นักวิชาการวัฒนธรรมหลายท่านได้ให้คำจำกัดความ คำว่า "วัฒนธรรม" ไว้ดังนี้
1.วัฒนธรรม มีความหมายครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นแบบแผนในความคิด และการกระทำที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง มนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบกฎเกณฑ์วิธีการในการปฏิบัติ การจัดระเบียบตลอดจนความเชื่อ ความนิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการควบคุม และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ (สุพัตรา สุภาพ, 2528)
2. Taylor กล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นส่วนทั้งหมดที่ซับซ้อน ประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม กฎหมาย ประเพณี และความสามารถอื่น ๆ ที่มนุษย์ได้มาในฐานะเป็นสมาชิกของ สังคม
3. Broom และ Zelznick (1969) อธิบายว่า วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคมที่ประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อ ประเพณี และความชำนิชำนาญที่คนเราได้มาในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม
4. Bierstedt, Meehan และ Samuelson (1964) กล่าวว่า วัฒนธรรมคือ ส่วนทั้งหมดอันซับซ้อน ประกอบด้วยทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาคิดและทำในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม
5. คำว่า วัฒนธรรม เป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ธรรม เป็นต้นเหตุให้เจริญ หรือธรรมคือความเจริญมีใช้เป็นหลักฐานทางราชการ ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2543 เรียกว่า พระราช บัญญัติบำรุงวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2543 กับฉบับที่ 2 เมื่อ พุทธศักราช 2485 (สุชีพ ปุญญานุภาพ, 2500)
6. คำว่า วัฒนธรรม ตามที่กล่าวมาเป็นคำสมาสระหว่างภาษาบาลีกับสันสกฤต เพราะคำว่า วัฒน มาจาก คำบาลีว่า วฑฺฒน ซึ่งแปลว่า เจริญ งอกงาม
ส่วนคำว่า "ธรรม" มาจากภาษาสันสฤตว่า ธรฺม (ใช้ในรูปภาษาไทย-ธรรม) เขียนตาม รูปบาลีล้วน ๆ คือ "วฑฺฒนธมฺม" หมายถึง ความดี ซึ่งหากแปลตามรากศัพท์คือ สภาพ อันเป็นความเจริญงอกงาม หรือลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงาม
นอกจากนี้ คำว่า วัฒนธรรมตรง กับภาษาอังกฤษว่า culture และคำว่า culture นี้มีที่มาจากภาษาฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสเองเอามาจากภาษาละติน คือ cultura อีกต่อหนึ่ง
7. ในหนังสือ Encyclopedia of Social Science หน้า 621 ได้อธิบายคำว่า วัฒนธรรม (Culture) ว่า เป็นคำที่ใช้ในวิชามานุษยวิทยาสมัยใหม่ (Modern Anthropology) และในทางด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) หมายถึง มรดกของสังคม (Social Heritage) เป็นลักษณะเฉพาะในการดำรงชีวิต ของกลุ่มคนที่มาอยู่ร่วมกัน และได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เจริญตามยุคสมัย (อ้างใน สุพัตรา สุภาพ, 2528)
8. ส่วนความหมายของวัฒนธรรมในภาษาไทยนั้น ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 ได้ให้ความหมายไว้ดังต่อไปนี้
"วัฒนธรรม" หมายถึง ลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบ ความกลมเกลียว ก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน (เป็นการชี้ชวน เชิญชวน วิงวอนให้ประชาชนร่วมกัน ทำให้เกิดความเจริญงอกงาม ให้มีความดีงามขึ้น ไม่ใช่เพียงแต่รับมรดกกันมา แต่จะต้องรักษาของเดิมที่ดี แก้ไขดัดแปลงของเดิมที่ควรแก้ หรือดัดแปลงวางมาตรฐานความดีความงามขึ้นใหม่ แล้วส่งเสริมให้เป็น
ลักษณะที่ดีประจำชาติสืบต่อไปจนถึงอนุชนรุ่นหลัง
9. คำว่า "วัฒนธรรม" ถอดศัพท์มาจาก "culture" ของภาษาอังกฤษ ซึ่งมี รากศัพท์มาจาก "cultura" ในภาษาละติน มีความหมายว่า การเพาะปลูกหรือการปลูกฝัง อธิบายได้ว่ามนุษย์เป็นผู้ปลูกฝังอบรมบ่มนิสัยให้เกิดความเจริญงอกงาม
