๑۩۞۩๑ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล๊อกของผมครับ ๑۩۞۩๑

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่

ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่


ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสานที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแสดงถึงความเป็นชาติเก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมานาน เป็นเอกลักษณ์ของชาติและท้องถิ่น และมีส่วนช่วยให้ชาติดำรงความเป็นชาติของตนอยู่ตลอดไป

ฮีตสิบสอง มาจากคำสองคำได้แก่ ฮีต คือคำว่า จารีต ซึ่งหมายถึง ความประพฤติ ธรรมเนียม ประเพณี ความประพฤติที่ดี และ สิบสอง หมายถึง สิบสองเดือน ดังนั้น ฮีตสิบสอง จึงหมายถึงประเพณีที่ประชาชนในภาคอีสานปฏิบัติกันมาในโอกาสต่าง ๆ ทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี เป็นการผสมผสานพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องผีและพิธีกรรมทางการเกษตร เข้ากับพิธีกรรมทางพุทธศาสนานักปราชญ์โบราณได้วางฮีตสิบสองไว้ดังนี้
เดือนอ้าย - บุญเข้ากรรม
เดือนยี่ - บุญคูณลาน
เดือนสาม - บุญข้าวจี่
เดือนสี่ - บุญพระเวส
เดือนห้า - บุญสงกรานต์
เดือนหก - บุญบั้งไฟ
เดือนเจ็ด - บุญซำฮะ
เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา
เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดิน
เดือนสิบ - บุญข้าวสาก
เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา
เดือนสิบสอง - บุญกฐิน

คลองสิบสี่ บางทีเขียนหรือออกเสียงเป็น คองสิบสี่ เป็นคำและข้อปฏิบัติคู่กับฮีตสิบสอง มาจากคำสองคำได้แก่ คลอง คือคำว่า ครรลอง ซึ่งหมายถึง ธรรมเนียมประเพณี หรือแนวทาง และ สิบสี่ หมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางปฏิบัติสิบสี่ข้อ ดังนั้นคลองสิบสี่จึงหมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางที่ประชาชนทุกระดับ นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง พระสงฆ์ และคนธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติสิบสี่ข้อ อาจสรุปได้หลายมุมมองดังนี้
เป็นหลักปฏิบัติกล่าวถึงครอบครัวในสังคม ตลอดจนผู้ปกครองบ้านเมือง
เป็นหลักปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง และหลักปฏิบัติของประชาชนต่อพระมหากษัตริย์
เป็นหลักปฏิบัติที่พระราชายึดถือปฏิบัติ เน้นให้ประชาชนปฏิบัติตามจารีตประเพณี และคนในครอบครัวที่ปฏิบัติต่อกัน
เป็นหลักปฏิบัติในการปกครองบ้านเมืองให้อยู่เป็นสุขตามจารีตประเพณี

"คลอง" ตามความหมายของพระอริยานุวัตร บางครั้งเรียกว่า คลองเจ้าคลองขุน หรือ คลองท้าวคลองเพีย แต่ละข้อมีคำว่าฮีตนำหน้าด้วย (ทำให้เกิดความสับสนกับฮีตสิบสอง) แต่ละคลองจะมีสิบสี่ฮีต ยกเว้น ฮีตปีคลองเดือน จะมีเพียงสิบสองฮีต ซึ่งนั่นก็คือฮีตสิบสองที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น คลองประกอบด้วย
ฮีตเจ้าคลองขุน
ฮีตท้าวคลองเพีย
ฮีตไพร่คลองนาย
ฮีตบ้านคลองเมือง
ฮีตปู่คลองย่า
ฮีตตาคลองยาย
ฮีตพ่อคลองแม่
ฮีตใภ้คลองเขย
ฮีตป้าคลองลุง
ฮีตลูกคลองหลาน
ฮีตเถ้าคลองแก่
ฮีตปีคลองเดือน (ฮีตสิบสอง)
ฮีตไฮ่คลองนา
ฮีตวัดคลองสงฆ์

http://th.wikipedia.org/wiki

ฮีตสิบสอง-คลองสิบสี่

อีสานมีการนับถือประเพณีอย่างเคร่งครัดมาแต่ครั้งโบราณ และเป็นประเพณีของท้องถิ่นสืบมาหลายร้อยปี เรื่องฮีตสิบสอง-คลองสิบสี่ เป็นเรื่องทางศาสนา จึงน่าจะนับถือกันมาตั้งแต่ครั้งวัฒนธรรมอินเดียเข้าสู่บริเวณนี้แล้ว เรียกสั้นๆว่า ฮีต-คลอง หรือถ้าจะเรียกให้เป็นแบบชาวบ้านแท้ก็ว่า" เปิงบ้านเปิงเมือง" เรื่องฮีตสิบสอง-คลองสิบสี่นี้ มีผู้สูงอายุหลายท่านกล่าวไว้คล้ายๆกัน จะต่างบ้างก็เพียงเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะครั้งโบราณด้านหนังสือยังไม่เจริญ อาศัยการบอกเล่าจดจำกันมาเป็นส่วนใหญ่ ที่เขียนไว้นั้นเป็นส่วนน้อย

