๑۩۞۩๑ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล๊อกของผมครับ ๑۩۞۩๑

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประเพณีและวัฒนธรรมไทยของภาคเหนือ

ประเพณีและวัฒนธรรมไทยของภาคเหนือ
ภาคเหนือ
         เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย พื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทย มีอาณาเขตติดกับประเทศพม่า จีน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทางด้านการปกครอง ภาคเหนือประกอบด้วยจังหวัดต่าง ๆ 15 จังหวัด คือ พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และแม่ฮ่องสอน (สนิท สมัครการ 2520:2)
ทั้ง 15 จังหวัดนี้แม้จะรวมกันเรียกว่าภาคเหนือ ก็ยังมีลักษณะเฉพาะที่ต่างกันอยู่บ้าง เช่น กลุ่มพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย กำแพงเพชร มักเรียกว่าภาคกลางตอนบน เพราะวัฒนธรรมมีส่วนคล้ายกับภาคกลาง จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีวัฒนธรรมที่มีลักษณะเป็นกลุ่มไทยใหญ่ผสมกับพม่า เพชรบูรณ์ ลักษณะโน้มไปทางภาคอีสาน
ที่เป็นกลุ่มวัฒนธรรมภาคเหนือจริง ๆ คือ จังหวัดลำปาง ลำพูน เชียงใหม่เชียงราย พะเยา กลุ่มจังหวัดดังกล่าวนี้เรียกว่า คนเมือง หรือ ยวน หรือ ไทยยวนซึ่งหมายถึงโยนก ส่วนจังหวัดแพร่ และน่าน ก็มีลักษณะของตัวเองเช่นเดียวกัน
ภาคเหนือในด้านประวัติศาสตร์
           เดิมคนไทยแยกกันอยู่เป็นกลุ่ม ๆ กระจัดกระจายอยู่ในแหลมอินโดจีน ชาวไทยที่อยู่ทางภาคเหนือจะตั้งบ้านเรือนอยู่พื้นที่ราบระหว่างเขา เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คนไทยที่อยู่ทางเหนือมีการสร้างบ้านแบ่งเมือง มีกษัตริย์ปกครองสืบมา ที่ปรากฏชัดเจนคือ อาณาจักรน่านเจ้าอยู่บริเวณแคว้นยูนนานของจีน อาณาจักรนี้ถูกจีนตีแตกเมื่อ พ.ศ. 1796 (กองวัฒนธรรม 2539:41) หลังจากนั้นอาณาจักรเชียงแสนซึ่งเริ่มตั้งเมืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 ก็เริ่มขยายเป็นอาณาจักรขึ้นแทน ครั้นถึงพุทธศตวรรษที่ 18 คนไทยกลุ่มใหญ่ที่สุดก็รวมตัวกันตั้งบ้านเมืองแยกเป็น 3 อาณาจักรชัดเจน คือ อาณาจักรเชียงแสนอยู่ทางภาคเหนือ อาณาจักรสุโขทัยอยู่ภาคกลางและภาคใต้ อาณาจักรล้านช้างคือดินแดนฝั่งตะวันออกแม่น้ำโขง ปัจจุบันคือประเทศลาวและภาคอีสานของไทย
พญามังรายผู้ก่อตั้งอาณาจักรล้านนา    พญามังรายเป็นโอรสของพญาลาวเมง และนางอั้วมิ่งจอมเมือง (นางเทพคำข่ายหรือคำขยาย) ธิดาท้าวรุ่งแก่นชายเมืองเชียงรุ่ง พญามังรายครองเมืองเงินยาง พ.ศ.1804 ต่อมาขยายอาณาเขตและยึดเมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูน) ได้ราว พ.ศ. 1835 สร้างเวียงกุมกามราว พ.ศ. 1837 แต่พื้นที่ตั้งเมืองเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วม จึงสร้างเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.1839 เชียงใหม่จึงเป็นศูนย์กลางแห่งอาณาจักรล้านนาต่อมา (สรัสวดี อ๋องสกุล 2539:101-107)
อาณาจักรล้านนามีวิวัฒนาการแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
1.สมัยสร้างอาณาจักร (พ.ศ.1839-1898) เริ่มจากพญามังรายสร้างเมือง รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในแอ่งเชียงรายและขยายอำนาจลงสู่แอ่งเชียงใหม่ ลำพูน โดยรวบรวมเมืองสำคัญไว้ ได้แก่ เชียงราย เชียงแสน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา และมีการส่งราชบุตรไปครองเมืองเชียงตุง เมืองนาย เป็นต้น มีกษัตริย์ปกครองต่อกัน 5 พระองค์ จนถึงสมัยพญาผายู
2.สมัยอาณาจักรล้านนารุ่งเรือง (พ.ศ.1898-2068) เริ่มตั้งแต่สมัยพญากือนาจนถึงสมัยพญาแก้ว เป็นระยะเวลา 170 ปี ความเจริญสูงสุด คือ สมัยของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.1984-2030) สมัยนี้ได้รับยกย่องว่าเป็นยุคทองแห่งล้านนาไทย ได้ขยายอาณาเขตถึงเมืองแพร่ เมืองน่าน แผ่อิทธิผลถึงรัฐฉาน และเมืองหลวงพระบางด้วย ด้านพุธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง มีการสังฆายนาพระไตรปิฏก ครั้งที่ 8 ของโลก
3.สมัยอาณาจักรล้านนาเสื่อมและสลาย (พ.ศ.2068-2101) เริ่มตั้งแต่สมัยพญาเกศเชษฐราชจนตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าเป็นเวลา 33 ปี ครั้น พ.ศ. 2101 สมัยท้าวแม่กุ บุเรนองก็ยึดเชียงใหม่ จากนั้นล้านนาก็ตกอยู่ใต้อำนายพม่าถึง 200 ปีเศษ จนถึง พ.ศ.2317 สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เชียงใหม่จึงเป็นเมืองประเทศราชของไทย ต่อมาหัวเมืองทางภาคเหนือก็เป็นจังหวัดต่าง ๆของราชอาณาจักรไทย และมีความเจริญก้าวหน้าตามลำดับจนถึงปัจจุบัน หลังจากพญาแก้ว อาณาจักรล้านนาก็ตกอยู่ในอำนาจของพม่า

อาณาจักรล้านนาแบ่งการปกครองออกได้ ดังนี้
1.บริเวณเมืองราชธานี ได้แก่เมืองเชียงใหม่ ลำพูน อำนาจสิทธิขาดเป็นของพระมหากษัตริย์ เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ
2.เมืองที่ปกครองโดยข้าหลวง หรือเจ้านายเชื้อพระวงศ์ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับเมืองหลวงอย่างใกล้ชิด แต่เจ้าเมืองก็มีสิทธิ์และเป็นอิสระในการจัดการปกครองบ้านเมือง
3.เมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกล เจ้าเมืองยอมรับความด้อยกว่า โดยส่งบรรณาการมาให้เมืองใหญ่ แสดงความผูกพันซึ่งกันและกัน
ส่วนการปกครองบังคับบัญชาแบ่งยศชั้นเป็นพันนา ซึ่งหมายถึง การแบ่งผืนดินเป็นเมืองต่าง ๆ เช่น เชียงราย 32 พันนา พะเยา 36 พันนา ฝาง 5 พันนา ผู้ครองพันนามียศเป็น หมื่นนาล่ามนา พันนาหลัง และแสนนา ส่วนพื้นที่ปกครองที่เล็กกว่า คือ ปากนา ปากนาหนึ่งมีคน 500 หลังคาเรือน (สรัสวดี อ๋องสกุล 2538:154-159) การควบคุมแบบพันนานี้จะควบคุมใน 2 ลักษณะ คือ ควบคุมให้มีการส่งส่วยแก่เมืองที่สังกัด และควบคุมการเกณฑ์แรงงาน เมืองจะเกณฑ์ได้ทั้งในยามปรกติและในยามสงคราม ดังนั้นการควบคุมจึงหมายถึงให้ผู้มีตำแหน่งดูแลควบคุมไพร่ด้วย

