๑۩۞۩๑ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล๊อกของผมครับ ๑۩۞۩๑

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของ "วัฒนธรรม"

นักวิชาการวัฒนธรรมหลายท่านได้ให้คำจำกัดความ คำว่า "วัฒนธรรม" ไว้ดังนี้
1.วัฒนธรรม มีความหมายครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นแบบแผนในความคิด และการกระทำที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง มนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบกฎเกณฑ์วิธีการในการปฏิบัติ การจัดระเบียบตลอดจนความเชื่อ ความนิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการควบคุม และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ (สุพัตรา สุภาพ, 2528)
2. Taylor กล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นส่วนทั้งหมดที่ซับซ้อน ประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม กฎหมาย ประเพณี และความสามารถอื่น ๆ ที่มนุษย์ได้มาในฐานะเป็นสมาชิกของ สังคม
3. Broom และ Zelznick (1969) อธิบายว่า วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคมที่ประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อ ประเพณี และความชำนิชำนาญที่คนเราได้มาในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม
4. Bierstedt, Meehan และ Samuelson (1964) กล่าวว่า วัฒนธรรมคือ ส่วนทั้งหมดอันซับซ้อน ประกอบด้วยทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาคิดและทำในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม
5. คำว่า วัฒนธรรม เป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ธรรม เป็นต้นเหตุให้เจริญ หรือธรรมคือความเจริญมีใช้เป็นหลักฐานทางราชการ ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2543 เรียกว่า พระราช บัญญัติบำรุงวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2543 กับฉบับที่ 2 เมื่อ พุทธศักราช 2485 (สุชีพ ปุญญานุภาพ, 2500)
6. คำว่า วัฒนธรรม ตามที่กล่าวมาเป็นคำสมาสระหว่างภาษาบาลีกับสันสกฤต เพราะคำว่า วัฒน มาจาก คำบาลีว่า วฑฺฒน ซึ่งแปลว่า เจริญ งอกงาม
ส่วนคำว่า "ธรรม" มาจากภาษาสันสฤตว่า ธรฺม (ใช้ในรูปภาษาไทย-ธรรม) เขียนตาม รูปบาลีล้วน ๆ คือ "วฑฺฒนธมฺม" หมายถึง ความดี ซึ่งหากแปลตามรากศัพท์คือ สภาพ อันเป็นความเจริญงอกงาม หรือลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงาม
นอกจากนี้ คำว่า วัฒนธรรมตรง กับภาษาอังกฤษว่า culture และคำว่า culture นี้มีที่มาจากภาษาฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสเองเอามาจากภาษาละติน คือ cultura อีกต่อหนึ่ง
7. ในหนังสือ Encyclopedia of Social Science หน้า 621 ได้อธิบายคำว่า วัฒนธรรม (Culture) ว่า เป็นคำที่ใช้ในวิชามานุษยวิทยาสมัยใหม่ (Modern Anthropology) และในทางด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) หมายถึง มรดกของสังคม (Social Heritage) เป็นลักษณะเฉพาะในการดำรงชีวิต ของกลุ่มคนที่มาอยู่ร่วมกัน และได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เจริญตามยุคสมัย (อ้างใน สุพัตรา สุภาพ, 2528)
8. ส่วนความหมายของวัฒนธรรมในภาษาไทยนั้น ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 ได้ให้ความหมายไว้ดังต่อไปนี้
"วัฒนธรรม" หมายถึง ลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบ ความกลมเกลียว ก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน (เป็นการชี้ชวน เชิญชวน วิงวอนให้ประชาชนร่วมกัน ทำให้เกิดความเจริญงอกงาม ให้มีความดีงามขึ้น ไม่ใช่เพียงแต่รับมรดกกันมา แต่จะต้องรักษาของเดิมที่ดี แก้ไขดัดแปลงของเดิมที่ควรแก้ หรือดัดแปลงวางมาตรฐานความดีความงามขึ้นใหม่ แล้วส่งเสริมให้เป็น
ลักษณะที่ดีประจำชาติสืบต่อไปจนถึงอนุชนรุ่นหลัง
9. คำว่า "วัฒนธรรม" ถอดศัพท์มาจาก "culture" ของภาษาอังกฤษ ซึ่งมี รากศัพท์มาจาก "cultura" ในภาษาละติน มีความหมายว่า การเพาะปลูกหรือการปลูกฝัง อธิบายได้ว่ามนุษย์เป็นผู้ปลูกฝังอบรมบ่มนิสัยให้เกิดความเจริญงอกงาม
"วัฒนธรรม" เป็นคำสมาส คือการรวมคำสองคำเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ "วัฒนะ" ซึ่งมีความหมายทั่วไปว่า เจริญงอกงาม รุ่งเรือง "ธรรม" ซึ่งในที่นี้หมายถึง กฎ ระเบียบหรือข้อปฏิบัติ เพราะฉนั้นเมื่อพูดถึงคำว่า "วัฒนธรรม" ในความหมายทั่วไป หมายถึงความเป็นระเบียบ ความมีวินัย เช่นเมื่อพูดถึงบุคคลหนึ่งว่า "เป็นคนมีวัฒนธรรม" ก็มักหมายความว่าเป็นคนมีระเบียบวินัย เป็นต้น
"วัฒนธรรม" เป็นศัพท์ทางวิชาการ (Technical Vocabulary) ซึ่งในทรรศนะของสังคมวิทยา หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต กระสวนแห่งพฤติกรรม และบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ และความรู้ เป็นต้น
10. พระยาอนุมานราชธนได้ อธิบายคำว่า วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรนหรือผลิตขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตมนุษย์ในส่วนรวมที่ถ่ายทอดกันได้เลียนแบบกันได้ เอาอย่างกันได้
11.วัฒนธรรม คือ สิ่งอันเป็นผลผลิตของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณี กันมา
วัฒนธรรม คือการคิดเห็น ความรู้สึก ความประพฤติและกิริยาอาการ หรือการกระทำใด ๆ ของมนุษย์ ในส่วนรวม ลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกันและสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา ศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบ ประเพณี เป็นต้น
วัฒนธรรม คือ มรดกแห่งสังคมซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม (อานนท์ อาภาภิรม, 2525)
12. "วัฒนธรรม" ในความหมายทางสังคมวิทยา คือ วิถีการดำเนินชีวิตและกระสวนแห่ง พฤติกรรม และบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ ความรู้ เป็นต้น
ลักษณะที่ดีประจำชาติสืบต่อไปจนถึงอนุชนรุ่นหลัง
9. คำว่า "วัฒนธรรม" ถอดศัพท์มาจาก "culture" ของภาษาอังกฤษ ซึ่งมี รากศัพท์มาจาก "cultura" ในภาษาละติน มีความหมายว่า การเพาะปลูกหรือการปลูกฝัง อธิบายได้ว่ามนุษย์เป็นผู้ปลูกฝังอบรมบ่มนิสัยให้เกิดความเจริญงอกงาม
"วัฒนธรรม" เป็นคำสมาส คือการรวมคำสองคำเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ "วัฒนะ" ซึ่งมีความหมายทั่วไปว่า เจริญงอกงาม รุ่งเรือง "ธรรม" ซึ่งในที่นี้หมายถึง กฎ ระเบียบหรือข้อปฏิบัติ เพราะฉนั้นเมื่อพูดถึงคำว่า "วัฒนธรรม" ในความหมายทั่วไป หมายถึงความเป็นระเบียบ ความมีวินัย เช่นเมื่อพูดถึงบุคคลหนึ่งว่า "เป็นคนมีวัฒนธรรม" ก็มักหมายความว่าเป็นคนมีระเบียบวินัย เป็นต้น
"วัฒนธรรม" เป็นศัพท์ทางวิชาการ (Technical Vocabulary) ซึ่งในทรรศนะของสังคมวิทยา หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต กระสวนแห่งพฤติกรรม และบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ และความรู้ เป็นต้น
10. พระยาอนุมานราชธนได้ อธิบายคำว่า วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรนหรือผลิตขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตมนุษย์ในส่วนรวมที่ถ่ายทอดกันได้เลียนแบบกันได้ เอาอย่างกันได้
11.วัฒนธรรม คือ สิ่งอันเป็นผลผลิตของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณี กันมา
วัฒนธรรม คือการคิดเห็น ความรู้สึก ความประพฤติและกิริยาอาการ หรือการกระทำใด ๆ ของมนุษย์ ในส่วนรวม ลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกันและสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา ศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบ ประเพณี เป็นต้น
วัฒนธรรม คือ มรดกแห่งสังคมซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม (อานนท์ อาภาภิรม, 2525)
12. "วัฒนธรรม" ในความหมายทางสังคมวิทยา คือ วิถีการดำเนินชีวิตและกระสวนแห่ง พฤติกรรม และบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ ความรู้ เป็นต้น
"วัฒนธรรม" ตามความหมายของพระราชบัญญัติแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน (หน่วยศึกษานิเทศก์, กรมการฝึกหัดครู, 2520)
13. วัฒนธรรม หมายถึง ความเจริญงอกงาม ซึ่งเป็นผลจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ จำแนกออกเป็น 3 ด้าน คือ จิตใจ สังคม และวัตถุ มีการสั่งสมและ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง จนกลายเป็นแบบแผนที่สามารถ เรียนรู้และก่อให้เกิดผลิตกรรมและผลิตผล ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม อันควรค่าแก่การวิจัย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ถ่ายทอด เสริมสร้างเอตทัคคะ และแลกเปลี่ยน เพื่อสร้างดุลยภาพแห่งความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม และธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอย่างมีสุข สันติสุข และอิสรภาพ อันเป็นพื้นฐานแห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2535)
14. วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิตของคนในสังคม เป็นแบบแผนประพฤติปฏิบัติและการแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิด ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถเข้าใจ ซาบซึ้ง ยอมรับและใช้ปฏิบัติร่วมกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้น ๆ (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2535)
15. วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามแก่หมู่คณะ วิถีชีวิตของหมู่คณะ ในพระราชบัญญัติวัฒนธรรม พุทธศักราช 2485 หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน ทางวิทยาการ หมายถึง พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิต สร้างขึ้นด้วยกัน เรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525)
16. วัฒนธรรม ตามความหมายที่พระเทพเวที (ประยุทธ์ ประยุตฺโต) ให้ไว้ในการ ปฐกถาพิเศษ เนื่องใน งานฉลอง 100 ปี พระยาอนุมานราชธน เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2531 คือ วัฒนธรรมเป็นผลรวมของ การสั่งสมสร้างสรรค์ภูมิธรรมภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาของสังคมนั้น ๆ หรือกล่าวสั้น ๆ ได้ว่า วัฒนธรรมคือ ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ที่สังคมนั้นมีอยู่หรือเนื้อตัวทั้งหมดของสังคมนั่นเอง (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2532)
17. วัฒนธรรมเป็นผลงานด้านต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นโดยผ่านการคัดเลือกปรับปรุงและยึดถือสืบทอด กันมาจนถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมเป็นทั้งลักษณะนิสัยของคนหรือกลุ่มคนในชาติ ลัทธิความเชื่อ ภาษา ขนบธรรมเนียม อาหารการกิน เครื่องใช้ไม้สอย ศิลปะต่าง ๆ และการประพฤติปฏิบัติในสังคม
วัฒนธรรมเป็นมรดกสังคมที่คนในชาติรับไว้ และจะต้องวิวัฒนาการต่อไปในอนาคต
วัฒนธรรมไทยเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย เป็นรากฐานของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและของการสร้างสรรค์ความมั่นคงของชาติ
วัฒนธรรมแสดงศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ และความภูมิใจร่วมกันของคนไทย (คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ จัดทำหนังสือเกี่ยวกับประเทศไทยสำหรับเยาวชน ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ, 2525)
18. "วัฒนธรรม" เป็นคำที่เกิดขึ้นในภาษาไทย ในสมัยที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้มองเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ คำเดิมภาษาอังกฤษ คือ "Culture" ในตอนแรก "พระมหาหรุ่น" แห่งวัดมหาธาตุได้แปลคำนี้ว่า "ภูมิธรรม" แต่กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเล็งเห็นว่า คำว่า "ภูมิธรรม" มีความหมายค่อนข้างคงที่ พระองค์ท่านทรงมีความประสงค์ให้คำนี้มีความหมายในลักษณะเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงทรงแปลใหม่เป็น "วัฒนธรรม" และมีการนำมาใช้สืบต่อมาตลอดสมัยที่ประเทศไทยมีกระทรวงวัฒนธรรมและคงใช้อยู่ในปัจจุบัน (วีระ บำรุงรักษ์, ระบบการจัดวัฒนธรรมและคุณภาพมาตรฐาน, มปป.)
19. วัฒนธรรม คือ ส่วนประกอบที่สลับซับซ้อนทั้งหมดของลักษณะอันชัดเจนของจิตวิญญาณ วัตถุ สติปัญญาและอารมณ์ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นสังคมหรือหมู่คณะ วัฒนธรรมมิได้หมายถึงเฉพาะเพียงศิลปะและวรรรกรรมเท่านั้น แต่หมายถึงฐานนิยมต่าง ๆ ของชีวิต สิทธิพื้นฐานต่าง ๆ ของมนุษย์ ระบบค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อ (วีระ บำรุงรักษ์, 2525)
20. วัฒนธรรม หมายถึง ความดี ความงาม และความเจริญในชีวิตมนุษย์ ซึ่งปรากฏในรูปธรรมต่าง ๆ และได้ตกทอดมาถึงเราในปัจจุบัน หรือว่าที่เราได้ปรับปรุงและสร้างสรรค์ขึ้นในสมัยของเราเอง (สาโรช บัวศรี, 2531)
21. คำว่า Culture หมายถึง แบบอย่างการดำรงชีวิตของกลุ่ม ซึ่งสมาชิกเรียนรู้ ถ่ายทอดกันไปด้วยการสั่งสอนอบรมทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือหมายความง่าย ๆ ว่าแบบแผนชีวิตความเป็นอยู่ของชนกลุ่มหนึ่งในขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น (พัทยา สายหู, ม.ป.ป.)
22. วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิตการปฏิบัติและสิ่งของที่เป็นผลมาจากการสะสมถ่ายทอดจากกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งไปสู่รุ่นถัด ๆ ไป เพื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์ หรือเครื่องบ่งชี้ความเป็นกลุ่มชนของกลุ่ม บุคคลนั้น ๆ (โกวิท ประวาลพฤกษ์, ม.ป.ป.)
23. วัฒนธรรม หมายถึง การรวมของพฤติกรรมแห่งวิถีชีวิตของกลุ่มมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้และได้ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นหลังต่อ ๆไป ทั้งนี้โดยอาศัยสัญลักษณ์และการเรียนเป็นสื่อ (ระดม เศรษฐีธร, ม.ป.ป.)
24. วัฒนธรรม หมายความว่า ลักษณะที่แสดงถึง ความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีงามของประเทศ (พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485)
25. วัฒนธรรม เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ธรรมเป็นเหตุให้เจริญหรือธรรมคือความเจริญ (พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485)
26. วัฒนธรรม คือวิถีชีวิตซึ่งมนุษย์ทำให้เจริญขึ้น เพื่อสนองความต้องการอันเป็นมูลฐานที่มีต่อ ความดำรงอยู่รอด ความถาวรแห่งเชื้อสายและการจัดระเบียบแห่งประสบการณ์
27. วัฒนธรรม คือ
(1) การให้เจริญขึ้น โดยการศึกษาวิจัยฝึกหัด เป็นต้น
(2) การเข้าใจแจ่มแจ้ง และการทำให้ประณีตขึ้นซึ่งรสนิยมอันได้มาจากการฝึกหัดทางสติปัญญา และทางสุนทรียภาพ
(3) ขั้นที่กำหนดความหมายแห่งความเจริญก้าวหน้าในอารยธรรมหรือรูปลักษณะเช่นนั้น เช่น วัฒนธรรมกรีก วัฒนธรรมเยอรมัน เป็นต้น
28. วัฒนธรรม คือ สิ่งที่ทำให้กาย ใจของเราในส่วนรวมคือ ประเทศชาติมีความ งอกงามอยู่ดีกินดี หรือกล่าวย่อ ๆ ตามรูปคำ ได้แก่ ธรรมอันเป็นความเจริญ วัฒนธรรมหรือวิถีชีวิต หรือทางดำเนินแห่ง ชีวิตของสังคมหมู่หนึ่ง หรือประเทศหนึ่ง โดยมุ่งเฉพาะ (นอ.สมภพ ภิรมย์ รน.,ม.ป.ป.)
