๑۩۞۩๑ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล๊อกของผมครับ ๑۩۞۩๑

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

ลักษณะเด่นของวรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนต้น


ลักษณะเด่นของวรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนต้น 


เอกสารที่เกี่ยวข้อง

เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ลักษณะเด่นของวรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนต้น ตอนกลาง ตอนปลาย และสมัยกรุงธนบุรี  ทางคณะผู้จัดทำโครงงานนี้จึงได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
เนื่องจากการแต่งวรรณคดี มักจะมีส่วนสัมพันธ์กัน ประวัติศาสตร์และสภาพสังคมในยุคสมัยนั้น ๆ เพราะฉะนั้นการอ่านวรรณคดีให้ได้คุณค่าอย่างแท้จริง จำเป็นจะต้องเรียนประวัติวรรณคดีประกอบด้วย ซึ่งต้องพิจารณาถึงประเด็นสำคัญของวรรณคดี ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑.ผู้แต่งรวมถึงชีวประวัติและผลงานสำคัญ
๒.ที่มาของเรื่อง ได้แก่ เรื่องที่เป็นต้นเค้า อาจจะได้รับอิทธิพลภายในประเทศ หรือที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ
๓.ความมุ่งหมายที่แต่ง ได้แก่ ความบันดาลใจหรือความมุ่งหมายของผู้แต่งในการแต่งวรรณคดีนั้นๆ
๔.วิวัฒนาการและความสัมพันธ์ต่อเนื่องระหว่างวรรณคดีแต่ละสมัย
๕.สภาพสังคมในสมัยที่แต่ง ซึ่งได้แก่ วัฒนธรรม สภาพสังคม และเหตุการณ์ของบ้านเมืองในระยะเวลาที่แต่ง
๖ . อิทธิพลที่วรรณคดีมีต่อสังคมทั้งในสมัยที่แต่งและในสมัยต่อมา
ดร. สิทธา พินิจภูวดล กล่าวไว้ในหนังสือความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย ถึงเรื่องการศึกษาวรรณคดีในแนวประวัติ มีดังนี้
๑ . เพื่อให้ทราบต้นกำเนิดของวรรณคดีว่า วรรณคดีแต่ละเล่มเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดในสมัยใด และวรรณคดีอื่น ๆ ในสมัยนั้นมีลักษณะที่เกิดขึ้นมาอย่างเดียวกันหรือไม่
๒ .เพื่อให้ทราบวิวัฒนาการของสติปัญญาของชาติ พลังปัญญาของบุคคลในชาติ จะแสดงออกมาในรูปของศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งวรรณกรรมด้วย คนจะแสดงพลังปัญญาในการนำเรื่องราวทางการเมือง การทหาร การรบพุ่งปราบปรามศัตรู และอื่น ๆ มาเรียบเรียงร้อยกรองเป็นบทเพลงหรือบทประพันธ์ แทนการเล่าเรื่องอย่างธรรมดาๆ คนที่มีความสามารถจะหาทางออกในแนวแปลกงดงามและมีผลดี วรรณคดีที่มีแนวต่างๆ กันเป็นผลของการแสดงพลัง ปัญญาของบุคคลในชาติ
๓. เพื่อให้รู้จักเหตุการณ์ที่มีอิทธิพลต่อวรรณคดี วรรณคดีเป็นผลงานกวี กวีในแต่ละยุคแต่ละสมัยย่อมมีชีวิตความเป็นอยู่ต่างกัน มีแนวคิดต่างกัน มีเหตุการณ์ในยุคสมัยของตนแตกต่างกันไปด้วย เช่น คนไทยในยุคสุโขทัยระยะหลังได้รับความร่วมเย็นเป็นสุขอย่างเต็มที่ เอาใจใส่ในศาสนาและวรรณกรรม ศิลาจารึกในยุคนั้นจึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนามาก เหตุการณ์ต่าง ๆ ในบ้านเมืองหรือ ในสังคมย่อมสัมพันธ์กับเรื่องราวในวรรณคดี การศึกษาประวัติวรรณคดี จะทำให้เข้าใจ ตัววรรณคดี ชัดเจนยิ่งขึ้น และเข้าใจกวีว่าเหตุใดจึงแต่งวรรณคดีชนิดนั้น เช่น เหตุใดวรรณกรรมไทยในยุคปลายสุโขทัย จึงเป็นแต่ประเภท วรรณกรรมศาสนาเท่านั้น เป็นต้น
๔. เพื่อให้รู้จักผู้แต่งวรรณคดี ว่ากวีคือใคร มีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร อะไรเป็นเหตุทำให้เขาแต่งเรื่องเช่นนั้น เช่น เราต้องการทราบประวัติชีวิตของสุนทรภู่ พยายามสืบค้นว่าสุนทรภู่มีบิดามารดา ชื่ออะไร อาชีพอะไร เกิดที่เมืองไหน ครอบครัวของสุนทรภู่มีใครบ้าง อะไรทำให้สุนทรภู่เขียนลงไปว่า อนิจจาตัวเราก็เท่านี้ ไม่มีที่พสุธาจะอาศัย…… สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้ผู้ศึกษาวรรณคดีรู้จักวรรณคดีลึกซึ้งขึ้นทั้งสิ้น ในบางยุคสมัยผู้แต่งวรรณคดีจะเป็นคนในราชสำนักเป็นส่วนมาก ดังที่ปรากฏอยู่ในยุคสุโขทัยเรื่อยลงมาจนถึงอยุธยา และต่อมาจนถึงยุคต้นรัตนโกสินทร์ ประวัติวรรณคดีจะทำให้เราเข้าใจแนวสร้างวรรณคดีของเรา นับแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงราชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วรรณคดีไทยมีลักษณะเป็นแบบฉบับที่ยึดถือสืบต่อกันมา ในรัชกาลที่ ๔ คนไทยเริ่มมีความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก วิถีชีวิตจึงเปลี่ยนไปรวมถึงลักษณะของวรรณคดีของคนไทย เริ่มค้นเปลี่ยนแลงและทวีมากขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ จนถึงปัจจุบัน

วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น 
กรุงศรีอยุธยามีอายุยาวนานถึง ๔๑๗ ปี   ช่วงเวลาที่บ้านเมืองรุ่งเรืองในด้านต่าง ๆ พอที่จะเป็นปัจจัยให้เกิดวรรณคดีอยู่เฉพาะ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาต้อนต้น บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าทั้งในด้านการปกครอง การทหาร ศาสนาและศิลปกรรมในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  ทางวรรณคดีปรากหลักฐานชัดเจนว่า แต่งมหาชาติคำหลวงเมื่อ พ.ศ.๒๐๒๕ ตรงกับรัชกาลสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถส่วนลิลิตยวนพ่าย  ก็แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์พระองค์นี้จึงอาจแต่งในรัชกาลของพระองค์ หรือภายหลังเพียงเล็กน้อย คือ รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒
          นอกจากนี้วรรณคดีสำคัญเรื่องอื่น ๆ เช่น ลิลิตพระลอ โคลงกำสรวล โคลงทวาทศมาศและโคลงหริภุญชัย เมื่อพิจารณาถึงลักษณะคำประพันธ์ และถ้อยคำที่ใช้ก็น่าเกิดสมัยร่วมหรือระยะเวลาใกล้เคียงกับมหาชาติคำหลวง และลิลิตยวนพ่ายหลังจากรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ บ้านเมืองไม่สงบสุขเนื่องจากการทำสงครามกับข้าศึกภายนอกและแตกสามัคคีภายใน เป็นเหตุให้วรรณคดีว่างเว้นไปเป็นเวลาประมาณหนึ่งศตวรรษ วรรณคดีเรื่องแรกที่ปรากฏหลักฐานหลังรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ คือ กาพย์มหาชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๑๗๐ ต่อจากนั้นประมาณ ๓๐ ปี บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองสามารถเป็นรากฐานให้เกิดวรรณคดีได้อีกระยะเวลาหนึ่ง ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
          ลักษณะวรรณคดีในสมัยอยุธยาวรรณคดีสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่มีเรื่อง เกี่ยวกับศาสนาพิธีกรรมและพระมหากษัตริย์ จึงมีเนื้อเรื่องคล้ายวรรณคดีสุโขทัยส่วนลักษณะการแต่งต่างกับวรรณคดี สุโขทัยเป็นอย่างมากวรรณคดีในสมัยนี้แต่งด้วยร้อยกรอง ทั้งสิ้นคำประพันธ์ที่ใช้เกือบทุกชนิด คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ ขาดแต่กลอนส่วนใหญ่แต่งเป็นลิลิต คำบาลี สันสกฤตและเขมรเข้ามาปะปนในคำไทยมากขึ้น
          สุจิตต์ วงษ์เทศและนิธิ เอียวศรีวงษ์ได้สรุปภาพรวมของวรรณกรรมอยุธยากล่าวคือ "วรรณกรรมสมัยตำราที่เขียนเป็นวรรณกรรมของมูลนายผูกพันอยู่กับตำรับตำราที่ เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรภายใต้อิทธิพลของต่างประเทศเช่น บาลี สันสกฤต มอญ เขมรเนื่องจากอดีตของมูลนายผูกพันกับพงศาวดาร วรรณกรรมอยุธยาจึงแวดล้อมด้วยกษัตริย์ หรือเทพเจ้าที่สัมพันธ์ทางใดทางหนึ่งกับกษัตริย์" (สุจิตต์ วงษ์เทศ, ๒๕๔๖: ๒๕๓)

สรุปวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น 
           ศาสตราจารย์คุณหญิงกุลาบ มัลลิกามาส (๒๕๔๒ : ๖๔ ๖๕) ได้สรุปรูปแบบและลักษณะของวรรณกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นได้ดังนี้
          ๑.     จำนวนวรรณคดีมี ๔ เรื่อง คือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ ลิลิตยวนพ่าย มหาชาติคำหลวง ลิลิตพระลอ(หรืออาจเป็น ๗ เรื่องโดยเข้าใจว่ามีวรรณคดีอื่นในสมัยนี้ อีก ๓ เรื่อง คือ โคลงกำสรวล โคลงทวาทศมาศ และโคลงหริภุญไชย)
          ๒.   ลักษณะการแต่งเป็นร้องกรองทั้งหมด โดยแยกเป็นลิลิต ๓ เรื่อง คำหลวง ๑ เรื่อง และนิราศ ๓ เรื่อง ซึ่งในสมัยนี้กวีจะนิยมแต่งคำประพันธ์ประเภทลิลิต (โครงกับร่าย) ร่ายดั้น และโครงดั้นมากที่สุด
          ๓.   เนื้อเรื่องแบ่งเป็น ๔ ประเภท คือบทประกอบพิธี ได้แก่โองการแช่งน้ำ บทสดุดีและเล่าเรื่อง ได้แก่ ลิลิตยวนพ่าย, ศาสนา ได้มหาชาติตำหลวง และบันเทิงได้ลิลิตพระลอ
          ๔.   ผู้แต่คือพระมหากษัตริย์ ชนชั้นสูงที่มีการศึกษา หรือบุคคลในราชสำนัก และไม่ปรากฎชื่อผู้แต่งชัดเจน
          ๕.   เป็นสมัยที่เริ่มมีวรรณคดีเพื่อการบันเทิงใจเป็นเรื่องแรกในสมัยอยุธยาตอนต้น คือ ลิลิตพระลอ

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น(พ.ศ.๑๘๙๓-๒๐๗๒)

ลักษณะวรรณคดี
วรรณคดี สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่มีเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรมและพระมหากษัตริย์จึงมีเนื้อหาคล้ายวรรณคดีสมัยสุโขทัย ส่วนลักษณะการแต่งต่างกับวรรณคดีสุโขทัยเป็นอย่างมาก วรรณคดีในสมัยนี้แต่งด้วยร้อยกรองทั้งสิ้น คำประพันธ์ที่ใช้มีเกือบทุกชนิด คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ ขาดแต่กลอน ส่วนใหญ่แต่งเป็นลิลิต คำบาลี สันสกฤต และเขมรเข้ามาปะปนในคำไทยมากขึ้นวรรณคดีสำคัญในสมัยนี้ได้แก่ ลิลิตโองการแช่งน้ำ ลิลิตยวนพ่ายและมหาชาติคำหลวง

