๑۩۞۩๑ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล๊อกของผมครับ ๑۩۞۩๑

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พุทธศาสนสุภาษิต

๑.พุทธศาสนสุภาษิต อัตตวรรค หมวดตน
๑. อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี ขุ.ธ. ๒๕/๒๙
๒. อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม ได้ยินว่าตนแลฝึกยาก ขุ.ธ. ๒๕/๓๖
๓. อตฺตา สุทนฺโต ปุริสสฺส โชติ ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นแสงสว่างของบุรุษ สํ.ส. ๑๕/๒๔๘
๔. อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนแล เป็นที่พึ่งของตน ขุ. ธ. ๒๕/๓๖,๖๖.
๕. อตฺตา หิ อตฺตโน คติ ตนแล เป็นคติของตน ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.
๖. อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ ตนทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง ขุ.ธ. ๒๕/๓๗
๗. อตฺตนา อกตํ ปาปํ อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ ตนไม่ทำบาปเอง ย่อมหมดจดเอง ขุ.ธ. ๒๕/๓๗
๘. อตฺตตฺถปญฺญา อสุจี มนุสฺสา มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด ขุ.สุ. ๒๕/๒๙๖/๓๓๙
๙. อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา บัณฑิต ย่อมฝึกตน ขุ.ธ. ๒๕/๒๕
๑๐. อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตน ขุ.ธ. ๒๕/๓๔
๑๑. อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ. บุคคลมีตนฝึกดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้ยาก. ขุ.ธ. ๒๕/๓๖
๑๒. อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี ขุ.ธ. ๒๕/๓๖
๑๓. อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น ขุ.ธ.๒๕/๓๖
๑๔. ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น ขุ.ธ. ๒๕/๕๘
๑๕. อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย อตฺตทตฺถมภิฺาย สทตฺถปสุโต สิยา
บุคคลไม่พึงยังประโยชน์ของตนให้เสื่อม เพราะประโยชน์ของผู้อื่นแม้มาก
บุคคลรู้จักประโยชน์ของตนแล้ว พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน ขุ.ธ. ๒๕/๒๒/๓๗
๑๖. อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ สุทนฺโต วต ทเมถ อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม
ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น
ผู้ฝึกตนดี ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่าตนแลฝึกยาก ขุ.ธ. ๒๕/๓๖
๑๗. อตฺตานเมว ปฐมํ ปฏิรูเป นิเวสเย อถญฺญมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต
บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน
สอนผู้อื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอง ขุ.ธ. ๒๕/๓๖
๑๘. อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.
ตนแล เป็นที่พึ่งของตน คนอื่น ใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
ก็บุคคลมีตนฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้ยาก. ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.
๑๙. นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ นตฺถิ ธญฺญสมํ ธนํ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา วุฏฐิ เว ปรมา สราติ
ความรักเสมอด้วยความรักตนไม่มี ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มี
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี ฝนต่างหากเป็นสระยอดเยี่ยม สํ.ส. ๑๕/๒๙/๙
๒๐. ยสฺส อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ มาลุวา สาลมิโวตฺถตํ กโรติ โส ตถตฺตานํ ยถา นํ อิจฺฉตี ทิโส
ผู้ใดมีความไร้ศีลธรรม (ทุศีล) ครอบงำ เหมือนเถาย่านทรายคลุมไม้สาละ
ผู้นั้นชื่อว่าย่อมทำตนเหมือนถูกผู้ร้ายคุมตัว ขุ.ธ. ๒๕/๒๒/๓๗
๒.พุทธศาสนสุภาษิต จิตตวรรค – หมวดจิต
๒๑.จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคคติเป็นอันหวังได้ ม.มู. ๑๒/๖๔
๒๒.จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้ ม.มู. ๑๒/๖๔
๒๓.จิตฺเตน นียติ โลโก โลกถูกจิตนำไป สํ.ส. ๑๕/๑๘๑
๒๔.จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ การฝึกจิตเป็นความดี ขุ. ธ. ๒๕/๑๙
๒๕.จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้ ขุ. ธ. ๒๕/๑๓
๒๖.จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ ขุ. ธ. ๒๕/๑๓
๒๗.วิหญฺญตี จิตฺตวสานุวตฺตี ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก ขุ. ชา. ๒๗/๓๑๖
๒๘.เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข
พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรที่เต็มด้วยน้ำมัน ขุ. ชา. ๒๗/๙๖
๒๙.สจิตฺตมนุรกฺขถ จงตามรักษาจิตของตน ขุ.ธ. ๒๕/๕๘
๓๐.จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.
๓๑.ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย
ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ สํ.ส. ๑๕/๖๓
๓๒.อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส สทฺธมฺมํ อวิชานโต ปริปฺลวปสาทสฺส ปญฺญา น ปริปูรติ
เมื่อจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์ ขุ. ชา. ๒๗/๑๓
๓๓.อานาปานสฺสติ ยสฺส อปริปุณฺณา อภาวิตา กาโยปิ อิญฺชิโต โหติ จิตฺตมฺปิ โหติ อิญฺชิตํ
สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์
ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว ขุ. ปฏิ. ๓๑/๓๖๙
๓๔.อานาปานสฺสติ ยสฺส ปริปุณฺณา สุภาวิตา กาโยปิ อนิญฺชิโต โหติ จิตฺตมฺปิ โหติ อนิญฺชิตํ
สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ใดอบรมบริบูรณ์ดีแล้ว
ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็ไม่หวั่นไหว ขุ. ปฏิ. ๓๑/๓๖๙
๓๕.ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา เวริ วา ปน เวรินํ มิจฺฉา ปณิหิตํ จิตตํ ปาปิโย นํ ตโต กเร
โจรกับโจรหรือไพรีกับไพรี พึงทำความพินาศให้แก่กัน
ส่วนจิตตั้งไว้ผิด พึงทำให้เขาเสียหายยิ่งกว่านั้น ขุ. ธ. ๒๕/๑๓
๓๖.น ตํ มาตา ปิตา กยิรา อญฺเญ วาปิจ ญาตกา
สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ เสยฺยโส นํ ตโต กเร
มารดาบิดาหรือญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้
ส่วนจิตที่ตั้งไว้ดีแล้ว พึงทำเขาให้ดีกว่านั้น ขุ. ธ. ๒๕/๑๓
๓๗.ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ วุฏี สมติวิชฺฌติ เอวํ อภาวิตํ จิตฺตํ ราโค สมติวิชฺฌติ
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรมฉันนั้น ขุ. ธ. ๒๕/๑๑
๓๘.เสโล ยถา เอกฆโน วาเตน น สมีรติ เอวํ นินฺทาปสํสาสุ น สมิญฺชนฺติ ปณฺฑิตา
ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด
บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น ขุ. ธ. ๒๕/๑๖
๓๙.อนวสฺสุตจิตฺตสฺส อนนฺวาหตเจตโส ปุญฺญปาปปหีนสฺส นตฺถิ ชาครโต ภยํ
ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบ
แล้วผู้มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ผู้ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย ขุ.ธ. ๒๕/๒๐
๔๐.กุมฺภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา
โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา.
บุคคลรู้กายนี้ที่เปรียบด้วยหม้อกั้นจิตที่เปรียบด้วยเมืองนี้แล้ว
พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญาและพึงรักษาแนวที่ชนะไว้ ยับยั้งอยู่. ขุ. ธ. ๒๕/๒๐.
๔๑.จิตฺเตน นียติ โลโก จิตฺเตน ปริกิสฺสติ จิตฺตสฺส เอกธมฺมสฺส สพฺเพว วสมนฺวคู
โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว สํ.ส. ๑๕/๑๘๑
๔๒.ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโน. จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.
การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่
เป็นความดี(เพราะว่า) จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้. ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.
๔๓.ปทุฏฺฐจิตฺตสฺส น ผาติ โหติ น จาปิ นํ เทวตา ปูชยนฺติ
โย ภาตรํ เปตฺติกํ สาปเตยฺยํ อวญฺจยี ทุกฺกฏกมฺมการี.
ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพี่น้องพ่อแม่
ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา. (นทีเทวตา) ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๒๐.
๔๔.สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก
มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่, (เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้. ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.
๓.พุทธศาสนสุภาษิต บุคคลวรรค – หมวดบุคคล
๔๕.สาธุ โข ปณฺฑิโต นาม ชื่อว่าบัณฑิตย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล สํ. ส. ๑๕/๘๒๕
๔๖.ปณฺฑิโต สีลสมฺปนฺโน ชลํ อคฺคีว ภาสติ
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟสว่าง ที.ปา. ๑๑/๑๙๗
๔๗.อนตฺถํ ปริวชฺเชติ อตฺถํ คณฺหาติ ปณฺฑิโต
บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ องฺ.จตุกฺก ๒๑/๔๒
๔๘.ทนฺโต เสฎฺโฐ มนุสฺเสสุ ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด ขุ. ธ. ๒๕/๓๓
๔๙.กุสโล จ ชหาติ ปาปกํ คนฉลาดย่อมละบาป ขุ.อุ. ๒๕/๑๖๘
๕๐.นยํ นยติ เมธาวี คนมีปัญญา ย่อมแนะนำทางที่ควรแนะนำ ขุ. ชา.ทุก. ๒๗/๑๘๑๙
๕๑.ธีโร โภเค อธิคมฺม สงฺคณฺหาติ จ ญาตเก
ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ ขุ.ชา. ๒๗/๙๓๖
๕๒.สนฺโต น เต เย น วทนฺติ ธมฺมํ ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ สํ. ส. ๑๕/๗๒๕
๕๓.สนฺโต สตฺตหิเต รตา สัตบุรุษยินดีในการเกื้อกูลสัตว์ ชาตฏฺฐกถา ๑/๒๓๐
๕๔.ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ หิมวนฺโตว ปพฺพโต
สัตบุรุษทั้งหลายย่อมปรากฏได้ในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์ ขุ.ธ. ๒๕/๓๑
๕๕.สนฺโต สคฺคปรายนา สัตบุรุษมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ขุ. ชา. ๒๗/๑๔๔๘
๕๖.อุปสนฺโต สุขํ เสติ ผู้สงบใจได้ ย่อมนอนเป็นสุข ขุ. ชา.มหา.๒๘/๔๑๕.
๕๗.สตญจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ กลิ่นของสัตบุรุษย่อมหอนทวนลมได้ ขุ. ธ. ๒๕/๑๔
๕๘.โย พาโล มญฺญติ พาลฺยํ ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
คนซึ่งรู้สึกตนว่าโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้นได้บ้าง ขุ. ธ. ๒๕/๑๕
๕๙.อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ รตฺติขิตฺตา ยถา สรา
อสัตบุรุษ แม้นั่งอยู่ในที่นี้เองก็ไม่ปรากฏ เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน ฉะนั้น ขุ.ธ. ๒๕/๓๑
๖๐.อสนฺโต นิรยํ ยนฺติ อสัตบุรุษย่อมไปนรก สํ. ส. ๑๕/๙๐
๖๑.สุวิชาโน ภวํ โหติ ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ ขุ. สุ. ๒๕/๓๐๔
๖๒.ครุ โหติ สคารโว ผู้เคารพย่อมมีผู้เคารพตอบ ขุ. ชา. ๒๘/๔๐๑
๖๓.วนฺทโก ปฎิวนฺทนํ ผู้ไหว้ย่อมได้รับไหว้ตอบ ขุ. ชา. ๒๘/๔๐๑
๖๔.เนกาสี ลภเต สุขํ ผู้กินคนเดียวไม่ได้ความสุข ขุ. ชา. ๒๗/๑๖๗๔
๖๕.นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก ขุ. ธ. ๒๕/๒๗
๖๖.อติติกฺโข จ เวรวา คนแข็งกระด้างก็มีเวร ขุ. ชา. ๒๗/๑๗๐๓
๖๗.น อุชุภูตา วิตถํ ภณนฺติ คนตรงไม่พูดคลาดความจริง ขุ. ชา. ๒๗/๕๐๓
๖๘.ปุพพาจริยาติ วุจฺจเร มารดาบิดาท่านว่าเป็นบูรพาจารย์ (ของบุตร) องฺ.ติก. ๒๐/๑๖๘
๖๙.อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ มารดาบิดาเป็นที่นับถือของบุตร ขุ.อิติ. ๒๕/๒๘๖
๗๐.ภตฺตา ปญฺญาณมิตฺถิยา สามีเป็นเครื่องปรากฏของสตรี สํ.ส. ๑๕/๕๗
๗๑.สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟัง เป็นผู้ประเสริฐ สํ.ส. ๑๕/๑๐
๗๒.โย จ ปุตฺตา นมสฺสโว บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ สํ.ส. ๑๕/๑๐
๗๓.คุณวา จาตฺตโน คุณํ ผู้มีความดี จงรักษาความดีของตนไว้ ขุ.ชา.สตฺตก.๒๗/๒๑๒
๗๔.อจฺจยํ เทสยนฺตีนํ โย เจ น ปฏิคณฺหติ โกปนฺตโร โทสครุ ส เวรํ ปฏิมุจฺจติ
เมื่อเขาขอโทษ ถ้าผู้ใดมีความขุ่นเคือง โกรธจัด ไม่ยอมรับ ผู้นั้นชื่อว่า หมกเวรไว้ สํ.ส. ๑๕/๑๑๐
๗๕.เอวํ กิจฺฉาภโต โปโส ปิตุ อปริจารโก ปิตริมิจฺฉาจริตฺวาน นิรยํ โส อุปปชฺชติ
ผู้ที่มีมารดาบิดาเลี้ยงมาได้โดยยากอย่างนี้
ไม่บำรุงมารดาบิดา ประพฤติผิดในมารดาบิดา ย่อมเข้าถึงนรก ขุ.ชา. ๒๘/๑๖๒
๗๖.เตชวาปิ หิ นโร วิจกฺขโณ สกฺกโต พหุชนสฺส ปูชิโต
นารีนํ วสงฺคโต น ภาสติ ราหุนา อุปหโตว จนฺทิมา
ถึงเป็นคนมีเดช มีปัญหาเฉียบแหลม อันคนเป็นอันมากสักการบูชา
อยู่ในอำนาจสตรีเสียแล้วย่อมไม่รุ่งเรือง เหมือนพระจันทร์ถูกพระราหูบังฉะนั้น ขุ.ชา. ๒๘/๓๑๓
๗๗.ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ หิมวนฺโตว ปพฺพโต อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ รตฺติขิตฺตา ยถา สรา
สัตบุรุษทั้งหลายย่อมปรากฏได้ในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมวันต์
อสัตบุรุษทั้งหลายถึงในที่นี้ก็ไม่ปรากฏ เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน ฉะนั้น ขุ.ธ. ๒๕/๓๑
๗๘.ธีโร โภเค อธิคมฺม สงฺคณฺหาติ จ ญาตเก เตน โส กิตฺตึ ปปฺโปติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ
ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ เพราะการสงเคราะห์นั้น
เขาย่อมได้เกียรติ ละไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์ ขุ.ชา. ๒๗/๙๓๖
๗๙.มธุวา มญฺญตี พาโล ยาว ปาปํ น ปจฺจติ ยทา จ ปจฺจติ ปาปํ อถ (พาโล) ทุกฺขํ นิคจฺฉติ
ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน
แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น ขุ.ธ. ๒๕/๑๕
๘๐.ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ กุสเลน ปิถียติ โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา
ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว ละเสียได้ด้วยกรรมดี
ผู้นั้นย่อมยังโลกให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆ ม.ม. ๑๓/๕๓๔
๘๑.ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย นิสีเทยฺย สเยยฺย วา น ตสฺส สาขํ ภญฺเชยฺย มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโก
บุคคลนั่งหรือนอน (อาศัย) ที่ร่มเงาตันไม้ใด
ไม่ควรรานกิ่งต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม ขุ.เปต. ๒๖/๑๐๖
๘๒.โย มาตรํ ปิตรํ วา มจฺโจ ธมฺเมน โปสติ อิเธว นํ ปสํสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ
ผู้ใดย่อมเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม
บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้ เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ขุ.ชา. ๒๘/๕๒๒
๘๓.อกฺโกธโน อนุปนาหี อมกฺขี สุทฺธตํ คโต สมฺปนฺนทิฏฺฐิ เมธาวี ตํ ชญฺญา อริโย อิติ
ผู้ใดไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ถึงความหมดจด
มีทิฏฐิสมบูรณ์ มีปัญญา, พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นอริยะ. (สารีปุตฺตเถร) ขุ ปฏิ. ๓๑/๒๔๑.
๘๔.อนาคตปฺปชปฺปาย อตีตสฺสานุโสจนา เอเตน พาลา สุสฺสนฺติ นโฬว หริโต ลุโต.
คนเขลาย่อมซูบซีด เพราะคำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง
เพราะเศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เหมือนต้นอ้อสดที่ถูกตัด. สํ. ส. ๑๕/๗.
๘๕.อนุทฺธโต อจปโล นิปโก สํวุตินฺทฺริโย กลฺยาณมิตฺโต เมธาวี ทุกฺขสฺสนฺตกโร สิยา.
คนฉลาด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คลอนแคลน มีปัญญา
สำรวมอินทรีย์ มีมิตรดี พึงทำที่สุดทุกข์ได้. (อญฺญาโกณฺฑญฺญเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๖๖.
๘๖.อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา อิติ วิญฺญาย ปณฺฑิโตอปิ ทิพฺเพสุ กาเมสุ รตึ โส นาธิคจฺฉติ.
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก, บัณฑิตรู้ดังนี้แล้วไม่ใยดีในกามแม้เป็นทิพย์. ขุ. ธ. ๒๕/๔๐.
๘๗.อโยเค ยุญฺชมตฺตานํ โยคสฺมิญฺจ อโยชยํ อตฺถํ หิตฺวา ปิยคฺคาหี ปิเหตตฺตานุโยคินํ.
ผู้ประกอบตนในสิ่งที่ไม่ควรประกอบ และไม่ประกอบตนในสิ่งควรประกอบ
ละประโยชน์เสีย ถือตามชอบใจ ย่อมกระหยิ่มต่อผู้ประกอบตนเนืองๆ. ขุ. ธ. ๒๕/๔๓.
๘๘.อสตญฺจ สตญฺจ ญตฺวา ธมฺมํ อชฺฌตฺตํ พหิทฺธา จ สพฺพโลเก
เทวมนุสฺเสหิ จ ปูชิโต โย โส สงฺคชาลมติจฺจ โส มุนิ.
ผู้ใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและของสัตบุรุษ ทั้งภายใน ทั้งภายนอก มีเทวดาและมนุษย์บูชาในโลกทั้งปวง
ผู้นั้นจึงล่วงข่ายคือเครื่องข้องได้ และเป็นมุนี. ขุ. สุ. ๒๕/๔๓๒. ขุ. มหา. ๒๙/๔๐๖.
๘๙.อากาเสว ปทํ นตฺถิ สมโณ นตฺถิ พาหิโร สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ นตฺถิ พุทฺธานมิญฺชิตํ.
สมณะภายนอกไม่มี, สังขารเที่ยงไม่มี,
ความหวั่นไหวของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี, เหมือนรอยเท้าไม่มีในอากาศ. ขุ. ธ. ๒๕/๔๙.
๙๐.อุฏฺฐานวโต สตีมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโนสญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ.
เกียรติยศย่อมเจริญแก่ผู้ขยัน มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วจึงทำ
สำรวมแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท. ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.
๙๑.ชยํ เวรํ ปสวติ ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต อุปสนฺโต สุขํ เสติ หิตฺวา ชยปราชยํ.
ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์
คนละความชนะและความแพ้ได้แล้ว สงบใจได้ ย่อมนอนเป็นสุข ขุ. ชา.มหา.๒๘/๔๑๕.
๙๒.ตสฺมา สตญฺจ อสตญฺจ นานา โหติ อิโต คติ อสนฺโต นิรยํ ยนฺติ สนฺโต สคฺคปรายนา.
(เพราะธรรมของสัตบุรุษยากที่อสัตบุรุษจะประพฤติตาม) คติที่ไปจากโลกนี้ของสัตบุรุษ
และอสัตบุรุษจึงต่างกัน, คืออสัตบุรุษไปนรก,สัตบุรุษไปสวรรค์. ขุ. ชา.มหา. ๒๘/๔๑๕
๙๓.ตสฺมา หิ ธีโร อิธุปฏฺฐิตาสติ กาเม จ ปาเป จ อเสวมาโน
สหาปิ ทุกฺเขน ชเหยฺย กาเม ปฏิโสตคามินี ตมาหุ ปุคฺคลํ.
เพราะนักปราชญ์มีสติตั้งมั่นในธรรมวินัยนี้ ไม่เสพกามและบาป
พึงละกามทั้งทุกข์ได้ ท่านจึงกล่าวบุคคลนั้นว่า ผู้ไปทวนกระแส. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๗.
๙๔.ทุทฺททํ ททมานานํ ทุกฺกรํ กมฺมกุพฺพตํ อสนฺโต นานุกุพฺพนฺติ สตํ ธมฺโม ทุรนฺวโย.
เมื่อสัตบุรุษให้สิ่งที่ให้ยาก ทำกรรมที่ทำได้ยาก, อสัตบุรุษย่อมทำตามไม่ได้
เพราะธรรมของสัตบุรุษยากที่อสัตบุรุษจะประพฤติตาม (โพธิสตฺต) ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๖๓.
๙๕.น ชจฺจา วสโล โหติ น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ กมฺมุนา วสโล โหติ กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ.
บุคคลเป็นคนเลวเพราะชาติก็หาไม่ เป็นผู้ประเสริฐเพราะชาติก็หาไม่
(แต่) เป็นคนเลวเพราะการกระทำ เป็นผู้ประเสริฐก็เพราะการกระทำ. ขุ. สุ. ๒๕/๓๕๒.
๙๖.นิฏฺฐํ คโต อสนฺตาสี วีตตณฺโห อนงฺคโณ อจฺฉินฺทิ ภวสลฺลานิ อนฺติโมยํ สมุสฺสโย.
บุคคลถึงความสำเร็จแล้ว (พระอรหันตผล) ไม่สะดุ้ง ปราศจากตัณหา
ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ตัดลูกศรอันจะนำไปสู่ภพได้แล้ว ร่างกายจึงชื่อว่า มีในที่สุด. ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.
๙๗.ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา สญฺญโม ทโม ส เว วนฺตมโล ธีโร โส เถโรติ ปวุจฺจติ.
ผู้ใดมีความสัตย์ มีธรรม มีความไม่เบียดเบียน มีความสำรวม
และมีความข่มใจผู้นั้นแลชื่อว่า ผู้มีปัญญา หมดมลทิน เขาเรียกท่านว่า เถระ. ขุ. ธ. ๒๕/๕๐.
๙๘.ยทา ทุกฺขํ ชรามรณนฺติ ปณฺฑิโต อวิทฺทสู ยตฺถ สิตา ปุถุชชนา
ทุกฺขํ ปริญฺญาย สโต ว ฌายติ ตโต รตึ ปรมตรํ น วินฺทติ.
เมื่อใด บัณฑิตรู้ว่า ชราและมรณะเป็นทุกข์ กำหนดรู้ทุกข์ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งปุถุชน
มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประกอบความยินดีที่ยิ่งกว่านั้น. (ภูตเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๔๔.
๙๙.เย เกจิ กาเมสุ อสญฺญตา ชนา อวีตราคา อิธ กามโภคิโน
ปุนปฺปุนํ ชาติชรูปคา หิ เต ตณฺหาธิปนฺนา อนุโสตคามิโน.
คนบางพวกเหล่าใด ไม่สำรวมในกาม ยังไม่ปราศจากราคะ เป็นผู้บริโภคกามในโลกนี้,
คนเหล่านั้นถูกตัณหาครอบงำลอยไปตามกระแส(ตัณหา)ต้องเป็นผู้เข้าถึงชาติชราร่ำไป. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๗.
๑๐๐.เย จ โข พาลา ทุมฺเมธา ทุมฺมนฺตี โมหปารุตา ตาทิสา ตตฺถ รชฺชนฺติ มารกฺขิตฺตสฺมิ พนฺธเน
คนเหล่าใดเขลา มีปัญญาทราม มีความคิดเลว ถูกความหลงปกคลุม,
คนเช่นนั้น ย่อมติดเครื่องผูกอันมารทอดไว้นั้น. (นนฺทกเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๑๒.
๑๐๑.เย ฌานปสุตา ธีรา เนกฺขมฺมูปสเม รตา เทวาปิ เตสํ ปิหยนฺติ สมฺพุทฺธานํ สตีมตํ.
ผู้มีปัญญาเหล่าใดขวนขวายในฌานยินดีในความสงบอันเกิดจากเนกขัมมะ
เทวดาทั้งหลายก็พอใจต่อผู้มีปัญญาผู้รู้ดีแล้ว มีสติเหล่านั้น. ขุ. ธ. ๒๕/๓๙.
๑๐๒.โรสโก กทริโย จ ปาปิจฺโฉ มจฺฉรี สโฐ อหิริโก อโนตฺตปฺปี ตํ ชญฺญา วสโล อิติ.
ผู้ใดเป็นคนขัดเคือง เหนียวแน่น ปรารถนาลามก ตระหนี่ โอ้อวด ไม่ละอาย
และไม่เกรงกลัวบาป พึงรู้ว่า ผู้นั้นเป็นคนเลว. ขุ. สุ. ๒๕/๓๕๑.
๑๐๓.โสจติ ปุตฺเตหิ ปุตฺติมา โคมิโก โคหิ ตเถว โสจติ อุปธีหิ นรสฺส โสจนา น หิ โส โสจติ โย นิรูปธิ.
ผู้มีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร, ผู้มีโคย่อมเศร้าโศกเพราะโคเหมือนกัน,
นรชนมีความเศร้าโศกเพราะอุปธิ, ผู้ใด ไม่มีอุปธิ ผู้นั้น ไม่ต้องเศร้าโศกเลย. สํ. ส. ๑๕/๙.
๔.พุทธศาสนสุภาษิต กัมมวรรค หมวดกรรม
๑๐๔.สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคคติ ขุ.ธ. ๒๕/๔๗
๑๐๕.สุกรํ สาธุนา สาธุ ความดี อันคนดีทำง่าย ขุ.อุ. ๒๕/๑๖๗
๑๐๖.สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ ความดี อันคนชั่วทำยาก ขุ.อุ. ๒๕/๑๖๗
๑๐๗.ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ
ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลเป็นดี ขุ.ธ. ๒๕/๒๓
๑๐๘.น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี ขุ.ธ. ๒๕/๒๓
๑๐๙.ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น
ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว สํ.ส. ๑๕/๓๓๓
๑๑๐.นิสมฺม กรณํ เสยฺโย ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า ว.ว.
๑๑๑.รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุ ํ ลวณํ โลณตํ ยถา
พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม ส.ส.
๑๑๒.นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ ขุ.ชา.ทสก. ๒๗/๘๔
๑๑๓.อติสีตํ อติอุณฺห ํ อติสายมิทํ อหุ อิติ วิสฺฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว
ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยคน ผู้ทอดทิ้งการงาน
ด้วยอ้างว่า หนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว ที.ปาฏิ. ๑๑/๑๙๙
๑๑๔.อถ ปาปานิ กมฺมานิ กรํ พาโล น พุชฺฌติ เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ
เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก
เขาเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้ ขุ.ธ. ๒๕/๓๓
๑๑๕.โย ปุพฺเพ กรณียานิ ปจฺฉา โส กาตุมิจฺฉติ วรุณกฏฺฐํ ภญฺโชว ส ปจฺฉา อนุตปฺปติ
ผู้ใดปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
ดุจมาณพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่ม ฉะนั้น (โพธิสตฺต)ขุ.ชา.เอก.๒๗/๒๓
๑๑๖.สเจ ปุพฺเพกตเหตุ สุขทุกฺขํ นิคจฺฉติ โปราณกํ กตํ ปาปํ ตเมโส มุญฺจเต อิณํ
ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ
ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ ฉะนั้น (โพธิสตฺต) ขุ.ชา.ปณฺณาส. ๒๘/๒๕
๑๑๗.สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน วิหึสติ อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส น ลภเต สุขํ
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข ขุ.ธ. ๒๕/๓๒
๑๑๘.สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน น หึสติ อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส ลภเต สุขํ
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข ขุ.ธ. ๒๕/๓๒
๑๑๙.อุฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ สุสํวิหิตกมฺมนฺโต ส ราชวสตึ วเส.
ผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ
จัดการงานเรียบร้อย,จึงควรอยู่ในราชการ. ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๓๓๙.
๑๒๐.ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ น ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ ทุกโข ปาปสฺส อุจฺจโย.
ถ้าคนพึงทำบาป ก็ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อยๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น
เพราะการสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้. ขุ. ธ. ๒๕/๓๐.
๑๒๑.โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ นาวพุชฺฌติ ปจฺฉา กิจฺเจ สมุปฺปนฺเน กตฺตารํ นาธิคจฺฉติ.
ผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ก่อน แต่ไม่นึกถึง (บุญคุณ)
เมื่อมีกิจเกิดขึ้นภายหลัง จะหาผู้ช่วยทำไม่ได้. (โพธิสตฺต) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๙.
๑๒๒.สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา น หเนยฺย น ฆาตเย
สัตว์ทั้งปวงหวาดต่ออาชญา ล้วนกลัวต่อความตาย
ควรทำตนให้เป็นอุปมาแล้วไม่พึงฆ่าเอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ขุ. ธ. ๒๕/๓๒.
๕.พุทธศาสนสุภาษิต มัจจุวรรค – หมวดความตาย
๑๒๓.สพฺพํ เภทปริยนฺติ เอวํ มจฺจาน ชีวิตํ
ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ล้วนมีความสลายเป็นที่สุด ที.มหา. ๑๐/๑๔๑
๑๒๔.น มิยฺยมานํ ธนมนฺเวติ กิญฺจิ ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้ ม.ม. ๑๓/๔๑๒
๑๒๕.อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุ ปรายนา
ทั้งคนมีคนจน ล้วนมีแต่ความตายเป็นเบื้องหน้า ที.มหา. ๑๐/๑๔๑
๑๒๖.ทหรา จ มหนฺตา จ เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา สพฺเพ มจฺจุวสํ ยนฺติ สพฺเพ มจฺจุปรายนา
ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งเขลา ทั้งฉลาด
ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า นัย- ที.มหา. ๑๐/๑๔๑
๑๒๗.ยถา ทณฺเฑน โคปาลา คาโว ปาเชติ โคจรํ เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ อายุ ํ ปาเชนฺติ ปาณินํ
ผู้เลี้ยงโคย่อมต้อนฝูงโค ไปสู่ที่หากินด้วยพลองฉันใด
ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์มีชีวิตไปฉันนั้น ขุ.ธ. ๒๕/๓๓
๑๒๘.ยถา วาริวโห ปูโร วเห รุกฺเข ปกูลเช เอวํ ชราย มรเณน วุยฺหนฺเต สพฺพปาณิโน
ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด
สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไปฉันนั้น (เตมิยโพธิสตฺต) ขุ.ชา.มหา. ๒๘/๑๖๔
๑๒๙.อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโยวโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ
เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโนปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ.
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป
ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำสุขมาให้ (นนฺทเทวปุตฺต) สํ. ส. ๑๕/๘๙.
๖.พุทธศาสนสุภาษิต ธัมมวรรค – หมวดธรรม
๑๓๐.ธมฺโม รหโท อกทฺทโม ธรรมเหมือนห้วงน้ำไม่มีตม ขุ.ชา.ฉกฺก. ๒๗/๒๐๒
๑๓๑.ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้ สํ.ส. ๑๕/๕๘
๑๓๒.ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ขุ.เถร. ๒๖/๓๑๔
๑๓๓.น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ ขุ.เถร. ๒๖/๓๑๔
๑๓๔.ธมฺเม ฐิตํ น วิชหาติ กิตฺติ เกียรติ ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม องฺ.ปญฺจก. ๒๓/๕๑
๑๓๕.ธมฺเม ฐิตา เย น กโรนฺติ ปาปกํ ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๕
๑๓๖.ธมฺมํ จเร สุจริตํ น ตํ ทุจฺจริตํ จเร
พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่ควรประพฤติให้ทุจริต ขุ.ธ. ๒๕/๓๘
๑๓๗.นภญฺจ ทูเร ปฐวี จ ทูเร ปารํ สมุทฺทสฺส
ตทาหุ ทูเร ตโต หเว ทูรตรํ วทนฺติ สตญฺจ ธมฺโม อสตญฺจ ราช
เขากล่าวว่า ฟ้ากับดินไกลกัน และฝั่งทะเลก็ไกลกัน
แต่ธรรมของสัตบุรุษกับอสัตบุรุษ ไกลกันยิ่งกว่านั้น (พฺราหฺมณ) ขุ.ชา.อสีติ. ๒๘/๑๔๓
๑๓๘.ยทา จ พุทฺธา โลกสฺมึ อุปฺปชฺชนฺติ ปภงฺกรา เต อิมํ ธมฺมํ ปกาเสนฺติ ทุกฺขูปสมคามินํ
เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทำความสว่างอุบัติขึ้นโลก
พระองค์ย่อมประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้ (สารีปุตฺต) ขุ.ปฏิ. ๓๑/๔๑๘
๑๓๙.เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทตฺตรํ
ชนใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว
ชนเหล่านั้นจักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก ขุ.ธ. ๒๕/๒๖
๑๔๐.โย อิจฺเฉ ทิพฺพโภคญฺจ ทิพฺพมายุ ํ ยสํ สุขํ ปาปานิ ปริวชฺ เชตฺวา ติวิธํ ธมฺมมาจเร
ผู้ใดปราถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์
ผู้นั้นพึงงดเว้นบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม ๓ อย่าง (เทวธีตา) ขุ.ชา.มหา. ๒๘/๓๐๖
๑๔๑.อาทานตณฺหํ วินเยถ สพฺพํ อุทฺธํ อโธ ติริยํ วาปิ มชฺเฌ
ยํ ยํ หิ โลกสฺมึ อุปาทิยนฺติ เตเนว มาโร อนฺเวติ ชนฺตุ ํ
พึงขจัดตัณหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ท่ามกลาง, เพราะเขาถือมั่นสิ่งใดๆ
ในโลกไว้ มารย่อมติดตามเขาไป เพราะสิ่งนั้นๆ. ขุ. สุ. ๒๕/๙๔๖. ขุ. จู. ๓๑/๒๐๒.
๑๔๒.อุจฉินฺท สิเนหมตฺตโน กุมุทํ สารทิกํว ปาณินา สนฺติมคฺคเมว พฺรูหย นิพฺพานํ สุคเตน เทสิตํ
จงเด็ดเยื่อใยของตนเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง
จงเพิ่มพูนทางสงบ (ให้ถึง) พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว ขุ. ธ. ๒๕/๕๓
๑๔๓.โอวเทยฺยานุสาเสยฺย อสพฺภา จ นิวารเย สตํ หิ โส ปิโย โหติ อสตํ โหติ อปฺปิโย.
บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และป้องกันจากคนไม่ดี
เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี. ขุ. ธ. ๒๕/๒๕.
๑๔๔.กาเมสุ พฺรหฺมจริยวา วีตตณฺโห สทา สโต สงฺขาย นิพฺพุโต ภิกฺขุ ตสฺส โน สนฺติ อิญฺชิตา
ภิกษุผู้เห็นโทษในกาม มีความประพฤติประเสริฐ ปราศจากตัณหา
มีสติทุกเมื่อ พิจารณาแล้ว ดับกิเลสแล้ว ย่อมไม่มีความหวั่นไหว. ขุ. สุ. ๒๕/๕๓๑. ขุ. จู. ๓๐/๓๕.
๑๔๕.จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต.
พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ, เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ
เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต ทุกอย่าง. (โพธิสตฺต) ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/๑๔๗.
๑๔๖.ฉนฺทชาโต อนกฺขาเต มนสา จ ผุโฐ สิยา กาเม จ อปฏิพทฺธจิตฺโต อุทฺธํโสโตติ วุจฺจติ.
พึงเป็นผู้พอใจและประทับใจในพระนิพพานที่บอกไม่ได้ผู้มีจิตไม่ติดกาม
ท่านเรียกว่าผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน. ขุ. ธ. ๒๕/๔๔.
๑๔๗.ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา โถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ
สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ.
ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อม
ไม่เข้าถึงชราสัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้. สํ. ส. ๑๕/๑๐๒.
๑๔๘.เต ฌายิโน สาตติกา นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ
ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีความเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ขุ.ธ. ๒๕/๑๘
๑๔๙.ทุกฺขเมว หิ สมฺโภติ ทุกฺขํ ติฏฺฐติ เวติ จ นาญฺญตร ทุกฺขา สมฺโภติ นาญฺญตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌติ.
ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด
นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ. (วชิราภิกฺขุนี) สํ. ส. ๑๕/๑๙๙, ขุ. มหา. ๒๙/๕๓๖. ๑๕๐.ธมฺโม ปโถ มหาราช อธมฺโม ปน อุปฺปโถ อธมฺโม นิรยํ เนติ ธมฺโม ปาเปติ สุคตึ.
มหาราช ! ธรรมเป็นทาง (ควรดำเนินตาม) ส่วนอธรรมนอกลู่นอกทาง
(ไม่ควรดำเนินตาม) อธรรมนำไปนรกถึงสวรรค์. (โพธิสตฺต) ขุ. ชา. สฏฺฐิ. ๒๘/๓๙
๑๕๑.นาญฺญตฺร โพชฺฌาตปสา นาญฺญตฺร อินฺทริยสํวรา
นาญฺญตฺร สพฺพนิสฺสคฺคา โสตฺถึ ปสฺสามิ ปาณินํ
เรา (ตถาคต) ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญา
ความเพียร ความระวังตัว และการสละสิ่งทั้งปวง สํ.ส. ๑๕/๗๕
๑๕๒.เย สนฺตจิตฺตา นิปกา สติมนฺโต จ ฌายิโน สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสนฺติ กาเมสุ อนเปกฺขิโน.
ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัวมีสติเป็นผู้เพ่งพินิจไม่เยื่อใยในกาม เห็นธรรมโดยชอบ. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๖๐.
๑๕๓.สมฺมปฺปธานสมฺปนฺโน สติปฏฺฐานโคจโร
วิมุตฺติกุสุมสญฺฉนฺโน ปรินิพฺพายิสฺสตฺยนาสโว.
ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธานมีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์
ดาดาษด้วยดอกไม้คือวิมุตติหาอาสวะมิได้ จักปรินิพพาน. (เทวสภเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๒๗๘๒.
๑๕๔.สุสุขํ วต นิพฺพานํ สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ อโสกํ วิรชํ เขมํ ยตฺถ ทุกฺขํ นิรุชฺฌติ.
พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่มีโศก
ปราศจากธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ. (หาริตเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๐๙.
๑๕๕.โสรจฺจํ อวิหึสา จ ปาทา นาคสฺส เต ทุเว สติ จ สมฺปชญฺญญฺจ จรณา นาคสฺส เต ปเร.
โสรัจจะและอวิหิสานั้นเป็นช้างเท้าหลัง
สติและสัมปชัญญะนั้นเป็นช้างเท้าหน้า. (อุทายีเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๖๘.
๑๕๖.หีนํ ธมฺมํ น เสเวยฺย ปมาเทน น สํวเส มิจฺฉาทิฏฺฐึ น เสเวยฺย น สิยา โลกวฑฺฒโน.
ไม่ควรเสพธรรมที่เลว ไม่ควรอยู่กับความประมาท
ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ ไม่ควรเป็นคนรกโลก. ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.
๑๕๗.หีเนน พฺรหฺมจริเยน ขตฺติเย อุปปชฺชติ. มชฺฌิเมน จ เทวตฺตํ อุตฺตเมน วิสุชฺฌนฺติ.
บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างเลว., ถึงความเป็นเทวดา
ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง, ย่อมบริสุทธิ์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง. ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๙๙.