"วัฒนธรรม" เป็นคำสมาส คือการรวมคำสองคำเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ "วัฒนะ" ซึ่งมีความหมายทั่วไปว่า เจริญงอกงาม รุ่งเรือง "ธรรม" ซึ่งในที่นี้หมายถึง กฎ ระเบียบหรือข้อปฏิบัติ เพราะฉนั้นเมื่อพูดถึงคำว่า "วัฒนธรรม" ในความหมายทั่วไป หมายถึงความเป็นระเบียบ ความมีวินัย เช่นเมื่อพูดถึงบุคคลหนึ่งว่า "เป็นคนมีวัฒนธรรม" ก็มักหมายความว่าเป็นคนมีระเบียบวินัย เป็นต้น
"วัฒนธรรม" เป็นศัพท์ทางวิชาการ (Technical Vocabulary) ซึ่งในทรรศนะของสังคมวิทยา หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต กระสวนแห่งพฤติกรรม และบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ และความรู้ เป็นต้น
10. พระยาอนุมานราชธนได้ อธิบายคำว่า วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรนหรือผลิตขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตมนุษย์ในส่วนรวมที่ถ่ายทอดกันได้เลียนแบบกันได้ เอาอย่างกันได้
11.วัฒนธรรม คือ สิ่งอันเป็นผลผลิตของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณี กันมา
วัฒนธรรม คือการคิดเห็น ความรู้สึก ความประพฤติและกิริยาอาการ หรือการกระทำใด ๆ ของมนุษย์ ในส่วนรวม ลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกันและสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา ศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบ ประเพณี เป็นต้น
วัฒนธรรม คือ มรดกแห่งสังคมซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม (อานนท์ อาภาภิรม, 2525)
12. "วัฒนธรรม" ในความหมายทางสังคมวิทยา คือ วิถีการดำเนินชีวิตและกระสวนแห่ง พฤติกรรม และบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ ความรู้ เป็นต้น
ลักษณะที่ดีประจำชาติสืบต่อไปจนถึงอนุชนรุ่นหลัง
9. คำว่า "วัฒนธรรม" ถอดศัพท์มาจาก "culture" ของภาษาอังกฤษ ซึ่งมี รากศัพท์มาจาก "cultura" ในภาษาละติน มีความหมายว่า การเพาะปลูกหรือการปลูกฝัง อธิบายได้ว่ามนุษย์เป็นผู้ปลูกฝังอบรมบ่มนิสัยให้เกิดความเจริญงอกงาม
"วัฒนธรรม" เป็นคำสมาส คือการรวมคำสองคำเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ "วัฒนะ" ซึ่งมีความหมายทั่วไปว่า เจริญงอกงาม รุ่งเรือง "ธรรม" ซึ่งในที่นี้หมายถึง กฎ ระเบียบหรือข้อปฏิบัติ เพราะฉนั้นเมื่อพูดถึงคำว่า "วัฒนธรรม" ในความหมายทั่วไป หมายถึงความเป็นระเบียบ ความมีวินัย เช่นเมื่อพูดถึงบุคคลหนึ่งว่า "เป็นคนมีวัฒนธรรม" ก็มักหมายความว่าเป็นคนมีระเบียบวินัย เป็นต้น
"วัฒนธรรม" เป็นศัพท์ทางวิชาการ (Technical Vocabulary) ซึ่งในทรรศนะของสังคมวิทยา หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต กระสวนแห่งพฤติกรรม และบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ และความรู้ เป็นต้น
10. พระยาอนุมานราชธนได้ อธิบายคำว่า วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรนหรือผลิตขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตมนุษย์ในส่วนรวมที่ถ่ายทอดกันได้เลียนแบบกันได้ เอาอย่างกันได้
11.วัฒนธรรม คือ สิ่งอันเป็นผลผลิตของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณี กันมา
วัฒนธรรม คือการคิดเห็น ความรู้สึก ความประพฤติและกิริยาอาการ หรือการกระทำใด ๆ ของมนุษย์ ในส่วนรวม ลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกันและสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา ศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบ ประเพณี เป็นต้น
วัฒนธรรม คือ มรดกแห่งสังคมซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม (อานนท์ อาภาภิรม, 2525)
12. "วัฒนธรรม" ในความหมายทางสังคมวิทยา คือ วิถีการดำเนินชีวิตและกระสวนแห่ง พฤติกรรม และบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ ความรู้ เป็นต้น
"วัฒนธรรม" ตามความหมายของพระราชบัญญัติแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน (หน่วยศึกษานิเทศก์, กรมการฝึกหัดครู, 2520)
13. วัฒนธรรม หมายถึง ความเจริญงอกงาม ซึ่งเป็นผลจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ จำแนกออกเป็น 3 ด้าน คือ จิตใจ สังคม และวัตถุ มีการสั่งสมและ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง จนกลายเป็นแบบแผนที่สามารถ เรียนรู้และก่อให้เกิดผลิตกรรมและผลิตผล ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม อันควรค่าแก่การวิจัย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ถ่ายทอด เสริมสร้างเอตทัคคะ และแลกเปลี่ยน เพื่อสร้างดุลยภาพแห่งความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม และธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอย่างมีสุข สันติสุข และอิสรภาพ อันเป็นพื้นฐานแห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2535)
14. วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิตของคนในสังคม เป็นแบบแผนประพฤติปฏิบัติและการแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิด ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถเข้าใจ ซาบซึ้ง ยอมรับและใช้ปฏิบัติร่วมกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้น ๆ (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2535)
15. วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามแก่หมู่คณะ วิถีชีวิตของหมู่คณะ ในพระราชบัญญัติวัฒนธรรม พุทธศักราช 2485 หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน ทางวิทยาการ หมายถึง พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิต สร้างขึ้นด้วยกัน เรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525)
16. วัฒนธรรม ตามความหมายที่พระเทพเวที (ประยุทธ์ ประยุตฺโต) ให้ไว้ในการ ปฐกถาพิเศษ เนื่องใน งานฉลอง 100 ปี พระยาอนุมานราชธน เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2531 คือ วัฒนธรรมเป็นผลรวมของ การสั่งสมสร้างสรรค์ภูมิธรรมภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาของสังคมนั้น ๆ หรือกล่าวสั้น ๆ ได้ว่า วัฒนธรรมคือ ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ที่สังคมนั้นมีอยู่หรือเนื้อตัวทั้งหมดของสังคมนั่นเอง (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2532)
17. วัฒนธรรมเป็นผลงานด้านต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นโดยผ่านการคัดเลือกปรับปรุงและยึดถือสืบทอด กันมาจนถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมเป็นทั้งลักษณะนิสัยของคนหรือกลุ่มคนในชาติ ลัทธิความเชื่อ ภาษา ขนบธรรมเนียม อาหารการกิน เครื่องใช้ไม้สอย ศิลปะต่าง ๆ และการประพฤติปฏิบัติในสังคม
วัฒนธรรมเป็นมรดกสังคมที่คนในชาติรับไว้ และจะต้องวิวัฒนาการต่อไปในอนาคต
วัฒนธรรมไทยเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย เป็นรากฐานของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและของการสร้างสรรค์ความมั่นคงของชาติ
วัฒนธรรมแสดงศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ และความภูมิใจร่วมกันของคนไทย (คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ จัดทำหนังสือเกี่ยวกับประเทศไทยสำหรับเยาวชน ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ, 2525)
18. "วัฒนธรรม" เป็นคำที่เกิดขึ้นในภาษาไทย ในสมัยที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้มองเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ คำเดิมภาษาอังกฤษ คือ "Culture" ในตอนแรก "พระมหาหรุ่น" แห่งวัดมหาธาตุได้แปลคำนี้ว่า "ภูมิธรรม" แต่กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเล็งเห็นว่า คำว่า "ภูมิธรรม" มีความหมายค่อนข้างคงที่ พระองค์ท่านทรงมีความประสงค์ให้คำนี้มีความหมายในลักษณะเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงทรงแปลใหม่เป็น "วัฒนธรรม" และมีการนำมาใช้สืบต่อมาตลอดสมัยที่ประเทศไทยมีกระทรวงวัฒนธรรมและคงใช้อยู่ในปัจจุบัน (วีระ บำรุงรักษ์, ระบบการจัดวัฒนธรรมและคุณภาพมาตรฐาน, มปป.)
19. วัฒนธรรม คือ ส่วนประกอบที่สลับซับซ้อนทั้งหมดของลักษณะอันชัดเจนของจิตวิญญาณ วัตถุ สติปัญญาและอารมณ์ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นสังคมหรือหมู่คณะ วัฒนธรรมมิได้หมายถึงเฉพาะเพียงศิลปะและวรรรกรรมเท่านั้น แต่หมายถึงฐานนิยมต่าง ๆ ของชีวิต สิทธิพื้นฐานต่าง ๆ ของมนุษย์ ระบบค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อ (วีระ บำรุงรักษ์, 2525)
20. วัฒนธรรม หมายถึง ความดี ความงาม และความเจริญในชีวิตมนุษย์ ซึ่งปรากฏในรูปธรรมต่าง ๆ และได้ตกทอดมาถึงเราในปัจจุบัน หรือว่าที่เราได้ปรับปรุงและสร้างสรรค์ขึ้นในสมัยของเราเอง (สาโรช บัวศรี, 2531)
21. คำว่า Culture หมายถึง แบบอย่างการดำรงชีวิตของกลุ่ม ซึ่งสมาชิกเรียนรู้ ถ่ายทอดกันไปด้วยการสั่งสอนอบรมทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือหมายความง่าย ๆ ว่าแบบแผนชีวิตความเป็นอยู่ของชนกลุ่มหนึ่งในขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น (พัทยา สายหู, ม.ป.ป.)
22. วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิตการปฏิบัติและสิ่งของที่เป็นผลมาจากการสะสมถ่ายทอดจากกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งไปสู่รุ่นถัด ๆ ไป เพื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์ หรือเครื่องบ่งชี้ความเป็นกลุ่มชนของกลุ่ม บุคคลนั้น ๆ (โกวิท ประวาลพฤกษ์, ม.ป.ป.)
23. วัฒนธรรม หมายถึง การรวมของพฤติกรรมแห่งวิถีชีวิตของกลุ่มมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้และได้ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นหลังต่อ ๆไป ทั้งนี้โดยอาศัยสัญลักษณ์และการเรียนเป็นสื่อ (ระดม เศรษฐีธร, ม.ป.ป.)
24. วัฒนธรรม หมายความว่า ลักษณะที่แสดงถึง ความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีงามของประเทศ (พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485)
25. วัฒนธรรม เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ธรรมเป็นเหตุให้เจริญหรือธรรมคือความเจริญ (พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485)
26. วัฒนธรรม คือวิถีชีวิตซึ่งมนุษย์ทำให้เจริญขึ้น เพื่อสนองความต้องการอันเป็นมูลฐานที่มีต่อ ความดำรงอยู่รอด ความถาวรแห่งเชื้อสายและการจัดระเบียบแห่งประสบการณ์
27. วัฒนธรรม คือ
(1) การให้เจริญขึ้น โดยการศึกษาวิจัยฝึกหัด เป็นต้น
(2) การเข้าใจแจ่มแจ้ง และการทำให้ประณีตขึ้นซึ่งรสนิยมอันได้มาจากการฝึกหัดทางสติปัญญา และทางสุนทรียภาพ
(2) การเข้าใจแจ่มแจ้ง และการทำให้ประณีตขึ้นซึ่งรสนิยมอันได้มาจากการฝึกหัดทางสติปัญญา และทางสุนทรียภาพ
(3) ขั้นที่กำหนดความหมายแห่งความเจริญก้าวหน้าในอารยธรรมหรือรูปลักษณะเช่นนั้น เช่น วัฒนธรรมกรีก วัฒนธรรมเยอรมัน เป็นต้น
28. วัฒนธรรม คือ สิ่งที่ทำให้กาย ใจของเราในส่วนรวมคือ ประเทศชาติมีความ งอกงามอยู่ดีกินดี หรือกล่าวย่อ ๆ ตามรูปคำ ได้แก่ ธรรมอันเป็นความเจริญ วัฒนธรรมหรือวิถีชีวิต หรือทางดำเนินแห่ง ชีวิตของสังคมหมู่หนึ่ง หรือประเทศหนึ่ง โดยมุ่งเฉพาะ (นอ.สมภพ ภิรมย์ รน.,ม.ป.ป.)
