทุกรกิริยา อ่านว่า ทุก-กะ-ระ-กิ-ริ-ยา
ทุคติ อ่านว่า ทุก-คะ-ติ
ทุจริต อ่านว่า ทุด-จะ-หริด
ทุนทรัพย์ อ่านว่า ทุน-ซับ, ทุน-นะ-ซับ
ทุพภิกขภัย อ่านว่า ทุบ-พิก-ขะ-ไพ
ทุพโภชนาการ อ่านว่า ทุบ-โพ-ชะ-นา-กาน, ทุบ-โพด-ชะ-นา-กาน
ทุโภชนาการ อ่านว่า ทุ-โพ-ชะ-นา-กาน, ทุ-โพด-ชะ-นา-กาน
ทูลเกล้าฯ อ่านว่า ทูน-เกล้า-ทูน-กระ-หม่อม
เทวนาครี อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี
เทศนา อ่านว่า เท-สะ-นา(เฉพาะเมื่อนำหน้าศัพท์สมาส เช่น เทศนาวิธี),เทด-สะ-หนา
โทมนัส อ่านว่า โทม-มะ-นัด
โทรมนัส อ่านว่า โซม-มะ-นัด
โทษทัณฑ์ อ่านว่า โทด-ทัน
โทสจริต อ่านว่า โท-สะ-จะ-หริด


ธนบัตร อ่านว่า ทะ-นะ-บัด
ธรรมาสน์ อ่านว่า ทำ-มาด
ธารกำนัล อ่านว่า ทา-ระ-กำ-นัน


นครรัฐ อ่านว่า นะ-คอน-รัด
นนทรี อ่านว่า นน-ซี
นพปฎล อ่านว่า นบ-พะ-ปะ-ดน
นพศูล .อ่านว่า นบ-พะ-สูน
นรกภูมิ อ่านว่า นะ-รก-กะ-พูม
น้อมเกล้าฯ อ่านว่า น้อม-เกล้า-น้อม-กระ-หม่อม
นักษัตร .อ่านว่า นัก-สัด
นาคปัก อ่านว่า นาก-ปัก
นาฎกรรม อ่านว่า นาด-ตะ-กำ
นาฏดนตรี อ่านว่า นาด-ตะ-ดน-ตรี, นา-ตะ-ดน-ตรี
นาฏศิลป์ อ่านว่า นาด-ตะ-สิน
นามธรรม อ่านว่า .นาม-มะ-ทำ
นามสงเคราะห์ อ่านว่า นาม-มะ-สง-เคราะ
นามสมญา อ่านว่า นาม-สม-ยา
นาวิกโยธิน อ่านว่า นา-วิก-กะ-โย-ทิน
นิคหกรรม อ่านว่า นิก-คะ-หะ-กำ
นิคหิต อ่านว่า นิก-คะ-หิด
นิมมานรดี อ่านว่า นิม-มา-นะ-ระ-ดี, นิม-มา-นอ-ระ-ดี
นิรโทษกรรม อ่านว่า นิ-ระ-โทด-กำ
นิรัติศัย อ่านว่า นิ-รัด-ติ-ไส
นิโรธสมาบัติ. อ่านว่า นิ-โรด-ทะ-สะ-มา-บัด, นิ-โรด-สะ-มา-บัด
นิเวศวิทยา อ่านว่า นิ-เวด-วิ-ทะ-ยา
โนมพรรณ อ่านว่า โนม-พัน


บทมาลย์ อ่านว่า บด-ทะ-มาน
บรมบพิตร อ่านว่า บอ-รม-มะ-บอ-พิด, บอ-รม-บอ-พิด
บรมอัฐิ อ่านว่า บอ-รม-มะ-อัด-ถิ
บรรณรารักษศาสตร์ อ่านว่า บัน-นา-รัก-สะ-สาด, บัน-นา-รัก-สาด
บรรพกาล อ่านว่า บัน-พะ-กาน,บับ-พะ-กาน
บรรพชา อ่านว่า บัน-พะ-ชา, บับ-พะ-ชา
บรรพมูล อ่านว่า บับ-พะ-มูน
บรรยาย .อ่านว่า บัน-ยาย, บัน-ระ-ยาย
บรรลัยกัลป์ อ่านว่า บัน-ไล-กัน
บรรลัยจักร อ่านว่า บัน-ไล-ยะ-จัก
บรรษัท อ่านว่า บันสัด
บราลี อ่านว่า บะ-รา-ลี
บริเฉทกาล อ่านว่า บอ-ริ-เฉ-ทะ-กาน, บอ-ริ-เฉด-ทะ-กาน
บัณเฑาะว์ อ่านว่า บัน-เดาะ
บัตรพลี อ่านว่า บัด-พะ-ลี
บาทบงกช อ่านว่า บาด-ทะ-บง-กด, บาด-บง-กด
บาทบงสุ์ อ่านว่า บาด-ทะ-บง
บาทมูล อ่านว่า บาด-ทะ-มูน
บาทยุคล อ่านว่า บาด-ทะ-ยุ-คน, บาด-ยุ-คน
บาปกรรม อ่านว่า บาบ-กำ
บาปเคราะห์ อ่านว่า บาบ-ปะ-เคราะ
บำราบ อ่านว่า บำ-หราบ
บำราศ อ่านว่า บำ-ราด
บุคคลสิทธิ อ่านว่า บุก-คะ-ละ-สิด, บุก-คน-ละ-สิด
บุคลิกลักษณะ อ่านว่า บุก-คะ-ลิก-กะ-ลัก-สะ-หนะ, บุก-คะ-ลิก-ลัก-สะ-หนะ
บุญเขต อ่านว่า บุน-ยะ-เขด
บุญราศี อ่านว่า บุน-ยะ-รา-สี, บุน-รา-สี
บุณฑริก อ่านว่า บุน-ดะ-ริก, บุน-ทะ-ริก
บุรพทิศ อ่านว่า บุบ-พะ-ทิด, บุ-ระ-พะ-ทิด
บุรพบท อ่านว่า บุบ-พะ-บด, บุ-ระ-พะ-บด
บุริมพรรษา อ่านว่า บุ-ริม-มะ-พัน-สา, บุ-ริม-พัน-สา
บุริมสิทธิ อ่านว่า บุ-ริม-มะ-สิด
บุรุษโทษ(ชื่อของโทษ) อ่านว่า บุ-หรุด-สะ-โทด
บุรุษเพศ อ่านว่า บุ-หรุด-เพด
เบญกานี อ่านว่า เบ็น-ยะ-กา-นี
เบญจราชกุธภัณฑ์ อ่านว่า เบ็น-จะ-ราด-ชะ-กะ-กุด-ทะ-พัน, เบ็น-จะ-ราด-กะ-กุด-ทะ-พัน
โบกขรณี อ่านว่า โบก-ขะ-ระ-นี,โบก-ขอ-ระ-นี
โบราณกาล อ่านว่า โบ-ราน-นะ-กาน, โบ-ราน-กาน
โบราณคดี อ่านว่า โบ-ราน-นะ-คะ-ดี, โบ-ราน-คะ-ดี
โบราณวัตถุ อ่านว่า โบ-ราน-นะ-วัด-ถุ,โบ-ราน-วัดถุ
โบราณสถาน อ่านว่า โบ-ราน-นะ-สะ-ถาน, โบ-ราน-สะ-ถาน


อ้างอิงจาก หนังสือ อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ราชบัณฑิตยสถาน จัดพิมพ์ พ.ศ.2543

http://www.st.ac.th/bhatips/tip48/student48/thaispell_st48.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น