29. วัฒนธรรมได้แก่ สิ่งอันเป็นวิถีชีวิตของสังคมโดยส่วนรวมจะคิดเห็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร มีความ เชื่อถืออย่างไร ก็แสดงออกได้ปรากฏเป็นรูปภาษา ประเพณี กิจการงาน การเล่น การศาสนา เป็นต้น ตลอดจนเป็นสิ่งต่าง ๆ ที่คนในส่วนรวมสร้างขึ้น สิ่งอันจำเป็น แห่งวิถีชีวิตของการครองชีพ มีเรื่องปัจจัยสี่ เครื่องมือเครื่องใช้เหล่านี้ เป็นต้น
30. วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต (Way of life) หรือรูปแบบแห่งพฤติกรรม (Behavior patterns) และบรรยายผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ได้แก่ ศาสนา ปรัชญา ภาษา กฎหมาย การปกครอง ศิลปวิทยาการ เครื่องใช้ต่างๆ ฯลฯ ซึ่งมีการส่งต่อและสืบทอดติดต่อกันมา (เสาวณีย์ จิตต์หมวด, ม.ป.ป.)
31. วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือผลิตขึ้นสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีของส่วนรวม ถ่ายทอดกันไว้ เอาอย่างกันไว้ รวมทั้งผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา ตลอดจนความรู้สึก ความคิดเห็น และกิริยาอาการ หรือการกระทำใดๆ ของมนุษย์ในส่วนรวมลงรูปเป็นพิมพ์
เดียวกัน และสำแดงออกมาได้ปรากฏเป็นภาษา ศิลปะ ความเชื่อ ระเบียบประเพณี เป็นต้น (พระยาอนุมานราชธน, ม.ป.ป.)
32. วัฒนธรรม คือ เครื่องแสดงความเจริญและเอกลักษณ์ของชาติ ประชาชนในชาติที่เจริญแล้วทั้งหลาย จึงมีความภาคภูมิใจช่วยปกป้องรักษาวัฒนธรรมของชาติตน เพื่อให้เอกลักษณ์ของชาติดำรงอยู่ (สมาน แสงมะลิ, ม.ป.ป.)
33. วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิตโดยส่วนรวมของประชาชนกลุ่มหนึ่ง (A TOTAL WAY OF A PEOPLE) (สนิท สมัครการ, ม.ป.ป.)
34. วัฒนธรรม คือ วิถีดำเนินชีวิตทุกด้านของคนทั้งมวลในสังคม ซึ่งหมายถึงวิธีการกระทำสิ่งต่างๆ ทุกอย่าง ทั้งหมดทั้งสิ้น นับตั้งแต่วิธีกิน วิธีอยู่ วิธีแต่งกาย วิธีทำงาน วิธีพักผ่อน วิธีแสดงอารมณ์ วิธีสื่อความ วิธี จราจร และขนส่ง วิธีอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ตลอดจนวิธีแสดงทางความสุขทางใจและหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิตทั้ง เครื่องใช้ หรือวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อการเหล่านั้น ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไม่ว่าสิ่งของ เหล่านั้นจะเป็นสิ่งของที่นำมาจากธรรมชาติหรือคิดค้นประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ก็ตาม (เฉลียว บุรีภักดี, ม.ป.ป.)
35. วัฒนธรรม คือ แนวทางแห่งการแสดงออกวิถีชีวิตทั้งปวงซึ่งอาจเริ่มจากเอกชนหรือคณะบุคคลคิดขึ้น หรือกระทำขึ้นเป็นต้นแบบ แล้วต่อมาคณะส่วนใหญ่ของกลุ่มชนยอมรับมา สืบทอดจนกระทั่งสิ่งนั้นๆ ส่งผล ให้เกิดเป็นนิสัยในการคิด การเชื่อถือ และการกระทำของคนส่วนใหญ่แห่งกลุ่มชนนั้นๆ (สุทธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์, ม.ป.ป.)
36. วัฒนธรรม คือ สิ่งทั้งหมดที่มีลักษณะซับซ้อน ซี่งได้รวมเอาความรู้ ความเชื่อ จริยธรรม กฎหมาย สมรรถภาพ และนิสัยที่บุคคลได้ไว้ฐานะที่เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคม (Akcuff, Allen and Taylor, 1973)
37. วัฒนธรรม หมายถึง พฤติกรรมทั้งมวลของมนุษย์อันเกิดจากการเรียนรู้ และพฤติกรรมนั้นถูกกำหนด จากประเพณี (Herkovits, 1952)
38. วัฒนธรรม หมายถึง รูปแบบของพฤติกรรมอันเกิดจากการเรียนรู้ (Linton, 1945)
39. วัฒนธรรม หมายถึงวิถีชีวิตของบุคคลกลุ่มหนึ่งเป็นลักษณะรวมของพฤติกรรม พฤติกรรมเหล่านั้นเกิดจาก การเรียนรู้ และมีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง (Barnouw, 1964)
40. วัฒนธรรม หมายถึงวิถีชีวิตที่คนในสังคมดำเนินตาม (Valentine, 1968)
41. ความหมายของ"วัฒนธรรม" ตามแนวทางในการรักษาส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรม พ.ศ. 2529
วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิตมนุษย์
1. วัฒนธรรมเป็นวิถีการดำเนินชีวิตของสังคม เป็นแบบแผนการประพฤติปฏิบัติและการแสดงออกซึ่งความรู้สึก นึกคิดในสถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถแก้ไขและซาบซึ้งร่วมกัน ดังนั้น วัฒนธรรมไทย คือวิถีชีวิตที่คนไทยได้สั่งสม เลือกสรร ปรับปรุงแก้ไข จนถือว่าเป็นสิ่งดีงามเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและ ได้ใช้เป็นเครื่องมือ หรือเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในสังคม
2. วัฒนธรรม คือ มรดกแห่งสังคม ซึ่งสังคมปรับปรุงและรักษาไว้ให้เจริญ งอกงามวัฒนธรรมเกิดขึ้นจากการ ประพฤติปฏิบัติร่วมกัน เป็นแนวเดียวกันอย่างต่อเนื่องของสมาชิกในสังคมสืบทอดเป็นมรดกทางสังคมต่อกัน มาจากอดีต หรืออาจเป็นสิ่งประดิษฐ์คิดค้นสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ หรืออาจรับเอาสิ่งที่เผยแพร่มาจากสังคมอื่นๆ ทั้งหมดนี้หากสมาชิกยอมรับและยึดถือเป็นแบบแผนประพฤติปฏิบัติร่วมกัน ก็ย่อมถือว่าเป็นวัฒนธรรมของ สังคมนั้น
3. วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือสร้างขึ้น เพื่อความเจริญ งอกงาม
42. วัฒนธรรม ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขและกาลเวลา เมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ วิธีใหม่ ที่ใช้แก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่า ย่อมทำให้สมาชิกของสังคมเกิดความนิยม และในที่สุดอาจเลิกใช้วัฒนธรรมเดิม การจะรักษาวัฒนธรรมเดิมไว้ได้จึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือ พัฒนาวัฒนธรรมนั้นให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพตามยุคสมัย (อ้างใน นิคม มูสิกะคามะ, 2539)
43. วัฒนธรรม เป็นวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมเป็นแบบแผนการประพฤติปฏิบัติและการแสดงออกซึ่ง ความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถเข้าใจและซาบซึ้งร่วมกัน ดังนั้น วัฒนธรรมไทยคือ วิถีชีวิตที่คนไทยได้สั่งสม เลือกสรร ปรับปรุง แก้ไข จนถือกันว่าเป็นสิ่งดีงามเหมาะสม กับสภาพแวดล้อม และได้ใช้เป็นเครื่องมือหรือเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในสังคม
วัฒนธรรมเกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัติร่วมกัน เป็นแนวเดียวกันอย่างต่อเนื่องของสมาชิกในสังคม มีการสืบทอดเป็นมรดกทางสังคมต่อกันมาจากอดีตหรืออาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ คิดค้นสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ หรือ อาจรับเอาสิ่งที่เผยแพร่มาจากสังคมอื่น ทั้งหมดนี้หากสมาชิกยอมรับ และยึดถือเป็นแบบแผนประพฤติ ปฏิบัติร่วมกันก็ย่อมถือว่าเป็นวัฒนธรรมของสังคมนั้น
วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขและกาลเวลา เมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ วิธีใหม่ ที่ใช้แก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่า ย่อมทำให้สมาชิกของสังคมเกิดความนิยม และในที่สุดอาจเลิกใช้วัฒนธรรมเดิม การจะรักษาวัฒนธรรมเดิมไว้จึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือ พัฒนาวัฒนธรรมนั้นให้เหมาะสมมีประสิทธิภาพตามยุคสมัยวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชนในสังคมใหญ่ ย่อมมีเนื้อหา รูปแบบ บทบาท และหน้าที่แตกต่างกันไป หากว่า ความแตกต่างนั้นไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคมโดยส่วนรวมแล้ว ก็สมควรให้กลุ่มชนทั้งหลายมีโอกาส เรียนรู้วัฒนธรรมของกันและกัน สภาพความแตกต่างเช่นนี้เป็นธรรมชาติของวัฒนธรรม
วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุง หรือผลิตสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีแห่งชีวิต ของส่วนรวม วัฒนธรรม คือ วิถีแห่งชีวิตของมนุษย์ในส่วนรวม ที่ถ่ายทอดกันได้ เรียนกันได้เอาอย่างกันได้วัฒนธรรม คือ ความคิดเห็นความรู้สึกความประพฤติและกิริยาอาการหรือการกระทำใด ๆ ของมนุษย์ในส่วน รวมลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกัน และสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษาศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบประเพณี เป็นต้น
วัฒนธรรม คือ มรดกแห่งสังคมซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ, 2531)
44. วัฒนธรรม หมายถึง ความดี ความงามและความจริงในชีวิตมนุษย์ซึ่งปรากฏในรูปแบบต่าง ๆ และได้ตกทอดมา ถึงเราในสมัยปัจจุบัน หรือว่าที่เราได้ปรับปรุงและสร้างสรรค์ขึ้นในสมัยของเรา
ที่ว่าปรากฏในรูปแบบต่าง ๆ นั้น หมายถึงที่ปรากฏในรูปแบบของศิลปกรรม มนุษยศาสตร์ การช่างฝีมือ การกีฬา และนันทนาการ และคหกรรมศาสตร์ รวม 5 ประการ แต่จะตี ความหมายให้กว้างขวางออกไปกว่านี้อีก เช่น รวม เอาที่ปรากฏอยู่ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาไว้ด้วย ก็คงจะทำได้เพราะทั้งสองอย่างนี้ มีความสำคัญ อย่างมากในชีวิตมนุษย์ในสมัยปัจจุบัน (สาโรช บัวศรี, 2531)
45. วัฒนธรรม หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าว หน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชนทางวิทยาการ หมายถึง พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
โดย สรุป วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต (The way of life) ของคนในสังคม นับตั้งแต่วิธีกิน วิธีอยู่ วิธี แต่งกาย วิธีทำงาน วิธีพักผ่อน วิธีแสดงอารมณ์ วิธีสื่อความ วิธีจราจรและขนส่ง วิธีอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ วิธี แสดงความสุขทางใจ และหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิต โดยแนวทางการแสดงออกถึงวิถีชีวิตนั้นอาจเริ่มมาจาก เอกชนหรือคณะบุคคลทำเป็นตัวแบบ แล้วต่อมาคนส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติสืบต่อกันมา วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลง ไปตามเงื่อนไขและกาลเวลาเมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ วิธีใหม่ที่ใช้แก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่า ซึ่งอาจทำให้สมาชิกของสังคมเกิดความนิยม และในที่สุดอาจเลิกใช้วัฒนธรรมเดิม ดังนั้นการรักษาหรือธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมเดิมจึงต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาวัฒนธรรมให้ เหมาะสมมีประสิทธิภาพตามยุคสมัย...

ความหมายของวัฒนธรรม
มนุษย์สร้างวัฒนธรรมขึ้นมาเพื่อประโยชน์แห่งการดำรงชีวิตและการสืบทอดเผ่าพันธุ์ ในเมื่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นเรื่องที่กว้างใหญ่และมีแง่มุมต่างๆ ให้พิจารณาอย่างซับซ้อน เรื่องของวัฒนธรรมจึงสามารถมองได้หลายแง่มุมไปด้วย มีผู้ให้ความหมายคำว่า "วัฒนธรรม" ต่างๆ กัน(ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้นิยามความหมายของวัฒนธรรม ไว้ ๔ นัย)ดังนี้คือ
๑. สิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามแก่หมู่คณะ
๒. วิถีชีวิตของหมู่คณะ
๓. ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีของประชาชน
๔. พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้นด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ประทานคำอธิบายไว้ว่า
วัฒนธรรม หมายถึง ความเจริญในทางวิชาความรู้ เช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปวิทยา วรรณคดี ศาสนา ตลอดจนขนบธรรมเนียม ประเพณีและจรรยามารยาท
วัฒนธรรมเป็นมรดกแห่งสังคม มีทั้งส่วนจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เช่น กวีนิพนธ์ ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการก่อร่างสร้างความประพฤติปฎิบัติของประชาชาติ
พระยาอนุมานราชธน (๒๕๓๒: ๔๕ - ๔๘) ได้ให้บทนิยาม คำ "วัฒนธรรม"ว่า วัฒนธรรม
คือ" สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือผลิตสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีแห่งชีวิตของส่วนรวม ถ่ายทอดกันได้ เอาอย่างกันได้
คือผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา
คือความรู้สึก ความคิดเห็น ความประพฤติ และกิริยาอาการ หรือการกระทำใดๆ ของมนุษย์ในส่วนรวมลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกัน และสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา. ศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบ
ประเพณี เป็นต้น
คือมรดกแห่งสังคม ซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม เป็นผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา"
พระเทพเวที ( ประยุทธ์ ปยุตโต) ได้อธิบายความหมายของวัฒนธรรมเมื่อคราวแสดงปาฐกถาพิเศษ ๑๐๐ ปี ของพระยาอนุมานราชธน เรื่อง " วัฒนธรรมกับการพัฒนา" ไว้เป็นหลายนัยอย่างน่าพิจารณา ดังนี้
  • วัฒนธรรม เป็นผลรวมของการสั่งสมสิ่งสร้างสรรค์และภูมิธรรมปัญญา ที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาของสังคมนั้นๆ
  • วัฒนธรรม เป็นการสั่งสมประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ภูมิธรรมภูมิปัญญาทั้งหมดที่ได้ช่วยให้มนุษย์ในสังคมนั้นๆ อยู่รอด และเจริญสืบต่อได้ และเป็นอยู่อย่างที่เป็นในบัดนี้
  • วัฒนธรรม คือผลรวมของทุกสิ่งซึ่งเป็นความเจริญงอกงามที่สังคมนั้นๆ ได้ทำไว้ หรือได้สั่งสมมาจนถึงบัดนี้
วัฒนธรรม เป็นทั้งสิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามสืบมา และเป็นเนื้อตัวของความเจริญงอดกงามที่มีอยู่ ซึ่งจะเป็น
พื้นฐานของความเจริญงอกงามต่อไปตลอดจนเป็นเครื่องวัดระดับความเจริญงอกงามของสังคมนั้นๆ
ในเอกสารของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้แสดงความหมายของวัฒนธรรมไว้ต่างกัน เช่น
วัฒนธรรม เป็นวิธีการดำเนินชีวิตของสังคม เป็นแบบแผนการประพฤติและการแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถเข้าใจและชาบชึ้งร่วมกันยอมรับและใช้ปฏิบัติร่วมกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้นๆ
วัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ที่เกิดจากระบบความสัมพันธ์ระหว่ามนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ วัฒนธรรมมีทั้งสาระและรูปแบบที่เป็นระบบความคิด วิธีการ โครงสร้างของสังคม สถาบัน ตลอดจนแบบแผนและทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้น

ความหมายของสังคม


สังคม (Society) คือกลุ่มคนซึ่งมีการจัดระเบียบในการมีชีวิตอยู่ร่วมกัน มีแบบแผนการดำเนินชีวิตได้แก่วัฒนธรรมในรูปแบบเดียวกัน ทุกคนมีความรู้สึกเป็นสมาชิกของสังคม มีผู้ให้นิยามเกี่ยวกับความหมายของสังคมมนุษย์ไว้หลายท่าน ได้แก่ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท หลักศิลา กล่าวไว้ว่าสังคมคือการที่มนุษย์พวกหนึ่งมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน เช่น ประเพณี ทัศนคติ คุณธรรม จึงมาอยู่ร่วมในเขตเดียวกัน ด้วยความสัมพันธ์ความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2493 : 890) ให้ความหมายของสังคมว่า การคบค้าสมาคมกัน, หมู่คนที่เจริญแล้วร่วมคบค้าสมาคมกัน
พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตสถาน (2524: 371) ให้ความหมายไว้ว่า สังคม คือ คนจำนวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญร่วมกัน
นักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาได้นิยามคำจำกัดความของคำว่า สังคม หมายถึงคนที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีความสัมพันธ์ต่อกันทางสังคม กลุ่มมีความเป็นอิสระ และดำรงอยู่ได้อย่างถาวร ซึ่งต้องประกอบด้วยลักษณะพิเศษดังนี้
1. มีดินแดนหรืออาณาบริเวณ
2. ประกอบไปด้วยบุคคลทุกเพศทุกวัย
3. มีวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตน
3.ความหมายของสังคมมนุษย์