วัฒนธรรมในด้านต่างๆของชาวเหนือ
วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวล้านนา
      คนไทยในอาณาจักรล้านนามีชีวิตและความเป็นอยู่โดยการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา หุบเขา มีพื้นที่ราบจำนวนน้อย คือ ประมาณ1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ชาวบ้านทำนาแบบนาทดน้ำ พื้นที่สูงปลูกข้าวไร่ พื้นที่ที่ราบในแอ่งเขาอุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าว และพืชอื่น ๆ ได้ดี คือ พื้นที่ราบแอ่งเชียงใหม่ ลำพูน และแอ่งเชียงราย ส่วนลำปาง แพร่ น่าน ผลิตข้าวได้น้อย ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบผลิตเพื่อให้พออยู่พอกิน การติดต่อค้าขายระหว่างกันก็จะเป็นประเภทวัวต่าง สินค้ามีของป่า เกลือ ผ้า อัญมณี เป็นต้น ส่วนการค้าขายในหมู่บ้านก็จะมี กาดมั่วใครมีของอะไรก็นำมาวางขายได้
         คนไทยภาคเหนือนิยมปลูกบ้านอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่บ้าน หากพื้นที่ใดอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำนา มีแม่น้ำไหลผ่าน ก็จะมีหมู่บ้านตั้งเป็นระยะ ๆ เรื่อยไปตามแม่น้ำ ลักษณะบ้านจะเป็นบ้านไม้ยกสูง มีใต้ถุนโล่ง เป็นที่เก็บของเครื่องมือทำเกษตร และเป็นที่ทำงานหรือพักผ่อนยามว่างได้ด้วย บ้านของชาวเหนือนิยมมุงกระเบื้องหรือชาวบ้านเรียกว่าดินขอ หรือบางครั้งก็มุงด้วยแผ่นไม้สักซึ่งทำเป็นแผ่นเล็ก ๆ แต่โตกว่าแผ่นกระเบื้อง แผ่นไม้สักนี้จะทนแดดทนฝน ถ้าคัดเลือกไม้อย่างดีจะอยู่ได้เกิน 50 ปีขึ้นไปเลยทีเดียว
     ถัดจากบ้านก็จะเป็นยุ้งข้าวขนาดใหญ่เล็กตามฐานะ นอกจากนั้นก็จะมีสัตว์เลี้ยง เช่น ไก่ เป็ด วัว ควาย ม้า ถัดบ้านก็เป็นสวนผลไม้ซึ่งรวมถึงพืชผักที่ใช้ประกอบอาหารด้วย
   ชาวล้านนามีลักษณะเหมือนคนไทยทั่วไป แต่เป็นเชื้อสายไทยยวน หรือโยนก คนล้านนาเองเรียกคนกลุ่มเดียวกันว่า คนเมืองลักษณะเด่นกว่าคนไทยกลุ่มอื่นคือ ผิวค่อนข้างขาว รูปร่างสันทัดไม่สูง ไม่เตี้ยเกินไป ส่วนใหญ่รูปร่างผอมบาง มีภาษาที่เป็นภาษาถิ่นของตัวเอง หรือที่เข้าใจกันว่า คำเมืองภาษาไทยเหนือมีระบบตัวอักษรบันทึกที่เรียกว่า อักษรล้านนาบันทึกเรื่องราวทางพุทธศาสนา คัมภีร์ต่าง ๆ ตลอดจนกฎหมายและความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน อักษรล้านนานี้ดัดแปลงมาจากอักษรมอญเดิม มีอายุรุ่นเดียวกับอักษรพ่อขุนรามคำแหง หรืออาจเก่ากว่านั้นอีก
อาชีพของคนภาคเหนือ
          ชาวเหนือส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ การทำนาส่วนใหญ่จะเป็นนาดำ ที่ลุ่มมาก ๆ จึงทำนาหว่าน คนเหนือปลูกข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะบริโภคข้าวเหนียว ข้าวเหนียวภาคเหนือถือเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี นึ่งสุกแล้วขาวสะอาด อ่อนและนิ่มน่ารับประทาน ข้าวพันธ์ที่มีชื่อเสียง คือ ข้าวสันป่าตอง นอกจากทำนาแล้วยังปลูกพืชไร่อื่น ๆ เช่น หอม กระเทียม ถั่ว ยาสูบ เป็นต้น นอกจากปลูกข้าวแล้ว อาชีพทำสวนก็เป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะทำสวนลำไย และลิ้นจี่ นอกจากจะขายให้คนไทยได้รับประทานแล้ว ยังส่งขายต่างประเทศอีกด้วย
         ยังมีอาชีพอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวเหนือ คือ การทำเมี่ยง ชาวเหนือชอบกินหมากและอมเมี่ยง โดยเอาใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนมาหมักให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักนานได้ที่ เวลาจะเอาใบเมี่ยงมาอม ก็ผสมเกลือเม็ดหรือของกินอย่างอื่นแล้วแต่ชอบ
         นอกจากการอมเมี่ยง คนล้านนาทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือ และยาวเกือบคืบ ชาวบ้านเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า ขี้โยหรือบุหรี่ขี้โยที่นิยมสูบกันมากอาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น
        นอกจากอาชีพเกษตรกรรม ชาวเหนือยังประกอบอาชีพอื่น อาจเรียกได้ว่าเป็นหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ได้ คือ ผู้หญิงจะทอผ้าเมื่อเสร็จจากการทำนา นอกจากนั้นยังมีการแกะสลัก การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน และการทำเครื่องเหล็ก เป็นต้น
การแต่งกาย
        การแต่งกายของคนภาคเหนือที่เป็นชาวบ้านทั่วไป ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า เตี่ยวหรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน
        สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึงตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน เรื่องการแต่งกายนี้ หญิงชาวเหนือจะแต่งตัวให้สวยงามอยู่เสมอ ชาวเหนือถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ จนถึงกับมีคำสุภาษิตของชาวเหนือสั่งสอนสืบต่อกันมาเลยว่า
ตุ๊กบ่ได้กิน                บ่มีไผตามไฟส่องต้อง
ตุ๊กบ่ได้นุ่งได้ย่อง       ปี้น้องดูแควน
        ทุกข์(จน)ไม่มีจะกิน (อิ่มหรือหิว) คนไม่รู้ (ไม่มีใครเอาไฟมาส่องดูในท้องได้) ทุกข์(จน)เพราะไม่มีอะไรมาแต่งตัว (คนเห็น) ญาติพี่น้องดูถูกเอาได้
อุปนิสัย
        คนไทยภาคเหนือเป็นคนรักสงบ มีนิสัยสุภาพอ่อนโยน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ที่สำคัญคือ ให้การต้อนรับทุกคนเป็นอย่างดี หากใครเดินผ่าน เขาจะทักทายปราศรัย พูดคุย หากใครไปที่บ้านก็จะให้การต้อนรับเป็นอย่างดี โดยเฉพาะสตรีชาวเหนือ หากใครทักทายก็จะทักทายพูดคุยด้วยไมตรีเสมอวัฒนธรรมเช่นนี้บางครั้งอาจทำให้คนต่างถิ่นเกิดความเข้าใจผิดได้