29. วัฒนธรรมได้แก่ สิ่งอันเป็นวิถีชีวิตของสังคมโดยส่วนรวมจะคิดเห็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร มีความ เชื่อถืออย่างไร ก็แสดงออกได้ปรากฏเป็นรูปภาษา ประเพณี กิจการงาน การเล่น การศาสนา เป็นต้น ตลอดจนเป็นสิ่งต่าง ๆ ที่คนในส่วนรวมสร้างขึ้น สิ่งอันจำเป็น แห่งวิถีชีวิตของการครองชีพ มีเรื่องปัจจัยสี่ เครื่องมือเครื่องใช้เหล่านี้ เป็นต้น
30. วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต (Way of life) หรือรูปแบบแห่งพฤติกรรม (Behavior patterns) และบรรยายผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ได้แก่ ศาสนา ปรัชญา ภาษา กฎหมาย การปกครอง ศิลปวิทยาการ เครื่องใช้ต่างๆ ฯลฯ ซึ่งมีการส่งต่อและสืบทอดติดต่อกันมา (เสาวณีย์ จิตต์หมวด, ม.ป.ป.)
31. วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือผลิตขึ้นสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีของส่วนรวม ถ่ายทอดกันไว้ เอาอย่างกันไว้ รวมทั้งผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา ตลอดจนความรู้สึก ความคิดเห็น และกิริยาอาการ หรือการกระทำใดๆ ของมนุษย์ในส่วนรวมลงรูปเป็นพิมพ์
เดียวกัน และสำแดงออกมาได้ปรากฏเป็นภาษา ศิลปะ ความเชื่อ ระเบียบประเพณี เป็นต้น (พระยาอนุมานราชธน, ม.ป.ป.)
32. วัฒนธรรม คือ เครื่องแสดงความเจริญและเอกลักษณ์ของชาติ ประชาชนในชาติที่เจริญแล้วทั้งหลาย จึงมีความภาคภูมิใจช่วยปกป้องรักษาวัฒนธรรมของชาติตน เพื่อให้เอกลักษณ์ของชาติดำรงอยู่ (สมาน แสงมะลิ, ม.ป.ป.)
33. วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิตโดยส่วนรวมของประชาชนกลุ่มหนึ่ง (A TOTAL WAY OF A PEOPLE) (สนิท สมัครการ, ม.ป.ป.)
34. วัฒนธรรม คือ วิถีดำเนินชีวิตทุกด้านของคนทั้งมวลในสังคม ซึ่งหมายถึงวิธีการกระทำสิ่งต่างๆ ทุกอย่าง ทั้งหมดทั้งสิ้น นับตั้งแต่วิธีกิน วิธีอยู่ วิธีแต่งกาย วิธีทำงาน วิธีพักผ่อน วิธีแสดงอารมณ์ วิธีสื่อความ วิธี จราจร และขนส่ง วิธีอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ตลอดจนวิธีแสดงทางความสุขทางใจและหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิตทั้ง เครื่องใช้ หรือวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อการเหล่านั้น ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไม่ว่าสิ่งของ เหล่านั้นจะเป็นสิ่งของที่นำมาจากธรรมชาติหรือคิดค้นประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ก็ตาม (เฉลียว บุรีภักดี, ม.ป.ป.)
35. วัฒนธรรม คือ แนวทางแห่งการแสดงออกวิถีชีวิตทั้งปวงซึ่งอาจเริ่มจากเอกชนหรือคณะบุคคลคิดขึ้น หรือกระทำขึ้นเป็นต้นแบบ แล้วต่อมาคณะส่วนใหญ่ของกลุ่มชนยอมรับมา สืบทอดจนกระทั่งสิ่งนั้นๆ ส่งผล ให้เกิดเป็นนิสัยในการคิด การเชื่อถือ และการกระทำของคนส่วนใหญ่แห่งกลุ่มชนนั้นๆ (สุทธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์, ม.ป.ป.)