ฮีตสิบสอง

"ฮีต" คงเป็นคำย่อของ "จารีต" เพราะอีสานใช้ "ฮ" แทน "ร" ฮีตสิบสองก็คือ จารีตที่ปฏิบัติกันในแต่ละเดือน ตรงกับทางภาคกลางว่าประเพณี 12 เดือนนั่นเอง ในสมัยโบราณเขาถือเอาเดือนอ้ายเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ (เดือนเจียงก็เรียก) แล้ววนไปจนถึงเดือน 12 เป็นเดือนสุดท้าย ในแต่ละเดือนมีประเพณีประจำเดือน ประเพณีเหล่านั้นส่วนใหญ่เป็นเรื่องพุทธศาสนา แต่ถ้าเป็นเรื่องอื่นก็พยายามดึงเข้าพุทธ เพื่อให้ได้โอกาสทำบุญด้วย คือ
เดือนอ้าย เป็นระยะอากาศหนาวชาวบ้านจะจัดสถานที่แล้วนิมนต์พระสงฆ์เข้ากรรม การเข้ากรรมของพระนั้นคือการเข้าอยู่ประพฤติวัตรโดยเคร่งครัดชั่วระยะหนึ่ง ในป่าหรือป่าช้า การอยู่กรรมเรียกตามบาลีว่า"ปริวาส" เพื่อชำระจิตใจที่มัวหมองปลดเปลืองอาบัติ สังฆาทิเสส ซึ่งเป็นอาบัติหนักเป็นที่ 2 รองจากปาราชิก ฝ่ายชาวบ้านก็ได้ทำบุญในโอกาสนั้นด้วย
"เถิงเมื่อเดือนเจียงเข้ากลายมาแถมถ่าย ฝูงหมุ่สังฆเจ้าเตรียมเข้าอยู่กรรม"
เดือนยี่ ทำบุญคูณลาน คือเก็บเกี่ยวแล้ว ขนข้าวขึ้นสู่ลาน นวดข้าวแล้ทำข้าวเปลือกให้เป็นกองสูงเหมือนจอมปลวก เรียกว่า "กุ้มเข้า" เหมือนก่อเจดีย์ทรายนั่นเอง แล้วทำพิธีบวงสรวงเจ้าแม่โภสพ นิมนต์มาสวดมนต์ทำบุญลาน บางคนก็เทศน์เรื่องนางโภสพฉลอง บางคนก็มีพิธีสู่ขวัญข้าวก่อนจึงจะขนข้าวขึ้นสู่ยุ้งฉาง เสร็จแล้วก็ทำพิธีเลี้ยงเจ้าที่หรือตาแฮก และเก็บฟืนไว้เพื่อหุงต้มอาหารต่อไป
"พอเมื่อเดือนยี่ได้ล้ำล่วงมาเถิง ให้พากันหาฟืนสู่คนโฮมไว้"
เดือนสาม ทำบุญข้าวจี่ วันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันมาฆบูชา รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำก็ถวายข้าวจี่ เรียกว่าวันทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชานั่นเอง ข้าวจี่คือเอาข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนเอาไม้เสียบย่างไฟเหมือนไก่ย่าง เมื่อข้าวสุกเกรียมแล้วก็เอาไข่ซึ่งตีไว้แล้วทาแล้วย่างซ้ำอีกกลายเป็นไข่เคลือบข้าวเหนียว เสร็จแล้วถอดไม้ออกแล้วเอาน้ำอ้อยหรือน้ำตาลที่เป็นก้อนยัดใส่แทนกลายเป็นข้าวเหนียวยัดไส้ แล้วถวายพระเณรฉันตอนเช้า ส่วนมากชาวบ้านจะรีบทำแต่เช้ามืด พอสว่างก็ลงศาลาการเปรียญ (ชาวบ้านเรียกหัวแจก) นิมนต์พระเณรสวดแล้วฉัน เป็นทั้งงานบุญและงานรื่นเริงประจำแต่ละหมู่บ้าน เพราะได้ทำข้าวจี่ไปถวายพระหลังจากพระฉันแล้วก็เลี้ยงกันเองสนุกสนาน มีคำพังเพยอีสานว่า
"เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นเข้าจี่ เข้าจี่บ่ใส่น้ำอ้อยจัวน้อยเช็ดน้ำตา"
เดือนนี้ชาวนาส่วนใหญ่ถือกันตั้งแต่โบราณมาว่าเป็นเดือนสู่ขวัญข้าว คือมีการถวายข้าวเปลือกพระและนิยมทำบุญบ้าน สวดมนต์เสร็จพิธีสงฆ์ แล้วก็สู่ขวัญข้าวตามธรรมเนียมพราหมณ์ บางบ้านก็ทำเล็กน้อยพอเป็นพิธี คือเอาข้าวไปถวายสงฆ์แล้วทำพิธีตุ้มปากเล้าเล็กน้อยเป็นการบูชาคุณของข้าวในเล้าหรือยุ้ง
"เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันทำเข้าจี่ ไปถวายสงฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ"
เดือนสี่ ทำบุญมหาชาติ ทุกวัดพอถึงเดือน 4 ก็จะมีการเทศน์มหาชาติ ชาวอีสานนิยมเรียกว่า "บุญผเวส" (พระเวสสันดร) มีคำพังเพยว่า
"เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นเข้าจี่ เดือนสี่ค้อยจัวน้อยเทศน์มะที (มัทรี)"
แต่การกำหนดเวลาก็ไม่ถือเด็ดขาด อาจจะเป็นปลายเดือนสาม หรือต้นเดือนห้าก็ได้ การเทศน์มหาชาติของอีสานผิดจากภาคกลางหลายอย่างเช่น การนิมนต์เขาจะนิมนต์พระวัดต่างๆ 10-20 วัดมาเทศน์ โดยแบ่งคัมภีร์ออกได้ถึง 30-40 กัณฑ์ เทศน์ตั้งแต่เช้ามืดและให้จบในวันเดียว พระในวัดถ้ามีมากก็จะเทศน์รูปละกัณฑ์สองกัณฑ์ ถ้าพระน้อยอาจจะเทศน์ถึง 5 กัณฑ์ การแบ่งซอยให้เทศน์หลายๆ กัณฑ์ก็เพื่อให้ครบกับจำนวนหลังคาบ้าน ถ้าหมู่บ้านนี้มี 80 หลังคาเรือน ก็อาจจะแบ่งเป็น 80 กัณฑ์ โดยรวมเอาเทศน์คาถาฟันมาลัยหมื่น มาลัยแสน ฉลองมหาชาติด้วยเพื่อให้ครบจำนวนโยมผู้เป็นเจ้าของกัณฑ์ แต่บางบ้านอาจจะขอรวมกับบ้านอื่นเป็นกัณฑ์เดียวกันก็ได้ และเวลาพระเทศน์ก็จะมีกัณฑ์หลอนมาถวายพิเศษอีกด้วย คือหมู่บ้านใกล้เคียงจะรวบรวมกัณฑ์หลอนคล้ายผ้าป่าสมัยนี้ แห่เป็นขบวนกันมา มีปี่ มีกลองก็บรรเลงกันมา ใครจะรำจะฟ้อนก็เชิญ แห่รอบศาลาการเปรียญ 3 รอบ แล้วก็นำไปถวายพระรูปที่กำลังเทศน์อยู่ขณะนั้นเลย เรียกว่ากัณฑ์หลอนเพราะมาไม่บอก มาโดนใครก็ถวายรูปนั้นไปเลย เรื่องกัณฑ์หลอนนับเป็นประเพณีผูกไมตรีระหว่างหมู่บ้านได้ยิ่งดี เพราะเรามีเทศน์เขาก็เอากัณฑ์หลอนมาร่วม เขามีเราก็เอาไปร่วมเป็นการสนองมิตรจิตมิตรใจซึ่งกันและกันได้ทั้งบุญได้ ทั้งมิตรภาพ ได้ทั้งความสนุกเฮฮา รำเซิ้ง แม้แต่ในหมู่บ้านนั้นเองก็มีกลุ่มหนุ่มสาว กลุ่มบ้านเหนือ กลุ่มคนแก่ กลุ่มขี้เหล้า หรือกลุ่มอะไรก็ได้ ร่วมกันทำกัณฑ์หลอนขึ้น แห่ออกไปวัดเป็นการสนุกสนาน ใครใคร่ทำทำ มีเงินทองข้าวของจะบริจาคได้ตลอดวัน จึงเห็นบุญมหาชาติของอีสาน เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ประจำปี และถือกันว่าต้องทำทุกปีด้วย
อนึ่งก่อนวันงาน 5-6 วัน หนุ่มสาวจะลงศาลานำดอกไม้ ประดับตกแต่งศาลาบริเวณวัดเป็นโอกาสที่หนุ่มจะได้คุยกับสาว ช่วยสาวทำดอกไม้สนุกสนานที่สุด นี้แหละคืออีสานที่น่ารัก
เดือนห้า ทำบุญตรุษสงกรานต์ ประเพณีนี้ทำเหมือนๆกับภาคกลาง จะต่างกันก็ในเรื่องการละเล่นหรือการรดน้ำ สาดน้ำ สีกาอาจจะสาดพระสาดเณรได้ ไม่ถือ พระบางรูปกลัวน้ำถึงกับวิ่งก็มี บางแห่งสาวๆตักน้ำขึ้นไปสาดพระเณรบนกุฏิก็มี แต่การเล่นสาดน้ำนี้ไม่สาดเฉพาะวันตรุษเท่านั้น ระยะใกล้ๆกลางเดือนห้าสาดได้ทุกวัน บางปีเลยไปถึงปลายเดือนก็มีถ้าอากาศยังร้อนมากอยู่ นอกจากนี้ยังมีประเพณีสรงน้ำพระพุทธและพระสงฆ์ด้วย คือระยะกลางเดือนห้าอากาศร้อน สาวๆจะตักน้ำไปวัดสรงพระคือให้พระอาบและสรงพระพุทธรูปด้วย เมื่อประมาณ 30 ปีมานี้ ทุกวัดจะมีหอสรงอยู่ คือถึงเทศกาลนี้ก็อัญเชิญพระพุทธรูปไปตั้งในหอ ให้ชาวบ้านมาสรงกัน อากาศร้อนๆ เด็กๆ ก็ชอบเข้าไปเบียดกันใต้หอสรงรออาบน้ำสรงพระ ขลังดี ล้างโรคภัยได้ หอสรงเป็นไม้กระดานน้ำไหลลงใต้ถุนได้ เด็กก็เลยได้อาบน้ำสนุกสนานไปด้วย
เดือนหก ทำบุญวิสาขบูชา และบุญบั้งไฟ นอกจากนี้ก็มีพิธีรดน้ำพระสงฆ์ยกฐานเป็น ยาซา ยาครู สำเร็จและบวชลูกหลาน
เดือนเจ็ด ทำบุญติดปีติดเดือน เรียกว่าทำบุญด้วยเบิกบ้าน ทำพิธีเลี้ยงมเหศักดิ์หลักเมือง เลี้ยงผีบ้านซึ่งเรียกว่าปู่ตา หรือตาปู่ ซึ่งเป็นผีประจำหมู่บ้าน และเรียกผีประจำไร่นาว่า "ผีตาแฮก" คือก่อนจะลงทำนาก็เซ่นสรวงบูชาเจ้าที่ผีนาก่อนเป็นการแสดงความนับถือรู้บุญคุณ
"เดือนเจ็ดแล้วจงพากันบูชาราช ฝูงหมู่เทพเล่านั้นบูชาแท้ซู่ภาย"
เดือนแปด ทำบุญเข้าพรรษา เหมือนกับภาคกลาง แต่มีความนิยมพิเศษคือชักชวนชาวบ้านให้นำขี้ผึ้งมาร่วมกันหล่อเทียน เช่นเดียวกับธรรมเนียมหลวงมีการถวายเทียนพรรษา
"เดือนแปดได้ล้ำลวงมาเถิง ฝูงหมู่สังโฆคุณเข้าวัสสาจำจ้อย"
เดือนเก้า ทำบุญข้าวประดับดิน กำหนดเอาวันแรม 14 ค่ำเดือน 9 ประชาชนหาอาหาร หมากพลู บุหรี่ ห่อด้วยใบตองไปวางตามยอดหญ้าบ้าง แขวนตามกิ่งไม้บ้าง และใส่ไว้ตามศาลเจ้าเทวาลัยบ้าง วัตถุประสงค์เพื่ออุทิศให้แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อมานิยมทำบุญตักบาตรและกรวดน้ำอุทิศกุสลตามแบบพุทธ แต่มีผู้ใหญ่บางท่านว่าบุญประดับดินนี้ เป็นพิธีระลึกถึงคุณของแผ่นดินมนุษย์ได้อาศัยแผ่นดินอยู่และทำกิน พอถึงเดือน 9 ข้าวปลาพืชผลกำลังเจริญ ชาวบ้านจึงทำพิธีขอบคุณแผ่นดิน
"เดือนเก้าแล้วเป็นกลางแห่งวัสสกาล ฝูงประชาชาวเมืองเล่าเตรียมกันไว้
พากันนานยังเข้าประดับดินกินก่อน ทายกนานให้เจ้าพระสงฆ์พร้อมซู่ภาย"
เดือนสิบ ทำบุญเข้าสาก (สลากภัต) ทำในวันเพ็ญเดือน 10 เป็นการทำบุญให้เปรตโดยแท้ ระยะห่างจากบุญประดับดิน 15 วัน บางท่านว่าเป็นการส่งเปรตคือเชิญมารับทานวันสิ้นเดือน 9 และเลี้ยงส่งในกลางเดือน 10 บางถิ่นเวลาทำบุญมีการจดชื่อของตนใส่ไว้ที่และเขียนสลากใส่ลงในภาชนะบาตรด้วย เมื่อพระเณรรูปได้รับสลากนั้น ก็เรียกพานยกเจ้าของไปถวาย
"เถิงเดือนสิบแล้วทายกทอดบวยบาน เบิกพลีทำทานต่อมาสองซ้ำ
เข้าสากน้ำไปให้สิ่งโฆทานทอด พากันหวังยอดแก้วนิพพานพ้นที่สูง"
เดือนสิบเอ็ด ทำบุญออกพรรษา เมื่อพระสงฆ์จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว ทำพิธีปวารณา ตามวัดต่างๆ จุดประทีปโคมไฟสว่างไสว ใช้น้ำมะพร้าวบ้าง น้ำมันละหุ่งบ้าง น้ำมันหมูบ้าง ใส่กระป๋องหรือกะลามะพร้าวจุดตั้งหรือแขวนตามต้นไม้ตลอดคืน บางคนก็ตัดกระดาษทำรูปสัตว์ หรือบ้านเล็กๆ จุดไฟไว้ข้างใน เป็นการประกวดฝีมือในเชิงศิลปในตัวอย่างสนุกสนาน รุ่งเช้าก็มีการทำบุญตักบาตรเทโว บางวัดมีการกวนข้าวทิพย์ และบางวัดก็มีการแข่งเรือด้วย
"เถิงเดือนสิบเอ็ดแล้วเป็นแนวทางป่อง เป็นช่องของพระเจ้าเคยเข้าแล้วออกมา
เถิงวัสสามาแล้ว 3 เดือนก็เลยออก เฮียกว่าออกพรรษาปวารณากล่าวไว้ เอาได้เล่ามา"
เดือนสิบสอง ทำบุญกฐิน (กฐินเริ่มแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงกลางเดือน 12) มีการจุดพลุตะไลประทัดด้วย ส่วนวัดใดอยู่ริมแม่น้ำก็มีการแข่งเรือกัน เรียกว่า "ซ่วงเฮือ" เพื่อบูชาอุสุพญานาค 15 ตะกูล รำลึกถึงพญาฟ้างุ่มที่นำพระไตรปิฎกขึ้นมาจากเมืองอินทปัตถะ (เขมร)
"ในเดือนนี้เฟิ่นว่าให้ลงทอดพายเฮือ ช่วงกันบูชาฝูงนาโคนาคเนาในพื้น"
บางแห่งทำบุญทอดผาสาทเผิ้ง (ปราสาทผึ้ง) หลังจากทอดกฐินแล้ว ละบางบ้านทำบุญถวายดอกฝ้ายเพื่อทำผ้าห่มถวายพระ


