๑۩۞۩๑ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล๊อกของผมครับ ๑۩۞۩๑

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศอินโดนีเซีย

พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศอินโดนีเซียในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 คราวที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระโสณะและพระอุตรเถระเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแถบนี้ เรื่องราวของประเทศอินโดนีเซียปรากฎหลักฐานอย่างชัดเจนขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 เพราะได้เกิดอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ขึ้นอาณาจักรหนึ่งชื่อว่า “อาณาจักรศรีวิชัย” ซึ่งมีอิทธิพลครอบคลุมตั้งแต่ภาคใต้ของไทย ประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซียทั้งหมด อาณาจักรศรีวิชัยนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน และเชื่อว่านิกายมหายานในอาณาจักรนี้คงจะเป็นที่นับถือกันอย่างแพร่หลาย เพราะได้ค้นพบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญ ได้แก่พระพิมพ์ดินดิบและรูปพระโพธิสัตว์ ซึ่งสร้างขึ้นตามคติความเชื่อของผู้นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานโดยเฉพาะ
ในราวพุทธศตวรรษที่ 13 บนเกาะชวาภาคกลาง ได้เกิดราชวงศ์ที่เข้มแข็งขึ้นราชวงศ์หนึ่งมีชื่อว่า“ราชวงศ์ไศเลนทร์”ซึ่งในกาลต่อมา กษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนได้เข้ามามีอำนาจปกครองอาณาจักรศรีวิชัยเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ช่วงระยะนี้เองราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งอาณาจักรศรีวิชัยได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับราชวงศ์ปาละแห่งแคว้นเบงกอล จึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันขึ้น ที่สำคัญก็คือ อาณาจักรศรีวิชัยได้ส่งพระภิกษุไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งกษัตริย์แห่งแคว้นเบงกอลก็ได้ให้การอุปถัมภ์อย่างดี อีกทั้งยังส่งพระภิกษุ ช่างฝีมือ มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาและศิลปะปาละ โดยการสร้างพระพุทธรูปให้แก่ชาวศรีวิชัยด้วย
พระพุทธศาสนาในอินโดนีเซียถึงจุดเสื่อมโทรมมากในสมัยพุทธศตวรรษที่ 19 เมื่ออาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมโทรมลง และอาณาจักรมัชปาหิตมามีอำนาจแทนที่ ปรากฏว่ามีกษัตริย์องค์หนึ่งของอาณาจักรมัชปาหิตทรงพระนามว่า ระเด่นปาทา ทรงมีศรัทธาในศาสนาอิสลามมากได้ประกาศห้ามเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรของพระองค์ และทรงยกย่องให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ นับตั้งแต่นั้นมาศาสนาอิสลามก็แพร่หลายไปยังเกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซียอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นศาสนาที่ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่นับถือไปในที่สุด ส่วนชาวอินโดนีเซียที่ยังมีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ยังคงมีอยู่ประปรายในเกาะชวา สุมาตรา และเกาะบาหลี


การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย
พระพุทธศาสนานิกายมหายานเจริญรุ่งเรืองในประเทศอินโดนีเซียมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่12-13 ดังมีพุทธสถานสำคัญ ๆ เหลือเป็นหลักฐานหลายแห่ง โดยเฉพาะพระวิหารบุโรพุทโธ (บรมพุทโธ) หลังจากที่ศาสนาอิสลามได้แพร่เข้ามาและชาวชวาได้ยอมรับนับถือเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว พระพุทธศาสนาได้เสื่อมถอยลงตามลำดับ จนปัจจุบันนี้มีชาวบ้านประมาณร้อยละ 1 เท่านั้นที่ยังนับถือพระพุทธศาสนาอยู่
สภาพทั่วไปของพระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซียพอสรุปได้ดังนี้
1. ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่บนเกาะบาหลี นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานควบคู่ไปกับศาสนาพราหมณ์ ทั้งสองศาสนานี้ได้ผสมกลมกลืนกันได้สนิทในวิถีชีวิตของชาวเกาะบาหลี โดยเฉพาะในเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต
2. บนเกาะชวา ชาวจีนจำนวนหนึ่งประกาศตนเป็นพุทธศาสนิกชน ทุก ๆ ปีประชาชน
กลุ่มนี้จะมาร่วมกันประกอบพิธีวันวิสาขบูชาที่พระวิหารบุโรพุทโธ เมืองมุนตีลาน จัดเป็นเทศกาลประจำปีที่สำคัญอีกงานหนึ่งของเมือง
3. มีการจัดตั้งศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาขึ้นที่เมืองบันตุง
4. มีการสร้างวัดเพื่อเป็นสถานที่เผยแผ่พระศาสนาและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น วัดทีปารามเมืองเลื่อน วัดพุทธคยาเมืองมุนตีลาน วัดมหาธรรมโลก วัดมหาโพธิ และวัดธรรมสุริยะเมืองสมารัง เป็นต้น
5. มีการจัดตั้งโรงเรียนสอนพระพุทธศาสนาแก่เยาวชน (คล้ายโรงเรียนสอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ของไทย) และพิมพ์จุลสาร วารสารออกเผยแพร่
กล่าวโดยสรุป การฟื้นฟูและเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่ยังไม่เจริญก้าวหน้านัก ที่เป็นอยู่ก็ดำเนินโดยกลุ่มเอกชน รัฐบาลเองก็ไม่สนับสนุน จึงทำให้พระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซียเป็นเพียงศาสนาของชนกลุ่มน้อย