อาหารการกิน
คนไทยทางภาคเหนือนิยมรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลักทั้ง 3 มื้อ ส่วนกับข้าวก็จะเป็นพวกเนื้อสัตว์ (เนื้อวัว เนื้อควาย หมู ไก่ ปลา) อาหารทะเลมีน้อยมาก และยังมีความเชื่อว่าถ้ากินอาหารทะเลจะผิดผญาด คือ เป็นโรคผิดสำแดง หรือ แสลง ผักต่าง ๆ ถั่วต่าง ๆ ลักษณะการประกอบอาหารก็จะมีทั้งชนิดแห้งและน้ำ เช่น ลาบ ลู่ ไส้อั่ว ชิ้นหมู เอาะ แกงฮังเล แกงอ่อม แกง โฮะ แกงผักกาดจอ เป็นต้นมีอาหารชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านต้องมีไว้ประจำครัวเรือน เรียกว่า ถั่วเน่าคือ ถั่วเหลืองที่นำไปหมักแล้วนำมาทำเป็นแผ่นบาง ๆ แบน และทำเป็นแผ่นกลม ๆ พอนำไปตากแดดแห้งแล้วจะนำมาร้อยเป็นพวงด้วยตอกไม้ไผ่ นำไปเก็บไว้ในครัว ถั่วเน่าจะนำไปผสมลงในแกงหรืออาหารอย่างอื่นได้หลายอย่างที่จริงการใช้ถั่วเหลืองมาประกอบอาหารกินเป็นประจำนั้นถือว่าถูกต้องและเป็นความฉลาดของคนภาคเหนือ เพราะถั่วเหลืองนอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารสูงแล้วยังให้พลังงานสูงด้วย
ยังมีอาหารอีกชนิดหนึ่งที่ควรกล่าวไว้ คือ ลู่ ซึ่งเป็นประเภทอาหารคาวและยังดิบ ๆ อยู่ ลู่ คือลาบทางภาคเหนือแต่มีเลือดผสมด้วย ลู่ทำจากเนื้อหมู วัว ควาย นำมาสับให้ละเอียด ผสมด้วยเครื่องเทศ มีเครื่องในสัตว์หั่นเป็นชิ้น ๆ ผสมลงไปด้วยก็ได้ รสจะเปรี้ยว เค็ม เผ็ด รสร้อนแรง นิยมกินกับเหล้า และมีผักต่าง ๆ มาแกล้ม ทางภาคอีสานลักษณะคล้ายกัน เรียกว่า ลาบเลือด แต่มีลักษณะเหลว ไม่ข้นเหมือนลู่ทางภาคเหนือ
ประเพณีวัฒนธรรม ศาสนาและความเชื่อ
        คนภาคเหนือก็เหมือนกับคนไทยส่วนใหญ่ ความเชื่อแต่เดิมก็เชื่อเรืองผีเช่นเดียวกัน แต่ละบ้าน แต่ละตระกูลก็จะมีผีประจำบ้าน ประจำตระกูล ดังนั้น แต่ละหมู่บ้านหรือแต่ละบ้านก็มีประเพณีเลี้ยงผี เช่น ผีปู่ย่า ผีมด ผีเมง ผีเสื้อเมือง เป็นต้น เมื่อพุทธศาสนาแพร่มายังภาคเหนือ คนไทยภาคเหนือก็รับเอาพุทธศาสนาเป็นสรณะ ชาวเหนือเป็นพุทธมามกะที่ดีและปฏิบัติศาสนกิจเคร่งครัดมาก แทบทุกหมู่บ้านจะมีวัดประจำหมู่บ้าน พ่อแม่ที่มีลูกชายจะนิยมให้ลูกชายบวชเรียน และนิยมให้ลูกชายบวชเณร ที่แม่ฮ่องสอน เรียกว่า ประเพณีบวชลูกแก้ว เมื่อลูกชายย่างเข้า 9 ปี พ่อแม่ถือลูกชายยังบริสุทธิ์ผุดผ่อง เหมาะที่จะบวช จึงทำพิธีบวชลูกแก้ว พิธีนี้จัดกันอย่างใหญ่โต แต่ละครอบครัวที่มีลูกชายวัยเดียวกันมักจะนัดมาบวชพร้อมกัน มีการแต่งตัวให้นาคอย่างงดงามเหมือนเครื่องทรงกษัตริย์ เมื่อเข้าขบวนแห่ก็ให้ขึ้นหลังม้ากางสัปทน (ร่ม) จัดขบวนแห่อย่างสวยงามไปบวชที่วัด เมื่อบวชเป็นเณรก็เรียนหนังสือศึกษาพุทธศาสนาที่วัด พออายุได้ประมาณ 19 ปีก็ลาสิกขา แล้วจะมีคำนำหน้าว่า น้อยเช่น น้อยไชยา ส่วนผู้ที่บวชเป็นพระต่อถ้าสึกออกมาเป็นฆราวาสก็จะมีคำนำหน้าว่า หนาน เช่น หนานโฮะ หนานอินตา เป็นต้น
ศิลปและดนตรี
        คนภาคเหนือมีชีวิตอยู่กับธรรมชาติจึงมีจิตใจอ่อนโยน เป็นคนมีนิสัยรักความงาม รักศิลปะและดนตรี ด้านศิลปะนับว่ามีความชำนาญเป็นเยี่ยม ชายชาวเหนือมีฝีมือด้านช่างเป็นเยี่ยม งานศิลปะเด่น ๆ เช่น งานปูนปั้น งานแกะสลักไม้ การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน ล้วนแสดงให้เห็นถึงฝีมือทางด้านศิลปะที่งดงามยิ่ง
        ทางด้านดนตรีและการละเล่นก็จะมีวงดนตรีที่เรียกว่า วงสะล้อ ซอ ซึง ส่วนการฟ้อนก็จะมีฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน การละเล่นพื้นบ้านก็มีการจ้อย การซอ (ลักษณะคล้ายหมอลำทางภาคอีสาน) ซึ่งแสดงเป็นเรื่องราว แสดงการขับเกี้ยวพาราสีกัน การแสดงซอพื้นเมืองจะปรากฏให้เห็นตามงานเทศกาลทั่วไป ปัจจุบันแม้จะลดน้อยลงไปบ้าง แต่ก็ยังเป็นที่นิยมกันอยู่
        คนไทยทางภาคเหนือนิยมรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลักทั้ง 3 มื้อ ส่วนกับข้าวก็จะเป็นพวกเนื้อสัตว์ (เนื้อวัว เนื้อควาย หมู ไก่ ปลา) อาหารทะเลมีน้อยมาก และยังมีความเชื่อว่าถ้ากินอาหารทะเลจะผิดผญาด คือ เป็นโรคผิดสำแดง หรือ แสลง ผักต่าง ๆ ถั่วต่าง ๆ ลักษณะการประกอบอาหารก็จะมีทั้งชนิดแห้งและน้ำ เช่น ลาบ ลู่ ไส้อั่ว ชิ้นหมู เอาะ แกงฮังเล แกงอ่อม แกง โฮะ แกงผักกาดจอ เป็นต้น
        มีอาหารชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านต้องมีไว้ประจำครัวเรือน เรียกว่า ถั่วเน่าคือ ถั่วเหลืองที่นำไปหมักแล้วนำมาทำเป็นแผ่นบาง ๆ แบน และทำเป็นแผ่นกลม ๆ พอนำไปตากแดดแห้งแล้วจะนำมาร้อยเป็นพวงด้วยตอกไม้ไผ่ นำไปเก็บไว้ในครัว ถั่วเน่าจะนำไปผสมลงในแกงหรืออาหารอย่างอื่นได้หลายอย่าง
         ที่จริงการใช้ถั่วเหลืองมาประกอบอาหารกินเป็นประจำนั้นถือว่าถูกต้องและเป็นความฉลาดของคนภาคเหนือ เพราะถั่วเหลืองนอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารสูงแล้วยังให้พลังงานสูงด้วย
     ยังมีอาหารอีกชนิดหนึ่งที่ควรกล่าวไว้ คือ ลู่ ซึ่งเป็นประเภทอาหารคาวและยังดิบ ๆ อยู่
         ลู่ คือลาบทางภาคเหนือแต่มีเลือดผสมด้วย ลู่ทำจากเนื้อหมู วัว ควาย นำมาสับให้ละเอียด ผสมด้วยเครื่องเทศ มีเครื่องในสัตว์หั่นเป็นชิ้น ๆ ผสมลงไปด้วยก็ได้ รสจะเปรี้ยว เค็ม เผ็ด รสร้อนแรง นิยมกินกับเหล้า และมีผักต่าง ๆ มาแกล้ม ทางภาคอีสานลักษณะคล้ายกัน เรียกว่า ลาบเลือด แต่มีลักษณะเหลว ไม่ข้นเหมือนลู่ทางภาคเหนือ
ประเพณียี่เป็ง
