๑۩۞۩๑ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล๊อกของผมครับ ๑۩۞۩๑

วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อานิสงส์การเจริญกรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน

การเจริญกรรมฐาน

กรรมฐาน คือ ทางเดินของสายชีวิต คือการงานและหน้าที่ที่ควรจะรับผิดชอบชีวิต หน้าที่การงานที่ต้องทำภายในคือจิต ต้องการจะให้จิตเข้าสู่จุดมุ่งหมายฐานะดีจะได้มีปัญญา รักษาจิตรักษาใจ มีธรรมเป็นคุณสมบัติ หน้าที่การงานภายในจิตดีแล้วกิจกรรมก็จะดี แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมดี รูปสวย รวย ดี มั่งมีศรีสุข แล้วก็เก่งงานด้วย รวยดีมีปัญญา งานก็เก่งเร่งก้าวหน้า รักษาความสะอาด ฉลาดรอบคอบ ชอบระวัง ตั้งใจตรง ทรงศีลธรรม ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นกับตัวเอง มิใช่คนอื่นทำให้ คนไม่รับผิดชอบตัวเอง ไม่รับผิดชอบครอบครัว ไม่รับผิดชอบการค้าของตัวเอง ไม่ใช่กรรมฐานตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
กรรมฐานแปลว่าตำราคน
กรรมฐาน แปลว่าตำราคน ต้องคิดใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ การเจริญกรรมฐาน ต้องการ ช่วยตัวเองหนึ่ง สองต้องการจะพึ่งตนเอง สามต้องการสอนตนเอง การเจริญกรรมฐานต้องการจะเข้าใจชีวิตของตนเอง จะมาอ่านตัวให้ออก บอกตัวให้ได้ ใช้ตัวให้เป็น จะได้เห็นตัวตาย จะได้คลายทิฐิ จะได้ดำริชอบ จะได้ประกอบกุศล เป็นหลักฐานประการสำคัญ ถ้าไม่เข้าใจตนเองแล้วจะไปเข้าใจคนอื่นอย่างไร เข้าใจคนอื่นไม่ได้เลย อย่างนี้เป็นต้น
กรรมฐานแก้ไขปัญหาได้
การฝึกจิตในพระพุทธศาสนาเรียกว่า จิตภาวนา คือ การอบรมจิต หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กรรมฐาน ก็เพื่อไม่ให้ใจสับสน ให้จิตใจสงบอยู่ภายใน เรียกว่าการงานภายใน จิตจะได้เข้มแข็ง สามารถต่อสู้กับปัญหาต่อไป กรรมฐาน นี่แก้ปัญหาได้ดีที่สุด พระพุทธเจ้าไปอยู่ในป่าศึกษาวิชาแก้ทุกข์ต้องใช้เวลาถึง ๖ ปี พอท่านได้แล้ว ท่านจึงทำโลกให้สว่าง เรียกว่า โลกวิทู ท่านทำโลกให้แจ้ง โลกคือหมู่สัตว์แห่งมนุษย์นี้ มันยังมืดอยู่ด้วยกิเลสนานาประการ มืดมนอาทรร้อนจิตด้วยอำนาจกิเลสนานาประการ ฆ่ารันฟันแทงกันอยู่มิได้พัก โลกมันมืด พระพุทธเจ้ามาสอนตรงนั้นให้โลกสว่าง เรียกว่าโลกวิทู พระองค์ต้องการทำให้โลกสว่าง ต้องการให้คนนั้นมีสติปัญญาแก้ไขปัญหา แก้ทุกข์ได้ ตั้งแต่นั้นมา พระพุทธเจ้าจึงได้สร้างพุทธกิจ ๕ ประการ สร้างอนุปุพพิกถา ๕ ประการ ทำโลกมืดให้สว่าง สร้างคนให้เป็นคนดี ให้มีงานทำ พุทธกิจ ๕ ประการ คือ พุทธกิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญประจำในแต่ละวัน มี ๕ อย่าง คือ
๑. ปุพฺพณฺเห ปิณฑปาตญฺจ เวลาเช้าเสด็จบิณฑบาต
๒. สายณฺเห ธมฺมเทสนํ เวลาเย็นทรงแสดงธรรม
๓. ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ เวลาค่ำประทานโอวาทแก่เหล่าภิกษุ
๔. อฑฺฒรตฺเต เทวญฺหนํ เที่ยงคืนทรงตอบปัญหาเทวดา
๕. ปจฺจุสฺเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ จวนสว่างทรงตรวจพิจารณาสัตว์ที่สามารถและที่ยังไม่สามารถบรรลุธรรมอันควร จะเสด็จไปโปรดหรือไม่

อนุปุพพิกถา เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้น ๆ จากง่ายไปหายาก เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังอริยสัจ มี ๕ ประการคือ
๑. ทานกถา พรรณนาทาน
๒. สีลกถา พรรณนาศีล
๓. สัคคกถา พรรณนาสวรรค์ คือความสุขที่พรั่งพร้อมด้วยกาม
๔. กามาทีนวกถา พรรณนาโทษของกาม
๕. เนกขัมมานิสังสกถา พรรณนาอานิสงส์แห่งการออกจากกาม

การเจริญกรรมฐานทำให้จิตสะอาด สว่าง สงบ
พระพุทธศาสนายกย่องว่า จิตประเสริฐกว่ากาย เพราะกายเป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งของจิต จิตเป็นผู้นำ ฉะนั้นความสุขทางใจดีกว่าความสุขทุกชนิด ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความสุขอย่างอื่นที่จะยิ่งไปกว่าความสงบไม่มี” เรามาปฏิบัติธรรมต้องการชำระจิตให้สะอาด ต้องการทำใจให้สบาย ทำใจให้สงบ จะได้ปรารภธรรม มีหลัก ๓ ประการ คือ สะอาด สว่าง สงบ พระพุทธเจ้าสอนเน้นหลักในการที่เอาบุญมาไว้ที่จิต ทำใจให้สบาย ทำใจให้สงบ ชีวิตจะรุ่งโรจน์โชติช่วงนานาประการ จะเกิดแสงสว่างส่องทางมรรค จะเดินทางถูกต้อง มรรคา คือ มรรคแปด คือ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ( อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ , ผู้รวบรวม)
การเจริญกรรมฐาน ต้องการทำใจให้สะอาด ทำใจให้บริสุทธิ์ ถ้าจิตใจสะอาดเมื่อใด ท่านจะพบความสว่างเมื่อนั้น และก็เกิดความสงบ ชีวิตท่านจะปรารภธรรม มีกิจการงานก็ราบรื่น ร่ำรวยสวยดี มั่งมีศรีสุขตลอดชีวิตนี้ และชีวิตหน้าตลอดไป จิตใจสะอาด จิตใจได้สว่าง จิตใจได้สงบ ๓ ประการนี้ ได้มาจากการเจริญกรรมฐาน เพื่อหาความสงบกับจิต เพื่อชำระจิตชำระใจ ทำจิตใจให้สะอาดปราศจากมลทินจิตก็ใสใจก็สะอาดปราศจากมลทินแล้ว จิตก็จะสว่างขึ้น คือ ปัญญา คนที่จะมีปัญญานั้นต้องอยู่ด้วยความสงบ อยู่ด้วยความเรียบร้อย อยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ นี่แหละคือตัวธรรมะ คือ ทาน ศีล ภาวนา ถ้าท่านมีความสว่างก็มีปัญญา ก็จะได้แก้ไขปัญหาด้วยจิตสงบ

การเจริญกรรมฐานคือการเจริญศีล สมาธิ ปัญญา
การเจริญกรรมฐาน คือ การสร้างกุศลจิตอันดับหนึ่งทางพระพุทธศาสนา การเจริญกรรมฐาน ต้องการเจริญมรรค ๘ ได้แก่ เจริญศีล สมาธิ ปัญญา ที่เรานั่งเจริญภาวนากัน แล้วหาเหตุที่มาของกรรม คือ ทุกข์ เราจะพบ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ อริยสัจ ๔ ทุกข์เกิดขึ้นแล้วเราก็หาเหตุของทุกข์ได้ และเราจะแก้ไขทุกข์ด้วยตรงเหตุนั้น ต้องแก้ให้ถูกจุด เกาให้ถูกที่คันจะได้หายคัน เปรียบเทียบให้เข้าใจ เจริญกรรมฐานจึงจะมีสติสัมปชัญญะ เป็นศีลเป็นสัตย์ เป็นการกำจัดจิตใจที่เศร้าหมอง ให้ผ่องใสสะอาดบริสุทธิ์ ให้มันผุดขึ้นมาเอง มีความรู้ตัวอยู่ในจิตใจที่ถูกต้อง เกิดสมาธิ เกิดจิตภาวนา สะสมหน่วยกิตไว้ในชีวิต นั่นแหละตัวปัญญา ทำให้เกิดระวังไม่ประมาท ระวังนอก ระวังใน ระวังจิตระวังใจ ระวังจิตที่เป็นพิษเป็นภัยแก่ตัวเอง
การปฏิบัติกรรมฐานไม่ใช่หมายความว่าจะมานั่งไปสวรรค์นิพพานนะ การปฏิบัติต้องยึดหลักศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหลักปฏิบัติ คือ มรรค ๘ ทุกข์ที่มันเกิดขึ้นต้องยึดอริยสัจ ๔ เป็นข้อปฏิบัติ ทุกข์เกิดตรงไหน ต้องแก้ตรงนั้น เหตุมันเกิดตรงไหน ต้องแก้ที่เหตุ อย่าไปแก้ปลายเหตุ ศีล สมาธิ ปัญญา สรุปเหลือ ๒ คือ สติ สัมปชัญญะ สรุปเหลือ ๑ คือ ความไม่ประมาท ทำอะไรก็จะถูกต้อง

การเจริญกรรมฐานต้องการเอาบุญมาใส่ตัว
การเจริญกรรมฐานต้องการเอาบุญมาใส่ที่จิตของท่าน บุญ คือความสุข มาหาความสุขกันต้องชำระใจให้สะอาดหมดจด เรียกว่า กรรมฐาน ถ้าจิตใจสกปรกลามกอยู่เสมอ ท่านจะมีความสุขหรือ ไม่ได้บุญเลยนะ ท่านจะไม่พบความสงบที่ถูกต้อง จะเป็นความสุขเจือปนด้วยความทุกข์ หาใช่ความสุขตามคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ ความสุขที่พระพุทธเจ้าสอนต้องไม่มีกิเลสมาเจือปน คนที่มาสร้างบุญสร้างกุศล มาเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เป็นการสร้างตัวเอง เป็นการพึ่งตัวเอง และเป็นการช่วยเหลือจิตใจตนเองได้เกิดผลงอกงามไพบูลย์ ทำให้จิตชื่นบาน ทำให้จิตใจหรรษาในกุศลบุญของตน การมาสร้างบุญกุศลเช่นนี้นะ เพื่อต้องการมาฝึกให้อดทน ต้องการจะมาเพิ่มบารมีของตน สร้างกุศลไว้ในใจ แล้วกุศลจะได้ช่วย รับรองรวยทุกคน รับรองรวยน้ำใจ จิตใจรวยแล้ว อย่างอื่นก็รวยตามมา ทำอะไรก็งอกงาม ทำนาก็ได้ข้าว ค้าขายก็ได้กำไร รับราชการก็มีตำแหน่ง คนนั้นจะมีเงินไหลนองทองไหลมา
การเจริญกรรมฐานเพื่อจิตเข้าถึงพระรัตนตรัย
การเจริญกรรมฐานนี้ ต้องการให้จิตเข้าถึงพระพุทธเจ้ามาประทับไว้ที่ใจ ต้องการจะถึงพระธรรม ที่เราปฏิบัติธรรมอยู่นั้น มีธรรมประจำจิตประจำใจ นั่นแหละถึงพระธรรม การปฏิบัติกรรมฐานต้องมีระบบมีแบบแผน ทำอะไรก็มีแปลนและขยันหมั่นเพียร คือรัตนตรัยแห่งพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว นั้นคือ พระรัตนตรัยอันพึงประสงค์ ถ้าเข้าถึงพระศาสนาด้วยกรรมฐาน จะขยันไม่พัก จะ

รับผิดชอบมากขึ้น คนที่เข้าถึงพระรัตนตรัยแล้วจะมีลักษณะดังนี้
๑. อยากจะศึกษาหาความรู้ต่อไป
๒. ต้องปฏิบัติให้ถึงขั้น ดันให้ถึงที่ ทำความดีให้ถึงขั้น
๓. ต้องมีปฏิสังขรณ์ มีอะไรหลุดตรงไหนในบ้าน หรือที่ส่วนรวมต้องปฏิสังขรณ์ปรับปรุง น็อตหลุดก็ต้องซ่อม นี่คือคนมีคุณธรรม ถ้าคนมีคุณธรรม อยากจะปฏิสังขรณ์ อยากจะซ่อม อยากจะทำให้สวยงาม อยากจะทำให้เรียบร้อย
๔. มีการปฏิสันถาร มีการต้อนรับขับสู้ดีพองาม มันจะมีเกิดตามสันดานของบุคคลที่นั่งกรรมฐาน
๕. มีปฏิภาณไหวพริบ กรรมฐานทำให้คนมีไหวพริบดี คล่องตัวดี ไปไหนคล่องแคล่ว ว่องไว รวดเร็วทันใจ ถูกต้องเป็นธรรม ใจซื่อมือสะอาด ทำอะไรเฉียบขาดเป็นธรรม แก้ปัญหาชีวิตในครอบครัวได้ แถมจะแก้ปัญหาชีวิตนอกประเด็นนั้นได้ การเจริญกรรมฐานเป็นพฤติกรรมเป็นกิจกรรมการเจริญกรรมฐาน เป็นพฤติกรรม เป็นกิจกรรมอันหนึ่ง กิจกรรมเป็นสิ่งที่ต้องศึกษาต้องเรียน การเจริญกรรมฐานต้องการมีกิจกรรม ๔ ประการ
๑. สิ่งที่ต้องแสวงหา ๒. สิ่งที่ควรจะละ ๓. สิ่งที่ควรทำให้แจ้งถึงใจ ๔. ส่งที่ต้องพัฒนา