ประวัติพระพุทธศาสนาในอินโดนีเซีย

พระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียจะเป็นประเทศนับถือศาสนาอิสลาม แต่อดีตเคยมีพระพุทธศาสนาแบบมหายานเข้ามาประดิษฐานอยู่ พระพุทธศาสนาได้รุ่งเรืองมาก ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ มีโบราณสถานที่สำคัญ ๒ แห่งอยู่ในอินโดนีเซียคือ โบโรบุดูร์ หรือ บรมพุทโธ ตั้งอยู่ที่ราบเกตุ (kedu) ในภาคกลางของชวา ห่างจากเมืองยอกยาการ์ตา (Jogjagata) ในปัจจุบันทางเหนือประมาณ ๔๐ กิโลเมตร และพระวิหารเมนดุต (Mendut) ซึ่งอยู่ห่างจาก โบโรบุดูร์ไปทางทิศตะออก ๓ กิโลเมตร
ต่อมาเมื่ออิสลามได้ขยายอำนาจครอบงำอินโดนนีเซียในปีพุทธศักราช ๒๐๑๒ ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่จึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ขณะที่พระพุทธศาสนาตกอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมตลอดระยะเวลาอันยาวนาน พุทธศาสนิกชนชาวอินโดนีเซียได้ใช้ความเสียสละอย่างสูงพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาไว้มิให้สูญสิ้นไป โดยปราศจากการสนับสนุนจากภายนอกเท่าที่ควร
ประเทศอินโดนีเซียปัจจุบันมีวัดพระพุทธศาสนาอยู่ประมาณ ๑๕๐ วัด ในจำนวนนี้ ๑๐๐ วัด เป็นวัดฝ่ายมหายาน อีก ๕๐ วัดเป็นวัดฝ่ายหีนยาน(เถรวาท) วัดเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในความดูแลของฝ่ายฆราวาส เพราะพระภิกษุมีจำนวนน้อย การปกครองดูแลพุทธศาสนิกชนขึ้นอยู่กับพุทธสมาคม ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองจากาตาร์ นครหลวงของอินโดนีเซีย และมีสมาชิก ๖ แห่ง ตั้งอยู่ตามเมืองต่างๆ รวมมีสมาชิกทั้งสิ้นประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ คน
การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาได้เริ่มขึ้นใหม่อีกครั้งเมื่อประมาณ ๑๐ กว่าปีมานี้ เป็นการริเริ่มโดยพระสงฆ์ชาวลังกาและพระสงฆ์ชาวพื้นเมืองที่ได้รับการอุปสมบทไปจากวัดบวรนิเวศวิหารและวัดเบญจมบพิตรในประเทศไทย
ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ คณะสงฆ์ไทยได้ส่งพระธรรมทูตจากประเทศไทย ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซียทั้งชวาภาคกลาง ภาคตะวันออก และตะวันตก ขณะนี้ยังมิได้สร้างวัดไทยขึ้นแต่ก็ได้เตรียมการที่จะสร้างวัดไทยขึ้นในสถานที่ไม่ห่างไกลจากมหาสถูปโบโรบุดูร์ไว้แล้ว
ปัจจุบันพระธรรมทูตจากประเทศไทยมีสำนักงานเผยแผ่เป็นศูนย์กลางอยู่ที่สำนักงานพุทธเมตตา ตั้งอยู่เลขที่ ๕๙ ถนนเตอรูซานเลมบังดี กรุงจาการ์ตา



ecurriculum.mv.ac.th

2 ความคิดเห็น: