๑۩۞۩๑ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล๊อกของผมครับ ๑۩۞۩๑

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เมืองจันทร์ MUNGCHAN

ตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ

.แผนที่ตำบลเมืองจันทร์  ที่มา http://www.google.com

















1. ที่ตั้ง
องค์การ บริหารส่วนตำบลเมืองจันทร์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบล เมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองจันทร์ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองจันทร์ ประมาณ 6 กิโลเมตร
อยู่ห่างจากจังหวัดศรีสะเกษประมาณ 38 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดตำบลใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อ ต. หนองใหญ่ อ. เมืองจันทร์ จ. ศรีสะเกษ
ทิศใต้ ติดต่อ ต. ปราสาท อ. ห้วยทับทัน จ. ศรีสะเกษ
ทิศตะวันออก ต. หนองไฮ อ. อุทุมพรพิสัย จ. ศรีสะเกษ
ทิศตะวันตก ติดต่อ ต. กระออม อ. สำโรงทาบ จ. สุรินทร์

2. เนื้อที่
ตำบลเมืองจันทร์ มีเนื้อที่ประมาณ 38.2 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 23,875 ไร่

3. ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของตำบลเมืองจันทร์ มีลักษณะเป็นที่ราบดินร่วนปนทราย
พื้นที่บางส่วนเป็นดินเค็ม ความอุดมสมบรูณ์ดินต่ำ การประกอบอาชีพทางการเกษตร
ได้ผลผลิตต่ำ การทำการเกษตรต้องพึ่งพาน้ำฝนมีแหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ลำห้วยทับทัน
ซึ่งไหลมาจากจังหวัดสุรินทร์ไปสู่ลำน้ำมูลทางทิศตะวันตกของตำบลเมืองจันทร์
แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เพราะขาดระบบลำเลียงน้ำจากแหล่งน้ำ ฯ ดังกล่าว

4. ประชากร
องค์การ บริหารส่วนตำบลเมืองจันทร์มี 25 หมู่บ้าน 1,553 ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น 7,795 คน แยกเป็น ชาย 4,003 คน หญิง 3,792 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 204 คน/ตารางกิโลเมตร

5. รายได้ของ อบต. เมืองจันทร์
งบประมาณประจำปี 2552.................................23,524,021.03 บาท
รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง...........162,868.18 บาท
รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ จัดเก็บให้...................9,031,233.88 บาท
เงินอุดหนุนจากรัฐบาล........................................14,199,343.41 บาท
เงินรายได้จากทรัพย์สิน..............................................76,415.56 บาท
เงินรายได้เบ็ดเตล็ด...................................................54,160.00 บาท

6. โครงสร้างของ อบต.เมืองจันทร์
6.1ข้าราชการฝ่ายการเมือง
6.1.1 ฝ่ายบริการ จำนวน 4 คน
6.1.2 ฝ่ายนิติบัญญัติ(25 หมู่บ้าน) จำนวน 50 คน

7. การแบ่งส่วนงานภายใน อบต. เมืองจันทร์
7.1 สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล มีจำนวนบุคลากร 11 คน
7.2 ส่วนการคลัง มีจำนวนบุคลากร 7 คน
7.3 ส่วนโยธา มีจำนวนบุคลากร 3 คน
7.4 ส่วนการศึกษา มีจำนวนบุคลากร 17 คน

8. หน่วยงานทางการศึกษา
8.1 โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม
8.2 โรงเรียนบ้านหนองแคน
8.3 โรงเรียนบ้านเมืองจันทร์
8.4 โรงเรียนบ้านเก็บงา(ประชารัฐพัฒนา)
8.5 โรงเรียนบ้านโคก
8.6 โรงเรียนบ้านทุ่ม

9. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตตำบลเมืองจันทร์
9.1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านเมืองจันทร์
9.2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านเก็บงา
9.3 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านหนองแคน
9.4 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไผ่
9.5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคก

10. ด้านการสาธารณสุข
ตำบลเมืองจันทร์มีสถานีอนามัย 2 แห่ง ได้แก่
10.1 สถานีอนามัยบ้านเมืองจันทร์
10.2 สถานีอนามัยบ้านเก็บงา

11. องค์กรและสถาบันทางศาสนา
ตำบลเมืองจันทร์มีวัดจำนวน 5 แห่ง และสำนักสงฆ์จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
11.1 วัดบ้านเมืองจันทร์
11.2 วัดบ้านหนองแคน
11.3 วัดบ้านทุ่ม
11.4 วัดบ้านเก็บงา
11.5 วัดโนนสูง
11.6 สำนักสงฆ์บ้านโนนกลาง
11.7 สำนักสงฆ์บ้านกลาง
11.8 สำนักสงฆ์บ้านหนองแคน
11.9 สำนักสงฆ์บ้านหนองหว้า
11.10 สำนักสงฆ์สวนธรรม

12. ข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สถานที่ท่องเที่ยว)


“พระธาตุเมืองจันทร์” ตั้งอยู่บริเวณบ้านเมืองจันทร์ ตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์

จังหวัด ศรีสะเกษ โบราณสถานตั้งอยู่ภายในวัดบ้านเมืองจันทร์ ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำคันดินรูปวงกลมล้อมรอบ 1 ชั้น ธาตุบ้านเมืองจันทร์ก่อด้วยอิฐสอปูน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ย่อมุมขนาด 3.50 X 3.50 เมตร สภาพส่วนใหญ่ยังคงสมบูรณ์อยู่ส่วนฐานพังทลายไปเล็กน้อย ส่วนเรือนธาตุและ ส่วนยอดยังคงสมบูรณ์ โดยส่วนยอดมีการจำลองส่วนเรือนธาตุให้มีขนาดเล็กลงเรียงลดหลั่นกันขึ้นไป สามชั้น บนสุดทำเป็นยอดเรียวกลมตัวเรือนธาตุก่ออิฐทึบ ยังคงพบลวดลายปูนปั้นรูปกลีบบัวที่ประดับอยู่บนหัวเสาติดผนังที่รองรับกรอบ หน้าบัน ใกล้ ๆ กับองค์ธาตุมีสิม หรืออุโบสถเก่าอยู่หลังหนึ่ง ปัจจุบันอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ส่วนหลังคาชำรุดหักพังหมดแล้ว สิมก่อด้วยอิฐฉาบปูนมีบันไดทางขึ้นทิศตะวันตก ภายในมีใบเสมาสลักเป็นลวดลายคล้ายดอกบัวตูมปักเรียงตามแนวยาวทั้ง 8 ทิศ


ภาพงานบุญรวมญาติ ไหว้พระธาตุเมืองจันทร์และนมัสการหลวงพ่อพุทธเจ้าใหญ่ ประจำปี 2553
1. พระธาตุเมืองจันทร์
2. พิธีนมัสการหลวงพ่อพุทธเจ้าใหญ่
3. การรดน้ำขอพรจากผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ(นายระพี ผ่องบุผกิจ)
4. การออกร้านของกลุ่มอาชีพในเขตตำบลเมืองจันทร์
5. การรำผีแม่สะเอิง(ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเมืองจันทร์)
6. การรำบวงสรวงพระธาตุเมืองจันทร์
7. การแสดงหมอลำกลอน(แบบฉบับดั้งเดิม)



โดย อบต. เมืองจันทร์

ที่มา http://podtana.blogspot.com/2010/06/blog-post.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น