๑๕๘.จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต
พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ
เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต ทุกอย่าง ขุ.ชา. ๒๘/๓๘๒/๑๔๗
๑๕๙.ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ
สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ
ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา
ส่วนธรรมสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้ สํ.ส. ๑๕/๓๓๓/๑๐๒ ๑๖๐.เย สนฺตจิตฺตา นิปกา สติมนฺโต จ ฌายิโน สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสนฺติ กาเมสุ อนเปกฺขิโน
ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจ
ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ ขุ.อิติ. ๒๕/๒๒๓/๒๖๐
๗.พุทธศาสนสุภาษิต อัปปมาทวรรค – หมวดไม่ประมาท
๑๖๑.อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย ขุ.ธ. ๒๕/๑๘
๑๖๒.อปฺปมตฺตา น มียนฺติ ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย ขุ.ธ. ๒๕/๑๘
๑๖๓.อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ
ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้
เหมือนรักษาทรัพย์อันประเสริฐ ขุ.ธ. ๒๕/๑๘
๑๖๔.อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ
ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์ ขุ.ธ. ๒๕/๑๘
๑๖๕.อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ ภิกฺขโว สุสมาหิตสงฺกปฺปา สจิตฺตมนุรกฺขถ.
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลดีงาม
ตั้งความดำริไว้ให้ดี คอยรักษาจิตใจของตน. ที. มหา. ๑๐/๑๔๒.
๑๖๖.อปฺปมาทรตา โหถ สจิตฺตมนุรกฺขถ ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร
ท่านทั้งหลายจงยินดีในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน
จงถอนตนขึ้นจากหล่มคือกิเลสที่ถอนได้ยาก เหมือนช้างที่ตกหล่ม ถอนตนขึ้น ฉะนั้น ขุ. ธ. ๒๕/๓๓/๕๘
๑๖๗.อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา สญฺโญชนํ อณุ ํ ถูลํ ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ
ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท
ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไป ฉะนั้น ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.
๑๖๘.อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา อภพฺโพ ปริหานาย นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก.
ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม (ชื่อว่า) อยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว. ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.
๑๖๙.เอวํวิหารี สโต อปฺปมตฺโต ภิกฺขุ จรํ หิตฺวา มมายิตานิ
ชาติชรํ โสกปริทฺทวญฺจ อิเธว วิทฺวา ปชเหยฺย ทุกฺขํ.
ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท ละความถือมั่นว่าของเราได้แล้วเที่ยวไป
เป็นผู้รู้ พึงละชาติ ชรา โสกะ ปริเทวะ และทุกข์ ในโลกนี้ได้. ขุ. สุ. ๒๕/๕๓๕. ขุ. จู. ๓๐/๙๒.
๑๗๐.อุฏฺาเนนปฺปมาเทน สญฺญเมน ทเมน จ ทีปํ กยิราถ เมธาวี ยํ โอโฆ นาภิกีรติ
ผู้มีปัญญา พึงสร้างเกาะที่น้ำหลากมาท่วมไม่ได้ ด้วยความหมั่น
ความไม่ประมาท ความสำรวมระวัง และความข่มใจ ขุ.ธ. ๒๕/๑๒/๑๘
๑๗๑.อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสฺ สุตฺเตสุ พหุชาคโร อพลสฺสํว สีฆสฺโส หิตฺวา ยาติ สุเมธโส
คนมีปัญญาดีไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท มักตื่นในเมื่อผู้อื่นหลับ
ย่อมละทิ้งคนนั้น เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว ทิ้งม้าไม่มีกำลังไป ฉะนั้น ขุ.ธ. ๒๕/๑๘
๑๗๒.อุฏฺฐานวโต สติมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมาการิโนสญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน
อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ
ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วทำ
ระวังดีแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท ขุ.ธ. ๒๕/๑๘
๘.พุทธศาสนสุภาษิต ขันติวรรค – หมวดอดทน
๑๗๓.ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา ขันติคือความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง ที.มหา. ๑๐/๕๗
๑๗๔.ขนฺติพลา สมณพฺราหฺมณาสมณ พราหมณ์ มีความอดทนเป็นกำลัง องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๒๒๗
๑๗๕.อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้มีขันติ ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน ส.ม. ๒๒๒
๑๗๖.เกวลานํปิ ปาปานํ ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ ครหกลหาทีนํ มูลํ ขนฺติ ขนฺติโก
ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น
ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันได้ ส.ม. ๒๒๒
๑๗๗.ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา ปิโย เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ
ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ส.ม. ๒๒๒
๑๗๘.สตฺถุโน วจโนวาทํ กโรติเยว ขนฺติโก ปรมาย จ ปูชาย ชินํ ปูเชติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา
และผู้มีขันติ ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้า ด้วยบูชาอันยิ่ง ส.ม. ๒๒๒
๑๗๙.สีลสมาธิคุณานํ ขนฺติ ปธานการณํ สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา ขนฺตฺยาเยว วฑฺฒนฺติ เต
ขันติ เป็นประธาน เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ
กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญเพราะขันติเท่านั้น ส.ม. ๒๒๒
๑๘๐.ขนฺติ ธีรสฺส ลงฺกาโร ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน ขนฺติ พลํ ว ยตีนํ ขนฺติ หิตสุขาวหา.
ขันติเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ขันติเป็นตบะของผู้พากเพียร
ขันติเป็นกำลังของนักพรต ขันตินำประโยชน์สุขมาให้. ส. ม. ๒๒๒.
๑๘๑.น สุทฺธิ เสจเนน อตฺถิ นปิ เกวลี พฺราหฺมโณ น เจว ขนฺติ โสรจฺจํ นปิ โส ปรินิพฺพุโต
ความบริสุทธิ์ก็ดี ผู้ที่จะประเสริฐล้วนก็ดี ขันติและโสรัจจะก็ดี
จะเป็นผู้เย็นสนิทก็ดี ย่อมไม่มีเพราะการชำระล้าง (ด้วยน้ำ) (โพธิสตฺต) ขุ.ชา.ปกิณฺณก.๒๗/๓๗๖
๑๘๒.นเหตมตฺถํ มหตีปิ เสนา สราชิกา ยุชฺฌมานา ลเภถ
ยํ ขนฺติมา สปฺปุริโส ลเภถ ขนฺติพลสฺสูปสมนฺติ เวรา
เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชารบอยู่ ไม่พึงได้ประโยชน์ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้
(เพราะ) เวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลังนั้น ย่อมสงบระงับ (โพธิสตฺต) ขุ.ชา.จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๓๘
๙.พุทธศาสนสุภาษิต วิริยวรรค – หมวดความเพียร
๑๘๓.กาลาคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ คนขยันย่อมไม่พร่าประโยชน์ชั่วตามกาล ขุ,ชา,ฉกฺก. ๒๗/๑๙๕
๑๘๔.วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร ขุ.สุ. ๒๕/๓๖๑
๑๘๕.ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ
คนมีธุระหมั่นทำการงานให้เหมาะเจาะ ย่อมหาทรัพย์ได้ ขุ.สุ. ๒๕/๓๖๑
๑๘๖.น นิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ
ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย ขุ.ชา.จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๓๓
๑๘๗.หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ
คนที่ผัดวันประกันพรุ่งย่อมเสื่อม ยิ่งว่ามะรืนนี้ยิ่งเสื่อม ขุ.ชา.วีส. ๒๗/๔๖๖
๑๘๘.อปฺปเกนปิ เมธาวี ปาภเฏน วิจกฺขโณ สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ อณุ ํ อคคึว สนฺธมํ
ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมตั้งตนได้ด้วยต้นทุนแม้น้อย เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๒
๑๘๙.อฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ อบฺปมตฺโต วิธานวา สมํ กปฺเปติ ชีวิตํ สมภตํ อนุรกฺขติ
ผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท เข้าใจเลี้ยงชีพพอสมควร จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้ อง.อฏฺฐก. ๒๓/๒๙๘ ๑๙๐.โย จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต หีนวีริโย เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ
ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี ส่วนผู้ปรารภความเพียรมั่นคง
มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวก็ประเสริฐกว่า ขุ.ธ. ๒๕/๓๐
๑๙๑.โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา วิริยารมฺภญฺจ เขมโต อารทฺธวิริยา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี.
ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย และเห็นการปรารภความเพียร
เป็นความปลอดภัย แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี. ขุ. จริยา. ๓๓/๕๙๕.
๑๙๒.ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ ฌายิโน มารพนฺธนา.
ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก
ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้ว จักพ้นจากเครื่องผูกของมาร. ขุ. ธ. ๒๕/๕๑.
๑๙๓.นิทฺทํ ตนฺทึ วิชิมฺหิตํ อรตึ ภตฺตสมฺมทํ วิริเยน นํ ปณาเมตฺวา อริยมคฺโค วิสชฺฌติ.
อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ เพราะขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน
ความบิดขี้เกียจความไม่ยินดี และความเมาอาหารนั้นได้ด้วยความเพียร. สํ. ส. ๑๕/๑๐.
๑๙๔.โย จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต หีนวีริโย เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ.
ผู้ใดเกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี แต่ผู้ปรารภความเพียรมั่นคง
มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้นั้น. ขุ. ธ. ๒๕/๓๐.
๑๙๕.สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน ปญฺญวา สุสมาหิโต อารทฺธวิริโย ปหิตตฺโต โอฆํ ตรติ ทุตฺตรํ
ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว
ปรารภความเพียรตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก สํ.ส. ๑๒/๗๔
๑๐.พุทธศาสนสุภาษิต ปุญญวรรค – หมวดบุญ
๑๙๖.ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ บุญอันโจรนำไปไม่ได้ สํ.ส. ๑๕/๕๐
๑๙๗.ปุญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต ขุ.ธ. ๒๕/๕๙
๑๙๘.สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย ความสั่งสมบุญ นำสุขมาให้ ขุ.ธ. ๒๕/๓๐
๒๙๙.ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า สํ.ส. ๑๕/๒๖
๒๐๐.อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ กตปุญโญฺ อุภยตฺถ นนฺทติ
ปุญฺญํ เม กตนุติ นนฺทติ ภิยฺโย นนฺทุติ สุคตึ คโต
ผู้ทำบุญแล้วย่อมยินดีในโลกนี้ ตายแล้วย่อมยินดีชื่อว่ายินดีในโลกทั้งสอง
เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไว้แล้ว ไปสู่สุคติย่อมยินดียิ่งขึ้น ขุ.ธ. ๒๕/๑๗
๒๐๑.ปญฺญญฺ ปริโส กยิรา กยิราถนํ ปุนปฺปุนํ ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
ถ้าบุรุษจะพึ่งทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ
ควรทำความพอใจในบุญนั้น การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้ ขุ.ธ. ๒๕/๓๐
๒๐๒.มาวมญฺเญถ ปุญฺญสฺส น มตฺตํ อาคมิสฺสติ อุทพินฺทุนิปาเตน
อุทกุมฺโภปิ ปูรติ อาปูรติ ธีโร บุญฺญสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ
ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่ามีประมาณน้อยจักไม่มีมาถึง แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำ
ที่ตกลงมาฉันใด ผู้มีปัญญาสั่งสมบูญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญ ฉันนั้น ขุ.ธ. ๒๕/๓๑
๒๐๓.สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ สยํ กตานิ ปุญฺญานิ ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกํ
สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อย ๆ
บุญทั้งหลายที่ตนทำเองนั้น จะเป็นมิตรในสัมปรายภพ สํ.ส. ๑๕/๕๑
๑๑.พุทธศาสนสุภาษิต สุขวรรค – หมวดสุข
๒๐๔.สพฺพตถ ทุกฺขสฺส สุขํ ปหานํ ละเหตุทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง ขุ.ธ. ๒๕/๕๙
๒๐๕.อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก ความไม่เบียดเบียนเป็นสุขในโลก ขุ.ธ. ๒๕/๘๖
๒๐๖.นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ ความสุข (อื่น) ยิ่งกว่าความสงบไม่มี ขุ.ธ. ๒๕/๔๒
๒๐๗.นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ขุ.ธ. ๒๕/๕๙
๒๐๘.อทสฺสเนน พาลานํ นิจฺจเมว สุขี สิยา
จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์ ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล ขุ.ธ. ๒๕/๔๒
๒๐๙.สุขํ สุปติ พุทฺโธ จ เยน เมตฺตา สุภาวิตา
ผู้เจริญเมตตาดีแล้วย่อมหลับและตื่นเป็นสุข ว.ว.
๒๑๐.สุโข พุทฺธานํ อุปฺปาโท ความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนำสุขมาให้ ขุ.ธ. ๒๕/๔๑
๑๒.พุทธศาสนสุภาษิต ชยวรรค – หมวดชนะ
๒๑๑.ชยํ เวรํ ปสวติ ผู้ชนะย่อมก่อเวร ขุ.ธ. ๒๕/๖๓
๒๑๒.สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง ขุ.ธ. ๒๕/๖๓
๒๑๓.สพฺพํ รสํ ธมฺมรโส ชินาติ รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง ขุ.ธ. ๒๕/๖๓
๒๑๔.สพฺพํ รตึ ธมฺมรตี ชินาติ ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง ขุ.ธ. ๒๕/๖๓
๒๑๕.ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ ความสิ้นตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง ขุ.ธ. ๒๕/๖๓
๒๑๖.น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ ย ํ ชิตํ อวชิยฺยติ
ความชนะใดที่ชนะแล้วกลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๒๒
๒๑๗.อกฺโกเธน ชิเน โกธํ อสาธุ ํ สาธุนา ชิเน ชิเน กทริยํ ทาเนน สจฺเจนาลิกวาทินํ
พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี
พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้ พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง ขุ.ธ. ๒๕/๔๕
๑๓.พุทธศาสนสุภาษิต กิเลสวรรค – หมวดกิเลส
๒๑๗.น สนฺติ กามา มนุเชสุ นิจฺจา กามทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในหมู่มนุษย์ สํ.ส. ๑๕/๑๐๓/๓๑
๒๑๘.กุหา ถทฺธา ลปา สิงฺคี อุนฺนฬา จาสมาหิตา น เต ธมฺเม วิรูหนฺติ สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต
ผู้คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น
ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๓๔
๒๑๙.โกธสฺส วิสมูลสฺส มธุรคฺคสฺส พฺราหฺมณ วธํ อริยา ปสํสนฺติ ตญฺหิ เฉตฺวา น โสจติ
พราหมณ์ ! พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ
ปลายหวาน เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก สํ.ส. ๑๕/๒๓๖
๒๒๐.นิทฺทํ น พหุลีกเรยฺย ชาคริยํ ภเชยฺย อาดาปี ตนฺทึ มายํ หสฺสํ ขิฑฺฑํ เมถุนํ วิปฺปชเห สวิภูสํ
ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น พึงละความเกียจคร้าน มายา
ความร่าเริง การเล่น และเมถุนพร้อมทั้งเครื่องประดับเสีย ขุ.สุ. ๒๕/๕๑๕
๒๒๑.ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจํ อุชฺฌานสญฺญิโน อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อารา โส อาสวกฺขยา
คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น อาสวะก็เพิ่มพูน เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ ขุ.ธ. ๒๕/๔๙
๒๒๒.ยา กาจิมา ทุคฺคติโย อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ อวิชฺชา มูลกา สพฺพา อิจฺฉาโลภสมุสฺสยา
ทุคคติในโลกนี้และโลกหน้า ล้วนมีอวิชชาเป็นราก มีอิจฉาและโลภเป็นลำต้น ขุ.อิติ. ๒๕/๒๕๖
๒๒๓.เยน สลฺเลน โอติณฺโณ ทิสา สพฺพา วิธาวติ ตเมว สลฺลํ อพฺพุยฺห น ธาวติ น สีทติ
บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้ว ย่อมแล่นไปทั่วทิศ
ถอนลูกศรนั้นแล้ว ย่อมไม่แล่นและไม่จม ขุ.มหา. ๒๙/๕๐๑
๒๒๔.โลโภ โทโส จ โมโห จ ปุริสํ ปาปเจตสํ หึสนฺติ อตฺตสมฺภูตา ตจสารํว สมฺผลํ โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเองย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ฉะนั้น ขุ.มหา. ๒๙/๑๘
๒๒๕.อนิจฺจา อทฺธุวา กามา พหุทุกฺขา มหาวิสา อโยคุโฬว สนฺตตฺโต อฆมูลา ทุกฺขปฺผลา.
กามทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีทุกข์มาก มีพิษมาก ดังก้อนเหล็กที่ร้อนจัด
เป็นต้นเค้าแห่งความคับแค้น มีทุกข์เป็นผล. (สุเมธาเถรี) ขุ. เถรี. ๒๖/๕๐๓.
๒๒๖.อิจฺฉาย พชฺฌตี โลโก อิจฺฉาวินยายุ มุจฺจต อิจฺฉาย วิปฺปหาเนน สพฺพํ ฉินฺทติ พนฺธนํ
โลกถูกความอยากผูกพันไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก
เพราะละความอยากเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้ สํ.ส. ๑๕/๕๖
๒๒๗.อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ อิจฺฉา โลกสฺมิ ทุชชหา อิจฺฉาพุทฺธา ปุถู สตฺตา ปาเสน สกุณี ยถา
ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก
สัตว์เป็นอันมากถูกความอยากผูกมัดไว้ ดุจนางนกถูกบ่วงรัดไว้ ฉะนั้น สํ.ส. ๑๕/๖๑
๒๒๘.อุเปกฺขโก สทา สโต น โลเก มญฺญตี สมํ น วิเสสี น นีเจยฺโย ตสฺส โน สนฺติ อุสฺสทา.
ผู้วางเฉยมีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ว่าดีกว่าเขา
ว่าต่ำกว่าเขาในโลก, ผู้นั้นชื่อว่า ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น ขุ. มหา. ๒๙/๒๘๙. ขุ. สุ. ๒๕/๕๐๑.
๒๒๙.โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ สญฺโญชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตํ นามรูปสฺมิมสชฺชมานํ อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ สงฺคา.
บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง,
(เพราะ) เครื่องข้องทั้งหลายย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น. สํ.ส. ๑๕/๓๕๐
๒๓๐.โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ สญฺโญชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตนฺนามรูปสฺมึ อสชฺชมานํ อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา.
บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง,
(เพราะ) ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น. ขุ. ธ. ๒๕/๔๔.
๒๓๑.ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ สตฺโต สํสารมาปาทิ ทุกฺขา น ปริมุจฺจติ.
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงไม่พ้นจากทุกข์. สํ. ส.๑๕/๕๑. ๒๓๒.ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ สตฺโต สํสารมาปาทิ ทุกฺขมสฺส มหพฺภยํ.
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงมีทุกข์เป็นภัยใหญ่. สํ. ส. ๑๕/๕๑.
๒๓๓.สงฺกปฺปราโค ปุริสสฺส กาโม ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน สํ.ส. ๑๕/๑๐๓/๓๒
๒๓๔.ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ สตฺโต สํสารมาปาทิ กมฺมํ ตสฺส ปรายนํ
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงยังมีกรรมนำหน้า สํ. ส. ๑๕/๕๑.
๒๓๕.ตณฺหาย อุฑฺฑิโต โลโก ชราย ปริวาริโต มจฺจุนา ปิหิโต โลโก ทุกฺเข โลโก ปติฏฺฐิโต.
โลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้ ถูกมฤตยูปิดไว้ จึงตั้งอยู่ในทุกข์. สํ. ส. ๑๕/๕๕.
๒๓๖.นิทฺทํ ตนฺทึ สเห ถีนํ ปมาเทน น สํวเส อติมาเน น ติฏฺเฐยฺย นิพฺพานมนโส นโร.
คนที่นึกถึงพระนิพพาน พึงครอบงำความหลับ ความเกียจคร้าน ความท้อแท้,
ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความทะนงตัว. ขุ. สุ. ๒๕/๕๑๘.
๒๓๗.นิราสตฺตี อนาคเต อตีตํ นานุโสจติ วิเวกทสฺสี ผสฺเสสุ ทิฏฺฐีสุ จ น นิยฺยติ.
ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว,
ผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกชักนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย. ขุ.สุ. ๒๕/๕๐๐
๒๓๘.ปุราณํ นาภินนฺเทยฺย นเว ขนฺติมกุพฺพเย หิยฺยมาเน น โสเจยฺย อากาสํ น สิโต สิยา.
ไม่พึงเพลิดเพลินของเก่า ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่
เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมไป ก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงอาศัยตัณหา. ขุ. สุ. ๒๕/๕๑๘.
๒๓๙.มูฬฺโห อตฺถํ น ชานาติ มูฬฺโห ธมฺมํ น ปสฺสติ อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โมโห สหเต นรํ.
ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม
ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๙๖ ขุ. มหา. ๒๙/๑๘.
๒๔๐.ยสฺส นตฺถิ อิทํ เมติ ปเรสํ วาปิ กิญฺจนํ มมตฺตํ โส อสํวินฺทํ นตฺถิ เมติ น โสจติ.
ผู้ใดไม่มีกังวลว่า นี้ของเรา นี้ของผู้อื่น ผู้นั้นเมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา
จึงไม่เศร้าโศกว่าของเราไม่มี ดังนี้ ขุ. สุ. ๒๕/๕๑๙. ขุ. มหา. ๒๙/๕๓๔.
๒๔๑.ลุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ ลุทโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โลโภ สหเต นรํ
ผู้โลภย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภย่อมไม่เห็นธรรม
ความโลภเข้าครอบงำคนเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น ขุ.มหา. ๒๙/๒๒/๑๗
๑๔.พุทธศาสนสุภาษิต ปาปวรรค – หมวดบาป
๒๔๒.มลา เว ปาปกา ธมฺมา อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ
บาปธรรมเป็นมลทินแท้ ทั้งโลกนี้และโลกหน้า องฺ.อฏฺฐก.๒๓/๑๐๔/๑๙๘
๒๔๓.อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ โส โสจติ โส วิหญฺญติ ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺฐมตฺตโน
ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง
เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือดร้อน ขุ.ธ. ๒๕/๑๗
๒๔๔.อุทพินทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ อาปูรติ พาโล ปาปสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ
แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำฉันใดคนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละน้อยๆก็เต็มด้วยบาปฉันนั้น ขุ.ธ. ๒๕/๓๑
๒๔๕.ปาณิมฺหิ เจ วโณ นาสฺส หเรยฺย ปาณินา วิสํ นาพฺพณํ วิสมนฺเวติ นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต
ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้
ยาพิษซึมเข้าฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำฉันนั้น ขุ.ธ. ๒๕/๓๑
๒๔๖.วาณิโชว ภยํ มคฺคํ อปฺปสตฺโถ มหทฺธโน วิสํ ชีวิตุกาโมว ปาปานิ ปริวชฺชเย
ควรงดเว้นบาปเสีย เหมือนพ่อค้ามีพวกน้อยมีทรัพย์มาก
เว้นหนทางที่มีภัย และเหมือนผู้รักชีวิตเว้นยาพิษเสียฉะนั้น ขุ.ธ. ๒๕/๓๑
๑๕.พุทธศาสนสุภาษิต ทุกชวรรค – หมวดทุกข์
๒๔๗.นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา ทุกข์เสมอด้วยขันธ์ ไม่มี ขุ.ธ. ๒๕/๔๒
๒๔๘.สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง ขุ.ธ. ๒๕/๔๒
๒๔๙.ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้ ขุ.ธ. ๒๕/๕๕
๒๕๐.ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก ความจน เป็นทุกข์ในโลก องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๓๙๔
๒๕๑.อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก การเป็นหนี้ เป็นทุกข์ในโลก นัย-องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๙๔
๒๕๒.ทุกฺขํ อนาโถ วิหรติ คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์ องฺ.ทสก. ๒๔/๒๗, ๓๑
๒๕๓.ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ สํ.ส. ๑๕/๑๒๒
๒๕๔.อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล สํ.ส. ๑๕/๑๒๒
๒๕๕.ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์ ขุ.ธ. ๒๕/๒๖/๔๓
๒๕๖.อปฺปิยานญฺจ ทสฺสนํ ทุกฺขํ การพบเห็นสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ขุ.ธ. ๒๕/๒๖/๔๓
๑๖.พุทธศาสนสุภาษิต โกธวรรค – หมวดโกรธ
๒๕๗.น หิ สาธุ โกโธ ความโกรธไม่ดีเลย ขุ.ชา.ฉกฺก. ๒๗/๑๘๘
๒๕๘.โกโธ สตฺถมลํ โลเก ความโกรธเป็นดังสนิมในโลก สํ.ส. ๑๕/๖๐
๒๕๙.อนตฺถชนโน โกโธ ความโกรธก่อความพินาศ องฺ.สตฺตก. ๒๓/๙๙
๒๖๐.โกโธ จิตฺตปฺปโกปโน ความโกรธทำจิตให้กำเริบ องฺ.สตฺตก. ๒๓/๙๙
๒๖๑.อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โกโธ สหเต นรํ
ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมมีขึ้นเมื่อนั้น องฺ.สตฺตก. ๒๓/๙๙
๒๖๒.โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข สํ.ส. ๑๕/๕๗,๖๔
๒๖๓.โกธาภิภูโต กุสลํ ชหาติ ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลเสีย นัย-ขุ.ชา.ทสก.๒๗/๒๘๖
๒๖๔.ทุกฺขํ สยติ โกธโน คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ องฺ.สตฺตก. ๒๓/๙๘
๒๖๕.ญาติมิตฺตา สุหชฺชา จ ปริวชฺเชนฺติ โกธนํ
ญาติมิตรและสหายย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ องฺ.สตฺตก. ๒๓/๙๙
๒๖๖.กุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม องฺ.สตฺตก. ๒๓/๙๙
๒๖๗.ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ
ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้ องฺ.สตฺตก. ๒๓/๙๙
๒๖๘.โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเท พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ นัย- องฺ.สตฺตก. ๒๓/๑๐๐
๑๗.พุทธศาสนสุภาษิต วาจาวรรค – หมวดวาจา
๒๖๙.หทยสฺส สทิสี วาจา วาจาเช่นเดียวกับใจ ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๑๓๘
๒๗๐.โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ เปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๒๘
๒๗๑.มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๒๘
๒๗๒.ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจา คนโกรธมีวาจาหยาบ ขุ.ชา.ทสก. ๒๗/๒๗๓
๒๗๓.สจฺจํ เว อมตา วาจา คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย สํ.ส. ๑๕/๗๔๐/๒๗๘
๒๗๔.สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ นัย- ขุ.อุ. ๒๕/๑๗๘
๒๗๕.ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย
ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน สํ.ส. ๑๕/๒๗๘
๒๗๖.กลฺยาณิเมว มุญฺเจยฺย น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ มุตฺวา ตปฺปติ ปา
บุคคลพึงเปล่งวาจางามเท่านั้น ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย การเปล่งวาจางาม
ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ผู้เปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน. ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๒๘
๒๗๗.ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย ปเร จ น วิหึเสยฺย สา เว วาจา สุภาสิตา
บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อน
และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น วาจานั้นแลเป็นสุภาษิต (วงฺคีสเถร) ขุ.สุ. ๒๕/๔๑๑
๒๗๘.นาติเวลํ ปภาเสยฺย นตุณหี สพฺพทา สิยา อวิกิณฺ มิตํ วาจํ ปตฺเตกาเล อุทีริเย
ไม่ควรูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป เมื่อถึงเวลาก็ควรพูดพอประมาณ ไม่ฟั่นเฝือ ขุ.ชา.มหา. ๒๘/๓๓๘
๒๗๙.โย นินฺทิยํ ปสํสติ ตํ วา นินฺทติ โย ปสํสิโย วิจินาติ มุเขน โส กลี กลินา เตน สุขํ น วินทติ
ผู้ใดสรรเสริญคนควรติ หรือติคนที่ควรสรรเสริญ
ผู้นั้นย่อมเก็บโทษด้วยปาก เขาไม่ได้สุขเพราะโทษนั้น องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๔
๒๘๐.อกกฺกสํ วิญฺญาปนึ คิรํ สจฺจํ อุทีรเย ยาย นาภิสเช กญฺจิ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ
ผู้ใด พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่เป็นเหตุให้ใครๆ ขัดใจ ไม่หยาบคาย
เป็นเครื่องให้รู้ความได้และเป็นคำจริง, เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์. ขุ. ธ. ๒๕/๗๐.