36. วัฒนธรรม คือ สิ่งทั้งหมดที่มีลักษณะซับซ้อน ซี่งได้รวมเอาความรู้ ความเชื่อ จริยธรรม กฎหมาย สมรรถภาพ และนิสัยที่บุคคลได้ไว้ฐานะที่เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคม (Akcuff, Allen and Taylor, 1973)
37. วัฒนธรรม หมายถึง พฤติกรรมทั้งมวลของมนุษย์อันเกิดจากการเรียนรู้ และพฤติกรรมนั้นถูกกำหนด จากประเพณี (Herkovits, 1952)
38. วัฒนธรรม หมายถึง รูปแบบของพฤติกรรมอันเกิดจากการเรียนรู้ (Linton, 1945)
39. วัฒนธรรม หมายถึงวิถีชีวิตของบุคคลกลุ่มหนึ่งเป็นลักษณะรวมของพฤติกรรม พฤติกรรมเหล่านั้นเกิดจาก การเรียนรู้ และมีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง (Barnouw, 1964)
40. วัฒนธรรม หมายถึงวิถีชีวิตที่คนในสังคมดำเนินตาม (Valentine, 1968)
41. ความหมายของ"วัฒนธรรม" ตามแนวทางในการรักษาส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรม พ.ศ. 2529
วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิตมนุษย์
1. วัฒนธรรมเป็นวิถีการดำเนินชีวิตของสังคม เป็นแบบแผนการประพฤติปฏิบัติและการแสดงออกซึ่งความรู้สึก นึกคิดในสถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถแก้ไขและซาบซึ้งร่วมกัน ดังนั้น วัฒนธรรมไทย คือวิถีชีวิตที่คนไทยได้สั่งสม เลือกสรร ปรับปรุงแก้ไข จนถือว่าเป็นสิ่งดีงามเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและ ได้ใช้เป็นเครื่องมือ หรือเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในสังคม
2. วัฒนธรรม คือ มรดกแห่งสังคม ซึ่งสังคมปรับปรุงและรักษาไว้ให้เจริญ งอกงามวัฒนธรรมเกิดขึ้นจากการ ประพฤติปฏิบัติร่วมกัน เป็นแนวเดียวกันอย่างต่อเนื่องของสมาชิกในสังคมสืบทอดเป็นมรดกทางสังคมต่อกัน มาจากอดีต หรืออาจเป็นสิ่งประดิษฐ์คิดค้นสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ หรืออาจรับเอาสิ่งที่เผยแพร่มาจากสังคมอื่นๆ ทั้งหมดนี้หากสมาชิกยอมรับและยึดถือเป็นแบบแผนประพฤติปฏิบัติร่วมกัน ก็ย่อมถือว่าเป็นวัฒนธรรมของ สังคมนั้น
3. วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือสร้างขึ้น เพื่อความเจริญ งอกงาม
42. วัฒนธรรม ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขและกาลเวลา เมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ วิธีใหม่ ที่ใช้แก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่า ย่อมทำให้สมาชิกของสังคมเกิดความนิยม และในที่สุดอาจเลิกใช้วัฒนธรรมเดิม การจะรักษาวัฒนธรรมเดิมไว้ได้จึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือ พัฒนาวัฒนธรรมนั้นให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพตามยุคสมัย (อ้างใน นิคม มูสิกะคามะ, 2539)
43. วัฒนธรรม เป็นวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมเป็นแบบแผนการประพฤติปฏิบัติและการแสดงออกซึ่ง ความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถเข้าใจและซาบซึ้งร่วมกัน ดังนั้น วัฒนธรรมไทยคือ วิถีชีวิตที่คนไทยได้สั่งสม เลือกสรร ปรับปรุง แก้ไข จนถือกันว่าเป็นสิ่งดีงามเหมาะสม กับสภาพแวดล้อม และได้ใช้เป็นเครื่องมือหรือเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในสังคม
วัฒนธรรมเกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัติร่วมกัน เป็นแนวเดียวกันอย่างต่อเนื่องของสมาชิกในสังคม มีการสืบทอดเป็นมรดกทางสังคมต่อกันมาจากอดีตหรืออาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ คิดค้นสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ หรือ อาจรับเอาสิ่งที่เผยแพร่มาจากสังคมอื่น ทั้งหมดนี้หากสมาชิกยอมรับ และยึดถือเป็นแบบแผนประพฤติ ปฏิบัติร่วมกันก็ย่อมถือว่าเป็นวัฒนธรรมของสังคมนั้น
วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขและกาลเวลา เมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ วิธีใหม่ ที่ใช้แก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่า ย่อมทำให้สมาชิกของสังคมเกิดความนิยม และในที่สุดอาจเลิกใช้วัฒนธรรมเดิม การจะรักษาวัฒนธรรมเดิมไว้จึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือ พัฒนาวัฒนธรรมนั้นให้เหมาะสมมีประสิทธิภาพตามยุคสมัยวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชนในสังคมใหญ่ ย่อมมีเนื้อหา รูปแบบ บทบาท และหน้าที่แตกต่างกันไป หากว่า ความแตกต่างนั้นไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคมโดยส่วนรวมแล้ว ก็สมควรให้กลุ่มชนทั้งหลายมีโอกาส เรียนรู้วัฒนธรรมของกันและกัน สภาพความแตกต่างเช่นนี้เป็นธรรมชาติของวัฒนธรรม
วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุง หรือผลิตสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีแห่งชีวิต ของส่วนรวม วัฒนธรรม คือ วิถีแห่งชีวิตของมนุษย์ในส่วนรวม ที่ถ่ายทอดกันได้ เรียนกันได้เอาอย่างกันได้วัฒนธรรม คือ ความคิดเห็นความรู้สึกความประพฤติและกิริยาอาการหรือการกระทำใด ๆ ของมนุษย์ในส่วน รวมลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกัน และสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษาศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบประเพณี เป็นต้น
วัฒนธรรม คือ มรดกแห่งสังคมซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ, 2531)
44. วัฒนธรรม หมายถึง ความดี ความงามและความจริงในชีวิตมนุษย์ซึ่งปรากฏในรูปแบบต่าง ๆ และได้ตกทอดมา ถึงเราในสมัยปัจจุบัน หรือว่าที่เราได้ปรับปรุงและสร้างสรรค์ขึ้นในสมัยของเรา
ที่ว่าปรากฏในรูปแบบต่าง ๆ นั้น หมายถึงที่ปรากฏในรูปแบบของศิลปกรรม มนุษยศาสตร์ การช่างฝีมือ การกีฬา และนันทนาการ และคหกรรมศาสตร์ รวม 5 ประการ แต่จะตี ความหมายให้กว้างขวางออกไปกว่านี้อีก เช่น รวม เอาที่ปรากฏอยู่ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาไว้ด้วย ก็คงจะทำได้เพราะทั้งสองอย่างนี้ มีความสำคัญ อย่างมากในชีวิตมนุษย์ในสมัยปัจจุบัน (สาโรช บัวศรี, 2531)
45. วัฒนธรรม หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าว หน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชนทางวิทยาการ หมายถึง พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
โดย สรุป วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต (The way of life) ของคนในสังคม นับตั้งแต่วิธีกิน วิธีอยู่ วิธี แต่งกาย วิธีทำงาน วิธีพักผ่อน วิธีแสดงอารมณ์ วิธีสื่อความ วิธีจราจรและขนส่ง วิธีอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ วิธี แสดงความสุขทางใจ และหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิต โดยแนวทางการแสดงออกถึงวิถีชีวิตนั้นอาจเริ่มมาจาก เอกชนหรือคณะบุคคลทำเป็นตัวแบบ แล้วต่อมาคนส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติสืบต่อกันมา วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลง ไปตามเงื่อนไขและกาลเวลาเมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ วิธีใหม่ที่ใช้แก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่า ซึ่งอาจทำให้สมาชิกของสังคมเกิดความนิยม และในที่สุดอาจเลิกใช้วัฒนธรรมเดิม ดังนั้นการรักษาหรือธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมเดิมจึงต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาวัฒนธรรมให้ เหมาะสมมีประสิทธิภาพตามยุคสมัย...