ลิลิตโองการแช่งน้ำ
โองการ แช่งน้ำนั้น เรียกด้วยชื่อต่างๆ กัน กล่าวคือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ (ใช้ในตำราหรือแบบเรียน), โองการแช่งน้ำ, ประกาศแช่งน้ำโคลงห้า หรือ โองการแช่งน้ำพระพิพัฒนสัตยา อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ ล้วนแต่หมายถึงวรรณคดีเล่มเดียวกันนี้ สำหรับใช้อ่านเมื่อมีพิธีถือน้ำกระทำสัตย์สาบานต่อพระมหากษัตริย์เนื้อหาใน ลิลิตโองการแช่งน้ำอาจแบ่งได้เป็น 5 ส่วนด้วยกัน ดังนี้ -สดุดีเทพเจ้าทั้ง 3 องค์ ตามความเชื่อของฮินดู ได้แก่ พระผู้ประทับเหนือหลังครุฑ "สี่มือถือสังข์จักรคธาธรณี"(พระนารายณ์) พระผู้ประทับบนวัวเผือก "เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทรเปนปิ่น" (พระศิวะ) และผู้ประทับ "เหนือขุนห่าน" (พระพรหม) เป็นร่ายสามบทสั้นๆ กล่าวถึงกำเนิดโลก และสังคมมนุษย์ อัญเชิญเทพยดา พระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผีต่างๆ มาเป็นพยาน ทั้งหมดนี้พรรณนาด้วยโคลงห้า -คำสาปแช่งผู้ทรยศ คิดไม่ซื่อต่อเจ้าแผ่นดิน ให้ประสบภยันตรายนานา ทั้งหมดนี้พรรณนาด้วยโคลงห้า เป็นเนื้อหาที่ยาวที่สุดในบรรดา 5 ส่วน -คำอวยพรแก่ผู้จงรักภักดีแก่ผู้ที่มีความจงรักภักดี มีเนื้อหาสั้นๆ ถวายพระพรเจ้าแผ่นดิน เป็นร่ายสั้นๆ  เพียง        6     วรรค

ลิลิตยวนพ่าย
ลิลิต ยวนพ่ายเป็นกวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สันนิษฐานว่า แต่งในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (ประมาณ พ.ศ. ๒๐๓๔ - ๒๐๗๒) พระราชโอรสของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เนื้อเรื่องกล่าวถึงพระราชประวัติของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตั้งแต่ประสูติจนถึงการขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ณ กรุงศรีอยุธยา เล่าถึงพระปรีชาสามารถในด้านการปกครอง การทหาร และการศาสนา จุดสำคัญที่สุดของเนื้อเรื่องคือ การทำสงครามกับยวนหรือเชียงใหม่ ซึ่งยกทัพมาตีหัวเมืองทางเหนือจนตีสุโขทัยได้ แล้วยกทัพต่อลงมาจะตีพิษณุโลก และกำแพงเพชร ดังนั้น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงยกทัพไปปราบหลายครั้ง กว่าจะได้รับชัยชนะ กวีนิพนธ์ลิลิตยวนพ่าย แต่งด้วยรูปแบบคำประพันธ์ ร่ายดั้นและโคลงดั้นบาทกุญชร ใช้ภาษาที่ประณีตงดงาม ศัพท์สูงส่งวิจิตร เต็มไปด้วยชั้นเชิงสูงด้านการใช้ภาษา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึงลิลิตยวนพ่ายว่า "นับว่าเป็นหนังสือที่แต่งดีอย่างเอกในภาษา ไทยเรื่องหนึ่ง เป็นพงศาวดารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อครั้งพระเจ้าติโลกราช (กษัตริย์) เมืองเชียงใหม่ลงมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ (สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) ทรงพยายามทำสงครามจนมีชัยชนะ เอาหัวเมืองฝ่ายเหนือเหล่านั้นคืนมาได้จึงเรียกว่า”ยวนพ่าย"

