๑۩۞۩๑ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล๊อกของผมครับ ๑۩۞۩๑

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประเพณีการตักบาตรเทโว วัดเมืองจันทร์ 24-10-53

เดินลงจากอุโบสถ

เดินรอบอุโบสถ

ประเพณีการตักบาตรเทโว หรือเทโวโรหณะ

ตักบาตรเทโว หมายถึงการทำบุญตักบาตร ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก คำว่า เทโว เรียกกร่อนมาจากคำว่า เทโวโรหนะ (เทว+โอโรหน) ซึ่งแปลว่า การเสด็จลงจากเทวโลก

ความเดิมมีว่า ในพรรษาที่ 7 นับแต่วันตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา ที่ได้กำเนิดเป็นเทพบุตรอยู่ในชั้นดุสิต จนบรรลุโสดาปัตติผล ครั้นออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 แล้ว จึงเสด็จลงจากเทวโลกที่เมืองสังกัสสนคร ในกาลที่เสด็จลงจากเทวโลก ได้มีเนินเป็นอันเดียวกันจนถึงพรหมโลก เมื่อทรงแลดูข้างล่าง สถานที่นั้นก็มีเนินอันเดียวกันจนถึงอเวจีมหานรก ทรงแลดูทิศใหญ่และทิศเฉียง จักรวาลหลายแสนก็มีเนินเป็นอันเดียวกัน เทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ แม้พวกมนุษย์ก็เห็นเทวดา สัตว์นรกก็เห็นมนุษย์และเทวดา ต่างก็เห็นกันเฉพาะหน้าทีเดียว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเปล่งฉัพพรรณรังสี ขณะที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวเมืองจึงพากันทำบุญตักบาตรเป็นการใหญ่ เพราะไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้ามาถึง 3 เดือน การทำบุญตักบาตรในวันนั้นจึงได้ชื่อว่า ตักบาตรเทโวโรหนะ ต่อมามีการเรียกกร่อนไปเหลือเพียง ตักบาตรเทโวเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้น จึงนิยม ตักบาตรเทโว กันจนเป็นประเพณีสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้

ใส่บาตรเป็นระเบียบเรียบร้อย

รอก่อน !! ยังมาไม่ถึง ???

คำว่าตักบาตรนั้น  สามารถที่จะเรียกว่าใส่บาตรก็ได้  ในบางที่มีคนสงสัยว่าตกลงแล้วเรียกว่าตักบาตรหรือใส่บาตรกันแน่ก็ว่ากันว่าคำว่าตักบาตรนั้นมาจากกิริยาอาการที่ใช้ทัพพีตักข้าวใส่บาตรพระแต่ในปัจจุบันนี้เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ผู้คนใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบมากขึ้น ผู้คนจึงนำข้าวสารหรือของอื่นๆใส่ถุงหรือกล่อง เมื่อถึงเวลาตักบาตรจะได้สะดวกที่จะหยิบของใส่ได้ทันที คำว่าใส่บาตรจึงถือว่าเป็นวิวัฒนาการทางภาษาเพื่อสอดคล้องกับยุคปัจจุบันสรุปว่าใช้ได้ทั้ง 2 อย่าง







การตักบาตรโดยทั่วไป
ผู้คนที่นำของที่เอามาตักบาตรจะยืนรออยู่ตรงทางที่พระภิกษุเดินผ่าน ส่วนมากของที่ผู้คนใช้นิยมตักบาตรเป็นหลักคือข้าว โดยก่อนที่พระภิกษุเดินทางมาถึงจะมีการนำถ้วยข้าวจบที่ศีรษะแล้วอธิษฐาน เมื่อพระภิกษุเดินทางมาถึงพระภิกษุจะหยุดยืนอยู่ตรงหน้าคนที่จะตักบาตรแล้วเปิดฝาบาตร ก่อนที่จะตักบาตรคนที่ตักบาตรจะต้องถอดรองเท้าก่อน จากนั้นคนที่ตักบาตรจะนำทานที่ตนมีถวายพระ เมื่อให้เสร็จแล้วพระจะให้พร คนที่ตักบาตรประนมมือรับพร (โดยปกติแล้วจะนิยมคุกเข่าหรือนั่งยองๆ ประนมมือ) ขณะที่ให้พรคนที่ตักบาตรอาจจะมีการกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับ (การกรวดน้ำนั้นอาจจะทำขณะที่พระให้พรหรือหลังจากการตักบาตรเสร็จสิ้นก็ได้) หลังจากที่พระภิกษุให้พรแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี




ตามปกติผู้คนจะถือว่า   ของที่นำมาถวายพระจะต้องเป็นของที่ดีที่สุดเสมอ ดังนั้นผู้คนจะจัดเตรียมทานที่ดีที่สุด   ตามกำลังที่หาได้  นอกจากนี้ยังมีความเชื่อพิเศษเล็กน้อยเกี่ยวกับทานที่ให้   (ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล) เช่น ข้าวที่ถวายพระนั้นควรจะเป็นข้าวที่หุงสุกใหม่ๆ ร้อนๆ ยิ่งข้าวร้อนเท่าไหร่บุญกุศลจะยิ่งแรงมากขึ้นเท่านั้น, ถวายน้ำตาลแก่พระเพื่อที่จะส่งผลให้ชีวิตคู่มีความหวานสดชื่นดั่งน้ำตาล เป็นต้น






อาหารแห้ง ที่เราต้องเตรียมใส่บาตรเวลาตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ตักบาตรเทโว
-ข้าวสาร (ที่เป็นถุงเล็กๆ เช่น ข้าวธัญพืช ฯลฯ), มาม่า, เส้นหมี่, โจ๊ก ฯลฯ
-ซีเล็กทูน่า, ผักกาดดอง, ปลากระป๋อง ฯลฯ
-พริก กระเทียม หอม เกลือ
-ของหวานกระป๋อง, ขนมกรุ๊บกรอบ, ถั่ว, เม็ดมะม่วงหิมพานต์, ฯลฯ
-น้ำเปล่า, นม, น้ำผลไม้ น้ำอัดลม กาแฟซอง โอวัลติน 
-สบู่ ยาสระผม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผงซักฟอง กระดาษเช็ดชู
-ธูปเทียน ดอกไม้
-ปัจจัย
อื่นๆ เพิ่มเติมเอาเองนะครับ ?????

ภาพโดย ภิญโญ   (ภาพอาจมีลิขสิทธิ์)

1 ความคิดเห็น:

  1. ดูแล้วก็คิดถึง...
    อยากจะไปเยี่ยม ไปเที่ยว
    แต่ว่าเวลาไม่อำนวย
    แล้วก็แพ้ระยะ

    ----------
    แสดงความคิดเห็นทำไมมันซ้อนกับบนความละท่าน

    ตอบลบ