ประเพณี "ยี่เป็ง" เป็นประเพณีลอยกระทงตามประเพณีล้านนาที่จัดทำขึ้นในวันเพ็ญเดือน 2 ของชาวล้านนา เป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือ คำว่า "ยี่" แปลว่า สอง และคำว่า "เป็ง" ตรงกับคำว่า "เพ็ญ" หรือพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งชาวไทยในภาคเหนือจะนับเดือนทางจันทรคติเร็วกว่าไทยภาคกลาง 2 เดือน ทำให้เดือนสิบสองของไทยภาคกลาง ตรงกับเดือนยี่ เดือน 2 ของไทยล้านนา  ประเพณียี่เป็งจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ ซึ่งถือว่าเป็น "วันดา"  หรือวันจ่ายของเตรียมไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ครั้นถึงวันขึ้น 14 ค่ำ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยและผู้มีศรัทธาก็จะพากันไปถือศีล ฟังธรรม และทำบุญเลี้ยงพระที่วัด มีการทำกระทงขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด  ในกระทงนั้นจะใส่ของกินของใช้ ใครจะเอาของมาร่วมสมทบด้วยก็ได้เพื่อเป็นทานแก่คนยากจน ครั้นถึงวันขึ้น 15 ค่ำ จึงนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็ก ๆ ของส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ  ในงานบุญยี่เป็งนอกจากจะมีการปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่าง ๆ แล้ว ยังมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน และถนนหนทางด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อยทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา พอตกกลางคืนก็จะมีมหรสพและการละเล่นมากมาย มีการแห่โคมทอง พร้อมกับมีการจุดถ้วยประทีป (การจุดผาง  ปะติ๊ด)  เพื่อบูชาพระรัตนตรัย การจุดบอกไฟ การจุดโคมไฟประดับตกแต่งตามวัดวาอาราม และการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ประเพณีลอยโคม
งานประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อย โคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว
ประเพณีแห่สลุงหลวง
           ประเพณีที่งดงามของชาวล้านนาจังหวัดลำปางที่จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ในงานจะมีการแห่ลุงหลวงหรือขันน้ำตามประเพณีโบราณไปรอบเมือง เพื่อรับน้ำขมิ้นส้มป่อยจากประชาชนไปสรงแด่พระแก้วดอนเต้า พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
ประเพณีแข่งเรือล้านนา
           ประเพณีแข่งเรือล้านนาจะถูกจัดขึ้น ณ ลำน้ำน่านทุกปี ในระยะ    หลังเทศกาลออกพรรษา ประมาณปลายเดือนตุลาคมหรือต้นเดือนพฤศจิกายน นอกจากเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงและเพื่อเชื่อม ความสามัคคีแล้วยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี การแข่งเรือแบบล้านนาในงานจะมีการแข่งขันเรือหลายประเภทคือ เรือใหญ่ เรือกลาง และเรือสวยงาม โดยเรือที่เข้าแข่งขันทุกลำต้องแต่งหัวเรือเป็นรูปพญานาค เพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของเรือแข่งจังหวัดน่าน นอกจากนั้นจะมีการตีฆ้อง ล่องน่าน-ตีตานแข่งเรือ ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของจังหวัด

ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย

           ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย จะจัดขึ้นในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (เหนือ) ซึ่งจะตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ทางภาคกลางชาวบ้านจะพากันเดินทางมาสรงน้ำเพื่อสักการะพระธาตุหริภุญชัย ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยน้ำที่นำมาสรงองค์พระธาตุนั้น ชาวลำพูนมักขึ้นไปตักจากบ่อน้ำทิพย์บนยอดดอยขะม้อ  ซึ่งชาวลำพูนเชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์  วัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1700 ในรัชสมัยพระเจ้าอาทิตยราช ส่วนสถูปสุวรรณเจดีย์ในบริเวณเดียวกันนั้น สร้างโดยพระนางปทุมวดี  พระมเหสีของพระเจ้าอาทิตยราช
ประเพณีบูชาอินทขีล
           เป็นประเพณีประจำปีของชาวเชียงใหม่ที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้านผสมผสานความเชื่อถือผีดั้งเดิมและพุทธศาสนาที่เข้ามาภายหลังเพื่อเป็นการสรงน้ำเสาหลักเมืองและสรงน้ำถวายพระเจ้าฝนแสนห่าองค์ประธานในพิธีและเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจของผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมาแต่เดิมในยามบ่ายจะพากันเตรียมดอกไม้เครื่องบูชามาจัดเรียงใส่ในตะกร้าเพื่อทำการใส่ขันดอกหรือการถวายดอกไม้บูชาอินทขีลที่บริเวณหน้าวิหารของวัดเจดีย์หลวง ซึ่งจะประดิษฐาน พระเจ้าฝนแสนห่า ไว้ให้ประชาชนบูชาเป็นการชั่วคราวหลัง จากการแห่ไปตามถนนในเมืองเชียงใหม่ก่อนกลับวัดเจดีย์หลวงเพื่อประกอบพิธีสรงน้ำ ใส่ขันดอกเมื่อเสร็จพิธีก็จะมีมหรสพสมโภชเช่นเดียวกับงานบุญอื่น ๆ
ประเพณีเลี้ยงผี
              เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวเมืองลำปาง โดยจะจัดให้มีขึ้นระหว่างเดือน 6 เหนือ จนถึงเดือน 8 ของทุกๆ ปี เพื่อทำพิธีเซ่นสรวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อถึงวันทำพิธี ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวและญาติมิตรก็จะนำเครื่องอุปโภคบริโภคไปถวายผีบรรพบุรุษของตน  โดยจะทำพิธีแยกออกเป็น 2 แบบ คือการเลี้ยงผีผู้ที่ตายไปแล้ว โดยการฟ้อนรำอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "ผีมด" และ"ผีเม้ง"

ประเพณีปอยส่างลอง
         ประเพณี "ปอยส่างลอง" หรือ "ประเพณีบวชลูกแก้ว"  เป็นประเพณีประจำปีของชาวไต  หรือไทยใหญ่เกือบทั้งหมดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเพณีนี้เป็นการนำเด็กชายที่มีอายุครบบวช เขาบรรพชาเป็นสามเณร เพื่อกล่อมเกลาให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีต่อไป
         คำว่า "ปอยส่างลอง" เป็นภาษาไทยใหญ่ ซึ่งสามารถแยกศัพท์ออกได้คือ " ปอย " แปลว่า งานหรือพิธีการ " ส่าง " หมายถึง สามเณร ส่วน "ลอง"  แปลว่า ยังไม่ได้เป็น  ฉะนั้นเมื่อนำมารวมกันจะหมายถึงพิธีการเตรียมตัวเป็นสามเณรนั่นเอง  
          กระบวนการของปอยส่างลอง จะเริ่มขึ้นเมื่อมีการชักชวนกันของชาวบ้านที่มีลูกหลานอายุครบบวช โดยจะมีการคัดเลื่อกเจ้าภาพใหญ่ ซึ่งจะเป็นแม่งานในการจัดงาน ซึ่งมักจะเป็นคหบดีหรือผู้กว้างขวางในสังคมโดยเจ้าภาพจะมีหน้าที่ในการร่วมกันกำหนดขั้นตอนของพิธีการต่างๆ                      
         ส่วนเด็กที่มีอาจุครบบวชจะถูกนำตัวไปอยู่วันเพื่อเรียนรู้วัตรปฏิบัติสำหรับการเป็นสามเณรก่อนพิธีการประมาณ 20 วัน ส่วนผู้ใหญ่ก็จะวางกำหนดการวันประกอบพิธีการซึ่งจะแบ่งเป็น 3 วัน คือ วันรับส่างลองไปฝึกวัตรปฏิบัติที่วัดกลับมาประกอบพิธีการที่บ้านเจ้าภาพ  วันที่สองเป็นวันแห่เครื่องไทยทานและเรียกขวัญส่างลอง (คล้าย ๆ กับการทำขัวญนาค) ซึ่งจะประกอบด้วยขบวนแห่ฟ้อนรำแบบไทยใหญ่ ขบวนมโหรี ขบวนแห่เครื่องไทยทาน เครื่องอัฐบริขาร เทียนเงินเทียนทอง เป็นต้น ซึ่งส่างลองจะถูกตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับที่สวยงาม  และจะขี่คอผู้ช่วยที่เรียกกันว่า "ตาแปส่างลอง" ตลอดการเดินทาง และวันที่สามเป็นวันบรรพชา ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากการบรรพชาในส่วนอื่น ๆ ของประเทศเท่าใดนัก

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ
               การบายศรีสู่ขวัญ  เป็นประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาวเหนือและชาวอีสาน คำว่า  "ขวัญ" ในที่นี้หมายถึง สิ่งที่ไม่มีตัวตน แต่เป็นสิ่งที่มีอำนาจซ่อนเร้น  เชื่อกันว่ามีอยู่ประจำในตัวบุคคลและสัตว์เพราะฉะนั้น ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ ก็คือการรับขวัญ เรียกขวัญ ของผู้ที่จากบ้านไปไกล ด้วยเวลาอันยาวนาน หรือผู้ที่เพิ่งหายป่วยไข้ให้มาอยู่กับเนื้อกับตัว พร้อมกับทำพิธีอวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุข มีอายุมั่นขวัญยืนตลอดจนถึงเป็นการแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งในวงราชการ และเป็นการต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือน เครื่องบายศร หรือ เครื่องเชิญขวัญและรับขวัญ จะทำด้วยใบตองรูปคล้ายกระทงเป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ จำนวน 3 ชั้น 5 ชั้น หรือ 9 ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรีมีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชามบายศรีใหญ่ เป็นต้น
ประเพณีรดน้ำดำหัว
              ประเพณีรดน้ำไหว้ผู้ใหญ่ เป็นประเพณีของไทยอันสืบเนื่องมาจากประเพณีงานสงการนต์ หรือ    วันขึ้นปีใหม่ของไทย ที่แสดงออกถึงความเคารพนบนอบต่อผู้ใหญ่หรือผู้ที่เคารพนับถือ และผู้มีพระคุณ    เพื่อแสดงความกตัญญู พร้อมกับการขอขมา และขอรับพรเพื่อเป็นสิริมงคล แก่ตัวเองเนื่องในวันสำคัญ เช่น    วันขึ้นปีใหม่หรือวันสงกรานต์ของไทยในเดือนเมษายน
         "การดำหัว" ก็คือการรดน้ำนั่นเอง    แต่เป็นคำเมืองทางเหนือการดำหัวเรียกกันเฉพาะการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ    ผู้สูงอายุ   หรือผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง เช่น พ่อเมือง เจ้าเมือง เป็นต้น เป็นการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปหรือการขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่
         สิ่งที่ต้องนำไปในการรดน้ำดำหัวก็คือ น้ำใส่ขันเงินใบใหญ่ ในน้ำใส่ฝักส้มป่อย โปรยเกสรดอกไม้และเจือน้ำหอม  น้ำปรุงเล็กน้อยพร้อมด้วยพานข้าวตอกดอกไม้เป็นเครื่องสักการะอีกพานหนึ่ง
         การรดน้ำดำหัวมักจะไปกันเป็นหมู่ โดยจะถือเครื่องที่จำดำหัวไปด้วย เมื่อขบวนรดน้ำดำหัวไปถึงบ้าน    ท่านเจ้าของบ้านก็จะเชื้อเชิญให้เข้าไปในบ้าน    พอถึงเวลาที่รดน้ำท่านผู้ใหญ่ก็จะสรรหาคำพูดที่ดีที่เป็นสิริมงคลและอวยพรให้กับผู้ที่มารดน้ำดำหัว
         ปัจจุบันนี้พิธีรดน้ำดำหัวในจังหวัดต่าง ๆ ทางเหนือมักจะจัดเป็นพิธีใหญ่ บางแห่งมีการจัดขบวนแห่  มีการฟ้อนรำประกอบ เช่น พิธีรดน้ำดำหัวในจังหวัดเชียงใหม่ และ เชียงราย เป็นต้น

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
ช่วงเวลา เทศกาลสารทไทยตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
ความสำคัญ
ประเพณี อุ้มพระดำน้ำ เป็นประเพณีที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับอภินิหารของพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองคือพระ พุทธมหาธรรมราชา ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันมานานว่า เมื่อประมาณ สี่ร้อยปี ที่แล้ว พระพุทธมหาธรรมราชา เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญของเมืองเพชรบูรณ์ ได้หายไปจากวัด ที่ประดิษฐานอยู่ ซึ่งก็คือวัดไตรภูมิ ในวันที่หายก็คือวันสารทไทย จากนั้นชาวบ้านก็ช่วยกันออกตามหา และได้พบพระพุทธมหาธรรมราชา ที่วังน้ำวน ที่ซึ่งเคยพบ พระพุทธมหาธรรมราชา เป็นครั้งแรกและได้ อันเชิญมาเป็นพระพุทธรูป ประจำจังหวัด ดังนั้นพอถึงวันสารทไทย ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ จึงได้พร้อมใจกันจัดงานอุ้มพระดำน้าขึ้น เพื่อเป็นสิริมงคล แก่จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยบุคคลที่จะเป็น ผู้ที่อุ้มพระดำน้ำ ได้นั้น ต้องเป็นเจ้าเมืองเพชรบูรณ์หรือผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์เท่านั้น
พระพุทธรูปที่จะใช้ในการประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำ ก็คือ พระพุทธมหาธรรมราชา ซึ่งเป็นพระพุทธรูป ศิลปะสมัยลพบุรี เนื้อองค์พระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความกว้างของหน้าตัก 13 นิ้วและมีความสูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ
พิธีกรรม
1. จัด ให้มีการตั้งศาลเพียงตาแล้วอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชามาประทับ ทำพิธีสวดคาถา โดยพราหมณ์ผู้ทำพิธีนุ่งขาวห่มขาวแล้วอัญเชิญขึ้นบนบุษบกให้ประชาชนได้กราบ ไหว้บูชาและมีงานฉลองสมโภช
2. จัด ให้มีพิธีอุ้มพระดำน้ำในตอนเช้าหลังทำบุญสารทโดยมีขบวนเรือแห่ นำไปโดยผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อถึงบริเวณวัดโบสถ์ชนะมาร เจ้าเมืองพร้อมข้าราชบริพารจะอุ้มพระลงดำน้ำ โดยหันหน้าองค์พระไปทิศเหนือ 3 ครั้ง ทิศใต้ 3 ครั้ง ชาวบ้านจะโปรยข้าวตอก ดอกไม้และข้าวต้มกลีบ เมื่อดำน้ำเสร็จชาวบ้านจะตักน้ำรดศีรษะและรดกันเองเพื่อเป็นสิริมงคล
สาระ  ชาวบ้านเชื่อว่าถ้าทำพิธีอุ้มพระดำน้ำแล้วจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
วัฒนธรรมประเพณีพม่าในล้านนาไทย
ตลอดระยะเวลาที่พม่าปกครองล้านนาไทยเป็นเวลาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๐๑ ถึง พ.ศ. ๒๓๑๗ นั้น พม่าได้นำเอาวัฒนธรรมประเพณีของตนเข้ามาเผยแพร่ในล้านนา ไทยหลายด้าน ทั้งด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ความเชื่อ การแต่งกาย อาหาร ฯลฯ ทางด้านศิลปกรรม โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น เจดีย์ในเชียงใหม่หลาย วัดสร้างตามแบบเจดีย์พม่า ประเพณีการสร้างรูปสิงห์ตามวัดต่างๆ นิยมสร้างตาม ประเพณีพม่า ด้านปติมากรรมพบพระพุทธรูปแบบพม่าในวัดต่างๆ ในล้านนาไทยทั่วไป การที่คนล้านนาไทยนิยมบวชเณรมากกว่าบวชพระภิกษุนั้น เป็นประเพณีนิยมของพม่า อย่างหนึ่งเช่น การนิยมสักตามร่างกายเป็นประเพณีของพม่า ซึ่งคนพม่าถือว่าเด็กผู้ชายของพม่าจะถือว่าเป็น ฟ หนุ่มต่อเมื่อได้สักตามร่างกายแล้ว โดยสักเป็นรูปสัตว์ต่างๆ และเชื่อว่าทำให้คง 1 กระพัน ประเพณีการสักนี้ พม่านำเข้ามาใช้ในล้านนาไทยด้านศาสนา พม่าได้เอา 4 พุทธศาสนาหีนยานแบบพม่า เรียกว่า นิกายม่าน เข้ามา เผยแพร่ในล้านนาไทย แต่ 4 สันนิษฐานว่าไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร แม้ว่าพม่าจะนำเอาพระสงฆ์เข้ามาและสร้างวัดพม่าก็ตาม ส่วนความนิยมและสิ่งที่พม่านำไปจากเชียงใหม่หรือล้านนาไทยนั้น สันนิษฐานว่าพม่าคงนำไปน้อยมาก เพราะคนพม่าที่เข้ามาปกครองล้านนาไทยนั้นมีจำนวนน้อยและอยู่ในฐานะผู้ปกครองล้านนา จึงไม่เลื่อมใสยกย่องวัฒนธรรมของคนที่ตนปกครองอยู่
วัฒนธรรมและประเพณีของชาวภาคเหนือ
             ชาวเหนือมีผิวพรรณค่อนข้างขาว ในหน้าและรูปร่างดี ประกอบกับมีนิสัยรักสงบและมีอัธยาศัยเป็นมิตร อ่อนโยนโอบอ้อมอารี ดินแดนภาคเหนือ จึงได้ชื่อว่าเป็น ถิ่นไทยงาม โดยเฉพาะสาวเหนือได้ชื่อว่าเป็นสาวสวยและอ่อนหวาน สังคมชาวเหนือนิยมอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ บ้านเรือนมักสร้างด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผา กระเบื้อง ไม้ และใบตองตึง มีไม้กาแลไขว้เป็นสัญลักษณ์อยู่ที่หน้าจั่ว
            ชาวเหนือมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง แบ่งได้ตามความแตกต่างของภูมิภาค คือ ภาคเหนือตอนบน ซึ่งภูมิประเทศประกอบ ไปด้วยทิวเขาสลับกับ ที่ราบระหว่างหุบเขาใหญ่น้อยนั้น แต่เดิมส่วนใหญ่เคยตกอยู่ในอาณาจักรล้านนาอันเก่าแก่ มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเองมีภาษาพูด ภาษาเขียน เรียกว่า "คำเมือง" นอกจากนั้น ยังได้รับอิทธิพลทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมจากพม่า ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มใน "วัฒนธรรมล้านนาไทย"ส่วนภาคเหนือตอนล่างอยู่ถัดจากแนวทิวเขา ลงมา ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ เดิมเคยอยู่ในอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอายุร่วมสมัยกับอาณาจักรล้านนา แต่ในระยะ หลังตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา อาณาจักรสุโขทัยได้รวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยาทั้งทางวัฒนธรรมและการเมืองทำให้มีวัฒนธรรมประเพณีส่วนใหญ่แบบไทยภาคกลาง
               ในแผ่นดินล้านนาไทย ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งนั้นพระเข้ากาวิละได้กวานต้นผู้คนที่อยู่ตามป่าเขาให้เข้ามา อยู่ในเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งตีเมืองต่าง ๆ เช่น รัฐไทยใหญ่ ไทยลื้อ ไทยเขิน และต้นผู้คนเหล่านั้นมา ทำให้ดินแดนภาคเหนือ มีชนพื้นเมืองเชื้อสาย ไทยใหญ่ ไทยเขิน ไทยลื้อ และพวกคนเมืองเรียกตัวเองว่าไทยยอง ซึ่งมาจากคำว่า โยนก ดินแดนตามเทือกเขาในภาคเหนือเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของชาวเขาเผ่า ต่าง ๆ เช่น เผ่ามูเซอ ใน จ.ตาก เผ่ากะเหรี่ยง เผ่าม้ง เผ่าเย้า เผ่าอีก้อ ใน จ.เชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน แต่ละเผ่ามีความเป็นอยู่แตกต่างกัน มีอาชีพทำไร่ หาของป่า ทำเครื่องประดับเงิน ทอผ้า และปักผ้าด้วยลวดลายและสีสันสลับลายสวยงาม
               อาหารของชาวภาคเหนือแบ่งได้หลายประเภท หากเป็นภาคเหนือตอนล่างจะรับประทานข้าวเจ้าและกับข้าวที่ปรุงคล้ายกับชาวภาคกลาง ถ้าเป็นไทยล้านนา จะรับประทานข้าวเหนียวกับน้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง น้ำพริกน้ำปู แนมด้วยแคบหมูและผักสด นอกจากนี้มีผักกาดจอ ลาบหมู ลาบเนื้อ แกงฮังเล แกงโฮะ จิ้นส้ม(แหนม) ไส้อั่ว ข้าวซอย ขนมจีนน้ำเงี้ยว สำหรับชาวไทยภูเขามีพริกเกลือจิ้มข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักจะรับประทานหมูและไก่เฉพาะในช่วงเทศกาล
               การแต่งกายพื้นเมืองของภาคเหนือมีลักษณะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติของกลุ่มชนคนเมือง ผู้หญิงจะสวมเสื้อคอกลมหรือคอจีนแขนยาว ห่มผ้า สไบทับ และเกล้าผม ส่วนผู้ชายสวมเสื้อคอกลมหรือคอจีน นุ่งกางเกงป้ายหน้า มีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่าและมีผ้าโพกศีรษะ บ้างก็สวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกง สามส่วนและมีผ้าคาดเอวเครื่องประดับมักจะเป็นเครื่องเงินและเครื่องทอง
              ไม่เพียงแต่ภาษาพูดที่ไพเราะนุ่มนวล หรือเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวยงาม ชาวเหนือยังมีวัฒนธรรมและประเพณีที่งดงามหลายอย่างที่ถือปฏิบัติกันมาจนถึง ทุกวันนี้ ในภาคเหนือตอนบนซึ่งอยู่ในกลุ่มของวัฒนธรรมล้านนานั้น ตามปกติมักจะมีงานประเพณีในรอบปีแทบทุกเดือน หากนับจากเดือนยี่ของ ปฏิทินทางเหนือ หรือประมาณ เดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว มีการทำบุญ "ทอดกฐิน" มีประเพณียี่เป็ง (วันเพ็ญเดือนยี่) หรืองานลอยกระทง มีการ "ตามผางผะติ้ป"(ตามประทีป) ประเพณี นี้ชาวภาคเหนือตอนล่างเรียกว่า พิธีจองเปรียงหรือลอยโขมด เป็นงานที่จัดกันจนขึ้นชื่อที่จังหวัดสุโขทัย นอกจากนี้ ยังมีประเพณีลอยกระทงสายหรือประทีปพันดวง ที่จังหวัดตากในเทศกาลเดียวกันด้วยในเดือน 3 หรือประมาณเดือนธันวาคม มีประเพณีตั้งธรรมหลวง(เทศน์มหาชาติ) และทอดผ้าป่า ในเดือนนี้จะมีการเกี่ยว "ข้าวดอ" (คือข้าวสุกก่อนข้าวปี) พอถึงข้างแรมจึงจะมีการเกี่ยว"ข้าวปี"ส่วนในเดือน 4 ซึ่งตรงกับ เดือนมกราคมจะมีการ "ตามข้ามจี่หลาม" และทำบุญขึ้นเรือนใหม่ ถัดมา ตั้งแต่เดือน 7 เดือน 8 และเดือน 9 ซึ่งเป็นฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่มีงานประเพณีต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น การเลี้ยงผี (หรือการฟ้อนผี) ปอยหลวง และไหว้พระธาตุ เนื่องจากเป็นช่วงว่างจากการทำนาทำไร่
          นอกจากนี้ยังมีประเพณีสำคัญคือ ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งทางภาคเหนือตอนบนถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ ชาวบ้านต่างพากันทำบุญตักบาตรและสาดน้ำกัน เป็นที่ สนุกสนาน รวมทั้งมีงานเทศกาลประเพณีแท้ ๆ ของท้องถิ่น เช่น ปอยหลวง ตานตุง ปอยเหลินสิบเอ็ด งานหลวงเวียงละกอน ปอยบวชลูกแก้ว ประเพณีบอกไฟขึ้นหรือ จุดบั้งไฟ ตานก๋วยสลาก ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล ประเพณีปักธง งานประเพณีนบพระเล่นเพลง และงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวง ภาคเหนือของประเทศไทยได้มีการ สั่งสมทางวัฒนธรรมมาช้านาน
          นอกจากงานเทศกาลประจำท้องถิ่นแล้ว ยังมีประเพณีความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทยเผ่าต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น ไทยยวน ไทยลื้อ ไทยใหญ่ ไทยพวน ลัวะ และพวกแมง ได้แก่ ประเพณีกินวอของชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอประเพณีบุญกำฟ้าของชาวไทยพวนหรือไทยโข่ง
          ลักษณะศิลปกรรมที่ปรากฏในภาคนี้มีให้เห็นทั่วไปตามวัดวาอารามต่าง ๆ โดยเฉพาะการก่อสร้างที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบพม่า เจดีย์ทรงกลม บนยอดดอย และหลังคาโบสถ์ทรงสูงย่อมุม เช่น วัดจอมสวรรค์และวัดสระบ่อแก้ว ที่จังหวัดแพร่ พระธาตุดอยกองมู วัดจองสูง วัดศรีบุญเรือง วัดกิตติวงศ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ยงมีพระพุทธรูปแบบเชียงแสน พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบพม่า และตุ๊กตาไม้แกะสลักที่งดงามอีกมาก
วัฒนธรรมและประเพณีของชาวภาคเหนือ ชาวเหนือมีผิวพรรณค่อนข้างขาว ในหน้าและรูปร่างดี ประกอบกับมีนิสัยรักสงบและมีอัธยาศัยเป็นมิตร อ่อนโยนโอบอ้อมอารี ดินแดนภาคเหนือ จึงได้ชื่อว่าเป็น ถิ่นไทยงาม โดยเฉพาะสาวเหนือได้ชื่อว่าเป็นสาวสวยและอ่อนหวาน สังคมชาวเหนือนิยมอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ บ้านเรือนมักสร้างด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผา กระเบื้อง ไม้ และใบตองตึง มีไม้กาแลไขว้เป็นสัญลักษณ์อยู่ที่หน้าจั่ว ชาวเหนือมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง แบ่งได้ตามความแตกต่างของภูมิภาค คือ ภาคเหนือตอนบน ซึ่งภูมิประเทศประกอบ ไปด้วยทิวเขาสลับกับ ที่ราบระหว่างหุบเขาใหญ่น้อยนั้น แต่เดิมส่วนใหญ่เคยตกอยู่ในอาณาจักรล้านนาอันเก่าแก่ มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเองมีภาษาพูด ภาษาเขียน เรียกว่า "คำเมือง" นอกจากนั้น ยังได้รับอิทธิพลทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมจากพม่า ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มใน "วัฒนธรรมล้านนาไทย"ส่วนภาคเหนือตอนล่างอยู่ถัดจากแนวทิวเขา ลงมา ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ เดิมเคยอยู่ในอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอายุร่วมสมัยกับอาณาจักรล้านนา แต่ในระยะ หลังตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา อาณาจักรสุโขทัยได้รวมเข้ากับกรุงศีรอยุธยาทั้งทางวัฒนธรรมและการเมือง ทำให้มีวัฒนธรรมประเพณีส่วนใหญ่ แบบไทยภาคกลาง ในแผ่นดินล้านนาไทย ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งนั้นพระเข้ากาวิละได้กวานต้นผู้คนที่อยู่ตามป่าเขาให้เข้ามา อยู่ในเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งตีเมืองต่าง ๆ เช่น รัฐไทยใหญ่ ไทยลื้อ ไทยเขิน และต้นผู้คนเหล่านั้นมา ทำให้ดินแดนภาคเหนือ มีชนพื้นเมืองเชื้อสาย ไทยใหญ่ ไทยเขิน ไทยลื้อ และพวกคนเมืองเรียกตัวเองว่าไทยยอง ซึ่งมาจากคำว่า โยนก ดินแดนตามเทือกเขาในภาคเหนือเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของชาวเขาเผ่า ต่าง ๆ เช่น เผ่ามูเซอ ใน จ.