คลองสิบสี่
คลอง (ครรลอง) คือแบบแผนหรือแนวทางดำเนินชีวิตคล้ายๆ กับคำฝรั่งหนึ่งว่า "Way of life" แต่คลองในที่นี้มุ่งไปทางศีลธรรมประเพณีที่ถูกผิดมากกว่าด้านอาชีพ เห็นจะตรงกับภาคกลางว่า ทำนองคลองธรรม นั่นเอง แต่ชาวอีสานออกเสียงคลองเป็นคองไม่มีกล้ำ เช่นว่าถ้าทำไม่ถูกผู้ใหญ่ท่านจะเตือนว่า "เฮ็ดบ่แม่นคอง" หรือว่า "เฮ็ดให้ถือฮีตถือคอง" เป็นต้นฉบับของท่านเจ้าพระอริยานุวัตร มีคำฮีตนำหน้าด้วย คือ
1. ฮีตเจ้าคลองขุน เป็นหลักสำหรับผู้ปกครองในสมัยโบราณ ขุนก็คือเจ้าเมือง เช่น ขุนเบฮม ขุนลอ ขุนทึง เป็นต้น (ภาคกลางก็มีเช่นพ่อขุนรามคำแหง)
2. ฮีตท้าวคลองเพีย (เจ้าปกครองขุน)
3. ฮีตไพร่คลองนาย (ไพร่ปฎิบัติต่อนาย)
4. ฮีตบ้านคลองเมือง (ประเพณีของบ้านเมือง)
5. ฮีตปู่คลองย่า
6. ฮีตตาคลองยาย
7. ฮีตพ่อคลองแม่ (พรหมวิหารธรรม)
8. ฮีตไภ้คลองเขย (หลักปฎิบัติของลูกสะใภ้ลูกเขย)
9. ฮีตป้าคลองลุง
10. ฮีตลูกคลองหลาน
11. ฮีตเถ้าคลองแก่ (ธรรมของผู้ชายที่มีต่อเด็ก)
12. ฮีตปีคลองเดือน (คือฮีตสิบสองนั่นเอง)
13. ฮีตไฮ่คลองนา
14. ฮีตวัดคลองสงฆ์

www.thaifolk.com/doc/hittsibsong.htm

ฮีตสิบสอง-คลองสิบสี่

คนอีสาน มีวัฒนธรรมประจำชาติและประจำท้องถิ่น มาแต่โบราณกาลแล้วนับศตวรรษ จนถือเป็นฮีตเป็นคลอง ...ต้องปฏิบัติสืบกันมาจนเป็นประเพณีที่รู้จักกันดี และพูดจนติด ปากว่า "ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่"
ฮีตสิบสอง คำว่า ฮีต มาจากคำภาษาบาลีที่ว่า จารีตตะ แปลว่า ธรรมเนียม


แบบแผนความประพฤติ ที่ดีงามปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี
ฮีต นั้นมี ๑๒ ประการ เท่ากับ ๑๒ เดือนใน ๑ ปี ตามระบบจันทรคติหรือพูดอีก นัยคือ การทำบุญใน ๑๒ เดือนนั้นเอง