สังคมหมายถึง การอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะอย่างถาวรของมนุษย์ ในสังคมนั้นมีบุคคลแต่ละคนเป็นส่วนประกอบรวมตัวกันขึ้น บุคคลแต่ละคนนี้นับว่าเป็นหน่วยเล็กที่สุดที่ประกอบขึ้นเป็นสังคม เป็นหน่วยสุดท้ายที่แยกให้เล็กลงไปอีกไม่ได้แล้ว การมาอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะกลุ่มก้อนและเป็นการอยู่รวมกันอย่างถาวรได้ก็จะต้องมีสิ่งที่เป็นตัวเชื่อมโยงที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น ทำให้มนุษย์อยู่รวมกันอย่างสงบ มีระเบียบเรียบร้อย กลายเป็นสังคม (society)
สังคม หมายถึง กลุ่มคนที่อยู่รวมกัน มีความสัมพันธ์กัน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีระเบียบกฎเกณฑ์ และความเชื่อถือที่สำคัญๆ ร่วมกัน ตลอดจนมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกันเอง และระหว่างบุคคลกับกลุ่มสังคม
สังคม ..หมายถึง   กลุ่มคนที่อยู่ร่วมกัน มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ยอมรับ แบบแผน กฎเกณฑ์ของกลุ่ม ร่วมกันในการดำเนินชีวิต
- นักสังคมวิทยา มีหน้าที่ในการศึกษา และสืบสวน จุดเริ่มต้นพัฒนาการวิถีชีวิตของคนและความสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มมนุษย์ชาติ รวบรวมจัดรายการ ตีความข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับองค์การชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคม ครอบครัวและปรากฏการณ์ทางสังคมอื่น เพื่อให้นักบริหาร ผู้บัญญัติกฎหมายนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ใจการแก้ปัญหาสังคมต่อไป
คำนิยามความหมายของคำว่าสังคมตามแนวของสังคมวิทยา
นักสังคมวิทยาคนสำคัญ
1.เฮนรี เดอร์ เซ็นต์-ไซมอน (Comte Henri de Saint-Simon)นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส การศึกษาสังคมควรจะใช้วิธีการศึกแบบวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
2.ออกุสต์ กองต์ (Auguste Comte)ชีวประวัติ เกิด ปี ค.ศ. 1798 เสียชีวิต ปี ค.ศ. 1857 รวมอายุ 59 ปี เป็นนักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส คนแรกที่เป็นผู้ก่อตั้งวิชาสังคมวิทยา คนแรกที่เป็นผู้ก่อตั้งวิชาสังคมวิทยา เพราะเป็นผู้ให้กำเนิดคำว่า “Sociology”แนวคิด ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาสังคม และได้สร้างทฤษฎีพัฒนาการด้านความรู้ของมนุษย์ไว้เป็นลำดับนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific approach) มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาสังคม
3.คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx)เป็นชาวเยอรมันจบการศึกษาปริญญาเอกด้านปรัชญาจากเยอรมันเชื่อว่าสังคมจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกฎของประวัติศาสตร์ที่กำหนดโดยปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
4.เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer)เกิดในอังกฤษ ใช้วิธีการนำเอาสังคมมาเปรียบกับอินทรีย์หรือร่างกาย (Organic analogy)
1.สังคมเหมือนกับอินทรีย์หรือร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เช่น กระเพราะ หัวใจส่วนสังคมก็จะประกอบไปด้วยสถาบันต่าง ๆ เช่น ครอบครัว ศาสนา การศึกษา รัฐบาล และเศรษฐกิจ ซึ่งส่วนต่าง ๆ เหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์และพึ่งพิงอาศัยซึ่งกันและกัน
2.สังคมมีวิวัฒนาการและเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามกฎของนักชีววิทยา สังคมจึงต้องมีการปรับโครงสร้างให้สู่สภาวะดุลยภาพเหมาะกับสภาพแวดล้อมเพื่อดำรงความอยู่รอดของสังคม
3.การวิวัฒนาการของสังคมเหมือนกับอินทรีย์คือวิวัฒนาการจากโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อนไปสู่โครงสร้างที่ซับซ้อนขึ้น
4.ความเจริญที่เกิดจากการวิวัฒนาการดังกล่าวอาจถูกทำลายลงด้วยกฎธรรมชาติ (Natural laws) ที่เกิดจากกระบวนการแข่งขัน (Competition)
5.รัฐบาลจะต้องให้เสรีภาพแก่ประชาชนในกิจกรรมทั้งปวง หากรัฐเข้าไปแทรกแซงกิจการของประชาชนจะทำให้การความไม่สมบูรณ์ในการแข่งขันกันตามธรรมชาติ (Survival of the unfittest) และจะมีผลทำสังคมมีความเจริญลดลง
5.อีมีล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) ชาวฝรั่งเศสเชื่อสายยิว เป็นนักสังคมวิทยาคนแรกของฝรั่งเศสที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาสังคมวิทยาในมหาวิทยาลัยของประเทศฝรั่งเศส มองว่าความเป็นระเบียบของสังคม(Socialorder)และความเป็นสุขของประชาชนใน สังคมจะเกิดขึ้นหรือคงอยู่ต่อไปได้นั้นก็ด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม(Socialintegration) ความผาสุกของคนในแต่ละสังคมขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เกิดจากสภาพการณ์ภายนอกภายในสภาวะแวดล้อมทางสังคมที่เขาอาศัยอยู่
ลักษณะของสังคมมนุษย์
วิถีการดำเนินชีวิตในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือในอดีตเป็นยุคของสังคมเกษตรกรรม การใช้ชีวิตของคนในสังคมเป็นแบบเรียบง่าย โดยปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ครอบครัวเป็นแบบครอบครัวใหญ่ และเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของทุกคน ครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างเป็นปึกแผ่น ให้ความสำคัญกับผู้อาวุโสของชุมชน เมื่อสังคมได้ขยายตัวใหญ่ขึ้น ลักษณะของ สังคมได้เปลี่ยนเป็นสังคมอุตสาหกรรม วิถีชีวิตของคนได้เปลี่ยนจากเรียบง่ายมาเป็นชีวิตที่รีบเร่ง ให้ความสำคัญกับชีวิตการทำงาน และเครื่องจักรทุกอย่างจำกัดด้วยเวลา ยึดถือปัจเจกชนมากกว่า ส่วนรวม แบ่งสังคมออกเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภค ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวเริ่มลดน้อยลง ให้ความสำคัญของผลประโยชน์ที่พึ่งจะได้จากการทำงานมากกว่าจิตใจ การแข่งขัน มีมากขึ้น สังคมเมืองเป็นสังคมเมืองใหญ่ มีประชากรหนาแน่น ขาดแคลนสาธารณูปโภคปัญหายาเสพติด ปัญหาการจราจร ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ
เริ่มสังคมยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ บทบาทของสังคมเปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าของการพัฒนาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม ความก้าวหน้า ของการพัฒนาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี การสื่อสารโทรคมนาคมทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตี่นตัวในอันที่จะปรับตัวเพื่อรองรับสิ่งใหม่ๆ สังคมได้มีการติดต่อสื่อสารถึงกันสะดวกและรวดเร็ว ขึ้น มีการกระจายบริหารไปสู่ท้องถิ่น มีการร่วมกิจกรรมต่างๆ อย่างใกล้ชิด ช่องว่างของสังคมลดน้อยลง สังคมเมืองและชนบทจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยแต่ละชุมชนจะมีความเข้มแข็ง มากขึ้น
1.ลักษณะของสังคมมนุษย์
1.1 มีประชากรที่ดำรงชีวิตอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากพอสมควร
1.2 มีอาณาเขตหรือดินแดน
1.3 มีอิสระและอำนาจในการดำเนินการภายในสังคม
1.4 มีวัฒนธรรม
ลักษณะของสังคม
1. มีอาณาบริเวณเป็นที่รู้กันว่า มีขอบเขตแค่ไหน เพียงใด
2. อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นสมาชิกของสังคมเดียวกัน รู้ว่าใครเป็นพวก ของตนหรือใครไม่ใช่พวกของตน
3. แบ่งงานกันทำตามความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน ร่วมมือช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน
4. มีความคิด ความเชื่อ บรรทัดฐานค่านิยมคล้ายคลึงกัน เพราะได้รับการ อบรมสั่งสอนขัดเกลามาอย่างเดียวกัน
หน้าที่ของสังคมมนุษย์
1. เสริมสร้างและผลิตสมาชิกใหม่ ได้แก่ ธำรงรักษาชีวิตมนุษย์ใน สังคม ให้สืบต่อกันโดยไม่ขาดสาย และผลิตสมาชิกใหม่แทนสมาชิกเก่าที่สิ้นชีวิตไป.