ตาก เผ่ากะเหรี่ยง เผ่าม้ง เผ่าเย้า เผ่าอีก้อ ใน จ.เชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน แต่ละเผ่ามีความเป็นอยู่แตกต่างกัน มีอาชีพทำไร่ หาของป่า ทำเครื่องประดับเงิน ทอผ้า และปักผ้าด้วยลวดลายและสีสันสลับลายสวยงาม อาหารของชาวภาคเหนือแบ่งได้หลายประเภท หากเป็นภาคเหนือตอนล่างจะรับประทานข้าวเจ้าและกับข้าวที่ปรุงคล้ายกับชาวภาคกลาง ถ้าเป็นไทยล้านนา จะรับประทานข้าวเหนียวกับน้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง น้ำพริกน้ำปู แนมด้วยแคบหมูและผักสด นอกจากนี้มีผักกาดจอ ลาบหมู ลาบเนื้อ แกงฮังเล แกงโฮะ จิ้นส้ม(แหนม) ไส้อั่ว ข้าวซอย ขนมจีนน้ำเงี้ยว สำหรับชาวไทยภูเขามีพริกเกลือจิ้มข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก จะรับประทานหมูและไก่เฉพาะ ในช่วงเทศกาล การแต่งกายพื้นเมืองของภาคเหนือมีลักษณะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติของกลุ่มชนคนเมือง ผู้หญิงจะสวมเสื้อคอกลมหรือคอจีนแขนยาว ห่มผ้า สไบทับ และเกล้าผม ส่วนผู้ชายสวมเสื้อคอกลมหรือคอจีน นุ่งกางเกงป้ายหน้า มีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่าและมีผ้าโพกศีรษะ บ้างก็สวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกง สามส่วน และมีผ้า คาดเอว เครื่องประดับมักจะเป็นเครื่องเงินและเครื่องทอง ไม่เพียงแต่ภาษาพูดที่ไพเราะนุ่มนวล หรือเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวยงาม ชาวเหนือยังมีวัฒนธรรมและประเพณีที่งดงามหลายอย่างที่ถือปฏิบัติกันมาจนถึง ทุกวันนี้ ในภาคเหนือตอนบนซึ่งอยู่ในกลุ่มของวัฒนธรรมล้านนานั้น ตามปกติมักจะมีงานประเพณีในรอบปีแทบทุกเดือน หากนับจากเดือนยี่ของ ปฏิทินทางเหนือ หรือประมาณ เดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว มีการทำบุญ "ทอดกฐิน" มีประเพณียี่เป็ง (วันเพ็ญเดือนยี่) หรืองานลอยกระทง มีการ "ตามผางผะติ้ป"(ตามประทีป) ประเพณี นี้ชาวภาคเหนือตอนล่างเรียกว่า พิธีจองเปรียงหรือลอยโขมด เป็นงานที่จัดกันจนขึ้นชื่อที่จังหวัดสุโขทัย นอกจากนี้ ยังมีประเพณีลอยกระทงสายหรือประทีปพันดวง ที่จังหวัดตากในเทศกาลเดียวกันด้วยในเดือน 3 หรือประมาณเดือนธันวาคม มีประเพณีตั้งธรรมหลวง(เทศน์มหาชาติ) และทอดผ้าป่า ในเดือนนี้จะมีการเกี่ยว "ข้าวดอ" (คือข้าวสุกก่อนข้าวปี) พอถึงข้างแรมจึงจะมีการเกี่ยว"ข้าวปี"ส่วนในเดือน 4 ซึ่งตรงกับ เดือนมกราคมจะมีการ "ตามข้ามจี่หลาม" และทำบุญขึ้นเรือนใหม่ ถัดมา ตั้งแต่เดือน 7 เดือน 8 และเดือน 9 ซึ่งเป็นฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่มีงานประเพณีต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น การเลี้ยงผี (หรือการฟ้อนผี) ปอยหลวง และไหว้พระธาตุ เนื่องจาก เป็นช่วงว่างจากการทำนา ทำไร่ นอกจากนี้ยังมีประเพณีสำคัญคือ ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งทางภาคเหนือตอนบนถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ ชาวบ้านต่างพากันทำบุญตักบาตรและสาดน้ำกัน เป็นที่ สนุกสนาน รวมทั้งมีงานเทศกาลประเพณีแท้ ๆ ของท้องถิ่น เช่น ปอยหลวง ตานตุง ปอยเหลินสิบเอ็ด งานหลวงเวียงละกอน ปอยบวชลูกแก้ว ประเพณีบอกไฟขึ้นหรือ จุดบั้งไฟ ตานก๋วยสลาก ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล ประเพณีปักธง งานประเพณีนบพระเล่นเพลง และงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวง ภาคเหนือของประเทศไทยได้มีการ สั่งสมทางวัฒนธรรมมาช้านาน นอกจากงานเทศกาลประจำท้องถิ่นแล้ว ยังมีประเพณีความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทยเผ่าต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น ไทยยวน ไทยลื้อ ไทยใหญ่ ไทยพวน ลัวะ และพวกแมง ได้แก่ ประเพณีกินวอของชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ ประเพณีบุญกำฟ้าของชาวไทยพวนหรือไทยโข่ง ลักษณะศิลปกรรมที่ปรากฏในภาคนี้มีให้เห็นทั่วไปตามวัดวาอารามต่าง ๆ โดยเฉพาะการก่อสร้างที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบพม่า เจดีย์ทรงกลม บนยอดดอย และหลังคาโบสถ์ทรงสูงย่อมุม เช่น วัดจอมสวรรค์และวัดสระบ่อแก้ว ที่จังหวัดแพร่ พระธาตุดอยกองมู วัดจองสูง วัดศรีบุญเรือง วัดกิตติวงศ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ยงมีพระพุทธรูปแบบเชียงแสน พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบพม่า และตุ๊กตาไม้แกะสลักที่งดงามอีกมาก
สรุป
คนภาคเหนือ ถ้ารวมทุกจังหวัดทางภาคเหนือ มีประชากรไม่ต่ำกว่า 15 ล้านคน คนเหนือมีลักษณะผิวขาว ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร คนเหนือส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา และเป็นผู้เคร่งครัดในศาสนา ชอบทำบุญและรักษาประเพณีอันดีงาม ชาวเหนือเป็นคนจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี และยินดีต้อนรับเมื่อมีแขกมาเยือน ชาวเหนือส่วนใหญ่ก็เหมือนคนไทยทั่วไป ชอบอยู่กับธรรมชาติ ชอบอยู่อย่างสงบ มีฐานะพอมีพอกิน และมีจำนวนไม่น้อยที่ฐานะยากจน มีสตรีจำนวนไม่น้อยที่ต้องไปประกอบอาชีพหญิงขายบริการ เนื่องจากปัญหาความยากจน ซึ่งรัฐบาลก็กำลังแก้ไขอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการให้การศึกษาและการพัฒนาให้คนมีงานทำ ทำให้ปัญหาต่าง ๆ ค่อย ๆ ลดลงไปตามลำดับ เหนือสิ่งอื่นใด คนไทยไม่ว่าภาคใด ๆ รวมทั้งคนเผ่าไทยที่อยู่นอกประเทศไทย ล้วนเป็นเชื้อสายเดียวกัน ย่อมมีความรัก ความผูกพันซึ่งกันและกัน ทั้งโดยสายเลือด และรากเหง้าแห่งวัฒนธรรมเดียวกัน



 บรรณนุกรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น