๑۩۞۩๑ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล๊อกของผมครับ ๑۩۞۩๑

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฏก

นิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฎก

1. นิเทศศาสตร์ (Communication Arts) คือศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องอะไร จงอธิบาย?
- นิเทศศาสตร์ หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่งสาร สาร สื่อ ผู้รับสาร การที่จะทำให้การสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพทุกขั้นตอนเพื่อส่งผลให้บรรลุเป้าหมายของการสื่อสารได้ ดังนั้นนิเทศศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ที่สร้างให้เกิดความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้รับสารกับผู้ส่งสารได้
- นิเทศศาสตร์เป็นศาสตร์ ที่ว่าด้วยศิลปะของการสื่อสารทุกประเภท ทุกระดับ โดยทางใดก็ตามไปยังบุคคลหรือมวลชน ด้วยการใช้เทคนิควิชาการที่มีอยู่ เพื่อช่วยให้การสื่อสารของมนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลอย่างเต็มที่

2.จงให้ความหมายของการสื่อสาร มาพอเข้าใจ ?
- การสื่อสาร จึงมีความหมายและขอบข่ายกว้างมาก ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น ไม่ว่าจากการเห็น การได้ยิน การพูด การสัมผัส การรับรู้ หรือแม้แต่ความคิด ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสาร การนำอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสื่อสาร เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น มาช่วยก็ยิ่งทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดข้อมูลโดยผ่านช่องทางหรือสื่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับเพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

3.จงบอกความสำคัญของการสื่อสาร ตามหัวข้อต่อไปนี้
• ความสำคัญต่อ ความเป็นสังคม
• ความสำคัญต่อ ชีวิตประจำวัน
• ความสำคัญต่อ อุตสาหกรรมและธุรกิจ
• ความสำคัญต่อ การปกครอง
• ความสำคัญต่อ การเมืองระหว่างประเทศ

1. ด้านสังคม การรวมกลุ่มในสังคมทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับประเทศ จะต้องมีการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในเรื่องต่างๆ มีกระบวนการทำให้คนยอมอยู่ในกฎเกณฑ์กติกาของสังคม มีการถ่ายทอดความรู้และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
2. ด้านชีวิตประจำวัน ในชีวิตประจำวันหนึ่งๆ แต่ละคนจะต้องสื่อสารกับตัวเองและสื่อสารกับผู้อื่นตลอดเวลา นับตั้งแต่เวลาตื่นนอนก็ต้องสื่อสารกับตัวเองและคนอื่นที่อยู่ใกล้ตัว การฟังวิทยุ อ่านหนังสือ ออกจากบ้านไปปฏิบัติภารกิจประจำวัน ก็ต้องพบปะบุคคลและเหตุการณ์ต่างๆ ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ต้องทำการสื่อสารอยู่ตลอดเวลา ไม่ในฐานะผู้ส่งสารก็ในฐานะผู้รับสาร หากคนเราขาดความรู้หรือทักษะการสื่อสาร ก็อาจทำให้การปฏิบัติภารกิจประจำวันอาจบกพร่องได้
3. ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้า การประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร การบริหารติดต่อประสานงาน การฝึกอบรมพนักงาน การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการสื่อสาร ฯลฯ กิจการด้านธุรกิจอุตสาหกรรมจะต้องมีการสื่อสารที่ดี จึงจะประสบผลสำเร็จได้
4. ด้านการเมืองการปกครอง กิจกรรมด้านการเมืองการปกครองจะต้องใช้การสื่อสารทุกขั้นตอน เช่น การประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาล การสร้างความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องต่างๆ การบังคับบัญชาสั่งการ การให้บริการประชาชน การชักชวนให้ปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายซึ่งล้วนจะต้องใช้เทคนิควิธีการของการสื่อสารทั้งสิ้น
5. ด้านการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งต้องมีการติดต่อสร้างความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ เช่น การค้า การทหาร การทำสนธิสัญญา ฯลฯ การมีนักการทูตประจำในประเทศต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ มีความจำเป็นต้องใช้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันอยู่เสมอ หากผู้เกี่ยวข้องมีความรู้และทักษะในการสื่อสารเพียงพอ ย่อมสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้

คัดลอกมาจากเอกสาร วิชานิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฏก
(ขอสวงวนลิขสิทธิ์) เพื่อใช้เป็นแนวในการศึกาษาเ่ท่านั้น
เขียนตอบโดย ภิญโญ งาหอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น