๒๘๑.ปรสฺส วา อตฺตโน วาปิ เหตุ น ภาสติ อลิกํ ภูริปญฺโญ
โส ปูชิโต โหติ สภาย มชฺเฌ ปจฺฉาปิ โส สุคติคามิ โหติ.
ผู้มีภูมิปัญญา ย่อมไม่พูดพล่อยๆ เพราะเหตุแห่งคนอื่น หรือตนเอง ผู้นั้นย่อมมีผู้บูชา
ในท่ามกลางชุมชน (สภา) แม้ภายหลังเขาย่อมไปสู่สุคติ. (มโหสธโพธิสตฺต) ขุ. ชา. วีสติ. ๒๗/๔๒๗.
๒๘๒.ยํ พุทฺโธ ภาสตี วาจํ เขมํ นิพฺพานปตฺติยา ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย สา เว วาจานมุตฺตมา.
พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด เป็นคำปลอดภัย เพื่อบรรลุพระนิพพาน
และเพื่อทำที่สุดทุกข์ พระวาจานั้นแล เป็นสูงสุดแห่งวาจาทั้งหลาย. (วงฺคีสเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๔๐๑/๔๓๔
๑๘.พุทธศาสนสุภาษิต มิตตวรรค – หมวดมิตร
๒๘๓.มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน สํ.ส. ๑๕/๕๐
๒๘๔.สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ
สหายเป็นมิตรของผู้มีความต้องการเกิดขึ้นเนือง ๆ สํ.ส. ๑๕/๕๑
๒๘๕.สพพตฺถ ปูชิโต โหติ โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ
ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง ขุ.ชา.นวก. ๒๗/๕๔
๒๘๖.มิตฺตทุพโภ หิ ปาปโก ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวแท้ ขุ.ชา.ทสก. ๒๗/๒๙๗
๒๘๗.ภริยา ปรมา สขา ภรรยาเป็นเพื่อนสนิท สํ.ส. ๑๕/๕๑
๒๘๘.นตฺถิ พาเล สหายตา ความเป็นสหายไม่มีในคนพาล วิ.มหา. ๕/๓๓๖ ขุ.ธ. ๒๕/๒๓
๒๘๙.สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา
โน เจ ลเภถ นิปกํ สหายํ เอโก จเร น จ ปาปานิ กยิรา
ถ้าได้สหายผู้รอบคอบ พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา
ถ้าไม่ได้สหายผู้รอบคอบ พึงเที่ยวไปคนเดียว และไม่พึงทำความชั่ว วิ.มหา. ๕/๓๓๖ ม.อุป. ๑๔/๒๙๗
๑๙.พุทธศาสนสุภาษิต เสวนาวรรค – หมวดคบหา
๒๙๐.วิสฺสาสา ภยมนฺเวติ เพราะความไว้ใจภัยจึงตามมา ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๓๐
๒๙๑.อติจิรํ นิวาเสน ปิโย ภวติ อปฺปิโย
เพราะอยู่ด้วยกันนานเกินไป คนที่รักกันก็มักหน่าย ขุ.ชา.เตรส. ๒๗/๓๔๗
๒๙๒.ยํ เว เสวติ ตาทิโส คบคนใดก็เป็นเช่นคนนั้นแล ว.ว.
๒๙๓.ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส อมิเตเนว สพฺพทา
อยู่ร่วมกับคนพาลนำทุกข์มาให้เสมอไปเหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู ขุ.ธ. ๒๕/๔๒
๒๙๔.ธีโร จ สุขสํวาโส ญาตีนํว สมาคโม
อยู่ร่วมกับปราชญ์นำสุขมาให้ เหมือนสมาคมกับญาติ ขุ.ธ. ๒๕/๔๒
๒๙๕.สุโข หเว สปฺปุริเสน สงฺคโม สมาคมกับสัตบุรุษ นำสุขมาให้ ขุ.ชา.ทุก. ๒๗/๕๕
๒๙๖.หียติ ปุริโส นิหีนเสวี ผู้คบคนเลวย่อมเลวลง องฺ.ติก. ๒๐/๑๕๘
๒๙๗.ทุกฺโข พาเลหิ สงฺคโม สมาคมกับคนพาลนำทุกข์มาให้ ขุ.ชา.นวก. ๒๗/๒๖๕
๒๙๘.น ปาปชนสํเสวี อจฺจนฺตสุขเมธติ ผู้ไม่คบคนชั่ว ย่อมได้รับสุขส่วนเดียว ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๔๖
๒๙๙.สงฺเกเถว อมิตฺตสฺมึ มิตฺตสฺมิมฺปิ น วิสฺสเส ควรระแวงในศัตรู แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ ขุ.ชา.ทุก. ๒๗/๕๗
๓๐๐.นาสฺมเส กตปาปมฺหิ ไม่ควรไว้ใจคนทำบาป ขุ.ชา.ทสก. ๒๗/๒๙๐
๓๐๑.นาสฺมเส อตฺตตฺถปญญมฺหิ ไม่ควรไว้ใจคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ขุ.ชา.ทสก. ๒๗/๒๙๐
๓๐๒.อุทฺธโต จปโล ภิกฺขุ มิตฺเต อาคมฺม ปาปเก สํสีทติ มโหฆสฺมึ อุมฺมิยา ปฏิกุชฺชิโต
ภิกษุมีใจฟุ้งซ่าน คลอนแคลน คบหาแต่มิตรชั่ว
ถูกคลื่นซัด ย่อมจมลงในห้วงน้ำใหญ่คือสังสารวัฏ (อญฺญาโกณฺฑญฺญเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๘๓/๓๖๖
๓๐๓.นิธีนํว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ นิคฺคยฺหาวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช
ตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย.
เห็นบัณฑิตใด ผู้มีปกติชี้ความผิดให้ ดุจผู้บอกขุมทรัพย์ให้ ซึ่งมีปกติกล่าวกำราบ
มีปัญญาพึงคบบัณฑิตเช่นนั้นเมื่อคบท่านเช่นนั้น ย่อมประเสริฐไม่เลวเลย. ขุ. ธ. ๒๕/๒๕.
๓๐๔..นิหียติ ปุริโส นิหีนเสวี น จ หาเยถ กทาจิ ตุลฺยเสวี
เสฏฺฐมุปนมํ อุเทติ ขิปฺปํ ตสฺมา อตฺตโน อุตฺตรึ ภเชถ.
ในกาลไหนๆ ผู้คบคนเลว ย่อมเลว คบคนเสมอกัน ไม่พึงเสื่อม
คบหาคนประเสริฐ ย่อมพลันเด่นขึ้น เหตุนั้นควรคบคนที่สูงกว่าตน. องฺ. ติก. ๒๐/๑๕๘.
๓๐๕.ปสนฺนเมว เสเวยฺย อปฺปสนฺนํ วิวชฺชเย ปสนฺนํ ปยิรุปาเสยฺย รหทํวุทกตฺถิโก
บุคคลควรคบผู้เลื่อมใสเท่านั้น ควรเว้นผู้ไม่เลื่อมใส ควรเข้าไปนั่งใกล้ผู้เลื่อมใส
เหมือนผู้ต้องการน้ำเข้าไปหาห้วงน้ำฉะนั้น (โพธิสตฺต) ขุ.ชา.ปญฺญาส. ๒๘/๒๓
๓๐๖.ตครํ ว ปลาเสน โย นโร อุปนยฺหติ ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ เอวํ ธีรูปเสวนา
คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด
การคบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น (โพธิสตฺต) ขุ.ชา.วีส. ๒๗/๔๓๗
๓๐๗.ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺหติ กุสาปิ ปูติ วายนฺติ เอวํ พาลูปเสวนา
คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด
การคบคนพาลก็ฉันนั้น (ราชธีตา) ขุ.ชา.มหา. ๒๘/๓๐๓
๓๐๘.สทฺเธน จ เปสเลน จ ปญฺญวตา พหุสฺสุเตน จ สขิตํ หิ กเรยฺย ปณฺฑิโต ภทฺโท สปฺปุริเสหิ สงฺคโม
บัณฑิตพึงทำความเป็นเพื่อนกับคนมีศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก
มีปัญญาและเป็นพหุสูต เพราะการสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ (อานนฺทเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๔๐๕
๒๐.พุทธศาสนสุภาษิต สามัคคีวรรค – หมวดสามัคคี
๓๐๙.สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี ความพร้อมเพรียงของหมู่ ให้เกิดสุข ขุ. อิติ. ๒๕/๒๓๘.
๓๑๐.สมคฺคานํ ตโป สุโข ความพร้อมเพรียงของผู้พร้อมเพรียงกัน ให้เกิดสุข ขุ.ธ. ๒๕/๔๑
๓๑๑.วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา อวิวาทญฺจ เขมโต สมคฺคา สขิลา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี
ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้ว
เป็นผู้พร้อมเพรียงมีความประนีประนอมกันเถิด.นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี. ขุ. จริยา. ๓๓/๕๙๕.
๓๒๑.สามคฺยเมวา สิกฺเขถ พุทฺเธเหตํ ปสํสิตํ. สามคฺยรโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสติ.
พึงศึกษาความสามัคคี, ความสามัคคีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว,
ผู้ยินดีในสามัคคี ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ. ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๔๖.
๓๑๒.สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานญฺจนุคฺคโห สมคฺครโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสติ.
ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข และการสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกันเป็นสุขผู้ยินดีในคน
ผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรมย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ขุ. อิติ. ๒๕/๒๓๘.
๒๑.พุทธศาสนสุภาษิต ทานวรรค – หมวดทาน
๓๑๓.นตฺถิ จิตฺเต ปสนฺนมฺห อปฺปกา นาม ทกฺขิณา
เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักษิณาทานชื่อว่าน้อยย่อมไม่มี ขุ.วิมาน. ๒๖/๘๒
๓๑๔.วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ การเลือกให้ อันพระสุคตทรงสรรเสริญ สํ.ส. ๑๕/๓๐
๓๑๕.พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน ขุ.ธ. ๒๕/๓๘
๓๑๖.ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ สํ.ส. ๑๕/๓๑๖
๓๑๗.ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๔๔
๓๑๘.สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุขํ โส อธิคจฺฉติ ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๔๕
๓๑๙.เสฏฐนฺทโท เสฏฐมุเปติ ฐานํ ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๕๖
๓๒๐.อคฺคสฺมึ ทานํ ททตํ อคฺคํ ปุญฺญํ ปวทฺฒติ อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ
เมื่อให้ทานในวัตถุอันเลิศบุญอันเลิศอายุวรรณะยศ เกียรติสุขและกำลังอันเลิศก็เจริญ ขุ.อิติ. ๒๕/๒๙๙
๓๒๑.อคฺคทายี วรทายี เสฏฺฐทายี จ โย นโร ทีฆายุ ยสวา โหติ ยตฺถ ยตฺถูปปชฺชติ
ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ให้สิ่งที่ดี ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศ ในภพที่ตนเกิด องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๕๖
๓๒๒.ปุพฺเพ ทานาทิกํ ทตฺวา อิทานิ ลภตี สุขํ มูเลว สิญฺจิตํ โหติ อคฺเค จ ผลทายกํ
ให้ทานเป็นต้นก่อน จึงได้สุขบัดนี้ เหมือนรดน้ำที่โคนให้ผลที่ปลาย สทฺทสารตฺถชาลินี
๓๒๓.ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาคร เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ
ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมยังสาครให้เต็มได้ฉันใด
ทานที่ให้แต่โลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่ผู้ละไปแล้วฉันนั้น ขุ.ขุ. ๒๕/๑๐
๓๒๔.โส จ สพฺพทโท โหติ โย ททาติ อุปสฺสยํ อมตนฺทโท จ โส โหติ โย ธมฺมมนุสาสติ
ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง ผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ สํ.ส. ๑๕/๔๔
๓๒๕.อเทยฺเยสุ อททํ ทานํ เทยฺเยสุ โย ปเวจฺฉติ อาปาสุ พฺยสนํ ปตฺโต สหายํ อธิคจฺฉติ
ผู้ใดไม่ให้ทานในคนที่ไม่ควรให้ แต่ให้ทานในคนที่ควรให้
เมื่อประสบปัญหา ย่อมได้พบผู้ช่วยเหลือ (โพธิสตฺต) ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๒๙.