ฮีตที่ ๑.
บุญเข้ากรรม หรือ บุญเดือนเจียง ภิกษุต้องอาบัติ.สังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมถึงจะพ้นจากอาบัติ ญาติโยมพ่ออก แม่ออก ผู้อยากได้บุญกุศลก็จะให้ไปทาน รักษาศิลฟังธรรมเกี่ยวกับการเข้ากรรมของภิกษุ เรียกว่า บุญเข้ากรรม กำหนดเอาเดือนเจียงเป็นเวลาทำ จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ วันที่นิยมทำเป็นส่วนมากคือวันขึ้น 15 ค่ำเพราะเหตุมีกำหนดให้ทำในระหว่างเดือนเจียง จึงเรียกว่าบุญเดือนเจียง


อันว่าประเพณีพุทธศาสนาเราไว้เป็นธรรมประจำชาติ เป็นความประพฤติดีเลิศล้น พระสงฆ์สร้างก่อบุญ คำว่า กรรมคือกรรมของภิกษุสังฆาทิเสท ๑๓ ข้อนั้น พระสงฆ์ต้องอยูกรรม เพื่อความบกพร่องของศีลดังกล่าว พระภิกษุสงฆ์จึงเข้ากรรมเพื่อชำระความเศร้าหมองพวกนี้ แล้วจะเจริญขึ้นกว่าเดิม
ประเพณีบอกไว้ถือว่าเป็นสำคัญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ กำหนดการไว้ หรือว่าวันเพ็ญเดือนอ้ายทำบุญตักบาตร เรียกว่าบุญเดือนอ้าย แนวนี้ก็หากมี
พระภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสท แล้วจำเข้าอยู่กรรม ถ้าบ่มีเข้าบำเพ็ญธรรมบ่สะอาด บ่สามารถบรรลุธรรมอีกได้จำเข้าพรรษา มีเรื่องเล่าว่า ภิกษุหนุ่มบำเพ็ญธรรม ในพงษ์ไพรป่าคาราวเรื้อ วันหนึ่งเลยมาข้ามเรือแพในป่า ได้ดึงใบตระใคร่น้ำ แคมข้างทางระหว่างชลหา ภิกษุอื่นบ่ได้จะแสดงออกซึ่งอาบัติ บำเพ็ญธรรมจนจบชีวิตก็บ่เห็นผลได้ พอว่าตายไปแล้วกรรมยังติดต่อ ไปเกิดเป็นเอกระปัตตะนาคใต้ในพื้นนาคคำ ได้สองหมื่นปีปลายแท้กรรมเวรยังบ่ขาด คงเป็นเพราะเหตุนี้โบราณเจ้าจิงถือ เอาการเข้ารักษากรรมมาเหตุ
วิธีเข้ากรรมคือจัดแจงเครื่องใช้มีไว้สู่อัน น้ำกินน้ำใช้เพียงพอสู่อย่าง เลือกที่สงัด บ่มีภิกษุมากด้วยคนน้อยบ่หลาย ทำเป็นที่เข้าเป็นศาลากลางป่า จัดเป็นกระท่อมน้อยพอได้อยู่ผู้เดียว แล้วก็เตรียมห่มผ้าเฉลียงบ่าทั้งสอง ยอมือพบกล่าวยอมาลีเว้าว่า ปริวาสเข้ากรรมปลดแอกครั้นอยู่ปริวาสครบแล้วขอมานัต ๖ ราตรี ครั้นว่าราตรีครบก็จิงขออัพภาน ต่อสงฆ์องค์เจ้า ครั้นว่าขออัพภาน แล้วเป็นคนใสสะอาด หมดเวรกรรมมายุต้อใจนั้นซุ่มเย็น
ส่วนว่าฆราวาสนั้นถวายหมู่จตุปัจจัย ไทยธรรมหลายสู่อันถวายให้ครั้นว่าหมดกรรมแล้วบุญกุศลก็นำส่ง ได้บุญหลายมากล้นโบราณย่องว่าดีนั้นแหล่ว


ฮีตที่ ๒.
บุญคูนข้าว หรือ บุญคูนลาน สำหรับตีหรือนวดข้าว เรียกว่า ลาน การเอาข้าวที่ตีแล้วมากองให้สูงขึ้น เรียกว่าคูนลาน หรือที่เรียกกันว่าคูนข้าว ชาวนาที่ทำนาได้ผลดี อยากได้กุศล ให้ทานรักษาศีลเป็นต้นก็จัดเอาลานข้าวเป็นสถานที่ทำบุญ การทำบุญในสถานที่ดังกล่าวเรียกว่าบุญคูนลานกำหนดเอาช่วงเดือนยี่เป็นเวลาทำบุญจึงเรียกว่าบุญเดือนยี่
อันว่าการคูณลานนั้นคือ คูณข้าวเปลือก ทำบุญในลานข้าวเปลือกเพื่อจัดเพิ่มบุญนั้นให้มากมูล เดือนปีที่ทำนั้น เป็นสำคัญประจำชาติ เรียกว่าบุญเดือนยี่ ตราบเท่าวันนี้กล่าวเถิง
มูลเหตุนั้นมีประวัติกล่าวในคัมภีร์ ในสมัยองค์กัสสษะโปรดคนคราวนั้น ยังมีสองพี่น้องเป็นพวกชาวนา รวมกันทำไรนาผาท้าง พอเมื่อเวลาข้าวเป็นน้ำนมพอแก่ น้องใคร่คิดทำข้าวมธุปายาสนั้นถวายให้แก่พระองค์ ชวนพี่ชายเหล่าได้แบ่งที่นากัน น้องจิงมีกรรมสิทธิ์ทอดทานทำได้ มาก็ทำนานข้าวในนาข้าว เถิง ๙ เทื่อ คือ เวลาข้าวเป็นน้ำนมนั้น ครั้งหนึ่ง เป็นข้าวเหม้าก็จัดทานทอดให้พระสงฆ์เจ้าดั่งเดิม ครั้งที่สามนั้นเถิงเวลาเก็บเกี่ยว ครั้งที่๔ จัดตอกมัดข้าวมาไว้ใส่ลาน ครั้งที่เจ็ดรวมเข้าเป็นลอมไว้ก่อน ครั้งที่แปดทำการฟาดหรือว่านวดข้าวกองไว้อยู่ลาน ครั้งที่เก้าขนเอาขึ้นใส่ยังปิดแจมประตูอัด
การทำทานมาเถิงครบไปทั้ง๙ ถวายให้องค์เจ้าสัพพัญญูตนเองกกัสสปะพระพุทธเจ้าคราวนั้นเพียงจริง น้องชายน้อยนั้นปรารถนานายยอดอรหันต์ ผลบุญกุศลส่งตามมาให้ในศาสนาพระโคดมนี้เขาลงมาเกิดพระโคดมแต่คราวกาลนั้น ทั้งเป็นพารหมณ์ดีได้เฉลียวเปรียวฉลาด คาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าเป็นเจ้าหน่อพุทธโธ ท่านก็ได้รับเอตทัคคะได้เป็นยอดรัตตัญญู ผลบุญกุศลนำปรางนั้น
ส่วนว่าพี่ชายนั้นได้ถวายข้าวในนาครั้งหนึ่ง ผลก่อสร้างบุญนั้นต่อมา ในชาตินี้ได้มาเกิดเป็นสุภัททะปริพาชกบ่มีได้พบพุทธองค์เนินช้า จนถึงปรินิพพานแล้วได้เคยมาฟังเทศน์ จนได้เป็นพระอนาคามีองค์สุดท้ายแท้ๆ บุญนั้นส่งนำ การถวายทานนี้ถือว่ามีอานิสงส์มาก จึงถือเป็นประเพณีบอกไว้เฮาได้อ่านดู
อันว่าวิธีทำนั้น จัดเอาลานเป็นที่อยู่ บอกกล่าวญาติพี่น้องมาร่วมก่อบุญ นิมนต์พระสงฆ์ได้ตามศรัทธาสามารถจัดสิ่งของหม้อน้ำมนต์ ใส่น้ำหอมตั้งไว้ตามไท้ธูปเทียน ครั้นถวายทานเสร็จแล้วสงฆ์พรมน้ำมนต์ ฝูงวัวควายและกุ้มข้าวพระซ้ำสวดตาม
หมู่บ้านนั้นจัดคุ้มใหญ่เป็นประจำ แต่ละเรือนชานเหล่ารวมเป็นคุ้มพิธีทำบุญมั้นจัดปรำคนละแห่ง ต่างก็จัดของทานมีข้าว น้ำเอาไว้สู่เรือน แล้วไปรวมกันเข้าทำบุญร่วมตลอด ในเวลากลางคืนจัดปรำคนละแห่ง ต่างก็จัดของทานมีข้าวน้ำ เอาไว้สู่เรือนแล้วไปรวมกันเข้าทำบุญร่วมตลอด ในเวลากลางคืนจัดธูปเทียนดอกไม้มาไหว้ท่านพระสงฆ์ แล้วเหล่ามีใจพร้อมรวมกันฟังเทศน์มีมหรสพพร่ำพร้อมงันซ้องสนั่นเมือง ตื่นฮูงเช้าตักบาตรถือศีล ถวายอาหารพระสงฆ์จงครบวนถ้วน
บุญคุ้มประจำ
หมู่บ้านนั้นจัดคุ้มใหญ่เป็นประจำ แต่ละเรือนชานเหล่ารวมเป็นคุ้มพิธีทำบุญมั้นจัดปรำคนละแห่ง ต่างก็จัดของทานมีข้าว น้ำเอาไว้สู่เรือน แล้วไปรวมกันเข้าทำบุญร่วมตลอด ในเวลากลางคืนจัดปรำคนละแห่ง ต่างก็จัดของทานมีข้าวน้ำ เอาไว้สู่เรือนแล้วไปรวมกันเข้าทำบุญร่วมตลอด ในเวลากลางคืนจัดธูปเทียนดอกไม้มาไหว้ท่านพระสงฆ์ แล้วเหล่ามีใจพร้อมรวมกันฟังเทศน์มีมหรสพพร่ำพร้อมงันซ้องสนั่นเมือง ตื่นฮูงเช้าตักบาตรถือศีล ถวายอาหารพระสงฆ์จนครบถ้วน
บุญคุ้มข้าวใหญ่
อันว่าบุญแนวนี้นำเอาข้าวเปลือกมารวมกันเข้าแล้วถือศีล ฟังเทศน์ที่ศาลากลางหมู่บ้านโรงกว้างสะดวกดี กลางคืนนั้นถือศีลฟังเทศน์มีมหรสพพร่ำพร้อมเพียรสร้างก่อบุญหลายครัวเรือนได้รวมกันเอาข้าวเปลือก ถือว่า เป็นบุญมากล้นโบราณเจ้าเหล่าถือ ข้าวเปลือกนั้นเอาไปจ่ายเป็นเงินมาทำสาธารณกุศล ก่อการได้ไว้หลายประการล้นบุญมีเหลือมาก ควรที่จำจือไว้โบราณเจ้ากล่าวสอน

ฮีตที่ ๓.
บูญข้าวจี่หรือบุญเดือนสาม ข้าวเหนียวปั้นโรยเกลือ ทาไข่ไก่แล้วจี่ไฟให้สุก เรียกว่าข้าวจี่ การทำบุญให้ทานมีข้าวจี่เป็นต้น เรียกว่าบุญข้าวจี่ นิยมทำกันอย่างแพร่หลาย เพราะถือว่าได้กุศลเยอะ ทำในช่วงเดือนสาม เรียกว่า บุญเดือนสาม
เอาข้าวมาปั้นทาน้ำมันไข่ไก่ ไฟแดงๆ อยู่แล้วเอามาปั้นจีลง บุญข้าวจีนี้เรียกว่าบุญเดือนสาม มีประวัติมาแต่พุทธกาลคราวพุ้น ในพระธรรมมาเว้าบาลีมีบอกว่า มีนางปุณณะทาสิเจ้าเป็นสาวใช้บ่าว จัดแป้งสาลีเป็นแป้งจี นั่งเฝ้าเรือนเจ้าบ่าวนาย คิดอยากจะถวายข้าวสาลีแป้งจีก็กลัวว่าพระพุทธเจ้าสิโยนทิ้งบ่อยากฉัน พระพุทธองค์ทรงได้โดยพระวรจิต จิงได้วานอานนท์ปูอาศนะลงบนพื้น พออานนท์ปูแล้วพระองค์ เสด็จอาศน์ นางปุณณาทาสิปราบปลื้มดีแท้มากหลายจิงถวายไท้พุทธบาทโคดม พระองค์จึงทรงเทศนาว่าเป็นทานเยี่ยม จนกว่าปูณณะทาสีได้โสดาคุณพิเศษ เป็นพระอริยะบุคคลเพราะได้ทานแป้งจี่ผง เหตุดังนี้เฮาพวกชาวนาจิงพากันมาทำบุญดั่งปุณณะทาสีสู่ปีบ่มีเว้น
มีพิธีทำนั้นบ่มีการลำบาก หาหลัวฟืนท่อนไม้มาไว้ก่อไฟ แล้วเหนียวมาปั้นเป็นแผ่นๆ เอาเกลือโรยหน่อยแล้วทาด้วยไข่ไก่ นม เอาน้ำอ้อยใส่ด้วยหวานอ่อยหน่อยพอดี เอาลงไปอั่งไฟจี่พอสุกได้ทั้งนิมนต์เอาได้พระสงฆ์มารวบสวดอาราธนาศีลรับศีลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถวายข้าวจีถาม คำถวายข้าวจี่นั้นมีแบบตามฉบับ แล้วจิงนำไปถวายสงฆ์ใส่ลงในบาตร พระสงฆ์ท่านทำพิธีมนต์สูตร ฉันเรียบร้อบแล้วลงให้รดน้ำมนต์ แล้วก็ฟังเทศน์ได้ฉลองข้าวจี่ตามประเพณี ทั้งหนังสือลำนิทานที่ญาติโยมขอไว้ หนังสือลำนั้นเป็นการฉลองเทศน์ เรียกว่าบุญเดือนสามแท้ๆ บ่มีได้เปลี่ยนแปลง
บุญมาฆะบูช
ครั้นเมื่อมาฆะฤกษ์เดือนสามล่วงมาเถิง เป็นเวลาทำบุญมาฆาแต่โบราณนั้น ฝูงเฮาดอกไม้ฝูงเทียนทั้งธูปเข้าวัดอยู่ใกล้บ้านประสงค์บ้านประสงค์ตั้งต่อบุญ ทำมาฆะบูชาขึ้นยอมือล้นเกษ ระลึกเถิงพระพุทธเจ้าคราวนั้นแต่เดิม
มูลเหตุของมาฆะบูชา
วันเพ็ญเดือนสามนั้นเป็นวันสำคัญพุทธศาสน์ เป็นวันที่พระภิกษุอรหันต์ ๑,๒๕๐องค์มาพร่ำพร้อมบ่มีได้นัดหมาย ณ เวฬุวันมหาวิหารนั้น ประชุมสงฆ์หมู่ใหญ่แสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ไว้องค์นั้น ๔ประการ องค์๑ คือ
๑. พระสัพพะปขปัสสะ อกรณัง อย่าทำชั่วหลายประการเป็นบาป
๒. กุสลัสสู่ปสัมปทา ทำแต่ความดีไว้เป็นบุญอันประเสริฐ
๓. สจิตตปริโยทปนัง ชำระหัวใจสะอาดแล้วคงได้อยู่เย็น
องค์ ๒ นั้นล้วนเป็นพระอุปสมบทจากพระพุทธเจ้ามาถ้วนคู่คงค์
องค์ ๓ นั้น บ่มีการนัดหมายไว้มาเองทุกรูป
องค์ ๔ นั้น มาพร่ำพร้อมวันนั้นสู่งองค์ทั้งเป็นวันเพ็ญเดือนสามแท้ บ่มีเหลือเศษ แสงตะวันส่องแจ้งแสงเศร้าแม่นบ่มี จัดเป็นจาตุรงค์ สันนิบาตไว้ประชุมใหญ่ของสงฆ์ โบราณถือว่าเพ็ญเดือนสามก่อบุญ กุศลสร้าง
ทำพิธีนั้น จัดเตรียมน้ำดื่มทั้งนำใช้ปไวอาศนา ตอนเวลาเช้าทำบุญตักบาตร อังคาสพระภิกษุสงฆ์พร่ำพร้อมฟังเจ้าเทศนา ตอนเวลาเย็นนั้นเวียนเทียนรอบโบสถ์ จุดเทียนดอกไม้บูชาแล้วเหล่าเดิน เวลาเวียนเทียนนั้นคำบูชาต้องๆ กล่าวจะเอาอิติปิโส สวขาโต สุปฏิปันโนก็ได้ ตามแท้แต่ใจก่อนจะเวียนเทียนกับธูป ยืนประณมมือพร่ำพร้อมฟังเจ้าอานคำ ปากก็ต้านเว่าต่อประธานสงฆ์