2. ผลิตแจกแจงสินค้าและบริการ ได้แก่ ผลิต จ่ายแจก และบริการเครื่อง อุปโภคแก่สมาชิกของสังคม
3.อบรมสั่งสอนขัดเกลาสมาชิกของสังคมให้เรียนรู้ระเบียบของสังคม ได้แก่ สังคมจะต้องอบรมสั่งสอนและขัดเกลาสมาชิกใหม่ ให้เรียนรู้ระบบระเบียบ กฎเกณฑ์ของสมาชิกนั้น ๆ
4. ดำรงรักษาไว้ซึ่งระเบียบกฎหมายของสังคม ได้แก่ การที่สังคมต้องจัด เจ้าหน้าที่ควบคุม ดูแล ลงโทษผู้ละเมิดระเบียบกฎหมายของสังคม
ประเภทของสังคมมนุษย์
เลวิส เฮนรี่ มอร์แกน (Lewis Henry Morgan) นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ใช้ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ระบบเครือญาติ และระบบทรัพย์สิน แบ่งสังคมออกเป็น 3 สมัย โดยแต่ละสมัยจะมีขั้นของการพัฒนา 3 ขั้น คือ
1.สังคมคนป่า (Savage)
-ขั้นต้น เป็นสมัยเริ่มแรกของสังคมมนุษย์ ที่เป็นพื้นฐานของสังคมมนุษย์ในขั้นต่อไป
ขั้นกลาง เป็นขั้นที่มนุษย์รู้จักทำการประมง และมีความรู้ในการใช้ไฟ
-ขั้นปลาย เป็นขั้นที่มนุษย์รู้จักการทำถ้วยชามและทำธนูไว้สำหรับล่าสัตว์
2.สังคมอนาอารยชน (Barbarian)
-ขั้นต้น เป็นขั้นที่มนุษย์รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา
-ขั้นกลาง เป็นขั้นที่มนุษย์รู้จักเลี้ยงสัตว์ เพราะปลูกด้วยระบบชลประทาน ใช้เครื่องมือที่ทำด้วยหิน
-ขั้นปลาย เป็นขั้นที่มนุษย์รู้จักการถลุงแร่เหล็ก ใช้เครื่องมือที่ทำด้วยเหล็ก
3.สังคมอารยธรรม (Civilized) เป็นสมัยมนุษย์มีการใช้ภาษาและประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ จนถึงสมัยปัจจุบัน
ออกุสต์ กองต์ (Auguste Comte) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส ใช้ความเชื่อ (Belief) และความคิด (Ideology) ของมนุษย์มาใช้แบ่งประเภทของสังคม โดยอธิบายว่าสังคมทั้งหลายจะมีขั้นตอนของการพัฒนาความเชื่อและความคิด ตามลำดับดังนี้
1.ขั้นเทววิทยา (Theological stage) ก่อน ปี ค.ศ. 1300 เป็นต้นไป เป็นช่วงที่ความเชื่อและความคิดของมนุษย์ได้รับอิทธิพลจากศาสนา
2.ขั้นอภิปรัชญา(Metaphysical stage) อยู่ช่วงระหว่าง ปี ค.ศ.1300 - 1800 เป็นช่วงที่มนุษย์ใช้เหตุผลในการสร้างความคิด และยอมรับความเชื่อต่าง ๆ
3.ขั้นวิทยาศาสตร์(Positivistic stage) เริ่มตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1800 เป็นต้นมามนุษย์เริ่มรู้จักใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในพัฒนาความคิด หรือยอมรับความเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ส่วนที่ใช้กันทั่วไปทุกวันนี้ มีสองแนวทางด้วยกัน ดังนี้
แนวทางแรก ใช้แบบของการดำรงชีพ (Mode of subsistence) เป็นหลักในการแบ่งประเภทของสังคม โดยดูจากกิจกรรมที่มนุษย์กระทำเพื่อสนองความต้องการของตนในการดำรงชีพ ความต้องการพื้นฐานที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์ต้องการ คือ อาหาร เสื้อผ้า และที่อยู่อาศัย การแบ่งสังคมโดยใช้ความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีพของมนุษย์มีหลายรูปแบบ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงการแบ่งประเภทสังคมที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายของ เกอร์ฮาร์ด เลนสกี้ (Gerhard Lenski) ดังนี้
1.สังคมล่าสัตว์และเก็บพืชผัก (Huntering and gathering society) เป็นสังคมแบบเก่าแก่ที่สุดตั้งแต่แรกเริ่มของสังคมมนุษย์ เป็นสังคมที่มีประชากรจำนวนน้อย อาศัยอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย มีวิถีชีวิตแบบเร่ร่อนไปตามฝูงสัตว์และพื้นที่มีพืชผักอุดมสมบูรณ์ มีการใช้เทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน (Primitive technology) ซึ่งได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากวัสดุตามธรรมชาติ เช่น ไม้ หิน กระดูกสัตว์ เป็นต้น มีการแบ่งงานกันทำตามเพศและวัย สมาชิกแต่ละคนในสังคมมีบทบาทที่สำคัญต่อสังคมและเศรษฐกิจ นั่นก็คือทุกคนต้องช่วยกันหาอาหารตลอดเวลา เพราะยังไม่รู้จักวิธีเก็บอาหารไว้ใช้ได้นานๆ และเมื่อหาอาหารมาได้แล้วก็ต้องมีการแบ่งปันอาหารให้ทั่วกันทุกคน
2.สังคมกสิกรรมพืชสวน (Horticultural society) จากหลักฐานเท่าที่ค้นพบสังคมแบบนี้น่าจะเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกบริเวณที่ใกล้กับที่ราบลุ่มแม่น้ำในตะวันออกกลางเมื่อประมาณ 9,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นยุคที่มนุษย์ดำรงชีพด้วยการผลิตอาหารจำพวกพืช ควบคู่ไปกับการล่าสัตว์และเก็บพืชผัก มีการสร้างที่อยู่อาศัยแบบถาวร อยู่กันเป็นชุมชน มีการเคลื่อนย้ายชุมชนไปตามความอุดมสมบูรณ์ของที่ดินที่ใช้ในการทำกสิกรรม เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากวัสดุตามธรรมชาติมีการขัดเกลาตกแต่งมากขึ้นในสมัยนี้บางชุมชนสามารถผลิตอาหารจากการทำกสิกรรม บางชุมชนเป็นสังคมเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน (Pastoral society) ทำให้เกิดผลผลิตในการดำรงชีพของแต่ละสังคมมีความแตกต่างกัน การแลกเปลี่ยนผลผลิตก็เกิดขึ้นตามมา
3.สังคมเกษตรกรรม (Agrarian society) เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชมนุษย์สามารถประดิษฐ์ไถขึ้นใช้ได้สำเร็จ ทำให้การเพาะปลูกสามารถปรับปรุงที่ดินแปลงเดิมให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาใหม่ได้ การย้ายที่ทำกินไปยังที่ใหม่ที่มีความอุดมสมบูรณ์กว่าก็หยุดลง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนอกจากจะนำไปสู่การนำเอาพลังงานจากสัตว์เลี้ยงมาใช้ในการเกษตรกรรมแล้ว ยังทำให้เกิดการอยู่รวมกันเป็นเมือง มีการครอบครองที่ดิน และสะสมสัตว์เลี้ยงตามมา สังคมเกิดความไม่เท่าเทียมกัน มีการแบ่งชั้นของคนในสังคมตามความร่ำรวยสังคมต้องสร้างระบบควบคุมสังคมเพื่อจัดการความเป็นระเบียบเรียบร้อยของระบบเศรษฐกิจ มีการสร้างระบบเงินตรา มีองค์กรที่ทำหน้าที่ปกครองสังคม ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการประดิษฐ์สิ่งใหม่เพื่อใช้ในการดำรงชีพเกิดขึ้นมากมายหลายอย่าง
4.สังคมอุตสาหกรรม (Industrial society) ระหว่างศตวรรษที่ 18 - 19 ก็เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ มีผลทำให้รูปแบบการผลิตปัจจัยสำหรับการดำรงชีพของมนุษย์เปลี่ยนจากการใช้แรงงานสัตว์และคนไปใช้แรงงานเครื่องจักร มีการผลิตเป็นจำนวนมากเพื่อการค้า วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะผลผลิตทางการเกษตรเท่านั้น แต่รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่สามารถทำมาแปรรูปเป็นสินค้าตามที่ตลาดต้องการ เกิดชุมชนเมืองที่มีคนอยู่กันอย่างหนาแน่น ภายในชุมชนมีอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ มีสถาบันทางสังคมที่ทำหน้าที่เฉพาะด้านหลายสถาบัน มีการแบ่งแยกแรงงานตามความสามารถเฉพาะด้านไม่ระบุเฉพาะว่าเป็นของเพศใด
นอกจากจะแบ่งสังคมเป็น 3 ประเภทแล้ว ยังมีนักสังคมศาสตร์บางคนได้กำหนดประเภทสังคมเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งแบบ นั่นก็คือ สังคมหลังยุคอุตสาหกรรม(Postindustrial society)เป็นสังคมที่ใช้สำนักงานแทนโรงงานอุตสาหกรรม ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนเครื่องจักร ชุมชนเมืองเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่เรียกว่า มหานคร (Metropolitan) สังคมแบบนี้จะมุ่งไปยังระบบเศรษฐกิจที่เน้นการบริการด้านต่าง ๆ เช่น สุขภาพ การศึกษา การขนส่ง และการสื่อสาร เป็นต้นเพื่อสนับสนุนการดำรงชีพของมนุษย์ (Popenoe 1993 : 94)
การแบ่งประเภทสังคมตามแนวความคิดของ เลนสกี้ สามารถมองได้ทั้งภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และภาพของสังคมในช่วงเวลาเดียวกันแต่ต่างกันในระดับของการพัฒนาการของสังคมแต่ละพื้นที่ กล่าวคือ ทุกสังคมของประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงสังคมของตนตั้งแต่สังคมล่าสัตว์และเก็บพืชผัก จนถึงสังคมอุตสาหกรรมและสังคมหลังยุคอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันในยุคปัจจุบันในบางส่วนของสังคมประเทศที่พัฒนาแล้วก็มีทั้งสังคมล่าสัตว์และเก็บพืชผัก สังคมกสิกรรมพืชสวน สังคมเกษตรกรรม สังคมอุตสาหกรรม และสังคมหลังยุคอุตสาหกรรม
นอกจากการแบ่งสังคมตามแนวความคิดของ เลนสกี้ แล้ว มีนักสังคมวิทยาหลายคนที่ใช้ความแตกต่างของโครงสร้างสังคม (Social structure) แบ่งสังคมออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
เฟอร์ดินาน ทอยนีย์ (Ferdinand Tonnies) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน เรียกสังคมที่สมาชิกในสังคมมีความสัมพันธ์ทางสังคมแบบสนิทสนมกันแบบเพื่อนฝูงและญาติพี่น้องว่า Gemeinschaft และเรียกสังคมที่สมาชิกในสังคมมีความสัมพันธ์ทางสังคมแบบรู้จักกันอย่างเป็นทางการ รู้จักกันเฉพาะเรื่อง หรือรู้จักกันตามบทบาทและหน้าที่ของสังคมว่า Gesellschaft หรืออาจกล่าวได้ว่าสังคม Gemeinschaft ก็คือวิถีชีวิตของสังคมชนบท ที่สมาชิกทุกคนในสังคมจะรู้จักกับสมาชิกคนอื่น ๆ อย่างเป็นกันเอง และมีการติดต่อพบประสังสรรค์ต่อกันอย่างสม่ำเสมอ ส่วนสังคมแบบ Gesellschaft ก็คือสภาพของการอยู่อาศัยแบบสังคมเมืองสมัยใหม่ ที่สมาชิกแต่ละคนในสังคมจะมีวิถีชีวิตแบบเป็นส่วนตัว มีความเป็นอยู่แบบปัจเจกบุคคล (Individuality) โดยไม่สนใจพบค้าสมาคมกับคนรอบข้าง
อีมีล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส แบ่งสังคมเป็น 2 แบบ คือ แบบแรกเป็นสังคมที่มีการยึดเหนี่ยวกันแบบกลไก (Mechanical solidarity ) เป็นสังคมขนาดเล็ก ความร่วมมือและความสมานสามัคคีภายในสังคมเกิดจากการที่สมาชิกทุกคนมีบทบาทที่คล้ายคลึงกัน และมีค่านิยมเหมือนกัน แบบที่สองเป็นสังคมที่มีการยึดเหนี่ยวกันแบบอินทรีย์ (Organic solidarity) เป็นสังคมขนาดใหญ่ ความร่วมมือและความเป็นปรึกแผ่นของสังคมเกิดเฉพาะภายในกลุ่มของคนกลุ่มที่มีบทบาทเฉพาะด้านเหมือนกัน ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นของสมาชิกในสังคมจะเกิดเฉพาะกับคนที่มีหน้าที่เดียวกัน
อีไล ชินอย (Ely Chinoy) นักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน แบ่งรูปแบบของสังคมออกเป็น 2 แบบ คือ
1.สังคมแห่งชุมชน (Communal society) ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1.1การแบ่งแยกแรงงาน และบทบาทของสมาชิกในสังคมไม่มีลักษณะเฉพาะด้านสมาชิกแต่ละคนสามารถทำงานได้หลายอย่างตามบทบาทที่ตนมีอยู่ในสังคม ความแตกต่างในการทำงานเป็นไปตามบทบาทของเพศ และอายุ
1.2ครอบครัวเป็นหน่วยที่สำคัญของสังคม พื้นฐานของการจัดระเบียบทางสังคม (Social organization) มาจากระบบเครือญาติ (Kinship)
1.3ความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นแบบรู้จักกันเป็นส่วนตัวและมั่นคงถาวร การติดต่อระหว่างกันเกิดจากความพึงพอใจและเข้าใจซึ่งกันและกัน
1.4พฤติกรรม และการกระทำของคนในสังคมถูกควบคุมด้วยวิถีประชา และประเพณีของสังคม
2.สังคมแห่งสมาคม (Associational society) มีลักษณะดังนี้
2.1การแบ่งแยกแรงงาน และบทบาทของสมาชิกในสังคมมีการแบ่งแยกไปตามความชำนาญเฉพาะด้านเช่น ในงานประเภทเดียวมีการแบ่งงานออกเป็นหลายหน้าที่ แต่ละหน้าที่อาจแบ่งความรับผิดชอบตามความสามารถและระดับการศึกษา
2.2ครอบครัวมีหน้าที่ที่สำคัญต่อสังคมน้อยลง มีสถาบันอื่นเข้ามารับหน้าที่เฉพาะด้านแทน เช่น มีสถาบันการศึกษาทำหน้าอบรมสมาชิกของสังคม มีบริษัทและโรงงานอุตสาหกรรมทำหน้าที่ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
2.3ความสัมพันธ์ทางสังคม เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่รู้จักกันเป็นส่วนตัว รู้จักกันอย่างผิวเผินติดต่อกันในช่วงเวลาสั้น ๆ ตามบทบาทและหน้าที่
2.4พฤติกรรม และการกระทำของคนในสังคมถูกควบคุมโดยกฎหมาย มีบทลงโทษผู้ที่ละเมิดระเบียบของสังคมไว้อย่างชัดเจน
เมื่อพิจารณาสังคมทั้งสองประเภทที่กล่าวมา สามารถเปรียบเทียบได้ว่า สังคมแห่งชุมชน มีโครงสร้างทางสังคมเหมือนกับ สังคมก่อนยุคอุตสาหกรรม ที่ประกอบด้วย สังคมล่าสัตว์และเก็บพืชผัก สังคมกสิกรรมพืชสวน สังคมเกษตรกรรม และสังคมแห่งสมาคม มีโครงสร้างทางสังคมเหมือนกับ สังคมอุตสาหกรรม และสังคมหลังยุคอุตสาหกรรม
สภาวธรรมชาติที่มีผลต่อสังคมมนุษย์