๓๒๖.อเทยฺเยสุ อททํ ทานํ เทยฺเยสุ โย ปเวจฺฉติ อาปาสุ พฺยสนํ ปตฺโต สหายํ อธิคจฺฉนฺติ
ผู้ใดไม่ให้ทานในคนที่ไม่ควรให้ ย่อมให้ในคนที่ควรให้.
ผู้นั้นประสบความเสื่อมเพราะอันตราย ย่อมได้สหาย. (โพธิสตฺต) ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๒๗.
๓๓๘.อเทยฺเยสุ ททํ ทานํ เทยฺเยสุ นปฺปเวจฺฉติ อาปาสุ พฺยสนํ ปตฺโต สหายํ นาธิคจฺฉติ.
ผู้ใดให้ทานในบุคคลที่ไม่ควรให้ ไม่ให้ในคนที่ควรให้.
ผู้นั้นถึงความเสื่อมเพราะอันตราย ย่อมไม่ได้สหาย. (โพธิสตฺต) ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๒๙.
๓๒๘.อนฺนโท พลโท โหติ วตฺถโท โหติ วณฺณโท ยานโท สุขโท โหติ ทีปโท โหติ จกฺขุโท.
ผู้ให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้ผิวพรรณ
ผู้ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ. สํ. ส. ๑๕/๔๔.
๓๒๙.มนาปทายี ลภเต มนาปํ อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ
วรสฺส ทาตา วรลาภี จ โหติ เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ.
ผู้ให้ของชอบใจ ย่อมได้ของชอบใจ ผู้ให้ของเลิศ ย่อมได้ของเลิศ
ผู้ให้ของดี ย่อมได้ของดี ผู้ให้ของประเสริฐ ย่อมถึงฐานะอันประเสริฐ. อง. ปญฺจก. ๒๒/๕๖.
๓๓๐.อนฺนโท พลโท โหติ วตฺถโท โหติ วณฺณโท ยานโท สุขโท โหติ ทีปโท โหติ จกฺขุโท
ผู้ให้ข้าวชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้ผิวพรรณ ผู้ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข
ผู้ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ อง. ปญฺจก. ๒๒/๕๖.
๒๒.พุทธศาสนสุภาษิต สีลวรรค – หมวดศีล
๓๓๑.สีลํ ยาว ชรา สาธุ ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา สํ.ส. ๑๕/๕๐
๓๓๒.สฺขํ ยาว ชรา สีลํ ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา ขุ.ธ. ๒๕/๕๙
๓๓๓.สีลํ กิเรว กลฺยาณํ ท่านว่าศีลนั้นเทียวเป็นความดี ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๒๘
๓๓๔.สํวาเสน สีลํ เวทิตพฺพํ ศีลพึงรู้ได้เพราะอยู่ร่วมกัน นัย- ขุ.อุ. ๒๕/๑๗๘
๓๓๕.สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร ความสำรวมในที่ทั้งปวงเป็นดี สํ.ส. ๑๕/๑๐๖
๓๓๖.สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี ปราชญ์พึงรักษาศีล ขุ.อิติ. ๒๕/๒๘๒
๓๓๗.อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธ
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์ (สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๘
๓๓๘.อวณฺณญฺจ อกิตฺติญฺจ ทุสฺสีโล ลภเต นโร วณฺณํ กิตฺตึ ปสํสญฺจ สทา ลภติ สีลวา
คนผู้ทุศีลย่อมได้รับความติเตียน และความเสียชื่อเสียง
ส่วนผู้มีศีลย่อมได้รับชื่อเสียงและความยกย่องสรรเสริญทุกเมื่อ (สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๗
๓๓๙.อิเธว กิตฺตึ ลภติ เปจฺจ สคฺเค จ สุมโน สพฺพตฺถ สุมโน ธีโร สีเลสุ สุสมาหิโต
ผู้มีปรีชามั่นคงดีแล้วในศีล ย่อมได้รับชื่อเสียงในโลกนี้
ละไปแล้วย่อมดีใจในสวรรค์ ชื่อว่าย่อมดีใจในที่ทั้งปวง (สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๘
๓๔๐.อิเธว นินฺทํ ลภติ เปจฺจาปาเย จ ทุมฺมโน สพฺพตฺถ ทุมฺมโน พาโล สีเลสุ อสมาหิโต
ผู้มีปรีชามั่นคงดีแล้วในศีล ย่อมได้รับชื่อเสียงในโลกนี้
จะไปแล้วย่อมดีใจในสวรรค์ ชื่อว่าย่อมดีใจในที่ทั้งปวง (สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๘
๓๔๑.สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี ปตฺถยาโน ตโย สุเข ปสํสํ วิตฺติลาภญฺจ เปจฺจ สคฺเค ปโมทนํ
ผู้มีปัญญาเมื่อปรารถนาสุข ๓ อย่าง คือ ความสรรเสริญ
ความได้ทรัพย์ และความละไปบันเทิงในสวรรค์ ก็พึงรักษาศีล (สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๗
๓๔๒.สีลวา หิ พหู มิตฺเต สญฺญเมนาธิคจฺฉติ ทุสฺสีโล ปน มิตฺเตหิ ธํสเต ปาปมาจรํ
ผู้มีศีลย่อมได้มิตรมากด้วยความสำรวม
ส่วนผู้ไม่มีศีล ประพฤติชั่ว ย่อมแตกจากมิตร (สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๗
๓๔๓.สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์ (โสณโกฬิวิสเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๖๐.
๓๔๔.สีลํ เสตุ มเหสกฺโข สีลํ คนฺโธ อนุตฺตโร สีลํ วิเลปนํ เสฏฺฐํ เยน วาติ ทิโส ทิสํ
ศีลเป็นสะพานอันสำคัญ ศีลเป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า
ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐสุดเพราะศีล(มีกลิ่น)ขจรไปทั่วทุกทิศ (โสณโกฬิวิสเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๖๐.
๓๔๕.อุนฺนฬสฺส ปมตฺตสฺส พาหิราสสฺส ภิกฺขุโน สีลํ สมาธิ ปญฺญา จ ปาริปูรึ น คจฺฉติ.
เมื่อภิกษุมีมานะ ประมาทแล้ว มีความหวังในภายนอก,
ศีล สมาธิ และปัญญา ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์. (โสณโกฬิวิสเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๖๐.
๓๔๖.เตสํ สมฺปนฺนสีลานํ อปฺปมาทวิหารินํ สมฺมทญฺญา วิมุตฺตานํ มาโร มคฺคํ น วินฺทติ.
มารค้นหาอยู่ ย่อมไม่พบทางของท่านผู้มีศีลสมบูรณ์
อยู่ด้วยความไม่ประมาท หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ. ขุ. ธ. ๒๕/๒๒.
๓๔๗.สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ.
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์. (สีลวเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๕๘.
๓๔๘.สีลํ เสตุ มเหสกฺโข สีลํ คนฺโธ อนุตฺตโร สีลํ วิเลปนํ เสฏฺฐํ เยน วาติ ทิโส ทิสํ.
ศีลเป็นสะพานอันมีศักดิ์ใหญ่ ศีลเป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า
ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ ซึ่งเป็นเครื่องขจรไปทั่วทุกทิศ. (สีลวเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๕๘.
๒๓.พุทธศาสนสุภาษิต ปัญญาวรรค – หมวดปัญญา
๓๔๙.นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา. แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี สํ.ส. ๑๕/๕
๓๕๐.ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก สํ.ส. ๑๕/๖๑
๓๕๑.โยคา เว ชายตี ภูริ ปัญญาเพียงดังแผ่นดินย่อมเกิด เพราะความประกอบโดยแท้ ขุ.ธ.๒๕/๕๒
๓๕๒.อโยคา ภูริสงฺขโย ความสิ้นไปแห่งปัญญาเพียงดังแผ่นดินเพราะความไม่ประกอบ ขุ.ธ.๒๕/๕๒
๓๕๓.สุโข ปญฺญาย ปฏิลาโภ การได้เฉพาะซึ่งปัญญานำมาซึ่งความสุข ขุ.ธ. ๒๕/๓๓/๕๙
๓๕๔.ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน สํ.ส. ๑๕/๕๐
๓๕๕.ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย ปัญญาเทียวประเสริฐกว่าทรัพย์ ขุ.เถร.๒๖/๓๘๘/๓๗๙
๓๕๖.นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส ความพินิจไม่มีแก่คนไร้ปัญญา ขุ.ธ. ๒๕/๖๕
๓๕๗.นตฺถิ ปญฺญา อฌายโต ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ ขุ.ธ. ๒๕/๖๕
๓๕๘.ปญฺญา เจนํ ปสาสติ ปัญญาย่อมปกครองคนนั้น สํ.ส. ๑๕/๑๗๕/๕๒
๓๕๙.ปญฺญาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ คนเกียจคร้านย่อมไม่ประสบทางแห่งปัญญา ขุ.ธ. ๒๕/๓๐/๕๒
๓๖๐.สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา สํ.ส. ๑๕/๑๗๕/๕๒
๓๖๑.ปญฺญายตฺถํ วิปสฺสติ คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา อง.สตฺตก. ๒๓/๓
๓๖๒.ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา ขุ.สุ. ๒๕/๓๖๑
๓๖๓.ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลส วทนฺติ คนฉลาดกล่าวว่าปัญญาแล ประเสริฐสุด ขุ.ชา.สตฺตก.๒๗/๕๔๑
๓๖๔.ปญฺญาชีวีชีวิตมาหุ เสฏฺฐํ
ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุด สํ.ส. ๑๕/๕๘, ๓๑๕ ขุ.สุ. ๒๕/๓๖๐
๓๖๕.อทฺธา หิ ปญฺญาว สตํ ปสตฺถา กนฺตา สิรี โภครตา มนุสฺสา
ญาณญฺจ พุทฺธานมตุลฺยรูปํ ปญฺญํ น อจฺเจติ สิรี กทาจิ
แท้จริง สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญปัญญาเท่านั้น ศิริเป็นที่ใคร่ของ คนโง่ เพราะมนุษย์ทั้งหลายยินดีในโภคสมบัติ, ก็ความรู้ของท่านผู้รู้ ทั้งหลาย ใครๆ ชั่งไม่ได้ ในกาลไหนๆ,
คนมีศิริย่อมไม่ล่วงเลยคน มีปัญญาไปได้ ไม่ว่าในกาลไหนๆ (มโหสธโพธิสตฺต) ขุ.ชา.วีส. ๒๗/๔๒๘
๓๖๖.คมฺภีรปญฺหํ มนสาภิจินฺตยํ นจฺจาหิตํ กมฺม กโรติ ลุทฺทํ
กาลาคตํ อตฺถปทํ น ริญฺจติ ตถาวิธํ ปญฺญวนฺตํ วทนฺติ.
ผู้ขบคิดปัญหาอันลึกซึ้งด้วยใจไม่ทำกรรมชั่วอันไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูลเลยไม่ละทางแห่งประโยชน์ที่มาถึงตามเวลาบัณฑิตทั้งหลาย
เรียกคนอย่างนั้นว่าผู้มีปัญญา. (สงฺภงฺคโพธิสตฺต)ขุ.ชา.จตฺตาฬีส.๒๗/๕๔๐.
๓๖๗.ทาโส ว ปญฺญาสฺส ยสสฺสิ พาโล อตฺเถสุ ชาเตสุ ตถาวิเธสุ
ยํ ปณฺฑิโต นิปุณํ สํวิเธติ สมฺโมหมาปชฺชติ ตตฺถ พาโล.
คนเขลามียศศักดิ์ ก็เป็นทาสของคนมีปัญญา, เมื่อเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้น คนฉลาดจัดการข้อใดได้แนบเนียน คนเขลาถึงความงมงายในข้อนั้น. (มโหสธโพธิสตฺต) ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๒๘.
๓๖๘.ปญฺญวนฺตํ ตถาวาทึ สีเลสุ สุสมาหิตํ
เจโตสมถมนุยุตฺตํ ตํ เว วิญฺญุ ํ ปสํสเร.
ผู้รู้ย่อมสรรเสริญคนมีปัญญา พูดจริง
ตั้งมั่นในศีล ประกอบความสงบใจนั้นแล. (มหากสฺสปเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๔๑๑.
๓๖๙.ปญฺญา สุตวินิจฺฉินี ปญฺญา กิตฺติโลกวฑฺฒนี ปญฺญาสหิโต นโร อิธ อปิ ทุกฺเขสุ สุขานิ วินฺทติ.
ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ฟังแล้ว ปัญญาเป็นเครื่องเพิ่มพูนเกีรยติคุณและชื่อเสียง
คนผู้ประกอบด้วยปัญญาในโลกนี้ แม้ในความทุกข์ก็หาความสุขได้. (มหากปฺปินเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๕๐.
๓๗๐.ปญฺญาย ติตฺตีนํ เสฏํ น โส กาเมหิ ตปฺปติ ปญฺญาย ติตฺตํ ปุริสํ ตณฺหา น กุรุเต วสํ
บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญาประเสริฐ
เพราะผู้อิ่มด้วยปัญญานั้น ย่อมไม่เดือดร้อนด้วยกามทั้งหลาย,
คนผู้อิ่มด้วยปัญญาตัณหาย่อมกระทำให้อยู่ในอำนาจไม่ได้. (โพธิสตฺต) ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๘ฅ.
๓๗๑.ส ปญฺญวา กามคุเณ อเวกฺขติ อนิจฺจโต ทุกฺขโต โรคโต จ
เอวํ วิปสฺสี ปชหาติ ฉนฺทํ ทุกฺเขสุ กาเมสุ มหพฺภเยสุ.
ผู้มีปัญญานั้น ย่อมเล็งเห็นกามคุณเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์และเป็นโรคผู้เห็นอย่างนี้ย่อม
ละความพอใจในกามอันเป็นทุกข์ เป็นภัยใหญ่ได้. (สรภงฺคโพธิสตฺต) ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๔๒.