๑. สิ่งที่ควรแสวงหา ได้แก่ ความรู้ คือ ความรู้นอก ความรู้ใน ความรู้ในจิตในใจ รู้แจ้งเห็นจริง เป็นหน้าที่การงานภายใน คือตั้งสติสัมปชัญญะ กำหนดจิต จะได้ดีมีปัญญา ต้องกินน้อย นอนน้อย พูดให้น้อย ทำความเพียรให้มาก
๒. สิ่งที่ควรละ ได้แก่ ความชั่วร้ายสามานย์ ละอบายมุข ชีวิตจะเกิดเป็นทรัพย์อันประเสริฐ จะมีอริยทรัพย์ประจำจิตประจำใจ คิดเงินไหลนอง คิดทองไหลมา เพราะมีทรัพย์ มีคุณสมบัติด้วยการปฏิบัตินั่นเอง จะมีชื่อเสียง มีความรักเกิดขึ้นแน่นอน
๓. สิ่งที่ควรทำให้แจ้งถึงใจ ได้แก่ การกำหนดจิตให้ถึงจิตใจ ตั้งสติไว้ที่จิต อย่าทิ้งสติ อย่างทิ้งสัมปชัญญะ รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน คนที่รู้จริงรู้แจ้ง เห็นจริงเห็นแจ้ง จะรู้ตัวเอง จะอ่านตัวออก จะบอกตัวได้ จะใช้ตัวเป็น จะเห็นตัวตาย จะคลายทิฏฐิ จะดำริชอบ จะประกอบกุศล ได้ผลอนันต์ เป็นหลักฐานอันสำคัญยิ่ง
๔. สิ่งที่ต้องพัฒนา เมื่อเราทำให้แจ้งถึงใจแล้ว มีมือสอง เท้าสอง สมองหนึ่ง เป็นที่พึ่งแล้ว เราก็ต้องพัฒนาตัวเอง พึ่งตัวเอง ช่วยตัวเอง สอนตัวเองให้ได้ ถ้าทำได้ตามหลักที่กล่าวมาแล้วนั้น รับรองได้ผลแน่ ได้ผลถึงลูกด้วย มีบุตรธิดาจะว่านอนสอนง่าย

การเจริญกรรมฐานสะสมบุญให้ลูก
ขณะที่เรามีปัญจสาขาอยู่ในครรภ์ของมารดาเจริญเติบโตมา ถ้าพ่อมีบุญแม่มีบุญได้เจริญกรรมฐาน ลูกออกมาก็จะมีบุญวาสนาด้วย สมองกลดลบันดาล ลูกก็มีปัญญา ถ้าพ่อมีเวร แม่ซ้ำมีเวรสร้างเวรสร้างกรรมกันมา ลูกจะมีสมองดีไม่ได้ ออกมาก็เป็นคนใบ้บ้า เสียจริตผิดมนุษย์ เป็นคนปัญญาอ่อนไม่สามารถจะสอนให้เขาดีได้ นี่แหละกรรมมาจากพ่อแม่ เพราะฉะนั้น การเจริญพระกรรมฐานทำให้สะสมบุญ ทำให้มีคุณประโยชน์ถึงบุตรของตน ถ้าพ่อแม่เจริญวิปัสสนา รับรองลูกจะเป็นคนดีมีปัญญา จะไม่ว่านอนสอนยาก ลูกจะไม่หัวดื้อหัวรั้นแต่ประการใด

วิปัสสนากรรมฐาน(แนวมหาสติปัฏฐานสูตร) ที่มาของพองหนอ ยุบหนอ
คนเป็นจำนวนมากยังมีความสงสัยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดยการตั้งสติไว้ที่หน้าท้องพร้อมกับคำภาวนาว่า “พองหนอ” และ “ยุบหนอ” ตามการเคลื่อนไหวของท้องในขณะนั้น สาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งของปัญหานี้คือคนเหล่านี้คุ้นเคยกับการปฏิบัติแบบอานาปานสติภาวนามาก่อน โดยการกำหนดจิตไว้ที่ปลายจมูกหรือริมฝีปากบนพยายามสังเกตลมหายใจเข้าออก ว่าสั้นหรือยาว หยาบหรือละเอียด นอกจากนั้นในบางสำนักยังมีการสอนใจเจริญพุทธานุสสติควบคู่ไปด้วย กล่าวคือ ให้กำหนดจิตหรือผู้รู้ไว้ที่ลมหายใจ ซึ่งมีการสัมผัสที่ปลายจมูก พร้อมกับนึกในใจว่า “พุท” เวลาหายใจเข้า และ “โธ” เวลาหายใจออก การปฏิบัติทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานตามแนวอานาปานสติสูตร ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมานานแล้ว ในประเทศไทยและประเทศอื่นที่นับถือพุทธศาสนา
ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงสงสัยว่าการภาวนา “พองหนอ (rising)” และ “ยุบหนอ (falling)” เป็นแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกหรือเปล่า มีการปฏิบัติกันเช่นนี้ในสมัยก่อนหรือไม่ หรือเป็นวิธีปฏิบัติของวิปัสสนาจารย์ในยุคหลัง ความลังเลสงสัยเช่นนี้ก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย ผลดีคือบางคนพยายามศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหาแหล่งที่มาของ “พองหนอและยุบหนอ” สิ่งที่สำคัญคือต้องการจะทราบว่าเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่ ถ้าเป็นจริงตามนี้มีหลักฐานอะไรมายืนยันบ้าง เมื่อทราบข้อเท็จจริงแล้วจะก่อให้เกิดศรัทธาและปสาทะในการปฏิบัติธรรมอย่างแน่วแน่ต่อไปผลเสียคือว่าทำให้การปฏิบัติย่อหย่อนไม่เต็มที่มีแต่ความเคลือบแคลงสงสัยและมีโอกาสจะบรรลุเป้าประสงค์ตามที่ต้องการได้ยาก
มหาสติปัฏฐานสูตร ในมหาสติปัฏฐานสูตรที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์มหาวรรคทีฆนิกายซึ่งเป็นพระสูตรที่ค่อนข้างยาวมาก พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “ทางสายนี้เป็นทางสายเอกหรือทางสายเดียวเท่านั้น (The onlyway)”
1. เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
2. เพื่อระงับความเศร้าโศกและคร่ำครวญ
3. เพื่อดับความทุกข์กาย (ทุกข์) และความทุกข์ใจ (โทมนัส)
4. เพื่อบรรลุญายธรรม คือ อริยมรรค
5. เพื่อเห็นแจ้งพระนิพพาน ทางสายเดียวนี้คือ “สติปัฏฐาน 4”

สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติซึ่งได้แก่ กาย (body) เวทนา (feeling) จิต (mind) และธรรม(mind-objects) สติปัฏฐาน 4 จำแนกออกเป็น 4 หมวด ดังนี้
1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูกาย
2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูเวทนา
3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูจิตหรือความคิด
4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูธรรมหรืออารมณ์ที่เกิดกับจิต
กรรมฐานที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ยังสามารถจำแนกออกได้เป็น 21กรรมฐาน
อานาปานปัพพะ 1อิริยาปถปัพพะ 1กายานุปัสสนา 14 สัมปชัญญปัพพะ 1ปฏิกูลปัพพะ 1ธาตุปัพพะ 1นวสีวถิกาปัพพะ 9เวทนานุปัสสนา 1 เวทนา 1จิตานุปัสสนา 1 จิต 1นิวรณ์ 1ขันธ์ 1
ธัมมานุปัสสนา 5 อายตนะ 1โพชฌงค์ 1อริยสัจ 1 (รวม 21)

กรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน
วิปัสสนา คือ ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม, ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์ อันเป็นเหตุให้ถอนความหลงผิด รู้ผิดในสังขาร (สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งทั้งนามธรรม และรูปธรรมก็ตาม) เสียได้, การฝึกอบรมปัญญา ให้เกิดความเห็นแจ้ง รู้ชัดในสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเอง (พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)
การเจริญวิปัสสนา เป็นวิถีทางเดียว ที่ทุกคนจะได้เข้าถึง "ความจริงของชีวิต" สามารถที่จะแยกออกได้ว่า สิ่งใดเป็น "สัจจะ" และสิ่งใดเป็น "มายา" เมื่อรู้ และเห็นสิ่งเหล่านี้ อย่างแจ่มแจ้ง และถูกต้องแล้วโอกาสที่จะตกเป็น "ทาส" ของมัน ก็เป็นไปได้ยาก ยกเว้นแต่เป็น " ทาสสมยอม" คือ เป็นทาสของมันทั้ง ๆ ที่รู้ อย่างนี้ ก็ไม่มีใครช่วยได้
ในที่นี้จะกล่าววิธีปฏิบัติวิปัสสนาที่แพร่หลายในประเทศไทยเพียงสังเขป เป็นที่รับรองต้องกัน ในหมู่ผู้รู้ทั้งหลายว่า สำนักปฏิบัติธรรม หรือสำนักวิปัสสนาในเมืองไทยเกือบทั้งหมดได้ใช้แนว " อานาปานสติสูตร "(14/167) และ " สติปัฏฐานสูตร " (12/84) เป็นเสียส่วนใหญ่ ต่างกันแต่ว่า ส่วนมากไม่ได้เอาไปสอน หรือปฏิบัติให้ครบหมดทั้งพระสูตร แต่ได้เจาะ หรือตัด เอาเฉพาะที่ต้องการจะเน้น แล้วนำไปขยาย ตามแต่ที่ตนต้องการ ด้วยเหตุนี้ แนวการปฏิบัติของสำนัก หรืออาจารย์ต่าง ๆ จึงไม่เหมือนกันจึงทำให้ผู้ที่มีการศึกษาน้อย หรือผ่านการปฏิบัติมาน้อยแห่ง จึงเกิดความสงสัยว่า ทำไมจึงมีหลายแบบมากนัก ? และแบบไหน ? เป็นแบบที่ถูกต้อง ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สุด ? ก็ตอบได้ว่า หลักในอานาปานสติสูตร และสติปัฏฐานสูตร หรือมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุด ถ้าท่านไม่ชอบวิธีอื่น ๆ ก็ทำตามหลักที่ว่านี้เถิด ไม่ผิดแน่นอน
ขอเพิ่มเติม สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาพระว่า อย่าได้เอาวิปัสสนา ไปปนกับการเพ่งกสิณ เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ และสีต่าง ๆ รวมทั้งเพ่งพระพุทธรูปด้วย เพราะนั่นเป็นวิธีการ ของการฝึกสมาธิล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาในช่วงนี้เลย สมาธิจะเป็นวิปัสสนาได้ ก็ต่อเมื่อการเอาจิตที่สงบ หรือตั้งมั่นดีแล้วนั้น ไปเจริญวิปัสสนา โดยการพิจารณาร่างกายเป็นอสุภะ กายคตาสติ ปฏิกูล หรือมรณสติ เป็นต้น ถ้าเป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว จะต้องใช้หลักของอานาปานสติ และสติปัฏฐาน คือ เน้นที่สติเท่านั้น แม้ในหลักทั้ง 2 นี้ ในขั้นต้น ๆ ก็ยังเป็นเรื่องของสมาธิอยู่ เช่น การกำหนดลมหายใจเข้า หายใจออก ให้จิตจดจ่อ หรือแน่นิ่ง อยู่กับลมหายใจ เป็นต้น
ดังนั้น สำนักปฏิบัติต่าง ๆ บางแห่ง จึงปฏิบัติควบคู่กันทั้งสมาธิ และวิปัสสนา ต่างกันแต่ว่า สำนักไหนจะเน้นที่สมาธิมาก หรือ เน้นที่วิปัสสนา คือปัญญา มากน้อยกว่ากันเท่านั้น
ขอบันทึกไว้ในเบื้องต้นก่อนว่า ผลของการเจริญสมาธิ กับการเจริญวิปัสสนานั้น แตกต่างกันมากเลยทีเดียว กล่าวคือ การเจริญสมาธิล้วน ๆ เมื่อจิตสงบแล้ว อย่างน้อย ๆ จะเกิดมีขนลุก น้ำตาไหล คันตามตัว ตัวเบา หรือตัวลอย ตัวแข็ง เกิดความสุขสบาย นั่งแล้วไม่อยากเลิก ในบางคน เป็นต้นนอกจากนี้ อาจเห็นนิมิตต่าง ๆ ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน อยากเห็นอะไรก็ได้เห็น ซึ่งเป็นทั้งของจริงก็มี ของเก๊ก็มากส่วนการเจริญวิปัสสนานั้น ผลจะปรากฏว่า จิตจะเกิดการเบื่อหน่าย คลายกำหนัด คลายความยึดถือในสิ่งต่าง ๆ เพราะสิ่งต่าง ๆ ล้วนมีปัญหา ไม่จีรังยั่งยืน เป็นต้น ทำให้รู้จักชีวิตได้อย่างแท้จริงในการเจริญวิปัสสนาเบื้องต้น ไม่สนุกสนานเพลิดเพลิน เพราะต้องฝืน ระมัดระวัง ต้องประคองสติ และสัมปชัญญะ(รู้ตัว) ให้ทันกับพฤติกรรมทั้ง 3 คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ อยู่ตลอดเวลา แต่ในที่สุดก็จะเกิดความสุขไปอีกแบบหนึ่ง คือ สุขเกิดจากการปล่อยวาง เบาสบาย เพราะรู้เท่าทันในสัจจะ หรือในมายาแห่งชีวิตผลพวงของสมาธิ และวิปัสสนา ในการเจริญวิปัสสนาต้องมีสมาธิเป็นพื้นฐาน จะขาดเสียมิได้ แต่การเจริญสมาธินั้น ไม่จำเป็นต้องอาศัยวิปัสสนาก็ได้ แต่ผลพวงย่อมต่างกันสมาธิ ทำให้มีความสุข มีฤทธิ์และอำนาจต่าง ๆ อย่างสูงถ้าได้ฌาน ตายแล้วก็ไปเกิดในพรหมโลก และยังไม่พ้นทุกข์ ยังไม่หมดภพชาติ ยังไม่หมดกิเลสตัณหา ต้องกลับมาเกิดอีกวิปัสสนา ทำให้หมดทั้งความสุข และความทุกข์ คือ รู้สัจจธรรมของโลก และชีวิต อย่างถูกต้องแท้จริง จนหมดความอยากมี อยากเป็น หรือความต้องการใด ๆ เมื่อเรารู้ข้อเท็จจริง ของสมาธิและวิปัสสนา อย่างนี้แล้วก็ควรที่จะปฏิบัติให้ครบทั้งสมาธิ และวิปัสสนาแม้ว่าการปฏิบัตินี้ จะไม่อาจละกิเลสตัณหาได้สิ้นเชิง แต่การที่เราได้สัมผัสกับความสุขในสมาธิ กับการได้สัมผัสสัจจะของชีวิต (วิปัสสนา) ย่อมจะบรรเทาความมัวเมา ในโลกและชีวิตลง อย่างน้อยก็ 50% ที่กล่าวมานี้ เป็นประสบการณ์ส่วนตัว ไม่มีในตำรา และไม่ยืนยันว่า เป็นความเห็นที่ถูกต้อง หรือไม่ ? แต่ขอยืนยันได้ว่า หลังจากผ่านการปฏิบัติแล้ว มันเป็นอย่างนี้ และไม่มีการต่ำลง มีแต่จะยิ่งสูงขึ้นไปตามลำดับ อานิสงส์การปฏิบัติ

กรรมฐาน ๑.ทำให้หายจากโรคปวดศีรษะ ด้วยอานุภาพแห่งการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ทำให้เกิดเป็นอานิสงส์หายจากโรคนี้ได้
๒.ทำให้ซาบซึ้ง ในคำสอนของพระพุทธเจ้า เห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนา และพระคุณของบิดามารดามากยิ่งขึ้น
๓.เกื้อกูลแก่การปฏิบัติงานด้านการเผยแพร่การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี นักธรรม และสามัญศึกษา
๔.ได้ดีเพราะอานิสงส์กรรมฐาน ผู้ใดได้ผ่านการเจริญกรรมฐานมาเป็นอย่างดี จะทำให้มีกำลังใจเข้มแข็ง มีศรัทธาต่อการทำงานแก่พระศาสนา

อานิสงส์การเจริญสติปัฏฐาน ๔
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๗ ปี ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๖ ปี ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๖ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๕ ปี ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๕ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๔ ปี ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๓ ปี ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๓ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๒ ปี ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ ปียกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๑ ปี ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปีหนึ่งยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๗ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๖ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๖ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๕ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๕ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๔ เดือน ผู้นั้น พึง หวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๓ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๓ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๒ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๑ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๑ เดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด กึ่งเดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กึ่งเดือนยกไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอด ๗ วัน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลายเพื่อก้าวล่วงเสียซึ่ง ความโศกและความร่ำไรเพื่ออัสดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัสเพื่อบรรลุญายธรรมเพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้งทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ อย่าง ด้วยประการฉะนี้คำอันใด ที่กล่าวแล้วอย่างนี้ คำอันนั้น เราอาศัยเอกายนมรรค ( คือ สติปัฏฐาน ๔ ) นี้กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้ เจริญสติปัฏฐาน ๔ ให้มาก เพื่อความ บริสุทธิ์ของจิตตลอดไปแม้ว่าจะไม่สามารถบรรลุมรรค ผล นิพพานได้ แต่ก็เป็นการสั่งสมไว้ในชาติต่อไปๆซึ่งในด้านวิปัสสนานั้นไม่เสื่อมเหมือนสมาธิ ( ฌานสมาธิไม่บำเพ็ญนานๆ หรือเกิดนิวรณ์ธรรมขึ้นมา ก็เสื่อมได้ )สั่งสมได้ทุกๆ ชาติไป ชาตินี้เราได้ขั้นนี้ชาติต่อไปถ้ามีโอกาสปฏิบัติ เรามาต่อได้เลย ไม่เสื่อม เหมือนฌานสมาธิและเมื่อไรได้มีโอกาสปฏิสนธิ ด้วย ติเหตุกบุคคล ด้วยผลของกุศลที่เราสั่งสมด้วย มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวงที่กล่าวไว้ข้างต้น ก็จะมีโอกาสที่จะเจริญฌาน และ เจริญสติปัฏฐาน ๔ ให้วิปัสสนาญาณในขั้นต่างๆ เกิดขึ้นได้รวมทั้ง บรรลุ มรรคผล นิพพาน ได้ง่ายกว่าที่เราไม่ได้สั่งสมมาในอดีตเลย
ดังนั้น ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไรก็ตาม ก็ควรมีความเพียรที่จะเจริญ ในกุศลธรรมทุกอย่าง คือ บุญกิริยาวัตถุ 10 กัมมัฏฐาน 40 วิธี และ สติปัฏฐาน 4 เป็นต้น ให้มาก อย่าได้ท้อถอย อานิสงส์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ประโยชน์ของการกำหนด
๑. จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ( ขณิกสมาธิ )
๒. เกิดสติสัมปชัญญะละอัตตาตัวตน
๓. สั่งสมเหตุปัจจัย เพื่อเว้นไกลจากกิเลส
๔. รู้ถ้วนทั่วอย่างวิเศษ ในปัจจุบันขณะ
๕. ละความเกียจคร้าน สะสมญาณหยั่งรู้
๖. กอบกู้อิสรภาพกำหลาบกิเลส
ประโยชน์ของการนั่ง กำหนด ( สมาธิ )
๑. จิตตั้งมั่น และเป็นสมาธิได้ง่าย
๒. สภาวธรรมปรากฏค่อนข้างชัดเจน
๓. อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ชัดเจน
๔. เป็นอิริยาบถที่อื้อต่อการบรรลุ มรรค ผล นิพพานได้มากกว่าอิริยาบถอื่น ๆ
๕. เป็นอิริยาบถที่รวมความพร้อม เพื่อการบรรลุธรรมในขั้นต่าง ๆ กระทั่งสูงสุด
ประโยชน์ของการยืนกำหนด
๑. ทำให้การกำหนดเกิดความต่อเนื่องกัน
๒. จิตเป็นสมาธิได้ค่อนข้างง่าย
๓. ทุกขเวทนามีน้อย ใช้พื้นที่น้อยในการกำหนด
๔. ทำลายบัญญัติของรูปยืน เป็นสภาพรู้อาการ
๕. ทำให้เข้าใจสภาพของเหตุปัจจัย อันอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ประโยชน์ของการเดินจงกรม ๕ ประการ
๑. อดทนต่อการเดินทางไกล
๒. อดทนต่อการกระทำความเพียร
๓. ช่วยย่อยอาหาร
๔. ช่วยขับลมออกจากตน
๕. ทำสมาธิให้ดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ของการกำหนดอิริยาบถย่อย
๑. ปิดช่องว่างการกำหนด ในอิริยาบถอื่น ๆ
๒. ทำให้การกำหนดมีความต่อเนื่องไม่ขาดสาย
๓. วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เกื้อกูลกันค่อนข้างมาก
๔. ส่งเสริมให้อินทรีย์ ๕ เท่ากัน ( สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา )
๕. มีความรอบคอบ ไม่หลงลืม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในด้านอื่น ๆ ด้วย
ประโยชน์ของการนอนกำหนด
๑. ช่วยให้หลับง่าย เพราะไม่กังวล
๒. จิตเป็นสมาธิได้ง่าย
๓. เป็นการพักผ่อน และเป็นการเชื่อมโยงอิริยาบถอื่น ๆให้สม่ำเสมอ
ข้อที่ควรระวัง
- ถีนมิทธะ ความง่วงเหงา หาวนอน เซื่องซึม เกิดขึ้นได้ง่าย
- ไม่ควรนอนมากเกินไปสำหรับผู้มุ่งปฏิบัติจริง ๆ อย่างมากไม่ควรเกิน ๖ ชั่วโมง
- ความเกียจคร้านเกิดขึ้นได้ง่าย อย่าเห็นแก่นอนเกินไป
- นักปฏิบัติที่มุ่งความสุขสงบในชีวิตต้องการหลับพักผ่อน ไม่ต้องตั้งใจกำหนดมาก
อานิสงส์การปฏิบัติวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔
๑. ทำให้สุขภาพทางร่างกาย และจิตใจดีขึ้น
๒. ทำให้จิตใจเบิกบาน เอิบอิ่ม แช่มชื่น
๓. ความวิตกกังวล และความเครียดลดลงอย่างมาก
๔. เป็นผู้มีสติรู้เท่าทัน มีความผิดพลาดน้อย
๕. มีประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ต่าง ๆ ดีขึ้น
๖. ไม่ตกใจกลัว เพราะเจริญสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ
๗. มีความกล้าหาญ ในการกระทำคุณงามความดีอย่างสม่ำเสมอไม่ท้อถอยเบือหน่าย
๘. ความยึดมั่นถือมั่นลดลง เพราะเข้าใจในสภาพที่แท้จริงของชีวิต ( ขันธ์ ๕ )
๙. สามารถทำลายความโลภ ( อภิชฌา ) ความโกรธ ( โทมนัส ) ให้ลดลงหรือหมดไปได้
๑๐. ชื่อว่าเป็นเตรียมความพร้อม และได้สะสมเหตุปัจจัย เพื่อการรู้แจ้งอริยสัจ ๔ อันจะนำไปสู่การบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ซึ่งเป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลส ( ความยึดมั่นถือมั่นด้วยโมหะ) และกองทุกข์ทั้งมวล ได้ในปัจจุบันชาตินี้ หรือถ้าผู้ปฏิบัติกระทำอย่างต่อเนื่อง จะไม่เกิน ๗ ปี เป็นอย่างช้าควรจะได้บรรลุ อริยมรรค อริยผลอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน ดังพระพุทธพจน์ที่ปรากฏอยู่ในท้ายสติปัฏฐานสูตร คัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ( ๑๒/๑๐๓ -๑๒๗ )มีเนื้อความโดยสังเขป ดังนี้
เท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ชี้ให้เห็นว่าการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นเรื่องที่ไม่ยากนัก ทุกคนสามารถกระทำได้ในชีวิตประจำวัน ของแต่ละคนเพียงแต่ให้เรามี สติ สัมปชัญญะ สังเกตอากัปกริยาหรือการเคลื่อนไหวต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าท่านจะกำลังกระทำอะไรอยู่ก็ตาม ถ้าเป็นคนชั่งสังเกตสติปัญญาก็จะเกิดขึ้นตลอดเวลา กิเลสตัณหาจะไม่สามารถเข้ามาบงการชีวิตท่าน ให้เป็นไปตามอำนาจของมันได้ ขณะที่ท่านกำหนดอยู่ กุศล (ความดีงาม) ก็เกิดขึ้นในจิตใจอย่างสม่ำเสมอ ความชั่วหรือบาปก็หลีกไป ถ้าหมั่นกำหนดอยู่เสมอๆ เท่ากับว่าเราได้พัฒนาความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป และยังได้ชื่อว่ารักษาความดีเอาไว้ด้วย สำหรับผู้ปฏิบัติที่มีเวลามาก และสามารถทุ่มเทให้กับปฏิบัติอย่างจริงจัง ขอแนะนำให้เลือกครูบาอาจารย์ ที่ทรงความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่เคยเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน อย่างจริงจังและต่อเนื่องอย่างน้อย ๑ ปี รวมทั้งเป็นผู้สามารถให้คำปรึกษา และแก้อารมณ์กรรมฐานให้แก่ผู้ปฏิบัติได้ไม่หลงทาง หรือยึดติดในสภาพของอัตตา เลือกสถานที่หรือสำนักปฏิบัติที่เป็นสัปปายะ ( สงัดเงียบ ปราศจากเสียงรบกวนอยู่ตลอดเวลา การคมนาคมสะดวก อาหาร และอาคารสถานที่มีความเกื้อกูลแก่ผู้ปฏิบัติตามสมควรแก่อัตภาพ) เมื่อท่านเลือกครูบาอาจารย์ (กัลยาณมิตร) และสถานที่อันเหมาะสมแล้ว ควรทุ่มเทกายใจมุ่งสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง ไม่ใช่ทำเล่นๆ เพื่อกลบเกลื่อนความทุกข์ (ปัญหา) ไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น ควรทำอย่างตั้งใจ ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจะเป็นบทพิสูจน์เองว่า ความจริงของโลกและชีวิตคืออะไร มรรค ผล นิพพานมีจริงไหม ความดับไม่เหลือแห่งกิเลสและกองทุกข์เป็นเช่นใด เมื่อท่านปฏิบัติอย่างจริงจัง ท่านจะพบความจริงเช่นที่ว่านั้น โดยไม่ต้องเสียเวลาไปถามใคร คำตอบอยู่ที่การปฏิบัติของท่านเอง ถ้าแน่ใจ และเชื่อมั่นในความสามารถที่มีอยู่ จงลงมือปฏิบัติดูเถิด.

ผลของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
ผลอันแท้จริงวิปัสสนากรรมฐานจนได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน นั้นก็คือ
ความดับของกิเลสซึ่งได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ หรือ โลภ โกรธ หลง แต่
กิเลสจะสูญสิ้นไปหรือเบาบางลงมากน้อยเพียงไรนั้น ย่อมแล้วแต่ว่า
ผู้ปฏิบัติได้บรรลุมรรคผลขั้นไหน ขั้นของมรรคผลนี้ ท่านจัดได้เป็น ๔ ขั้น คือ
ขั้นแรก เรียกว่า โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ผู้ที่บรรลุมรรคผลขั้นนี้ ได้ชื่อว่า พระโสดาบัน
ขั้นที่สอง เรียกว่า สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล ผู้ที่บรรลุมรรคผล ขั้นนี้ ได้ชื่อว่า พระสกทาคามี
ขั้นที่สาม เรียกว่า อนาคามิมรรค อนาคามิผล ผู้ที่บรรลุมรรคผล ขั้นนี้ ได้ชื่อว่า พระอนาคามี
ขั้นที่สี่ ซึ่งเป็นขั้นสูงสุด เรียกว่า อรหัตมรรค อรหัตผล ผู้ที่บรรลุ มรรคผลขั้นนี้ ได้ชื่อว่า พระอรหันต์ ผู้ที่บรรลุมรรคผลเหล่านี้ได้ชื่อว่าพระอริยบุคคล คือบุคคลผู้ประเสริฐ เพราะมีจิตใจบริสุทธิ์เหนือปุถุชนคนธรรมดาสามัญอานิสงส์หรือผลที่จะได้รับจากการเจริญวิปัสสนา
ท่านกล่าวไว้ในบาลีว่า "อเนิกสหฺสสา" แปลว่า การเจริญวิปัสสนานั้น มีประโยชน์ มีอานิสงส์หลายร้อยหลายพัน จนไม่สามารถจะนับจะ ประมาณได้ ดังนั้น ในที่นี้จะขอยกมาพอเป็นตัวอย่างแต่เล็กน้อย พอเหมาะพอควรแก่กาลเวลา คือ จะยกมาเพียงส่วนน้อยๆ เท่าที่ สามารถจะนำมาได้เท่านั้น คือ
(๑) ทำให้นักปฏิบัติเข้าใจธรรมทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติได้ดี และละเอียดละออยิ่งขึ้น เช่น เข้าใจคำว่า รูปนาม พระไตรลักษณ์ เป็นต้น ดีขึ้นกว่าไม่ได้เข้าปฏิบัติหลายเท่า
(๒) ทำให้มีกำลังใจเข้มแข็ง มีความขยัน มีความอดทน มีความรู้จักประหยัด ยิ่งขึ้นเป็นพิเศษกว่าแต่ก่อน เข้าในหลักที่ว่า "วินัย ขยัน อดทน ประหยัด พัฒนา ลดปัญหาได้ทุกอย่าง" ดังนี้
(๓) พัฒนาจิตใจให้เป็นนักเสียสละขึ้นอีกมาก เห็นแก่ส่วนรวม ทำงานไม่เห็น แก่เหน็ดเหนื่อย และไม่เบื่อหน่าย ยิ่งทำยิ่งเพลิน ตรงกันข้ามกับสมัยก่อน เมื่อยังไม่ได้เข้าปฏิบัติกรรมฐาน
(๔) ทำให้ดูหนังสือธรรมเพลิดเพลิน ไม่รู้จักเบื่อ เข้าในหลักที่ว่า ยิ่งดูยิ่งมัน บางวันอ่านหนังสือธรรมค้นพระไตรปิฎกเพลิดเพลิน ไม่อยากหลับ ไม่อยากนอน
(๕) ทำให้อธิบายธรรมได้ดีขึ้น ละเอียด สุขุมขึ้นกว่าเดิม เพราะสามารถจะ อธิบายได้ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ซึ่งลุ่มลึกไปตามลำดับดุจทะเล- มหาสมุทร ฉะนั้น
(๖) ทำให้สติดีขึ้น ความจำดีขึ้น จำได้แม่นยำ จำได้แล้วไม่ค่อย หลงไม่ค่อยลืม
(๗) เป็นมหากุศล เป็นบุญทุกขณะที่ลงมือปฏิบัติหรืลงมือสอนผู้อื่น แนะนำผู้อื่น
(๘) เป็นคนไม่ประมาท เพราะมีสติระลึกอยู่กับรูปนาม (หรือกายและใจ หรือ พูดให้ละเอียดลงไปอีกก็คือในขันธ์ห้า หรือใน กาย-เวทนา-จิต-ธรรม - deedi) เป็นส่วนมาก
(๙) ได้บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา ตามพระพุทธโอวาท
(๑๐) ได้เดินทางสายกลางคือมรรค ๘
(๑๑) ได้เดินทางสายเอก คือหนึ่งไม่มีสอง (ทางสายเอก ทางสายลัดสั้น ทางสาย เดียวสู่มรรคผลนิพพาน หรือเอกายนมรรค ก็คือ สติปัฏฐานสี่ - deedi)
(๑๒) ได้บำเพ็ยบารมี ได้รีบสร้างบารมี ได้เตรียมตัวก่อนตายไว้พร้อมแล้ว
(๑๓) ทำให้ฉลาดรู้จักหลักความจริงและรู้จักหลักชีวิตประจำวันดีขึ้น
(๑๔) ทำให้รู้จักปรมัตถธรรม ไม่หลงติดอยู่ในสมมติบัญญัติ อันเป็นเพียง โรงละครของชาวโลก (ปรมัตถธรรม คือ สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์ สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุดตามหลักอภิธรรมว่ามี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน- จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์)
(๑๕) ทำให้คนรักใคร่กัน ปรองดองกัน สนิทสนมกัน เข้ากันได้ดี เป็น เสมือนหนึ่งญาติสนิท
(๑๖) ทำให้คนมีความเมตตากรุณาต่อกัน เอ็นดูกัน สงสารกัน พลอยยินดี อนุโมทนาสาธุการในเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี ไม่มีความริษยากันและกัน
(๑๗) ทำให้คนเป็นคน ให้ดีกว่าคน ให้เด่นกว่าคน ให้เลิศกว่าคน ให้ประเสริฐกว่าคนและทำคนให้เป็นพระ
(๑๘) ทำให้คนไม่เบียดเบียนกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน ไม่อิจฉาริษยา กันและกัน
(๑๙) ทำคนให้เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ไม่มีมานะทิฏฐิ ไม่ถือตัว ไม่เย่อหยิ่ง จองหอง
(๒๐) ทำคนให้รู้จักตัวเอง รู้จักปกครองตัวเอง คืออ่านตัวออก บอกตัวได้ ใช้ตัวเป็น หรืออ่านตัวออก บอกตัวได้ ใช้ตัวฟัง
(๒๑) ทำคนให้เป็นผู้หนักแน่นในกตัญญูกตเวทิตาธรรม คือ เป็นคนมีความ กตัญญูกตเวทีนั่นเอง
(๒๒) ทำคนให้หันหน้าเข้าหากัน ให้บรรจบกัน เพราะต่างฝ่ายต่างลดทิฏฐิมานะ ลงหากัน เข้ากันได้ เป็นกันเอง รู้ใจกันดี
(๒๓) ทำคนให้มีกาย วาจา ใจ บริสุทธิ์ อ่อนน้อม เยือกเย็น
(๒๔) ทำคนให้ได้รับความสุข ๗ ประการ คือ สุขของมนุษย์ สุขทิพย์ สุขใน วิปัสสนา สุขในมรรค สุขในผล สุขคือพระนิพพาน ตามสมควรแก่การ ปฏิบัติของตนๆ หรือตามสมควรแก่วาสนาบารมีของตน (วาสนาบารมี ตรงนี้คงหมายความถึง การที่ได้สั่งสมอบรมพัฒนาจิตใจมาเพื่อการ พ้นทุกข์ (๒๕) ทำให้คนพ้นความเศร้าโศกปริเทวนาการ ดุจนางปฏาจาราและ สันตติมหาอำมาตย์ เป็นต้น
(๒๖) ทำคนให้มีปัญญา ดับความทุกข์ร้อนทางกาย ทางใจ
(๒๗) ทำคนให้เดินทางถูก ให้รู้จักวิถีทางแห่งชีวิตอันถูกต้องได้ดี ไม่หลงทาง ไม่มัวเมา ไม่ประมาท รู้จักสูตรของคนที่ว่า "เกิดเป็นคน คนให้ทั่ว ปากไม่ล้น ก้นไม่รั่ว ชั่วไม่เอา เมาไม่มี นี้คือคน" ดังนี้
(๒๘) ทำคนให้ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน เป็นปริโยสาน (ปริโยสาน คือ ที่สุดลงโดยรอบ จบ จบอย่างสมบูรณ์ - พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์)
(๒๙) ถึงปฏิบัติได้แค่ญาณ ๑-๒ คือเพียงอยู่ในญาณต้นๆ หรือญาณต่ำๆ ถ้าพยายามรักษาไว้ได้หรือปฏิบัติต่อๆ ไปก็สามารถจะป้องกันภัยใน อบายภูมิได้ ดังมีหลักฐานรับรองไว้ในวิสุทธิมรรค ว่า
อิมินา ปน ญาเณน สมนฺนาคโต วิปสฺสโก พุทฺธสาสเน ลทฺธสฺสาโส ลทฺธปติฏฺโฐ นิยคติโก จูฬโสตาปนฺโน นาม โหติ. ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ถึงญาณที่ ๒ คือ ปัจจยปริคคหญาณนี้แล้ว ได้ความเบาอกเบาใจในพระพุทธศาสนา ได้ที่พึ่งที่ระลึกในพระพุทธ ศาสนา มีคติอันเที่ยงคือตายแล้วไม่ไปอบายภูมิ ชื่อว่า จูฬโสดาบัน หมายความว่า เป็นผู้เข้าสู่กระแสพระนิพพานน้อยๆ
เป็นผู้เดินทางถูกแล้ว
(๓๐) ถ้าปฏิบัติถึงญาณที่ ๔ คือ อุทยัพพยญาณ เห็นรูปนามเกิดดับ เห็น พระไตรลักษณ์ชัด ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ชื่อว่าเป็นผู้มีชีวิตอันประเสริฐ ถึงจะ ตายเสียในวันนั้น ก็ยังดีกว่าบุคคลผู้ไม่ได้ปฏิบัติ แต่มีชีวิตเป็นอยู่ได้ ตั้ง ๑๐๐ ปี ดังมีหลักฐานรับรองไว้ ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕
โย จ วสฺสตตํ ชีเว อปสฺสํ อุทยพฺพยํ เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปสฺสโต อุทยพฺพยํ ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ถึงญาณที่ ๔ คือ อุทยัพพยญาณ เห็นความ เกิดดับของรูปและนาม ถึงแม้จะมีชีวิตอยู่ได้เพียงวันเดียวก็ยังประเสริฐกว่าบุคคลผู้ไม่เห็นความเกิดดับของรูปนามแต่มีชีวิตอยู่ได้ตั้ง๑๐๐ ปี
(๓๑) ถ้าชาตินี้ยังไม่ได้สำเร็จมรรค ผล นิพพาน ก็จะเป็นปัจจัยให้ได้สำเร็จ มรรค ผล นิพพาน ในชาติต่อไป คือ ถ้าเจริญวิปัสสนาในปฐมวัย คือ ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบถึง ๒๕ ปี แต่ไม่ สำเร็จ ก็จะเป็นปัจจัยให้ได้สำเร็จในมัชฌิมวัย คือ ตั้งแต่อายุ ๒๕ ปี ถึง ๕๐ ปี ถ้ายังไม่สำเร็จในมัชฌิมวัยนี้ ก็จะเป็นปัจจัยให้ได้สำเร็จในปัจฉิมวัย คือ ตั้งแต่อายุ ๕๑ ปี ๗๕ ปี ถ้าไม่สำเร็จในปัจฉิมวันนี้ ก็จะไปเป็นปัจจัยให้ได้สำเร็จในมรณสมัย คือในเวลาใกล้จะตาย ถ้าไม่สำเร็จในเวลาใกล้จะตาย ก็จะเป็นปัจจัยให้ใจบริสุทธิ์ แล้วไปเกิด ในสวรรค์ สมดังพระบาลีว่า "จิตฺเต อสงฺกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา"
"เมื่อใจไม่เศร้าหมอง คือใจบริสุทธิ์แล้ว สุคติก็เป็นอันหวังได้" ดังนี้ จะได้สำเร็จบนสวรรค์โน้น
ถ้ายังไม่ได้สำเร็จบนสวรรค์โน้น ก็จะเป็นปัจจัยให้ได้ฟังธรรมก่อนที่จะ หมดศาสนา พระอัฐิฐาติทั้งหลายจะได้มารวมกันเป็นองค์พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมอยู่ ๗ วัน ๗ คืน ก็จะได้มีโอกาสมาฟังธรรมและ ปฏิบัติธรรมในสมัยนั้น แล้วจะได้สำเร็จมรรค ผล นิพพาน ในตอนนั้น ถ้ายังไม่ได้สำเร็จในตอนนั้น ก็จะได้เกิดทันศาสนา ของพระศรีอาริยเมตไตรย ได้ฟังธรรมต่อพระพักตร์ของพระองค์ แล้วได้สำเร็จมรรค ผล นิพพาน โดยเร็วพลันที่สุด ดุจพาหิยทารุจีริยะ พระอัญญาโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ พระอัสสชิ พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ เป็นต้น ถ้าไม่ได้พบพระศรีอาริยเมตไตรย หรือสาวกของพระศรีอริยเมตไตรย เกิดในสุญกัปป์ คือ กัปป์ที่ว่างจากพระพุทธเจ้า ก็จะได้เป็นพระปัจเจก พุทธเจ้าได้ตรัสรู้มรรค ผล นิพพานด้วยตนเอง (๓๒) ทำกิเลสคือโลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ เป็นต้น ให้เบาบางลง
(๓๓) ทำให้เป็นคนมีใจสุขุมเยือกเย็น
(๓๔) ทำให้เป็นคนมีสติรอบคอบ ดุจรถที่มีเครื่องห้ามล้อดี ฉะนั้น
(๓๕) ทำให้สมาธิดีทำให้ความจำดีขึ้นทำให้เรียนหนังสือเก่งเป็นประโยชน์แก่นักเรียนนักศึกษามาก
(๓๖) ทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ หายไป เช่น โรคประสาท โรคอัมพาต โรคกระเพาะ โรคปวดศีรษะ (๓๗) สามารถเป็นปัจจัยนำไปเกิดในสวรรค์ได้ เช่น พระภิกษุรูปนหนึ่ง ท่านเจริญวิปัสสนากรรมฐานถึงญาณที่ ๔ แล้วมรณภาพลงด้วย โรคลม ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลงมากราบพระพุทธเจ้า ขอฟังะรรม ปฏิบัติธรรมต่อ ในที่สุดก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน กลับไปเสวยรมย์ชมสมบัติอยู่ในเทวโลกสืบต่อไป
(๓๘) ทำให้มีความเชื่อความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยหนักแน่นมั่นคง ยิ่งขึ้นไปเป็นร้อยเท่าพันทวี
(๓๙) สะดวกแก่การปกครอง คือทำให้ผู้ที่ได้รับการอบรมไปแล้วนั้น เป็นผู้ ปกครองง่าย ไม่ก่อความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นแก่หมู่ แก่คณะ แก่สังคม ทั่วๆ ไป
(๔๐) กันโง่ เพราะมีสติ สติเป็นคู่ปรับกับโมหะ คือความโง่ เพราะโมหะ นี้แหละ เป็นตัวโง่อย่างสำคัญที่สุดของแต่ละบุคคล
(๔๑) มีสติตั้งมั่นดี ทั้งในยามปกติและในยามใกล้จะตาย
(๔๒) ทำให้คนมีศีลธรรม วัฒนธรรม อารยธรรม จริยธรรมอันดีงาม โดยมากจะมีศีล ๕ มั่นเป็นนิจ
(๔๓) เด็กนักเรียนที่มีความจำไม่ดี เรียนหนังสือไม่เก่งก็จะมีความจำดีขึ้น เรียนหนังสือเก่งขึ้นอีกหลายเท่าทีเดียว เพราะมีตัวอย่างมามากต่อมาก แล้ว
(๔๔) แก้นิสัยคนไดดีมาก คือคนที่พาลเกเร เช่นอันธพาล นักโทษ ถ้าได้เจริญ วิปัสสนากรรมฐานแล้ว จะกลับตัวเป็นคนละคน ถ้านักโทษแต่ละคน ได้เข้าปฏิบัติแล้ว เวลาปล่อยออกไป จะไม่กลับมาสู่คุกตะรางอีกเลย
(๔๕) ถ้าฝึกสมาธิได้ดีแล้ว จะมีสุขภาพทางจิตดี เพราะได้พัฒนาจิตมาดี เข้าในหลักที่ว่า "กิเลสเป็นพิษทำให้จิตแปรปรวน สมาธิเท่านั้นทั้งกัน ทั้งแก้ และสามารถจะนั่งได้เป็นเวลานานๆ หลายชั่วโมง เริ่มตั้งแต่
๕ นาทีเป็นต้นไป จนกระทั่งถึง ๒๔ ชั่วโมง ๓๐-๔๐-๗๒ ชั่วโมง ก็ได้ เพราะเคยมีมาแล้ว
(๔๖) ชื่อว่าได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยการบูชาอย่างสูงที่สุด ดังพระบาลีที่ พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๑๖๐-๑๖๑ ว่า
โย โข อานนฺท ภิกฺขุ วา ภิกฺขนี วา อุปาสโก วา อุปาสิกา วา ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน วิหรติ สามีจิปฏิปนฺโน อนุธมฺมจารี โส ตถาคตํ สกฺกโรติ ครุกโรติ มาเนติ ปูเชติ ปรมาย ปูชาย.
ดูกรอานนท์ ผู้ใดเป็นภิกษุก็ตาม เป็นภิกษุณีก็ตาม เป็นอุบาสกก็ตาม เป็นอุบาสิกาก็ตาม ถ้าได้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติธรรมตามธรรมอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าได้สักการะ ได้เคารพ ได้นับถือ ได้บูชาตถาคตด้วยการบูชาอย่างสูง ดังนี้
(๔๗) ชื่อว่าได้ช่วยกันรักษาพระสัทธรรมไว้ไม่ให้เสื่อม สมดังพระบาลีว่า
จตุนฺนํ โข อาวุโส สติปฏฺฐานํ ภาวิตตฺตา พหุลีกตตฺตา สทฺธมฺมอปริหานํ โหติ.
ดูกรอาวุโส พระสัทธรรมจะไม่เสื่อ ก็เพราะพุทธบริษัทพากันปฏิบัติ ตามสติปัฏฐาน ๔ ดังนี้
(๔๘) ชื่อว่าได้ช่วยกันเผยแพร่พระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองดำรงเสถียรภาพ อยู่ตลอดกาลนาน สมดังหลักฐานรับรองไว้ว่า ปูเชสฺสนฺติ ตาว มม สาสนํ นภมชฺเฌ ปุณฺณจนฺโท วิย วิโรเจสฺสติ.
จริงอยู่ ถ้าบริษัททั้ง ๔ นี้จักบูชาเราด้วยการปฏิบัตินี้อยู่ตราบใด ศาสนาของเราจักเจริญรุ่งเรือง ปานดังพระจันทร์เพ็ญ ลอยเด่นจ้าอยู่ ท่ามกลางนภาตราบนั้น ดังนี้
(๔๙) ชื่อว่าได้เห็นพระพุทธองค์ เพราะได้เห็นพระธรรม สมดังที่ตรัสกับ
พระวักกลิว่า โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ โย มํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ.
ดูกรวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่า เห็นธรรม ดังนี้
(๕๐) ชื่อว่ามีความจงรักภักดี มีความเคารพรักใคร่ในพระพุทธองค์เป็นพิเศษ สมดังพระบาลีซึ่งปรากฏอยู่ในธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๖ ว่า ภิกฺขเว มยิ สสิเนโห ติสฺสสทิโส ว โหตุ คนฺธมาลาทีหิ
ปูชํ กโรนฺตาปิ เนว มํ ปูเชนฺติ ธมฺมานุธมฺมปฏิปชฺชมานาเยว
ปน มํ ปูเชนฺติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่มีความจงรักภักดีในเรา จงเป็นเช่นกับพระ ติสสเถระเถิด (พระติสสเถระท่านเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ก็จงพากัน เจริญวิปัสสนากรรมฐานเหมือนท่านเถิด) ถึงแม้ว่าบริษัททั้ง ๔ พากัน ทำการบูชา ด้วยของหอมและดอกไม้นานัปปการ ก็ยังไม่ชื่อว่าได้บูชา
เราอย่างแท้จริง ส่วนบริษัททั้งหลาย ที่ได้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เท่านั้น จึงจะชื่อว่าได้บูชาเราด้วยการบูชาอย่างแท้จริง ดังนี้
(๕๑) ชื่อว่าได้บำเพ็ญกองกุศลอันยิ่งใหญ่ไพศาลทีเดียว ข้อนี้มีพระบาลี ซึ่งปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๒๖ รับรองไว้ว่า กุสลราสีติ ภิกฺขเว วทมาโน จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน สมฺมา วทมาโน วเทยฺย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองแห่งกุศล จะต้องกล่าวถึง
สติปัฏฐานทั้ง ๔ จึงจะชื่อว่ากล่าวถูกต้อง เกวโล หายํ ภิกขฺเว กุสลราสิ ยทิทํ จตฺตาโร
สติปฏฺฐานา ดูกรภิกษุทั้งหลาย กองกุศลล้วนๆ นี้ได้แก่สติปัฏฐานทั้ง ๔ ดังนี้
(๕๒) ชื่อว่าได้ตัดเวมติกังขา คือข้อข้องใจสงสัยของตัวเอง ซึ่งได้เคยสงสัยว่า สมัยนี้ มรรค ผล นิพพาน จะมีอยู่หรือไม่หนอ ซึ่งสอดคล้องต้องตาม พระบาลี ที่ปรากฏอยุ่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๑๗๕-๑๗๖ ว่า อิมสฺมิญฺจ โข สุภทฺท ธมฺมวินเย อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค อุปลพฺภติ สมโณปิ ตตฺถ อุปลพฺภติ ฯ เป ฯ อิเม จ สุภทฺท ภิกฺขู สมฺมา วิหเรยฺยุํ อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺส. ดูกรสุภัททะ ในพระธรรมวินัยนี้ ถ้ายังมีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่ ตราบใด แม้พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ก็ยังมีอยู่ตราบนั้น ฯลฯ ดูกรสุภัททะ ถ้าภิกษุทั้งหลาย พึงพากันประพฤติ ปฏิบัติอยู่โดยชอบ โลกก็ไม่พึงว่างเปล่าจากพระอรหันต์ ดังนี้
พระอรรถกถาจารย์ ยังได้กล่าวรับรองความข้อนี้ไว้อีก ซึ่งปรากฏอยู่ใน สุมังคลวิลาสินี อัฏฐกถา ฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ภาค ๓ หน้าที่ ๑๑๑- ๑๑๒ บรรทัดที่ ๒๑ และ บรรทัดที่ ๑-๒ ว่า
ปฏิสมฺภิทปฺปตฺเตหิ วสฺสสหสฺสํ อฏฺฐาสิ. พันปีที่ ๑ เป็นยุคของพระอรหันต์ ผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา
ฉฬภิญฺเญหิ วสฺสสหสฺสํ. พันปีที่ ๒ เป็นยุคของพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา ๖
เตวิชฺเชหิ วสฺสสหสฺสํ. พันปีที่ ๓ เป็นยุคของพระอรหันต์ ผู้ได้วิชชา ๓
สุกฺขวเปสฺสเกหิ วสฺสสหสฺสํ. พันปีที่ ๔ เป็นยุคของพระอรหันต์ ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน
ปาฏิโมกฺเขหิ วสฺสสหสฺสํ อฏฺฐาสิ. พันปีที่ ๕ เป็นยุคของพระอนาคามี พระสกิทาคามีและพระโสดาบัน ดังนี้
(๕๓) ชื่อว่าเราได้ปฏิบัติตามคำสั่งของพระพุทธองค์ทั้ง ๓ ปิฎก คือ ทั้ง พระวินัย ทั้งพระสูตร ทั้งพระอภิธรรม สมดังหลักฐานที่มีปรากฏ อยู่ในธรรมบทภาค ๒ หน้าที่ ๖๐ บรรทัดที่ ๒ รับรองไว้ว่า
(ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)
สกลํปิ หิ เตปิฎกํ พุทฺธวจนํ อาหริตฺวา กถิยมานํ อปฺปมาทเมว โอตรติ.
จริงอยู่ พระพุทธพจน์ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจบทั้ง ๓ ปิฎก แม้ทั้งสิ้น คือไม่เหลือเลยสักตัวเดียว ที่พระนักเทศน์ พระธรรมกถึก นำมาแสดงให้พุทธบริษัทฟังอยู่นั้น ย่อมรวมลงสู่จุดเดียวเท่านั้น คือ ความไม่ประมาท
โส ปเนส อตฺถโต สติยา อวิปฺปวาโส นาม.
ก็อันความไม่ประมาทนี้นั้น โดยใจความก็ได้แก่การไม่อยู่ปราศจากสติฯ คนมีสติก็คือคนเจริญสติปัฏฐาน ๔ คนเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ คนเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง
สติปัฏฐาน ๔

หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่สมบูรณ์ที่สุด มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์มหาสติปัฏฐานสูตร การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นหนทางเดียว (เอกายนมรรค) ที่ทำให้จิตบริสุทธิ์หมดจด ทำให้พ้นจากทุกข์และบรรลุมรรคผล นิพพาน สติปัฏฐาน ๔ ได้ชื่อว่าเป็นเอกายนมรรคหรือทางสายเอก เพราะ
๑. เป็นทางที่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นทรงค้นพบ เว้นจากการอุบัติของพระพุทธเจ้าแล้ว จะไม่มีการสอนตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในโลก
๒. เป็นวิถีทางปฏิบัติที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่มีในศาสนาอื่นๆ
๓. เป็นทางที่จะต้องไปคนเดียว คือต้องไปด้วยตนเองอย่างเดียว แม้พระพุทธเจ้าก็เป็นแต่เพียงผู้บอกทางให้เท่านั้น
๔. เป็นทางสายเดียว ไม่มีสองแพร่ง ผู้ดำเนินตามทางนี้เท่านั้น จึงจะพ้นจากสังสารวัฏ
๕. เป็นทางที่นำไปสู่จุดหมายปลายทางแห่งเดียว คือ พระนิพพาน
กล่าวโดยสรุป สติปัฏฐาน ๔ เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้จิตบริสุทธิ์ พ้นจากทุกข์ และบรรลุมรรคผล นิพพาน ไม่มีหนทางอื่นอีกเลย นอกจากการปฏิบัติตามหลักการในสติปัฏฐาน ๔ นี้เท่านั้น คำสอนของพระพุทธเจ้าแม้จะมีถึง ๘๔, ๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เมื่อย่อลงมาแล้ว ก็คือสอนเพื่อปฏิบัติมุ่งชำระจิตให้บริสุทธิ์นั่นเอง
วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ
พระพุทธเจ้าได้ตรัสวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ไว้ ๕ ประการ คือ
๑. เพื่อความบริสุทธิ์ของจิต
๒. เพื่อกำจัดความเศร้าโศกเสียใจพิไรรำพัน
๓. เพื่อกำจัดความทุกข์กายทุกข์ใจ
๔. เพื่อเข้าใจชีวิตตามความเป็นจริง
๕. เพื่อความดับทุกข์ คือพระนิพพาน

ความหมายของสติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน แปลว่า ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ หรือ ธรรมที่เป็นบ่อเกิดของสติ ในทางปฏิบัติแล้ว มีวิธีการปฏิบัติ ๔ วิธีด้วยกัน คือ การใช้สติตามพิจารณาดูกาย เวทนา จิต และธรรม หรือย่นย่อให้สั้นลง คือการตามพิจารณาดูเพื่อให้เห็นความเกิดดับของรูปนาม มีวิธีการปฏิบัติโดยย่อดังนี้
๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ การใช้สติพิจารณากำหนดรู้อาการที่ปรากฏทางกาย หรือรูปขันธ์ เช่น การเดิน นั่ง นอน การกำหนดลมหายใจเข้าออก การกำหนดอิริยาบถย่อย เช่น กิน ดื่ม เคี้ยว คู้ เหยียด เป็นต้น เมื่อมีอาการเคลื่อนไหวทางกายอย่างใด ก็ตามพิจารณารู้อาการนั้นๆ ตามความเป็นจริง
๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ การใช้สติพิจารณากำหนดรู้อาการที่ปรากฏทางเวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ เมื่อเกิดความรู้สึกขึ้นอย่างใด ก็ตามพิจารณาดูความรู้สึกนั้นๆ ตามความเป็นจริง
๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ การใช้สติพิจารณาอาการที่ปรากฏทางจิตหรือวิญญาณขันธ์ เช่น ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ ความสงบไม่สงบของจิต กล่าวคือ เห็นจิตใจตนเองที่กำลังคิด เมื่อจิตมีอารมณ์อย่างใด ก็ตามพิจารณารู้อารมณ์นั้นๆ ตามความเป็นจริง
๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ การใช้สติพิจารณาอาการที่ปรากฏทางสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ สัญญาคือความจำได้หมายรู้ สังขาร คืออาการปรุงแต่งของจิต เมื่อมีสภาวธรรมอย่างใดเกิดขึ้น ก็กำหนดรู้สภาวธรรมนั้นๆ กล่าวคือการกำหนดรู้นิวรณ์ธรรม

กล่าวโดยสรุป สติปัฏฐาน คือการเจริญสติในชีวิตประจำวัน ใช้สติพิจารณากำหนดรู้ความเป็นไปของรูปนามที่เป็นปรมัตถ์ทุกขณะว่า ปัจจุบันเราทำอะไรอยู่ เราคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร มีสภาวธรรมอย่างใดเกิดขึ้น โดยกำหนดรู้อาการและสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น ไม่กำหนดรู้อาการหรือสภาวธรรมที่เป็นอดีตหรืออนาคต ถ้าปล่อยให้จิตไปติดอยู่ก็อาการหรือสภาวธรรมที่เป็นอดีตหรืออนาคต ก็คือขาดสติ การกำหนดรู้ทุกขณะไม่เผลอ จะทำให้ศีลบริสุทธิ์ เมื่อศีลบริสุทธิ์แล้ว ก็จะเป็นปัจจัยให้สมาธิแก่กล้า เมื่อสมาธิแก่กล้าแล้ว ก็จะเป็นปัจจัยให้ปัญญาผ่องใส นำไปสู่การทำให้แจ้งซึ่งมรรคผล นิพพาน โดยการเจริญสติปัฏฐานให้ก้าวหน้านั้น จำเป็นต้องอาศัยความบริสุทธิ์แห่งศีลเป็นสำคัญ ความที่มีสติระวังกำหนดรู้รูปนาม ไม่เผลอ ก็คือ ทำให้ศีลบริสุทธิ์นั่นเอง

อารมณ์ของการปฏิบัติ
อารมณ์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่เบญจขันธ์ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ย่อให้สั้นได้แก่รูปกับนาม รูปขันธ์ เป็นรูป ส่วนเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์เป็นนามสรุปว่ารูปนามมีอยู่ในที่ใดขันธ์๕ ก็มีอยู่ในที่นั้น

หลักสำคัญในการปฏิบัติ
การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ จะให้เห็นผลได้เร็วนั้น มีหลักเกณฑ์สำคัญในการปฏิบัติดังนี้
๑. ต้องกำหนดให้ได้ปัจจุบันธรรม กล่าวคือ การกำหนดต้องไปเป็นพร้อมกับการปรากฏแห่งอาการหรือสภาวธรรมนั้นๆ ไม่ก่อนไม่หลังกัน
๒. ต้องทำอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ เมื่อเดินจงกรมเสร็จแล้ว ให้นั่งต่อทันที ต้องกำหนดอิริยาบถหรือสภาวะทุกอย่าง ตลอดจนต้องทำต่อเนื่องไม่ขาดสาย ไม่ใช่ทำๆ หยุดๆ
๓. ต้องประกอบด้วยองค์คุณ ๓ คือ อาตาปี ตั้งใจปฏิบัติจริง เอาชีวิตเป็นเดิมพัน ยอมสละชีวิตได้ สติมา มีสติระลึกอยู่ก่อนที่รูปนามจะเกิดขึ้น และสัมปชัญญะ มีสติตามกำหนดรู้รูปนามอยู่ทุกขณะ กล่าวคือ มีความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ทุกขณะไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด
๔. ต้องรู้จักปรับอินทรีย์พละ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญาให้เสมอกัน กล่าวคือ ปรับศรัทธาให้เสมอกับปัญญา ปรับวิรยะให้เสมอกับสมาธิ เจริญสติซึ่งเป็นผู้ควบคุมให้มาก สติยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งคมยิ่งตัดสภาวธรรมได้เร็ว สาเหตุที่ต้องปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน ก็เพราะถ้าศรัทธามาก ปัญญาหย่อน ความโลภจะเข้าครอบงำ ถ้าปัญญายิ่ง ศรัทธาหย่อน วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยจะเข้าครอบงำ ถ้าวิริยะยิ่ง สมาธิหย่อน อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจจะเข้าครอบงำ ถ้าสมาธิยิ่ง วิริยะหย่อน ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอนจะเข้าครอบงำ กล่าวโดยสรุป การปฏิบัติจะได้ผลช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับความฉลาดในการปรับอินทรีย์พละ

วิธีเพิ่มอินทรีย์พละ ๕
๑. วิธีเพิ่มศรัทธา ให้พยายามทรงใจให้อยู่กับรูปนาม ศีล สมาธิ ปัญญา และปัจจุบันธรรม
๒. วิธีเพิ่มวิริยะ ให้เพียรตั้งใจทำจริง กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ปฏิบัติให้มาก
๓. วิธีเพิ่มสติ ให้มีสติระลึกรู้อยู่กับรูปนาม และคอยกำหนดอารมณ์และสภาวะตลอดเวลา
๔. วิธีเพิ่มสมาธิ ให้ตั้งใจแน่วแน่ในอารมณ์ที่กำหนด อย่าเปลี่ยนอารมณ์หรือวิธีการปฏิบัติบ่อย จิตหลุดไปในอาการใด ให้กำหนดรู้ในอาการนั้น
๕. วิธีเพิ่มปัญญา ให้รู้รูปนาม รู้ปัจจุบันธรรม รู้พระไตรลักษณ์ รู้วิปัสสนาญาณ รู้มรรคผล นิพพาน

เป้าหมายของการปฏิบัติ
เมื่อปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ นี้แล้ว โยคีบุคคลจะได้ประโยชน์ดังนี้
๑. เมื่อเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน จะเป็นเหตุปัจจัยให้สามารถทำลายสุภสัญญาวิปลาส คือความสำคัญเข้าใจผิดคิดว่าสังขารร่างกายนี้สวยงาม น่าใคร่ น่าปรารถนา
๒. เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จะเป็นเหตุปัจจัยให้สามารถทำลายสุขสัญญาวิปลาส คือความสำคัญเข้าใจผิดคิดว่าสังขารทั้งปวงเป็นสุข
๓. เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน จะเป็นเหตุปัจจัยให้สามารถทำลายนิจจสัญญาวิปลาส คือความสำคัญเข้าใจผิดคิดว่าสังขารทั้งปวงเที่ยง
๔. เมื่อเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน จะเป็นเหตุปัจจัยให้สามารถทำลายอัตตสัญญาวิปลาส คือความสำคัญเข้าใจผิดคิดว่าสิ่งทั้งปวงมีตัวตน
ผู้ใดปฏิบัติตามแนวแห่งสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างต่อเนื่อง ด้วยความเพียรและความฉลาด ย่อมจะได้บรรลุมรรคผล นิพพาน สามารถตัดมูลแห่งวัฏฏะ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ไม่หลงผิดในสภาวธรรม มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จิตของผู้นั้นก็จะมีความสงบสุขร่มเย็น ไม่เร่าร้อนเพราะเพลิงกิเลสตัณหา
อานิสงส์ของการปฏิบัติ
พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงอานิสงส์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานว่ามีอยู่ ๔ ประการ คือ
๑. เมื่อใกล้ตายจะได้สติ ระลึกถึงบุญกุศล คุณงามความดีที่ตนได้ทำไว้ ไม่หวั่นกลัวต่อความตาย
๒. เมื่อตายแล้ว จะได้ไปสู่สุคติ คือการเกิดในโลกสวรรค์หรือกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ที่เป็นบัณฑิต ๓. ถ้ายังไม่บรรลุในชาตินี้ จะเป็นเชื้อ เป็นพื้นฐาน เป็นอุปนิสัยส่งเสริมให้บรรลุมรรคผล นิพพาน ในชาติหน้าต่อไป
๔. ถ้าได้เจริญวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ นี้ เป็นเวลา ๗ ปีต่อเนื่องกัน จะได้ผล ๒ ประการ คือ จะได้เป็นพระอนาคามีอย่าง ๑ จะได้เป็นพระอรหันต์ในปัจจุบันชาตินั้นอย่าง ๑
วิ ปั ส ส น า ก ร ร ม ฐ า น แ ล ะ ส ม ถ ก ร ร ม ฐ า น
การเจริญกรรมฐาน มีอยู่ ๒ ประการ คือ การเจริญสมถกรรมฐานประการหนึ่ง และการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน อีกประการหนึ่ง
การเจริญสมถกรรมฐานนั้น มีการเจริญกันแม้ในสมัยที่พระพุทธศาสนายังไม่ได้ อุบัติขึ้นในโลก แต่เมื่อถึงสมัยที่พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลกแล้ว การเจริญ สมถกรรมฐานก็หย่อนความนิยมลง ทั้งนี้ก็เพราะเมื่อบุคคลทั้งหลายได้รู้จัก คุณค่าของการเจริญวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ก็ได้หันมาเจริญวิปัสสนากรรมฐาน กันเป็นส่วนมาก
แท้จริงการเจริญสมถกรรมฐานก็นับว่าเป็นภาวนามยกุศลอันประเสริฐอยู่ประการ หนึ่ง แต่ไม่มีคุณภาพพิเศษเท่าเทียมกับการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพราะการ เจริญสมถกรรมฐานนี้ ย่อมมีอยู่ทั้งสมัยนอกพุทธกาลและในพุทธกาล ซึ่งบรรดา บุคคลผู้ใฝ่ใจทั้งหลายอาจเจริญได้เสมอ เราท่านทั้งหลายก็ได้เคยเจริญสมถรรมฐานกันมาแล้วด้วยกันทุกท่าน ถึงแม้ บางท่านจะไม่เคยเจริญในปัจจุบันชาตินี้ แต่ในอดีตชาติย่อมเคยเจริญมา ด้วยกันแล้วทั้งสิ้น และได้เคยเจริญกันมาจนนับครั้งไม่ถ้วนแล้วด้วย นี้ประการหนึ่ง

อีกประการหนึ่ง อานิสงส์ของการเจริญสมถกรรมฐานนี้ จะได้ผลอย่างมาก เพียงไปเกิดใน พรหมโลก ภูมิใดภูมิหนึ่งตามกำลังที่ตนปฏิบัติได้ เมื่อสิ้น อานิสงส์ของกุศลนั้นแล้วก็ต้องกลับมาเกิดในกามสุคติภูมิ และต่อจากนั้น ก็อาจไปเกิดในภูมิใดๆ ตลอดลงไปจนถึงอบายภูมิก็ได้ แล้วแต่กรรมที่ แต่ละบุคคลได้กระทำไว้ จึงเป็นอันเห็นได้ว่า การเจริญสมถกรรมฐานนั้น ไม่สามารถจะนำสัตว์ ให้พ้นไปจากสังสารวัฏฏทุกข์ได้อย่างจริงจังประการใด ต่างกับการเจริญ วิปัสสนากรรมฐาน เพราะการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น จะมีได้แต่ใน สมัยพุทธกาลเท่านั้น สมัยนอกพุทธกาลไม่อาจมีขึ้นได้ ทั้งนี้เพราะว่า การเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น จะบังเกิดมีขึ้นได้ก็โดยเฉพาะ พระสัพพัญญุตญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะเท่านั้น ฉะนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก การเจริญวิปัสสนากรรมฐานย่อมมีขึ้นไม่ได้ บุคคลใดๆ แม้จะมีความใฝ่ใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่ หากในสมัย พุทธกาลไม่ได้เกิดในภูมิประเทศอันเหมาะสมแล้ว ก็ไม่มีโอกาสจะได้เจริญ วิปัสสนากรรมฐานได้ เป็นอันเกิดมาเสียเวลาเปล่าไปชาติหนึ่ง การเกิดมา เสียเวลาเปล่าดังกล่าวนี้ของแต่ละบุคคลนั้น มีปริมาณมากมายเหลือที่จะคณนา ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนี้เป็นภาวนามยกุศลอันมีอยู่เฉพาะกาลดังนี้ จึงนับว่าเป็นคุณภาพพิเศษประการหนึ่ง

อีกประการหนึ่ง อานิสงส์ของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน สามารถนำบุคคล ผู้เจริญให้พ้นไปจากสังสารวัฏฏทุกข์ได้อย่างจริงจัง ผู้ใดปฏิบัติจนถึงมรรคผล เกิดขึ้นแก่ตนแล้ว ย่อมตัดภพชาติให้น้อยลง อย่างมากจะเหลืออีกเพียง ๗ ชาติ และถ้าสามารถเจริญจนอรหัตตมัคคอรหัตตผลจิตเกิดขึ้นแล้ว ย่อมตัดภพชาติ ให้สิ้นไปไม่มีเหลือ ไม่จำต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป การเจริญวิปัสสนา กรรมฐานนี้จึงนับว่ามีคุณภาพเป็นพิเศษอีกประการหนึ่ง ซึ่งเราท่านทั้งหลาย ยังไม่เคยได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานกันมาแต่ก่อน หรือจะได้เคยเจริญกันมา บ้างก็แต่เพียงเล็กน้อย ยังไม่ถึงขนาดที่มรรคผลเกิดขึ้นแก่ตน จึงยังไม่พ้น ไปจากสังสารวัฏฏทุกข์
การที่กล่าวว่าเราท่านทั้งหลายเคยเจริญสมถกรรมฐานกันมาแต่อดีตชาติ มากมายหนักหนาจนนับครั้งไม่ถ้วนนั้น ก็โดยอาศัยหลักฐานอันเป็น พุทธวจนะตรัสเทศนาไว้ว่า มหากัปป์คือโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ ได้ถูกทำลาย ด้วยไฟ ด้วยน้ำ ด้วยลมมามากมาย จนไม่สามารถจะนับจะประมาณได้ว่า เป็นจำนวนกี่ครั้งกี่หน เมื่อโลกจะถูกทำลายแต่ละครั้งนั้น บรรดาสัตว์ ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในโลกก็ต้องไปเกิดในพรหมภูมิด้วยกันทั้งสิ้น และการ ที่สัตว์จะไปเกิดในพรหมภูมิได้ก็ต้องอาศัยอานิสงส์ของฌาน ฉะนั้น จึงเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า เราท่านทั้งหลายนี้ได้เคยปฏิบัติสมถรรมฐาน กันมาจนถึงได้ฌานนั้น มากมายหลายชาติจนไม่สามารถจะนับ จะประมาณได้เช่นกันเหตุที่เราท่านทั้งหลายได้เจริญสมถกรรมฐานจนถึงได้ฌานและได้ไปเกิด ในพรหมภูมินั้นก็คือ ก่อนที่โลกจะถูกทำลายแต่ละครั้งย้อนถอยหลังไป ประมาณ ๑ แสนปี มีเทพยดาองค์หนึ่งมีนามว่า โลกพยุหะ ได้มาประกาศ ก้องไปทั่วท้องจักรวาล เพื่อให้ปวงสัตว์ทั้งหลายได้สำนึกตนว่า อีก ๑ แสนปี โลกนี้จะถึงซึ่งความพินาศ และเพื่อให้สัตว์ทั้งหลายได้พ้นไปจากโลกนี้ ก่อนที่โลกจะถูกทำลาย จึงเชิญชวนให้บรรดาสัตว์ทั้งหลายได้เจริญ พรหมวิหารธรรม ๔ ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เมื่อโลกพยุหเทพเจ้าได้ประกาศไปเช่นนี้แล้ว สัตว์ทั้งหลายจะรู้สึก ตระหนกตกใจ ต่างก็จะละซึ่งอกุศลที่ตนกระทำอยู่โดยฉับพลัน และหัน มาเจริญพรหมวิหารธรรมกันทันที เมื่อสัตว์ทั้งหลายได้ละอกุศลกรรม และมั่นอยู่ในพรหมวิหารธรรมโดยทั่วกันเช่นนี้ อปราปริยเวทนิยกรรม ฝ่ายกุศลก็มีโอกาสสนับสนุน จนกระทำให้สัตว์ทั้งหลายสามารถเจริญ สมถกรรมฐานจนได้บรรลุฌาน อันมีอานิสงส์ให้สัตว์ทั้งหลายได้ไป บังเกิดในพรหมภูมิโดยทั่วกัน ดังที่สาธกหลักฐานกล่าวไว้ใน วิสุทธิมรรคอรรถกถาว่า
อปราปริยเวทนิยกมฺม รพิโต สํสาเรสํสรนฺโต สตฺโต นาม นตฺถิ
ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ไม่มีสัตว์ใดเลยที่จะพ้นไปจากอปราปริยเวทนิยกรรม
อันการที่สัตว์ทั้งหลายจะได้ไปบังเกิดในพรหมภูมินั้น ย่อมแล้วแต่ความ สามารถในการเจริญสมถกรรมฐานของตนๆ แต่อย่างน้อยที่สุด ก็จะต้อง พ้นไปจากเขตการทำลายของโลก คือ
ถ้าสมัยใดโลกถูกทำลายด้วยไฟ ก็ทำลายถึงปฐมฌานภูมิ สมัยนั้นสัตว์ ทั้งหลายจะต้องเจริญสมถกรรมฐานให้ได้ผลถึงทุติยฌานกุศล เพื่อไป บังเกิดในทุติยฌานภูมิ
สมัยใดโลกถูกทำลายด้วยน้ำ ก็ทำลายถึงทุติยฌานภูมิ สมัยนั้นสัตว์ ทั้งหลายจะต้องเจริญสมถกรรมฐานให้ได้ผลถึงตติยฌานกุศล เพื่อไป บังเกิดในตติยฌานภูมิ
สมัยใดโลกถูกทำลายด้วยลม ก็ทำลายถึงตติยฌานภูมิ สมัยนั้นสัตว์ ทั้งหลายจะต้องเจริญสมถกรรมฐานให้ได้ผลถึงจตุตถฌานกุศล เพื่อไป บังเกิดในจตุตถฌานภูมิ (ฌานกุศลที่ได้กล่าวมานี้ หมายถึงฌานกุศล ที่นับตามจตุถนัย) สำหรับผู้ที่มีอินทรีย์แก่กล้าอาจเจริญสมถกรรมฐานให้ได้ผลสูงยิ่งขึ้นไปจนถึงได้ไปเกิดในภวัคคภูมิ อันจะมีอายุยืนอยู่ในภูมินั้นนานถึง ๘๔๐๐๐ มหากัปป์ก็ได้
การปฏิบัติสมถกรรมฐานได้ อันมีผลให้เกิดในพรหมภูมิอันมีอายุยืนนานนั้น ไม่ใช่เป็นการพ้นทุกข์อย่างจริงจังประการใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้ ทรงสรรเสริญเพราะเป็นการเสียเวลาเปล่า เมื่อสิ้นอานิสงส์แห่งกุศลนั้นแล้ว ก็ย่อมต้องกลับมาเกิดในกามสุคติภูมิ และต่อไปถ้าขาดความสำรวมระวัง ให้ดีแล้ว ก็อาจจะไปสู่อบายภูมิ อันเป็นที่เกิดของสัตว์นรก เปรต อสุรกาย และดิรัจฉานได้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว อันหลักฐานที่พระพุทธองค์ไม่ทรงสรรเสริญการไปเกิดในพรหมภูมินั้น อาจสันนิษฐานได้จากเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว ได้ทรงระลึกถึงท่าน อาฬารดาบสและท่านอุทกดาบสทั้งสอง ก็ปรากฏในพระญาน (ต้นฉบับ ตรงนี้สะกดคำว่าฌานนี้ไว้เช่นนี้ค่ะ - deedi) ว่าท่านทั้งสองนี้ได้ไปปฏิสนธิ ในอรูปพรหมเสียแล้วทั้งสองท่าน จึงทรงพระอุทานว่า "เสียเวลาเสียแล้ว" ดังนี้ เป็นต้น นอกจากนั้น ในสมัยพุทธกาลได้มีพรหมองค์หนึ่งพิจารณา เห็นความเดือดร้อนของบุคคลทั้งหลาย ได้มากราบทูลพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่า บุคคลทั้งหลายเหล่านี้มีความเดือดร้อนเสมือนมีศรปักอยู่ที่ทรวงอก และมีไฟสุมอยู่เบื้องต่ำ ขอให้พระพุทธองค์ทรงหาอุบายที่จะให้บุคคล ทั้งหลายได้พยายามศึกษาสมาธิธรรมเพื่อว่าเมื่อตายแล้วจักได้ไปเกิด ในพรหมภูมิ จะได้เสวยความสุข พ้นจากทุกข์ทั้งปวง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า การเจริญสมาธิธรรมอาจให้ผลดังกล่าวนั้น แต่ว่าไม่ใช่การ พ้นทุกข์อย่างแน่นอน เพราะในพรหมภูมินั้นยังไม่สิ้นโมหะ บุคคลทั้งหลาย ที่มีทุกข์อยู่ก็โดยที่มีสักกายทิฏฐิอยู่ในสันดาน อันอุปมาเท่ากับมีศรเสียบ อยุ่ที่อุระประเทศ มีไฟสุมอยู่เบื้องล่าง บุคคลที่จะถอนออกซึ่งศรที่เสียบ อยู่พร้อมกับรักษาพิษของมันนั้น จะต้องใช้ปัญญาประกอบกับความ พยายาม ถึงพร้อมด้วยสติเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จึงจะสามารถ ถอนสักกายทิฏฐิออกจากสันดานได้ อันนี้จึงจะเป็นการพ้นทุกข์ ได้แน่นอน

ส่วนที่ว่าเมื่อสิ้นอานิสงส์แห่งการเจริญสมถกรรมฐานแล้ว จะต้องกลับมา เกิดในกามสุคติภูมิ และถ้าขาดการสังวรที่ดีแล้ว ก็อาจต้องไปเกิดใน อบายภูมินั้น ตัวอย่างที่จะชี้ให้เห็นง่ายๆ ในขณะนี้ก็คือ การที่ได้ไปเกิดใน พรหมภูมิดังกล่าวมาแล้วนั้น มิใช่เฉพาะเราท่านทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ ณ ที่นี้เท่านั้น แม้บุคคลที่อยู่ในที่อื่นตลอดจนสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย มีจิ้งจก ตุ๊กแก นก หนู ที่เห็นๆ อยู่เหล่านี้เป็นต้น ก็ล้วนแต่ได้เคยไปเกิด ในพรหมภูมิจนนับครั้งไม่ถ้วนมาด้วยกันแล้วทั้งนั้น และเมื่อหมดอานิสงส์ แห่งกุศลนั้นแล้วก็ปรากฏให้เห็นๆ อยู่ดังนี้ ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าการเจริญ สมถกรรมฐานนั้นไม่สามารถจะนำสัตว์ให้พ้นไปจากสังสารวัฏฏทุกข์ได้ อย่างแท้จริงประการใด

ส่วนการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งได้กล่าวว่าเราท่านทั้งหลายไม่เคยได้ ปฏิบัติกันหรือหากจะได้ปฏิบัติมาบ้างก็ยังไมถึงขนาดที่มรรคผลเกิดขึ้น แก่ตนนั้น ก็เพราะการเจริญวิปัสสนากรรมฐานก่อนที่จะถึงซึ่งความสำเร็จ คือ การที่มัคคผลจตจะเกิดขึ้นนั้น จะต้องประกอบพร้อมด้วย โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น ย่อมมี สัมมัปปธานเป็นองค์ประกอบด้วยประการหนึ่ง และองค์หนึ่งแห่ง สัมมัปธาน ๔ นั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า

อนุปฺปนฺนานํ กุสลานํ อุปฺปาทาย วายาโม ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ความเพียรเพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เคยเกิดให้ เกิดขึ้น อันเราท่านทั้งหลายที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสารนี้ ย่อมมีชาติความเกิดนับถอยหลังไปไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้น กุศลใดๆ ที่นอกจากโลกุตตรกุศลแล้ว ที่ยังไม่เคยเกิดในสันดานของแต่ละบุคคล นั้น ย่อมไม่มี บรรดาโลกียกุศลทั้งหลายย่อมเคยเกิดมาแล้วทั้งนั้น ฉะนั้น คำว่ากุศลที่ยังไม่เคยเกิดในพุทธวจนะนี้ ย่อมหมายเอา โลกุตตรกุศล เพราะ โลกุตตรกุศลจะเกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยการเจริญ วิปัสสนากรรมฐานโดยเฉพาะเท่านั้น ถึงแม้ว่าชาติคือความเกิด ของแต่ละบุคคล เมื่อนับถอยหลังไปไม่มีที่สิ้นสุดก็ดี แต่โอกาสที่จะ ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานก็ย่อมหาได้ยาก เพราะการเจริญ วิปัสสนากรรมฐานนั้นมีอยู่แต่ในสมัยพุทธกาลอันเป็นเฉพาะกาล ไม่ได้มีอยู่เสมอไป โอกาสที่บุคคลแต่ละคนจะได้ปฏิบัติจึงหาได้ยาก ดังกล่าวแล้วประการหนึ่ง และถ้าเราท่านทั้งหลายได้เคยปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานกันมาจนถึงขั้นมรรคผลเกิดแล้ว เราท่านทั้งหลาย ก็คงจะได้พ้นไปจากสังสารวัฏฏทุกข์นี้แล้ว ไม่จำต้องเวียนว่ายตายเกิด ตลอดมาจนบัดนี้ นี้ก็เป็นข้อยืนยันอีกประการหนึ่ง การเจริญ

วิปัสสนากรรมฐานที่วามีอยู่แต่ในสมัยพุทธกาล นอกสมัยพุทธกาล ไม่อาจเกิดมีขึ้นได้นั้น ถาจะกล่าวอย่างรวบรัดก็อาจกล่าวได้ว่า เพราะการ เจริญวิปัสสนากรรมฐานั้น ต้องมีรูปนามขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ และรูปนามขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นปรมัตถสภาวะนั้น ย่อมมีพระไตรลักษณ์ปรากฏอยู่ เมื่อใช้สติกำหนด รูปนามอยู่อย่างไม่ขาดสายแล้ว พระไตรลักษณ์ ก็ย่อมจะปรากฏ แต่อย่างไร ก็ดี พระไตรลักษณ์ที่จะเป็นอารมณืของวิปัสสนากรรมฐานได้นั้น จะต้อง เกิดจากสัพพัญญุตฌาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ นอกจาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ไม่มีใครจะสามารถนำมาสั่งสอนได้ เว้นแต่จะได้ ฟังคำสั่งสอนมาจากพระพุทธองค์ก่อน ดังปรากฏหลักฐานในสัมโมหวิโนทนี อรรถกถาว่า