ความหมายของวัฒนธรรม
มนุษย์สร้างวัฒนธรรมขึ้นมาเพื่อประโยชน์แห่งการดำรงชีวิตและการสืบทอดเผ่าพันธุ์ ในเมื่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นเรื่องที่กว้างใหญ่และมีแง่มุมต่างๆ ให้พิจารณาอย่างซับซ้อน เรื่องของวัฒนธรรมจึงสามารถมองได้หลายแง่มุมไปด้วย มีผู้ให้ความหมายคำว่า "วัฒนธรรม" ต่างๆ กัน(ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้นิยามความหมายของวัฒนธรรม ไว้ ๔ นัย)ดังนี้คือ
๑. สิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามแก่หมู่คณะ
๒. วิถีชีวิตของหมู่คณะ
๓. ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีของประชาชน
๔. พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้นด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ประทานคำอธิบายไว้ว่า
วัฒนธรรม หมายถึง ความเจริญในทางวิชาความรู้ เช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปวิทยา วรรณคดี ศาสนา ตลอดจนขนบธรรมเนียม ประเพณีและจรรยามารยาท
วัฒนธรรมเป็นมรดกแห่งสังคม มีทั้งส่วนจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เช่น กวีนิพนธ์ ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการก่อร่างสร้างความประพฤติปฎิบัติของประชาชาติ
วัฒนธรรมเป็นมรดกแห่งสังคม มีทั้งส่วนจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เช่น กวีนิพนธ์ ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการก่อร่างสร้างความประพฤติปฎิบัติของประชาชาติ
พระยาอนุมานราชธน (๒๕๓๒: ๔๕ - ๔๘) ได้ให้บทนิยาม คำ "วัฒนธรรม"ว่า วัฒนธรรม
คือ" สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือผลิตสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีแห่งชีวิตของส่วนรวม ถ่ายทอดกันได้ เอาอย่างกันได้
คือผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา
คือความรู้สึก ความคิดเห็น ความประพฤติ และกิริยาอาการ หรือการกระทำใดๆ ของมนุษย์ในส่วนรวมลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกัน และสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา. ศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบ
ประเพณี เป็นต้น
คือมรดกแห่งสังคม ซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม เป็นผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา"
พระเทพเวที ( ประยุทธ์ ปยุตโต) ได้อธิบายความหมายของวัฒนธรรมเมื่อคราวแสดงปาฐกถาพิเศษ ๑๐๐ ปี ของพระยาอนุมานราชธน เรื่อง " วัฒนธรรมกับการพัฒนา" ไว้เป็นหลายนัยอย่างน่าพิจารณา ดังนี้
- วัฒนธรรม เป็นผลรวมของการสั่งสมสิ่งสร้างสรรค์และภูมิธรรมปัญญา ที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาของสังคมนั้นๆ
- วัฒนธรรม เป็นการสั่งสมประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ภูมิธรรมภูมิปัญญาทั้งหมดที่ได้ช่วยให้มนุษย์ในสังคมนั้นๆ อยู่รอด และเจริญสืบต่อได้ และเป็นอยู่อย่างที่เป็นในบัดนี้
- วัฒนธรรม คือผลรวมของทุกสิ่งซึ่งเป็นความเจริญงอกงามที่สังคมนั้นๆ ได้ทำไว้ หรือได้สั่งสมมาจนถึงบัดนี้
วัฒนธรรม เป็นทั้งสิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามสืบมา และเป็นเนื้อตัวของความเจริญงอดกงามที่มีอยู่ ซึ่งจะเป็น
พื้นฐานของความเจริญงอกงามต่อไปตลอดจนเป็นเครื่องวัดระดับความเจริญงอกงามของสังคมนั้นๆ
ในเอกสารของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้แสดงความหมายของวัฒนธรรมไว้ต่างกัน เช่น
วัฒนธรรม เป็นวิธีการดำเนินชีวิตของสังคม เป็นแบบแผนการประพฤติและการแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถเข้าใจและชาบชึ้งร่วมกันยอมรับและใช้ปฏิบัติร่วมกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้นๆ
วัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ที่เกิดจากระบบความสัมพันธ์ระหว่ามนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ วัฒนธรรมมีทั้งสาระและรูปแบบที่เป็นระบบความคิด วิธีการ โครงสร้างของสังคม สถาบัน ตลอดจนแบบแผนและทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น