ฮอบส์ ได้แสดงทัศนะไว้ว่า จากสภาวะที่มนุษย์ปราศจากกฎเกณฑ์คือ "สภาวะธรรมชาติ" (state of nature) ที่มนุษย์จะทำสงครามกับมนุษย์ด้วยกันเอง เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์ประการหนึ่งคือ ปรารถนาที่จะปกป้องตนเองให้อยู่รอด (self-preservation) และด้วยเหตุที่ทุกคนมีความเท่าเทียมกันทั้งทางสรีรวิทยา และความสามารถทางปัญญา เมื่อมนุษย์ต้องการจะอยู่ในโลกที่มีทรัพยากรจำกัด ผลที่ตามมาคือ มนุษย์จะกลายเป็นศัตรูกัน และพยายามทำลายล้างกัน ในสภาวะธรรมชาตินี้ ฮอบส์เสนอว่า การกระทำของมนุษย์ก็มิได้ดีหรือเลวทั้งนั้น เมื่อมนุษย์อยู่ในสภาวะที่ไม่มีหลักประกันความปลอดภัยในชีวิต ความกลัวก็คืออารมณ์ที่เกิดขึ้นในมวลมนุษย์และเป็นพลังดันให้มนุษย์แสวงหาสันติซึ่งจะรุนแรงกว่าอารมณ์ที่จะทำให้มนุษย์เข้าหาสงคราม กระนั่นก็ดีมนุษย์มิอาจจะได้มาซึ่งสันติภาพหากมนุษย์ไม่ใช้เหตุผล (Denby, 1997) รอสส์ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม ใช้เป็นมาตรวัดการกระทำใดมีจริยธรรมหรือไม่ โดยความยุติธรรมที่ได้จะเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับจากอิสรชนผู้มีเหตุผล
หน้าที่ของสังคมมนุษย์
เมื่อมนุษย์ได้มาอยู่รวมกันเป็นสังคม  มีการกระทำต่อกันทางสังคม เพื่อความอยู่รอดและความเจริญของสังคม สังคมจึงจำเป็นที่จะต้องมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.กำหนดระเบียบแบบแผน เพื่อให้คนในสังคมได้ใช้เป็นวิถีในการดำรงชีวิตร่วมกัน เช่น กำหนดว่าใครมีตำแหน่งหน้าที่อะไร มีกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่จะต้องปฏิบัติหรือห้ามไม่ให้ปฏิบัติ
2.จัดให้มีการขัดเกลาทางสังคม เพื่อให้สมาชิกในสังคมปฏิบัติตนได้ถูกต้องเป็นไปตามบรรทัดฐานของสังคม จะได้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข
3.สร้างวัฒนธรรมและพัฒนาวัฒนธรรม ของสังคมทั้งในด้านวัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรมที่ไม่ใช้วัตถุ
4.ผลิตสมาชิกใหม่ ทดแทนสมาชิกเก่าที่ตายไป เพื่อให้สังคมดำรงอยู่ต่อไป
5.ผลิต แจกแจงสินค้าและบริการ เพื่อสนองความต้องการของสมาชิกในสังคม
6.ให้บริการและจัดสวัสดิการ แก่สมาชิกในสังคม เช่น บริการทางด้านสุขภาพอนามัย บริการเกี่ยวกับสาธารณูปโภค สวัสดิการในการเลี้ยงดูผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมทั้งการรักษาพยาบาลความปลอดภัย การรักษาความสงบภายในและป้องกันภัยจากภายนอกสังคม
7.ควบคุมสังคม เพื่อให้สมาชิกในสังคมปฏิบัติตนไปตามบรรทัดฐานของสังคมและได้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข
8.จัดให้มีการติดต่อสื่อสาร   เพื่อเข้าใจตรงกัน สามารถถ่ายทอดความคิดต่อซึ่งกันและกันได้ทั้งภายในกลุ่มและกับกลุ่มสังคมอื่นซึ่งจะช่วยให้สังคมมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า
หน้าที่ของสังคมมนุษย์
1.ผลิตสมาชิกใหม่ -สถาบันครอบครัว
2.อบรม/พัฒนาสมาชิก -ครอบครัว/ศาสนา/ การศึกษา
3.ผลิตสินค้าและบริการ -สถาบันเศรษฐกิจ
4.รักษาความสงบเรียบร้อย -สถาบันการเมือง/ การปกครอง
 ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ 
1.ปฐมภูมิ -เป็นไปอย่างแนบแน่น
  -ไม่เป็นทางการ
  -มีความเป็นกันเอง
2.ทุติยภูมิ -เป็นไปตามบทบาท
  -เป็นทางการ
  -ไม่ผูกพันส่วนตัว

ประเภทของสังคมมนุษย์
แบ่งได้หลายประเภท เช่น แบ่งประเภทตามการถือ
ครองปัจจัยการผลิต ได้แก่ สังคมคอมมิวนิสต์บุพกาล  สังคมระบบทาส สังคมศักดินา สังคมทุนนิยม สังคมสังคมนิยม สังคมคอมมิวนิสต์    หากแบ่งตามระดับการพัฒนา ได้แก่ สังคมด้อยพัฒนา สังคมกำลังพัฒนา และสังคมพัฒนาแล้ว   โดยนักสังคมวิทยามักแบ่งสังคมตามลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมและนิสัยใจคอ เช่น ในอดีต เฟอร์ดินันท์ โทนิคส์ (Ferdinand Tonnics) (1855-1936) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน เรียกว่า สังคมแบบชนบท  (Gemeinschaft) และสังคมแบบชาวเมือง (Gesellschaft)  และแบ่งตามลักษณะของการทำมาหากินที่อาศัยแนวคิดเรื่องวัฒนธรรม ได้แก่ สังคมล่าสัตว์และเก็บอาหาร สังคมเลี้ยงสัตว์ สังคมทำไร่ สังคมกสิกรรม สังคมอุตสาหกรรม      เป็นต้น 
สังคมระดับเล็กลงมาก็อยู่ในความสนใจของการศึกษาวิจัยเชิงสังคมวิทยา เช่น ท้องถิ่น ชุมชน กลุ่ม  ตัวอย่างเช่น หากแบ่งประเภทกลุ่มตามการโต้ตอบระหว่างสมาชิก ได้แก่
1) กลุ่มปฐมภูมิ (Primary group) เป็นกลุ่มที่ประกอบด้วยคนจำนวนน้อยที่มีการ
กระทำโต้ตอบกันโดยตรง สมาชิกรู้จักมักคุ้นกันเป็นการส่วนตัว  และมีการติดต่อสัมพันธ์กันหลายด้าน เช่น ครอบครัว เพื่อน เพื่อนบ้าน เครือญาติ เป็นต้น
2) กลุ่มทุติยภูมิ   (Secondary group) เป็นกลุ่มที่สมาชิกไม่มีความผูกพันกันเป็น
การส่วนตัว  การติดต่อสัมพันธ์กันเป็นการแสดงบทบาทตามหน้าที่การงานเฉพาะด้าน จำนวนอาจมากหรือน้อยก็ได้ เช่น คณะกรรมการต่างๆ  องค์การ บริษัทใหญ่ๆ เป็นต้น
หากแบ่งตามและวงเขตของกลุ่ม คือ
1) กลุ่มวงใน (in-group) สมาชิกกลุ่มได้รับการยอมรับว่าเป็นคนพวกเดียวกัน มีความสัมพันธ์กับจากพื้นฐานทางธรรมชาติ เช่น ครอบครัว เครือญาติ
2) กลุ่มวงนอก (out-group) กลุ่มอื่นที่ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นพวกเดียวกัน แต่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องด้วย 
หากแบ่งประเภทกลุ่มตามการเปรียบเทียบอ้างอิงกับกลุ่มที่เราสังกัดอยู่ ได้แก่
1) กลุ่มของเรา (Our group)  คือ กลุ่มที่เราสังกัดอยู่
2) กลุ่มอ้างอิง (Reference Group) คือ กลุ่มที่เราสังกัดนำมาเป็นแบบอย่าง
หรือเปรียบเทียบอ้างอิงกับกลุ่มของเรา
2. พฤติกรรมและปรากฏการณ์ทางสังคมของมนุษย์ ทั้งระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง และระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม   รูปธรรมของการศึกษาวิจัยพฤติกรรมและปรากฏการณ์ทางสังคมมนุษย์ของการวิจัยเชิงสังคมวิทยาสามารถพิจารณาได้จากแนวทางการศึกษาทฤษฏีหลัก ๆ ของวิชาสังคมวิทยาที่นอกจากจะเน้นศึกษาประเภทของสังคมแล้ว คือ 
2.1 แนวทางการศึกษาสังคมวิจัยถึงหน้าที่ทางสังคมตามโครงสร้างทางสังคมที่มีอยู่เพื่อจัดระเบียบทางสังคมให้อยู่ด้วยกันอย่างสงบเรียบร้อยที่ได้จากทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่   
2.2 แนวทางการศึกษาวิจัยถึงความขัดแย้งทางสังคมระหว่างกันที่เป็นอยู่ที่ได้จากทฤษฎีความขัดแย้ง   
2.3 แนวทางการศึกษาวิจัยถึงการกระทำระหว่างกันและสัญญาลักษณ์ที่ใช้ในการกระทำระหว่างกันในทางสังคมโดยใช้ทฤษฏีการกระทำระหว่างกันด้วยสัญญาลักษณ์
2.4 แนวทางการศึกษาวิจัยถึงปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นโดยใช้ทฤษฎีปรากฏการณ์นิยม 
2.5 แนวทางการศึกษาวิจัยถึงการปริวรรตทางสังคมที่เกิดขึ้นโดยใช้ทฤษฎีปริวรรตสังคมหรือการแลกเปลี่ยนทางสังคม เป็นต้น