มหาชาติคำหลวง
มหาชาติ คำหลวง เป็นวรรณคดีเล่มแรกที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ประชุมปราชญ์ราชบัณฑิต ให้ช่วยกันแต่งขึ้นเมื่อปีขาล พ.ศ. 2025 เป็นหนังสือที่แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ว่า ได้ทรงบำเพ็ญบารมีขั้นสูงสุด คือ ปรมัตถบารมี 10 ประการ คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี สัจจบารมี ขันติบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี และอธิษฐานบารมี โดยการบำเพ็ญบารมีที่ยากยิ่งก็คือทานบารมีนั่นเอง และเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่กล่าวเป็นทานบารมีที่ยิ่งใหญ่ เพราะเป็นการบริจาคบุตรและภรรยา ซึ่งเป็นการยากหาผู้จะทำได้ พระองค์ทรงบริจาคทานทุกอย่างด้วยและภรรยา ซึ่งเป็นการยากหาผู้จะทำได้ พระองค์ทรงบริจาคทานทุกอย่างด้วยศรัทธาแรงกล้า จึงนับเป็นวรรณคดีเกี่ยวกับพุทธศาสนาประเภทชาดก ที่แทรกศาสนธรรมคำสั่งสอนทางพุทธศาสนาไว้โดยเฉพาะ มหาชาติคำหลวง ซึ่งได้กล่าวแล้วว่า ฉบับเดิมเป็นภาษามคธแต่งเป็นปัฐยาวัตรฉันท์ มีจำนวน ๑,๐๐๐  บท  หรือพันคาถาด้วยกัน
มหาชาติคำหลวงทำให้เกิดการเทศน์มหาชาติ ซึ่งสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมได้ทรงพระราชนิพนธ์กาพย์มหาชาติเพื่อใช้เทศน์ มหาชาติจนเป็นประเพณีสืบต่อมาจนทุกวันนี้

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๐๗๒)
ลักษณะวรรณคดีวรรณคดีสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่มีเรื่องเกี่ยวกับ ศาสนา พิธีกรรมและพระมหากษัตริย์จึงมีเนื้อหาคล้ายวรรณคดีสมัยสุโขทัย ส่วนลักษณะการแต่งต่างกับวรรณคดีสุโขทัยเป็นอย่างมาก วรรณคดีในสมัยนี้แต่งด้วยร้อยกรองทั้งสิ้น คำประพันธ์ที่ใช้มีเกือบทุกชนิด คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ ขาดแต่กลอน ส่วนใหญ่แต่งเป็นลิลิต คำบาลี สันสกฤต และเขมรเข้ามาปะปนในคำไทยมากขึ้นวรรณคดีสำคัญในสมัยนี้ได้แก่

ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และความเคลื่อนไหวทางวรรณคดี
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงตั้งกรุงศรีอยุธยา ๑๘๙๓ แต่งลิลิตโองการแช่งน้ำ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตีได้เมืองเชียงชื่น ( เชลียง ) ๒๐๑๗ แต่งลิลิตยวนพ่าย
(สันนิษฐาน)
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ฉลองวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ( ที่พิษณุโลก ) ๒๐๒๕ แต่งมหาชาติคำหลวงแต่งลิลิตพระลอ     (สันนิษฐาน)
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ซึ่งเป็นพระราชโอรสขึ้นครองราชย์ ๒๐๓๑ แต่งโคลงทวาทศมาส (สันนิษฐาน)
สมเด็จ พระรามาธิบดีที่ ๒ ซึ่งเป็นพระราชอนุชาขึ้นครองราชย์ ๒๐๓๔ แต่งลิลิตยวนพ่าย (สันนิษฐาน)         แต่งโคลงกำสรวล           (สันนิษฐาน)     แต่งลิลิตพระลอ
(สันนิษฐาน) ๒๐๖๐ แต่งโคลงหริภุญชัย ( สันนิษฐาน ) ๒๐๖๑ แต่งตำราพิชัยสงคราม