ฮีตที่ ๔.
บุญเผวส หรือ บุญเดือนสี่ บุญที่มีการเทศน์พระเวส หรือ มหาชาติ เรียกว่าบุญเผวส(ผะ-เหวด) หนังสือมหาชาติ หรือ พระเวสสันดรชาดก แสดงถึงจริยวัตรของพระพุทธเจ้าคราวพระองค์เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร เป็นหนังสือเรื่องยาว 13 ผูก (13 กัณฑ์) และนิยมบวชภิกษุใหม่ในเดือนนี้ด้วยถือว่าได้กุศลแรง บุญเผวสนิยมทำกันในช่วงเดือนสี


เวสสันดรชาดกนั้นเรียกว่าเพระเวสสันดร เคยทำประจำเดือนสี่ภาคอีสานนิยมไว้ หรือว่าบุญเดือนสี่แท้มีประจำไว้แต่นาน เป็นชาดกกล่าวเรื่องเทศชาติชาดกเป็นบารมีสุดเพิ่มมูล เอาไว้มีทั้งกำหนดให้ทำบุญมหาชาติ ไว้ในเดือน ๔ นั้นเป็นแท้แน่นอน การบุญใหญ่นี้ทำระหว่างยามหนาวยามบ่มีการงานก่อนแต่ทำบุญไว้เป็นการได้ทำบุญครั้งใหญ่ ท่านว่าพบพระศรีอาริยะเมตไตร เพราะฟังลำมหาชาตินี้เป็นได้แน่นอน ทั้งเมื่อได้ฟังแล้วจำจือปฏิบัติศีลทานธรรมดั่งพระองค์มีไว้ ก็จักเถิงหนท้องนิระทานหมดชาติ บ่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดแท้เมืองนั้นอยู่เกษม
เหตุใดจึงทำบุญพระเวส
ในคัมภีร์กล่าวอ้างต้นเหตุการณ์ทำในกาลครั้งหนึ่งนั้น พระเถระเจ้าองค์เอกอรหันต์ ขึ้นไปสวรรค์พิภพเขตพระอินทร์องค์ล้ำ ท่านก็ประสงค์ไปไหว้จุฬามณีองค์พระธาตุ ได้พบองค์เอกเจ้าศรีอาริยะทวยเทพ อยู่สวรรค์ชั้นฟ้าคราวนั้นสั่งมา ว่าบุคคลใดคิดอยากพบยอดไท้องค์เอกพระศรีอารย์ให้พากันทำบุญเทศน์เวสสันดรเอาไว้ฟังธรรม ๑๓ กัณฑ์ ได้วันเดียวให้หมดผูก อย่าพากันขี้คร้านจะเห็นหน้าแห่งเรา ทั้งอย่าให้ทำอนันตริยะกรรมรายอันมีผลเป็นบาป ๑.อย่าทำลายสงฆ์ให้แตกกันแท้หมุนวาย ๒.อย่าทำการฆ่าบิดามารดา ๓.บ่ได้ทำโลหิตตุบาทแก่พระพุทธเจ้าองค์ใดบ่มี ๔.บ่ได้มีการฆ่าพระอรหันต์ตนแห่งประเสริฐ แล้วให้ฟังธรรมเรื่องพระเวสแล้วบ่มีแคล้วคลาดเถิงท่านเอย ทำสลากนิมนต์
พอเมื่อตกลงกันพร้อมสาธุการทุกฝ่าย จัดแบ่งกัณฑ์เรียบร้อย หามีพักเช้า พร้อมกันจัดทำซุ้มสถานเนาว์นอนนั่ง แล้วจึงบัตรด้วยติดใบลาน พร้อมพร่ำว่า วุฑฒิธรรมคำฝูงข้าทั้งหลาย ภายในมีอาชญธรรมเป็นเค้าภายนอกมีผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน พวกข้าจัดการให้มีการฟังธรรมมหาชาติ ในวัน เดือน ปี กำหนดในหั้นสู่แนว บอกวันแสดงให้ฟังธรรมแจ้ง เมื่อญาติโยมจักได้มาพร่ำพร้อมสมสร้างก่อบุญปลูกปะรำให้กว้างพออยู่ทั้งโยม นี้เป็นกิจการบุญหมู่เราเคยสร้าง
การเตรียมเครื่องสักการะ
เครื่องสักการะนั้น มีข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียนหอม อย่างละเป็น ๑๐๐๐ พันใส่ในศาลากว้าง มีธงอันใหญ่ไว้ ๗ อันประดับแต่งมีรูปม้าลายเป็นประวัติพระเวสเจ้าคราวครั้งแต่หลัง มีทั้งหม้อน้ำมนต์ ๔ หน่วย ทั้งหอพระอุปคุกเฝ้าไว้รักษาเจ้าหมู่มาร เพราะงานบุญเฮาสร้างเป็นผลบุญใหญ่ มักจะมีมารจญเหตุฮ้ายทำให้ผ่านฟังหออุปคุตนั้นปลูกสูงได้ เพียงตายืนอยู่ เอาไม้ไผ่เป็นลำมาตัดทอนด้ามท่อกัน ฝาขัดแตะแจ้มสามด้านท่อกัน หาซองใสไว้เช่นบาต กระโถน กาน้ำ ทั้งจีวรผืนหนึ่ง ทั้งไม้เท่าเอาไว้ที่หอพอเถิงเวลาล้ำสามโมงตอนบ่าย จัดเครื่องสักการะพรำพร้อมเชิญเจ้าสู่หอ สมมติว่าท่านเนาว์อยู่บ่มิไกล ตามเรื่องเดิมกล่าวมาเอาไว้ ตามประวัติได้เป็นเชื้อแถวแนวนสค เป็นผู้มีญาณแก่กล้าเนาว์ค้างระหว่างมหาสมุทรพุ้นตามตำนานมีกล่าว คราวอโศกมหาราชเจ้ารวม-กลาง สร้างก่อบุญ เก็บพระธาตุมารวมอยู่หนเดียว มาบรรจุรวมกันแห่งเดียวเอาไว้ จิงเกรงกลัวไว้ศัตรูของพระพุทธบาทจิงนิมนต์พระอุปคุตอยู่ใต้น้ำมาไว้ดั่งหวัง ท่านอุปคุตนั้นจับพระยามารได้เอาหนังหมามาผูก หนังหมาเน่าผูกคล้องคอไว้บ่ปล่อยไป ไผก็บ่อาจได้หมดสามารถวิชามารจิงเอาหนีไปไกลยอดเขาสุเมพุ้น การบุญเจ้าองค์พระยาอโศกราช จึงสำเร็จลุล่วงไปได้ดั่งยาม
คำเชิญพระเถรอุปคุ
คำเชื้อเชิญว่า อุกาสะ อุกาสะ ฝูงข้าทั้งหลายภายในมีพระสงฆ์เป็นเค้า ภายนอกมีออกตนเป็นประธาน พากันจัดเครื่องสักการะมากราบไหว้ แก่ยอดให้พระอุปคุตเถร ตนมีฤทธิ์องอาจ นิรมิตรประสาทแก้วกุฏิ กลางนทีแม่น้ำใหญ่ มักใคร่ด้วยพรหมจารี อยู่สุขีบ่โศรกเศร้า บัดนี้ฝูงข้าพเจ้าทั้งหลาย พร้อมกันฟังยังลำพระเวสในบ่วงเขตอาราม ขอเชิญเจ้ากุตทรงคุณธรรมมาก เป็นอาชแพ้แก่ผิในจักรวาฬ ขอจงไปปราบมารทั้ง ๕ อันจะมาเบียดเบียนฝูงข้าทั้งหลาย ให้หายโภยภัยอันตรายทุกส่ำ พร้อมพร่ำถ้วนทุกประการ ก็ช้าเทอญ
พอแล้วตีฆ้องป่าวเดิน ถือของไตรจีวรทั้งบาตรเวียน ๓ รอบแล้วลาล่ำต่าวคืน เอาสิ่งของถือนั่นวางในหอไว้ก่อน เถิงเวลาเพลจังหันก็ต้องจัดพร่ำพร้อมไปไว้ที่หอครั้นว่าเสร็จสรรพ์แล้วรวมกันไปแห่
กาลแห่พระเวสเข้าเมือง
เวลาได้เถิงบ่าย ๔ โมงเย็น ทางอารามตีกลองบอกเตือนโยมไว้ ทางวัดจัดเอาได้กลองตีธรรมนาสน์ ใส่พระพุทธรูปด้วยพระสงฆ์ซ้ำนั่งนำพระสงฆ์ เทศนาเชิญพระเวส เทศน้อยบนธรรมมาสน์เสียงระห้อยอ่อนหู ว่าเชิญยอ เชิญพระคืนเมื่อห้องเสวยเมืองเก่า ทั้งมะทีแจ่มเจ้ากุมารน้อย หน่อเมือง อย่าได้เคืองคำร้อนนอนดงพงป่า ทั้งกัณหาชาลีสองหน่อเจ้าเชิญเข้าสู่เมือง แต่ท่อญ
การเทศนานั้นพอไปเถิงพร้อมพร่ำ พากันรับศีลก่อนแล้วพระสงฆ์ขึ้นเทศนา ขากลับมาเถิงห้องอารามหลวงวัดใหญ่ เวียนสามทีรอบศาลา จึงแล้วยอขึ้นสู่โรง เป็นอันเสร็จบอระบวบ รอการฟังเทศน์ตืนฮู่งพระสงฆ์ ขึ้นเป็นเทศนา ในวันเดือนเดียวแท้จบลำมหาเวสส์ มีกัณฑ์หลอนแห่ล้นหลายล้ำหลากกระตา ยูถ่างทำบุญสร้างศีลทานเททอด ชาติหน้าพุ้นบุญล้ำมากมาย จักได้พบพระเจ้าตนเอกพระศรีอารย์ ข้าขอยอมือนบฮอดบุญของเจ้า
ทำบุญข้าวพันก้อน
เอาข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ เอาไม้เสียบ ทำให้ได้มากล้นพันก้อนจึงเซา แล้วจิงเอาไปไหว้คาถาพันอันมีค่า เรียกว่าคาถาข้าว พันก้อนโบราณเค้าเว้าต่อมา พอเมื่อการกระทำเสร็จแล้วเถิงกลางคืนตี ๔ พร้อมกันโฮมแห่ได้ไปเข้าสู่อาราม พอเถิงวัดจอมเจ้าศาลาธรรมพักจอด หัวหน้าประณมมือพร่ำพร้อมพาเว้ากล่าวจา ว่า นะโม นะโม จอมไตรปฎกยกออกมาเทศนาธรรม ขันธีหมากเบิงงามสะพาท ข้าวพันก้อนอาจบูชา ข้าบูชาสามดวงยอดแก้ว ข้าไหว้ถวายอาตม์บูชาสาธุ วนเวียนเว้าคำเดิม ๓ รอบ แล้วจึงขึ้นศาลากว้างช่วงสงฆ์
คำอาราธนาพระเวสส์ ดังนี้
สุณาตุ โภนโต เย สังฆา ดูราเทพเจ้าทั้งหลายอันยายยังอยู่ ทุกหมู่ไม้ไพรพะนอม ทุกเหวฮอมฮาวป่า ทุกประเทศท่าฮาวเขา ทุกแถวเถาว์เถือนก้ำ ทุกท่าน้ำและวังปลา พรรณนาฝูงแผดและผีอันมีใจโหดร้ายโทสา จงให้เจ้าทั้งหลายปะละใจอันเป็นบาป ให้ค่อยโสภาพ เงี่ยโสตฟังธรรม เดาดาจำจือไว้เป็นประทีปใต้ฮอดหลีผี ทางเหนือมีผาใดผาด่าง ทางข้างซ้ายกรุงศรีอยุธยา ทางฝ่ายเหนือมีแดนแถวเป็นเขตทุกประเทศด้าวอันอยู่ห้องเทศพระสุธา กับนางธรณีทั้งแม่น้ำเป็นผู้ค้ำฝูงหมู่ปาณา ฝูงหมู่เทวดาเจ้าทั้งหลาย ภายบนมีพระยาอินทร์พระยาพรหม จงลงมาโมทนาซึ่งธรรมอันฝูงข้าทั้งหลาย ภายในมีมหาราชครูเป็นเค้า ภายนอนกมีมหาราชตนเป็นอาชญ์ในเมืองแก้วราชอุบล กับทั้งกัลยาเมียมิ่งลูกแก้วกิ่งชายา กับทั้งราชบิดามารดาพ่อแม่ เฒ่าแก่พร้อมกันมาทั้งราชาและอุปราช ทั้งนักปราชญ์และอาจารย์ในคามชาวนิคมบ้านนอก อันอยู่ยงเขตเมืองแก้วราชอุบล ชวนกันมาพร้อมแพ่ง แต่งเครื่องไหว้บูชา สหัสสาหลายปีมีมากดอกอุบลหลากพอพ้น บัวแดงบานไขกาบ ดอกฝักตบอาจเขียวนีล ดอกกลางของหลายบ่น้อย พันหนึ่งค่อยขวนขวาย ช่อธมยายสะพาส ข้าวพันก้อนอาขบูชา