๓๗๒.ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ นกฺขตฺตราชาริว ตารกานํ
สีลํ สิรึ จาปิ สตญฺจ ธมฺโม อนฺวายิกา ปญฺญวโด ภวนฺติ
คนฉลาดกล่าวว่าปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย
แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไปตามผู้มีปัญญา ขุ.ชา. ๒๗/๒๔๖๘/๕๔๑
๓๗๓.ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถํ จรติ อตฺตโน อตฺตโน จ ปเรสญฺจ หึสาย ปฏิปชฺชติ
คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน
ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียน ทั้งตนและผู้อื่น ขุ.ชา. ๒๗/๑๒๒/๔๐
๓๗๔.มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ
ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย
ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย ขุ.ธ. ๒๕/๓๑/๕๓
๒๔.พุทธศาสนสุภาษิต ปกิณณกวรรค - หมวดเบ็ดเตล็ด
๓๗๕.อจินฺติตมฺปิ ภวติ จินฺติตมฺปิ วินสฺสติ น หิ จินฺตามยา โภคา อิตฺถิยา ปุริสสฺส
สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ ย่อมมีได้, สิ่งที่คิดไว้ ก็เสียหายได้,
โภคะของสตรีหรือบุรุษที่สำเร็จได้ด้วยนึกเอาไม่มีเลย. (มหาชนกโพธิสตฺต) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๖๗.
๓๗๖.อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา นตฺถิ กามา ปรํ ทุกฺขํเย กาเม ปฏิเสวนฺติ นิรยนฺเต อุปปชฺชเร.
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ทุกข์อันยิ่งกว่ากามไม่มี
ผู้ใดส้องเสพกาม ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก. (โพธิสตฺต) ขุ. ชา. เอกาทสก. ๒๗/๓๑๕.
๓๗๗.อพฺยาปชฺโฌ สิยา เอวํ สจฺจวาที จ มาณโว อสฺมา โลกา ปรํ โลกํ เอวํ เปจฺจ น โสจติ.
พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) และกล่าวคำสัตย์อย่างนี้
ละไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก. ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๓๓๒.
๓๗๘.อลโส คิหี กามโภคี น สาธุ อสญฺญโต ปพฺพชิโต น สาธุ
ราชา น สาธุ อนิสมฺมการี โย ปณฺฑิโต โกธโน ตํ น สาธุ.
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่ดีบรรพชิตไม่สำรวมก็ไม่ดี,
พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำไม่ดีบัณฑิตมักโกรธก็ไม่ดี (โพธิสตฺต) ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๔๖.
๓๗๙.อสาเร สารมติโน สาเร จาสารทสฺสิโน เต สารํ นาธิคจฺฉนฺติ มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา.
ผู้เข้าใจสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ
เขามีความดำริผิดเป็นโคจร จึงไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ ขุ. ธ. ๒๕/๑๖.
๓๘๐.อตีตํ นานุโสจนฺติ นปฺปชปฺปนฺติ นาคตํ ปจฺจุปฺปนฺเนน ยาเปนฺติ เตน วณฺโณ ปสีทติ.
บุคคลไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ใฝ่หาถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง,
ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเพราะเหตุนั้นผิวพรรณย่อมผ่องใส สํ. ส. ๑๕/๗.
๓๘๑.อวนฏฺฐิตจิตฺตสฺส ลหุจิตฺตสฺส ทุพฺภิโน นิจฺจํ อทฺธุวสีลสฺส สุขภาโว น วิชฺชติ.
เมื่อมีจิตใจไม่หนักแน่น เป็นคนใจเบา มักประทุษร้ายมิตร
มีความประพฤติกลับกลอกเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีความสุข. (สิงฺคิลโพธิสตฺต) ขุ. ชา. จตุกฺก ๒๗/๑๔๒.
๓๘๒.อิตฺถีธุตฺโต สุราธุตฺโต อกฺขธุตฺโต จ โย นโร ลทฺธํ ลทฺธํ วินาเสติ ตํ ปราภวโต มุขํ.
คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน
ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้วๆข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย. สุ. ขุ. ๒๕/๓๔๗.
๓๘๓.อิตฺถี มลํ พฺรหฺมจริยสฺส เอตฺถายํ สชฺชเต ปชาตโป จ พฺรหฺมจริยญฺจ ตํ สินานมโนทกํ
หญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์ ประชาชนนี้ข้องอยู่ในหญิงนี้
ตบะและพรหมจรรย์เป็นเครื่องอาบ ไม่ใช่น้ำ. สํ. ส. ๑๕/๕๒.
๓๘๔.อุปนียติ ชีวิตมปฺปมายุ ํ ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา
เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขามาโน โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข.
ชีวิตคืออายุอันน้อยนี้ ถูกชรานำเข้าไป เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว
ย่อมไม่มีเครื่องต้านทานผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น มุ่งความสงบ พึงละโลกามิสเสีย. สํ. ส. ๑๕/๗๗.
๓๘๕.อุปสนฺโต อุปรโต มนฺตภาณี อนุทฺธโต ธุนาติ ปาปเก ธมฺเม ทุมปตฺตํว มาลุโต.
ผู้สงบ เว้นบาป ฉลาดมาก ไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมขจัดบาปธรรมเสียได้ เหมือนลมกำจัดใบไม้ฉะนั้น. (มหาโกฏฺฐิตเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๒๖๐.
๓๘๖.เอวญฺเจ สตฺตา ชาเนยฺยุ ํ ทุกฺขายํ ชาติสมฺภโว น ปาโณ ปาณินํ หญฺเญ ปาณฆาตี หิ โสจติ.
ถ้าสัตว์พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘ชาติสมภพนี้เป็นทุกข์’
สัตว์ก็ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้ฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศก. (รุกฺขเทวตาโพธิสตฺต) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๖.
๓๘๗.น ปเรสํ วิโลมานิ น ปเรสํ กตากตํ อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย กตานิ อกตานิ จ.
ไม่ควรฟังคำก้าวร้าวของคนอื่น, ไม่ควรมองดูการงานของคนอื่นที่เขาทำแล้วและยังไม่ได้ทำ,
ควรพิจารณาดูแต่การงานของตนที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำเท่านั้น. ขุ. ธ. ๒๕/๒๑.
๓๘๘.ปมาทํ ภยโต ทิสฺวา อปฺปมาทญฺจ เขมโต ภาเวถฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ เอสา พุทฺธานุสาสนี.
เห็นความประมาทเป็นภัย และเห็นความไม่ประมาทเป็นความปลอดภัยแล้ว
พึงเจริญมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นพุทธานุศาสนี. ขุ. จริยา. ๓๓/๕๙๕.
๓๘๙.ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ อปฺปิยานญฺจ ทสฺสนํ ตสฺมา ปิยํ น กยิราถ ปิยาปาโย หิ ปาปโก.
การไม่เห็นสิ่งที่รักเป็นทุกข์ และการเห็นสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์ เหตุนั้น
จึงไม่ควรทำอะไรให้เป็นที่รัก เพราะความพรากจากสิ่งที่รัก เป็นการทราม. ขุ. ธ. ๒๕/๔๓.
๓๙๐.มจฺจุนพฺภาหโต โลโก ปริกฺขิตฺโต ชราย จ หญฺญติ นิจฺจมตฺตาโณ ปตฺตทณฺโฑว ตกฺกโร.
โลกถูกมฤตยูกำจัด ถูกชราล้อมไว้ ไม่มีผู้ต้านทาน ย่อมเดือดร้อนเป็นนิตย์
ดุจคนต้องโทษต้องทำตามอาชญาฉะนั้น. (สิริมณฺฑเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๓๕.
๓๙๑.ยถาปิ มูเล อนุปทฺทเว ทฬฺเห ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปุนเรว รูหติ
เอวมฺปิ ตณฺหานุสเย อนูหเต นิพฺพตฺตติ ทุกฺขมิทํ ปุนปฺปุนํ.
เมื่อรากยังมั่นคงไม่มีอันตราย ต้นไม้แม้ถูกตัดแล้วย่อมงอกได้อีกฉันใด,
เมื่อตัณหานุสัยยังไม่ถูกกำจัดแล้วทุกข์นี้ย่อมเกิดร่ำไป ฉันนั้น. ขุ. ธ. ๒๕/๖๐.
๓๙๓.โย ทุกฺขมทฺทกฺขิ ยโตนิทานํ กาเมสุ โส ชนฺตุ กถํ นเมยฺย
อุปธึ วิทิตฺวาน สงฺโคติ โลเก ตสฺเสว ชนฺตุ วินยาย สิกฺเข.
ผู้ใดเห็นทุกข์ว่าเกิดเพราะกาม, ผู้นั้นจะพึงน้อม (จิต) ไปในกามได้อย่างไร,
ผู้รู้จักอุปธิว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว พึงศึกษาเพื่อกำจัดอุปธิเสีย. สํ. ส. ๑๕/๑๗๐.
๓๙๔.โย เว ตํ สหตี ชมฺมึ ตณฺหํ โลเก ทุรจฺจยํ โสกา ตมฺหา ปปตนฺติ อุทพินฺทุว โปกฺขรา.
ผู้ใดครอบงำตัณหาลามก อันล่วงได้ยากในโลก ความโศกทั้งหลายย่อมตกไปจากผู้นั้น
เหมือนหยาดน้ำตกจากใบบัวฉะนั้น. ขุ. ธ. ๒๕/๖๐.
๓๙๕.สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ.
การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว,
๓ ข้อนี้เป็นคำสั่งสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลาย. ขุ. ธ. ๒๕/๓๙.
๓๙๖.สาธุ ธมฺมรุจี ราชา สาธุ ปญฺญาณวา นโร สาธุ มิตฺตานมทฺทุพฺโภ ปาปสฺสากรณํ สุขํ.
พระราชา ดีที่ทรงยินดีในธรรมคนดีที่มีปัญญา
เพื่อนดีที่ไม่ประทุษร้ายมิตรสุขอยู่ที่ไม่ทำบาป. (โพธิสตฺต) ขุ. ชา. ปญฺญาส. ๒๘/๒๐.
๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์
๓๙๗.สจฺจํ หเว สาธุตรํ รสานํ. ความสัตย์นั่นแล ดีกว่ารสทั้งหลาย. สํ. ส.๑๕/๕๘. ขุ. สุ.๒๕/๓๖๐.
๓๙๘.สจฺจํ เว อมตา วาจา. คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย. สํ. ส. ๑๕/๒๗๘. ขุ. เถร.๒๖/๔๓๔.
๓๙๙.สจฺเจน กิตฺตึ ปปฺโปติ. คนได้เกียรติ (ชื่อเสียง) เพราะความสัตย์. ฃสํ.ส.๑๕/๓๑๖.ขุ.สุ.๒๕/๓๖๑.
๔๐๐.สจฺจมนุรกฺเขยฺย. พึงตามรักษาความสัตย์. ม.อุป. ๑๔/๔๓๖.
๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ
๔๐๑.สติ โลกสฺมิ ชาคโร. สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก. สํ. ส. ๑๕/๖๑.
๔๐๒.สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา. สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง. ว. ว.
๔๐๓.สติมโต สทา ภทฺทํ. คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ. สํ. ส. ๑๕/๓๐๖.
๔๐๔.สติมา สุขเมธติ. คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข. สํ. ส. ๑๕/๓๐๖.
๔๐๕.สติมโต สุเว เสยฺโย. คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน. สํ. ส. ๑๕/๓๐๖.
๔๐๖.รกฺขมาโน สโต รกฺเข. ผู้รักษา ควรมีสติรักษา. ส. ส.

อักษรย่อชื่อคัมภีร์

องฺ. อฏฺฐก. องฺ. จตุกฺก. องฺ. ฉกฺก. องฺ. ติก.
องฺ. ทสก. องฺ. ปญฺจก. องฺ. สตฺตก. ขุ. อิติ.
ขุ. อุ. ขุ. ขุ. ขุ. จริยา. ขุ. จู.
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ขุ. ชา. อสีติ. ขุ. ชา. เอก. ขุ. ชา. จตฺตาฬีส.
ขุ. ชา. จตุกฺก. ขุ. ชา. ฉกฺก. ขุ. ชา. ตึส. ขุ. ชา. ติก.
ขุ. ชา. เตรส. ขุ. ชา. ทฺวาทส. ขุ. ชา. ทสก. ขุ. ชา. ทุก.
ขุ. ชา. นวก. ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ขุ. ชา. ปญฺจก. ขุ. ชา. ปญฺญาส.
ขุ. ชา. มหา. ขุ. ชา. วีส. ขุ. ชา. วีสติ. ขุ. ชา. สฏฺฐิ.
ขุ. ชา. สตฺตก. ขุ. ชา. สตฺตติ. ขุ. เถร. ขุ. เถรี.
ขุ. ธ. ขุ. ปฏิ. ขุ. พุ. ขุ. มหา.
ขุ. วิ. ขุ. เปต. ขุ. สุ. ที. ปาฏิ.
ที. มหา. ม. อุป. ม. ม. วิ. จุล.
วิ. ภิ. วิ. มหา. วิ. มหาวิภงฺค. สํ. นิ.
สํ. มหา. สํ. ส. สํ. สฬ. ส. ม.
ร.ร.๔ ว.ว. ส.ฉ. ส.ส.



เรียบเรียงโดย ภิญโญ งาหอม


อ้างอิง
http://www.dhammalife.com
http://www.old2005.mbu.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น