อนฺตลกฺขณํ ปญฺญาปนสฺส อญฺญสฺส กสฺสจิ อวิสโย สพฺพญฺญุพุทฺธานเมว วิสโย เอวเมตํ อนตฺตลกฺขณํ อปากฏฺ ตสฺมา สตฺถา อนฺตตลกฺขณํ ทสฺเสนฺโต อนิจฺเจน วา ทสฺเสติ ทุกฺเขน วา อนิจฺจทุกเขหิ วา ซึ่งแปลเป็นใจความว่า อนัตตลักขณะเป็นวิสัยของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า พระองค์เดียว ผู้อื่นไม่สามารถสอนได้ เพราะว่าอนัตตลักขณะนั้นสุขุม คัมภีรภาพยิ่งนัก ไม่อาจจะเห็นได้ชัดโดยง่าย ในการเทศนาของพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงเทศนาอนิจจังทุกขังก่อน แล้วจังเทศนาอนัตตา ต่อภายหลัง ดังมีเรื่องกล่าวว่า สมัยนอกพุทธกาล มีพระดาบสองค์หนึ่ง นามว่า สรภังคดาบส ก็คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยที่เสวยพระชาติ เป็นพระบรมโพธิสัตว์กำลังสร้างพระบารมีอยู่นั้นเอง ได้ทรงสอนให้สัตว์ ทั้งหลายรู้จักอนิจจังและทุกขัง ส่วนอนัตตานั้นไม่สามารถจะสอนได้ และแท้จริงอนิจจังทุกขังที่ท่านสรภังคดาบสสอนนั้นก็ไม่ใช่อนิจจังทุกขัง แท้ เป็นเพียงอนิจจังทุกขังเทียม เพราะอนิจจังทุกขังที่ท่านสรภังคดาบส สอนนั้น ถือสมมติบัญญัติเป็นอารมณ์ หาใช่ปรมัตถอารมณ์ไม่ เช่น ถ้วยโถโอชามแตกก็สอนว่าเป็นอนิจจัง หรือแม้ที่สุดเมื่อมีสัตว์หรือ บุคคลใดถึงแก่ความตาย ก็สอนว่าลักษณะเช่นนั้นแหละเป็นอนิจจัง ส่วนทุกขังนั้นก็เมื่อบุคคลใดได้รับความลำบาก มีการเจ็บป่วยหรือ ถูกภัยใดๆ เบียดเบียน ก็กล่าวว่านี้แหละเป็นทุกขัง ส่วนอนัตตานั้น ท่านไม่อาจสอนได้
นี้จะเห็นได้ว่า แม้แต่พระบรมโพธิสัตว์ ก่อนแต่การตรัสรู้ซึ่งสัพพัญญุตญาณนั้น ก็ไม่อาจจะสอนพระไตรลักษณ์ให้สมบูรณ์ได้ ถึงแม้การสอนเพียงอนิจจังทุกขัง ก็ถือสมมติบัญญัติเป็นอารมณ์หาใช่ปรมัตถอารมณ์ไม่ อนิจจังทุกขังดังกล่าว นั้นจึงยังหาใช่อารมณ์วิปัสสนากรรมฐานไม่ และการพิจารณาโดยถือสมมติ บัญญัติเป็นอารมณ์เช่นนั้น ไม่อาจเป็นเหตุให้อนัตตาปรากฏเกิดขึ้นได้เลย จึงไม่สามารถอน สักกายทิฏฐิ อันอุปมาเหมือนศรเสียบอยู่ที่อุระประเทศ ออกได้เลย อนัตตาลักขณะจะปรากฏเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการพิจารณา อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะอันเกิดจากปรมัตถอารมณ์ และได้เห็น ลักษณะทั้งสองนั้นอย่างแจ่มชัดแล้ว เมื่อนั้นแหละอนัตตลักษณะ จึงจะปรากฏเกิดขึ้นได้

สมถกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน(๑) สมถะ คือธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต ธรรมยังจิตให้สงบระงับ การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ

วิปัสสนา คือ ความเห็นแจ้ง คือ เห็นตรงต่อความเป็นจริงของสรรพสิ่ง ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง- ความไม่เที่ยง ทุกขัง- ความ เป็นทุกข์ อนัตตา- ความไม่เป็นของใคร ไม่อยู่ในบังคับบัญชา ของใครทั้งสิ้น) อันสามารถค่อยๆ ช่วยถอนความหลงผิดรู้ผิดใน สรรพสิ่งเสียได้ การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัด ภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่เค้าเป็นของเค้าเอง)
(๒) สมถะ สมถกรรมฐาน ใช้ 'สมาธิ' ล้วนๆ

วิปัสสนา วิปัสสนากรรมฐาน ต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบ ๕ ตัว คือ ศรัทธา (๑) วิริยะ (๑) สติ (๑) สมาธิ (๑) ปัญญา (๑) โดยศรัทธานั้นมาคู่กับปัญญา ต้องสมดุลย์ได้ดุลย์กัน และสมาธิกับวิริยะก็คู่กัน คือต้องได้ดุลย์กัน พอดีกัน ส่วนสตินั้น ยิ่งมีมากเท่าไหร่ยิ่งดี
(๓) สมถะ สมถกรรมฐานใช้อะไรหลายๆ อย่างกำหนด เช่น บางคนเพ่งสีขาว บางคนเพ่งไฟ บางคนเพ่งสีแดง ฯลฯ (กรรมฐาน ๔๐ = อุปกรณ์ ในการฝึกอบรมจิต สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา ที่ตั้ง แห่งการทำงานของจิต มี กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ อัปมัญญา ๔ อาหาเร ปฏิกูลสัญญา; จตุธาตุววัฏฐาน; อรูป ๔) ซึ่งเป็นสิ่งภายนอก (นอกกายและใจของผู้ปฏิบัติสมาธิ
วิปัสสนา วิปัสสนากรรมฐาน ใช้การดูเข้ามาที่ 'กายและใจ' ของผู้ปฏิบัติ แต่ละคนเอง ไม่ส่งออกนอก (คือ ไม่มีการส่งออกนอกของกาย และใจของตัวผู้ปฏิบัติเลย) เพราะเหตุว่าต้องมาดู มา มารู้ มามีสติอยู่ ที่สภาวะต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นกับกายและใจของเรา ณ ขณะปัจจุบัน นี้เอง บุคคลจึงจะสามารถเข้าไปรู้จัก กายและใจของตนนี้ตามความเป็นจริงได้
(๔) สมถะ สมถกรรมฐาน - ฝึกให้มากแล้วได้ 'ฌาน' (อ่านว่า 'ชาน' - ฌาน คือ การเพ่งอารมณ์ จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็น องค์ธรรมหลัก)
วิปัสสนา วิปัสสนากรรมฐาน - ฝึกให้มากแล้วได้ 'ญาณ' (อ่านว่า 'ยาน' - ญาณ คือ ความรู้ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้) เกิด 'ปัญญา' ที่เรียกว่า ภาวนามัยปัญญา เข้าไปรู้ความเป็นจริงของโลกตามที่เป็นความจริงแท้ๆ
(๕) สมถะ เมื่อฝึกสมถะกรรมฐาน จิตจะมีพลังมาก สงบมาก มักเกิดความสุขยิ่ง (ความสุขอื่นใดเหนือความสงบไม่มี) สมถกรรมฐานนี้ แต่ไม่เกิดปัญญา ได้แต่ความสงบ ความสุขอันประณีตในฌาน ได้อภิญญา อาจมีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ได้ แต่ไม่พาไปพ้นทุกข์ (เพราะการไปพ้นทุกข์ได้ต้องอาศัยสิ่งเดียวคือการสร้างสมให้เกิด ปัญญารู้แจ้ง รู้เท่าทันตามความเป็นจริงของสรรพสิ่ง)
วิปัสสนา วิปัสสนากรรมฐาน เมื่อฝึกให้มาก ปฏิบัติกายและใจให้มาก ก็จะยิ่งเกิด 'ปัญญา' เมื่อปัญญาเกิดมากเข้าๆ ก็จะค่อยๆ รู้เท่าทัน ในความเป็นจริงของสรรพสิ่ง รู้เท่าทันกิเลส เมื่อเริ่มรู้ก็จะเริ่ม เกิดความเบื่อ (ไม่ใช่ความเบื่อแบบโลกๆ) เมื่อเกิดความเบื่อ ก็จะเกิดความหน่าย เมื่อหน่ายก็จะคลาย เมื่อคลายก็จะหลุด เมื่อหลุด (จากกิเลส คือ ประหารกิเลสได้หมด) ก็พ้น (คือพ้นทุกข์ พ้นจาก กิเลส พ้นจากอวิชชา พ้นจากสังสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเกิด) วิปัสสนากรรมฐาน (ตามแนวสติปัฏฐานสี่) อันเป็น เอกายนมรรค (คือ พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ว่า สติปัฏฐานสี่ เป็นเอกายนมรรค คือ ทางสายเอก ทางสายเดียว สู่การพ้นทุกข์ - ก็คือทางแห่งปัญญา นี้เอง) นี้ สามารถทำให้ 'ปัญญา' ตัวดังกล่าวเกิดขึ้นได้จริงก็ด้วย การปฏิบัติตัวปฏิบัติใจของเราแต่ละคนด้วยตัวเอง ดังพระพุทธเจ้า ทรงกล่าวไว้ว่า "ตถาคตเป็นเพียงผู้ชี้ทางเท่านั้น แต่เธอทั้งหลาย ต้องทำเอาเอง" ดังนั้น ด้วยการฝึกสติปัฏฐานสี่ (คือ พยายามฝึกสติให้มีสติรู้ตัว ทั่วพร้อมในกายและใจของเราเอง) และวิปัสสนากรรมฐานนี้เอง ที่จะพาบุคคลใดบุคคลหนึ่งไปสู่การเกิดปัญญและไปสู่การ พ้นทุกข์ได้จริงในที่สุด

-สรุปสั้นๆ อีกทีว่า-
วิปัสสนาและสติปัฏฐานสี่ เป็นเรื่องของการฝึกฝนกายและใจ เจริญทาน-ศีล-ภาวนา ไปพร้อมๆ กัน กับการเจริญสติการเจริญ วิปัสสนา และด้วยการค่อยๆ ฝึกฝนสั่งสมอบรมเหตุปัจจัยนี้เอง บุคคลก็จะค่อยๆ เข้าไปเกิดปัญญารู้ เป็นการค่อยๆ รู้ ค่อยๆ ลด ค่อยๆ ละและค่อยๆ เลิกจากการตกเป็นทาสของกิเลส เป็นทาสของอวิชชา ซึ่งต้องทำกันข้ามภพข้ามชาติ เรียกว่าเป็นการค่อยๆ สั่งสมอบรมบารมี (บารมีก็คือคุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุ จุดหมายอันสูงยิ่ง) เพื่อเป้าหมายอันสูงสุด เลิศสุด คือ การพ้นทุกข์ การหมดสิ้นกิเลส อันเป็นความสุขที่สุด ประเสริฐที่สุด นั่นเอง วิปัสสนาจะดูสิ่งที่เคลื่อน คือกายและใจ ที่ทำโน่นทำนี่ มีอาการโน่นนี่ เกิดขึ้น - ตั้งอยู่ และ ดับไป อยู่ตลอดเวลา ไม่มีอะไรนิ่งอยู่กับที่ เช่นยืน ขยับ เดิน นั่ง นอน เปลี่ยนท่า เปิด คิด หงุดหงิด พอใจ สุข ไม่พอใจ สบาย ร้อน หนาว ฯลฯ ส่วนใจก็มีธรรมชาติของเค้าคือ 'การคิด' เค้ามักคิดโน่นคิดนี่ซัดส่ายไม่เคยได้หยุด ไม่ได้พัก กายก็เช่นกัน จะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอด -ยืนแล้วก็เดิน -เดินเมื่อยก็นั่ง -นั่งเมื่อยก็นอน -นอนเมื่อยก็ลุกมาเดิน จะเห็นว่า จะมีเหตุและปัจจัยให้กายและใจ เคลื่อนอยู่เสมอ และด้วยการมาตามดู ตามรู้ ตามสังเกตความ เคลื่อนไป ความแปรเปลี่ยนไป ของกายและใจ ของเราแต่ละคนเองนี่เอง โดยตามรู้ ตามมีสติ ดูเค้าไปเรื่อยๆ ตามที่เค้าเป็นของเค้าจริงๆ ตามที่เค้าเคลื่อนและเลื่อนไหลไปเรื่อยๆ นี่เอง ที่จะทำให้บุคคล สามารถพบความเป็นจริงจริงๆ ในกายและใจของตน สำหรับคำถามว่าควรปฏิบัติอะไรก่อน ก็อยากจะแนะนำ (ตามความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ) ว่าเราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้มาพบพระพุทธศาสนาแล้ว (ท่านว่า การได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นเรื่องยากนักหนา แล้วก็การได้มีโอกาสมาพบพระพุทธศาสนาเช่นนี้ ยิ่งยากเข้าไปใหญ่) อยากแนะว่าน่าจะฝึกวิปัสสนา กรรมฐานไปเลย โดยที่ในการทำวิปัสสนาก็จะต้องมี สมาธิร่วมด้วยอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ใช่สมาธิที่ลึกมาก เหมือนการฝึกสมาธิอย่างเดียว ที่แนะนำเช่นนี้ เพราะแก่นของพระพุทธศาสนา คือการมุ่งพ้นทุกข์ และตัวที่จะสามารถเป็นบาทเป็นฐานให้บุคคล สามารถพ้นทุกข์ได้จริงๆ ก็คือ วิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวสติปัฏฐานสี่ นี้ละค่ะ เป็นเอกายนมรรค


อ้างอิ
http://www.pty.ac.th/temple/abbot.html
http://www.sati99.com/index.php?lay
http://www.club.truelife.com
http://www.bcoms.net/buddhism/detail.asp?id
http://www.geocities.com/kratoos/00052.html
http://www.accesstopc.com/index.php?view=article&catid
http://www.geocities.com/easydharma/dm005024.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น