ฮีตที่ ๕.
บุญสรงน้ำ หรือ บุญเดือนห้า เมื่อเดือนห้ามาถึงอากาศก็ร้อนอบอ้าวทำให้คนเจ็บไข้ได้ป่วยการอาบน้ำชำระเนื้อกายเป็นวิธีการแก้ร้อนผ่อนให้เป็นเย็น ให้ได้รับความ สุขกายสบายใจ อีกอย่างหนึ่งมีเรื่องเล่าว่า เศรษฐีคนหนึ่งไม่มีลูก จึงไปบะบน(บนบาน) พระอาทิตย์และพระจันทร์เพื่อขอลูก เวลาล่วงเลยมาสามปี ก็ยังไม่ได้ลูกจึงไปขอลูกกับต้นไทรใหญ่ เทวดาประจำต้นไทรใหญ่ มีความกรุณาได้ไปขอลูกนำพระยาอินทร์ พระยาอินทร์ให้ธรรมะปาละกุมาร (ท้าวธรรมบาล) มาเกิดในท้องภรรยาเศรษฐี เมื่อธรรมะปาละประสูติ เจริญวัยวัยใหญ่ขึ้น ได้เรียนจบไตรเภท เป็นอาจารย์สอนการทำมงคลแก่คนทั้งหลาย ครั้งนั้น ท้าวกบิลพรหม ลงมาถามปัญหาธรรมะปาละกุมาร (ถามปัญหาสามข้อคือ คนเราในวันหนึ่ง ๆ มีศรีอยู่ที่ไหนบ้าง ถ้าธรรมบาลตอบได้จะตัดศรีษะตนบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศรีษะธรรมบาลเสียโดยผลัดให้เจ็ดวันในชั้นแรก ธรรมบาลตอบไม่ได้ ในวันที่หก ธรรมบาลเดินเข้าไปในป่า บังเอิญได้ยินนกอินทรีย์สองผัวเมียพูดคำตอบให้กันฟัง ตอนเช้าศรี อยู่ ที่หน้า คนจึงเอาน้ำล้างหน้าตอนเช้า ตอนกลางวันศรีอยู่ที่อก คนจึงเอาน้ำหมดประพรหมหน้าอกตอนกลางวัน และตอนเย็นศรีอยู่ที่เท้า คนจึงเอาน้ำล้างเท้าตอนเย็น ธรรมบาลจึงสามารถตอบคำถามนี้ได้) สัญญาว่าถ้าธรรมบาลตอบปัญหาจะตัดหัวของตนบูชา ธรรมบาลแก้ได้ เพราะศรีษะของกบิลพรหมมีความศักสิทธิ์มาก ถ้าตกใส่แผ่นดินจะเกิดไฟไหม้ ถ้าทิ้งขึ้นไปในอากาศฝนจะแล้ง ถ้าทิ้งลงมหาสมุทรน้ำจะแห้ง ก่อนตัดศรีษะกบิลพรหมเรียกลูกสาวทั้งเจ็ดคน เอาขันมารองรับแห่รอบเขาพระสุเมรุ หกสิบนาที แล้วนำไปไว้ที่เขาไกรลาสเมื่อถึงกำหนดปีนางเทพธิดาทั้งเจ็ดผลัดเปลี่ยนกันมาเชิญเอาศีรษะท้าวกบิลพรหมมาแห่รอบเขาพระสุเมรุ แล้วกลับไปเทวโลก

ฮีตที่ ๖.
บุญบั้งไฟ หรือบุญเดือนหก การเอาขี้เจีย(ดินประสิว) มาประสมคั่วกับถ่าน โขลกให้แหลกเรียกว่าหมื่อ (ดินปืน) เอาหมื่อใส่กระบอกไม้ไผ่อัดให้แน่น แล้วเจาะรูใส่หางเรียกว่าบั้งไฟ การทำบุญมีให้ทาน เป็นต้น เกี่ยวกับการทำบ้องไฟ เรียกว่า บุญบั้งไฟ กำหนดทำกันในเดือนหกเรียกว่าบุญเดือนหก เพื่อขอฟ้าขอฝนจากเทวดาเมื่อถึงฤดูแห่งการเพาะปลูก ทำไร่ทำนา

ฮีตที่ ๗.
บุญซำฮะ หรือ บุญเดือนเจ็ด การชำฮะ(ชำระ) สะสางสิ่งสกปรกโสโครกให้สะอาดปราศจากมลทิลโทษหรือความมัวหมอง เรียกว่า การซำฮะสิ่งที่ต้องการทำให้สะอาดนั้นมี 2 อย่างคือ ความสกปรกภายนอกได้แก่ร่างกาย เสื้อผ้า อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย และความสกปรกภายใน ได้แก่จิตใจเกิดความความโลภโกรธ หลง เป็นต้น แต่สิ่งที่จะต้องชำระในที่นี้คือเมื่อบ้านเมืองเกิดข้าศึกมาราวีทำลาย เกิดผู้ร้ายโจรมาปล้น เกิดรบราฆ่าฟันแย่งกันเป็นใหญ่ผู้คนช้างม้าวัวควายล้มตาย ถือกันว่าบ้านเดือดเมืองร้อน ชะตาบ้านชะตาเมืองขาด จำต้องซำฮะให้หายเสนียดจัญไร การทำบุญมีการรักษาศีลให้ทานเป็นต้นเกี่ยวกับการซำฮะนี้เรียกว่าบุญซำฮะ มีกำหนดทำให้ระหว่างเดือนเจ็ด จึงเรียกว่าบุญเดือนเจ็ด

ฮีตที่ ๘.
บุญเข้าวัดสา(เข้าพรรษา) หรือบุญเดือนแปด การอยู่ประจำวัดวัดเดียวตลอดสามเดือนในฤดูฝนเรียกว่าเข้าวัดสาโดยปกติกำหนดเอาวันแรมหนึ่งค่ำเดือนแปดเป็นวันเริ่มต้น เรียกว่าบุญเดือนแปด

ฮีตที่ ๙.
บุญข้าวห่อประดับดิน หรือบุญเดือนเก้า การห่อข้าวปลาอาหารและของเคี้ยวของกินเป็นห่อ ๆ แล้วเอาไปถวายทานบ้าง ไปแขวนตามกิ่งไม้ในวัดบ้าง เรียกว่าบุญข้าวประดับดิน เพราะมีกำหนดทำบุญในเดือนก้าวจึงเรียกว่า บุญเดือนเก้า

ฮีตที่ ๑๐.
บุญข้าวสาก หรือบุญเดือนสิบ การเขียนชื่อใส่สลากให้พระภิกาและสามเณรจับและเขียนชื่อใส่ภาชน์ข้าวถวายตามสลากนั้นและทำบุญอย่าอื่นมีรักษาสีลฟังธรรม เป็นต้น เรียกว่าบุญข้าสาก (สลาก ) เพราะกำหนดให้ทำในเดือนสิบ จึงเรียกว่าบุญเดือนสิบ

ฮีตที่ ๑๑.
บุญออกวัดสา (ออกพรรษา) หรือบุญเดือนสิบเอ็ด การออกจากเขตจำกัดไปพักแรมที่อื่นได้เรียกว่า ออกวัดสา คำว่าวัดสาหมายถึงฤดูฝน ในปีหนึ่งมี 4 เดือนคือ ตั้งต่วันแรมสี่ค่ำเดือนแปดถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ ในระยะสี่เดือนสามเดือนต้น ให้เข้าวัดก่อน เข้าครบกำหนดสามเดือนแล้วให้ออก อีกเดือนที่เหลือให้หาผ้าจีวรมาผลัดเปลี่ยนการทำบุญมีให้ทานเป็นต้น เรียกว่าการทำบุญเดือนสิบเอ็ด

ฮีตที่ ๑๒.
บุญกฐิน หรือ บุญเดือนสิบสอง ผ้าที่ใช้ไม้สดึงทำเป็นขอบซึ่งเย็บจีวร เรียกว่าผ้ากฐิน ผ้ากฐินนี้มีกำหนดเวลาในการถวายเพียงหนึ่งเดือนคือตั้งแต่ แรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ด ถึง เพ็ญสิบสอง เพราะกำหนดเวลาทำในเดือน ๑๒ จึงเรียกว่าบุญเดือนสิบสอง
คลองสิบสี่ หมายถึง ข้อกติกาของสังคม ๑๔ ประการที่ยึดถือปฏิบัติต่อกันเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม มีดังนี้
๑. เมื่อได้ข้าวใหม่หรือผลหมากรากไม้ ให้บริจาคทานแก่ผู้มีศิลแล้วตนจึงบริโภคและแจกจ่ายแบ่งญาติพี่น้องด้วย
๒. อย่าโลภมาก อย่าจ่ายเงินแดงแปงเงินคว้าง และอย่ากล่าวคำหยาบช้ากล้าแข็ง
๓ ให้ทำป้ายหรือกำแพงเอือนของตน แล้วปลูกหอบูชาเทวดาไว้ในสี่แจ(มุม)บ้านหรือแจเฮือน
๔ ให้ล้างตีนก่อนขึ้นเฮือน ๕ เมื่อถึงวันศีล ๗-๘ ค่ำ ๑๔-๑๕ ค่ำ ให้สมมาก้อนเส้า สมมาคีงไฟ สมมาขั้นบันได สมมาผักตู(ประตู)เฮือนที่ตนอาศัยอยู่
๖. ให้ล้างตีนก่อนเข้านอนตอนกลางคืน
๗. ถึงวันศีล ให้เมียเอาดอกไม้ธูปเทียนมาสมมาสามี แล้วให้เอาดอกไม้ ไปถวายสังฆเจ้า
๘. ถึงวันศิลดับ ศิลเพ็ง ให้นิมนต์พระสงฆ์มาสูดมนต์เฮือน แล้วทำบุญตักบาตร
๙. เมื่อภิกษุมาคลุมบาตร อย่าให้เพิ่นคอย เวลาใส่บาตรอย่าซุน(แตะ)บาตร อย่าซูนภิกษุสามเณร
๑๐. เมื่อภิกษุเข้าปริวาสกรรม ให้เอาขันขันข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียน และเครื่องอัฐบริขารไปถวายเพิ่ม
๑๑. เมื่อเห็นภิกษุ เดินผ่านมาให้นั่งลงยกมือไหว้แล้วจึงค่อยเจรจา
๑๒. อย่าเงียบ(เหยียบ)เงาพระสงฆ์
๑๓. อย่าเอาอาการเงื่อน(อาหารที่เหลือจากการบริโภค)ทานแก่สังฆเจ้าและอย่าเอาอาหารเงื่อนให้สามีตัวเองกิน
๑๔. อย่าเสพกามคุณในวันศิล วันเข้าวัดสา วัดออกพรรษา วันมหาสงกรานต์และวันเกิดของตน

www.watisan.com/wizContent.asp?wizConID=195...ID

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น