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ. ๒๑๖๓ - พ.ศ. ๒๒๓๑)
กวีและวรรณคดีสำคัญสมัยอยุธยาตอนกลางสมัยนี้ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของวรรณคดี ซึ่งมีกวีและวรรณคดีเกิดขึ้นมากมาย คือ
๑ . สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ( พ.ศ. ๒๑๖๓ - ๒๑๗๑ ) หนังสือที่ทรงพระราชนิพนธ์ คือกาพย์มหาชาติ
๒ . สมเด็จพระรานายณ์มหาราช ( พ.ศ.๒๑๙๙ - ๒๒๓๑ ) หนังสือที่ทรงพระราชนิพนธ์ คือ
๒.๑.สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนกลาง
๒.๒.โคลงสุภาษิตพาลีสอนน้องทศรสอนพระรามราชสวัสดิ์
๒.๓.คำฉันท์กล่อมช้างเข้าใจกันว่าสมเด็จพระนารายณ์ฯทรงพระราชนิพนธ์
๒.๔ . เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา แต่บางคนกล่าวว่าขุนหลวงสรศักดิ์ ( พระศรีสรรเพชญ์ที่๘)ทรงพระราชนิพธ์
๓.พระมหาราชครูหนังสือที่แต่งคือ
๓.๑.สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนต้น
๓.๒.เสือโคคำฉันท์
๔.พระโหราธิบดีหนังสือที่แต่งคือ
๔.๑.จินดามณี
๔.๒.พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ
๕.พระศรีมโหสถหนังสือที่แต่งคือ
๕.๑.โคลงอักษรสามหมู่
๕.๒.โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช
๕.๓.กาพย์ห่อโคลง
๖.ศรีปราชญ์หนังสือที่แต่งคือ
๖.๑.อนิรุทธคำฉันท์
๖.๒.โคลงกำสรวล
๖.๓.โคลงเบ็ดเตล็ดอื่นๆ
๗.ขุนเทพกวีหนังสือที่แต่งคือคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง
๘.หนังสือที่ไม่ปรากฏนามผู้แต่งคือ
๘.๑.ลิลิตพระลอ
๘.๒ . โคลงนิราศหริภุญชัย

ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ความเคลื่อนไหวทางวรรณคดี
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงพระราชนิพนธ์กาพย์มหาชาติ ( พ.ศ. ๒๑๗๐ )
สมเด็จ พระเจ้าปราสาททองขึ้นครองราชย์ พระเจ้าลูกยาเธอฝ่ายในสิ้นพระชนม์ พบเนื้อในพระศพเผาไม่ไหม้ เชื่อกันว่า ต้อนคุณมีการทำลายตำราไสยศาสตร์เพราะเกรงต้องโทษ ( พ.ศ. ๒๑๗๓ ) วรรณคดีสำคัญ ๆ อาจถูกทำลายไปพร้อมกับตำราไสยศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จสวรรคต ๒๑๙๘
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชขึ้นครองราชย์ ๒๑๙๙ พระมหาราชครูแต่งเสือโคคำฉันท์
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีพระชนมายุ ครบเบญจเพส ๒๑๙๙ พระมหาราชครูแต่งสมุทรโฆษ คำฉันท์ (ตอนต้น)
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ สมุทรโฆษคำฉั นท์ ต่อจากพระมหาราชครู
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ โคลงพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระรามโคลงราชสวัสดิ์
พุทธศักราช      ๒๒๐๐ ภิกษุชาวเชียงใหม่แต่งปัญญาสชาดก
พุทธศักราช      ๒๒๐๑ พระศรีมโหสถแต่งโคลงนิราศนครสวรรค์
สมเด็จ พระนารายมหาราชเสด็จประพาส เมืองนครสวรรค์ทางชลมารค ( พ.ศ. ๒๒๐๑ ) ได้ช้างเผือกมาจากเมืองนครสวรรค์พระราชทานนามว่า เจ้าพระยาบรมคเชนทรฉันทันต์ ๒๒๐๓ ขุนเทพกวีแต่งฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง            (สันนิษฐาน)
พระศรีมหโหสถ           แต่งโคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระโหราธิบดีแต่งจินดามณี
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้รวบรวมจดหมายเหตุต่าง ๆ รวมถึงพระราชพงศาวดารของพระโหราธิบดี
พุทธศักราช      ๒๒๒๓               พระโหราธิบดีแต่งพระราชพงศาวดาร          กรุงศรีอยุธยา
ศรีปราชญ์แต่งอนุรุทธ์คำฉันท์และโคลงเบ็ดเตล็ด
พระศรีโหสถแต่งกาพย์ห่อโคลงและโคลงอักษรสาม
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ. ๒๒๗๕ - พ.ศ. ๒๓๑๐)
กวีและวรรณคดีสำคัญสมัยอยุธยาตอนปลาย
๑.พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศงานที่ทรงพระราชนิพนธ์คือโคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์
๒.เจ้าฟ้าอภัยงานที่ทรงนิพนธ์คือโคลงนิราศ
๓.เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรงานที่ทรงนิพนธ์คือ
๓.๑นันโทปนันทสูตรคำหลวง
๓.๒พระมาลัยคำหลวง
๓.๓กาพย์เห่เรือ
๓.๔กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
๓.๕กาพย์ห่อโคลงนิราศ
๓.๖บทเห่เรื่องกากีเห่สังวาสเห่ครวญและเพลงยาว
๔.เจ้าฟ้ากุณฑลงานที่ทรงนิพนธ์คือดาหลัง(อิเหนาใหญ่)
๕.เจ้าฟ้ามงกุฎงานที่ทรงนิพนธ์คืออิเหนา(อิเหนาเล็ก)
๖.พระมหานาควัดท่าทรายงานที่แต่งคือ
๖.๑.ปุณโณวาทคำฉันท์
๖.๒.โคลงนิราศพระบาท
๗ . หลวงศรีปรีชา ( เซ่ง ) งานที่แต่ง คือ กลบทสิริวิบุลกิติ

วรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี
สมัยกรุงธนบุรี บ้านเมืองอยู่ในระยะบูรณะประเทศ บ้านเมืองไม่สงบสุข นักปราชญ์ราชบัณฑิตที่มีชีวิตหลงเหลือมาจากกรุงเก่ามีไม่มากนัก นอกจากนั้นอยู่ตามหัวเมืองก็พอที่จะรวบรวมกันมาได้ช่วยราชการงานศิลป วัฒนธรรม วรรณกรรมและวรรณคดีต่างๆเท่าที่พอจะมีเวลากระทำได้ หลังจากรบทัพจับศึก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงพยายามทำนุบำรุงบ้านเมือง ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ เท่าที่จะทำได้ คำกล่าวที่ว่า "คนไทยรบพม่าไป แต่งรามเกียรติ์ไป" ก็น่าจะมีเหตุผลดี เพราะพระมหากษัตริย์ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ไว้ถึง ๔ ตอน
วรรณกรรมและวรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะคงสภาพมากกว่าที่จะเป็นงานสร้างสรรค์ให้มีความดีเด่น แนวโน้นของการแต่ง แต่งเพื่อปลุกใจให้ใจรักชาติบ้านเมืองและปลุกปลอบใจให้คลายจากความหวาดกลัว ภัยสงคราม นิยมแต่งเป็นร้อยกรอง จำนวนกวีมีน้อยเกินไป แต่ก็เหมาะสมกับเวลา วรรณคดีสมัยกรุงธนบุรีมีดังนี้
๑.รามเกียรติ์ ฉบับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มี ๔ ตอน คือ ตอนพระมงกุฎ หนุมานเกี้ยวนางวานริน ท้าวมาลีวราชว่าความ และทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกลดปลุกหอกกบิลพัทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้ากรุง ธนบุรี ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกลอนบทละคร เพื่อใช้เล่นละคร และเพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม
๒.ลิลิตเพชรมงกุฎประพันธ์โดย หลวงสรวิชิต (หน)ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทลิลิตเพื่อเล่านิทาน
๓.อิเหนาคำฉันท์ ประพันธ์โดย หลวงสรวิชิต (หน)ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทฉันท์เพื่อแต่งนิทานคำฉันท์
๔.โคลงยอพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีประพันธ์โดย นายสวน มหาดเล็กใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพเพื่อยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี
๕.นิราศกวางตุ้ง ของพระยามหานุภาพประพันธ์โดย พระยามหานุภาพใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกลอนเพลงเพื่อบันทึกการเดินทาง
๖.กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ประพันธ์โดย พระภิกษุอินท์ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทฉันท์เพื่อสั่งสอนสตรี

ลักษณะเด่นของวรรณคดีไทย   จำแนกเป็นข้อๆ ได้ ดังนี้
1. นิยมด้วยคำประพันธ์ร้อยกรองมากกว่าร้อย แก้ว
 2. เน้นความประณีตของคำและสำนวนโวหาร ภาษาที่ใช้ในวรรณคดีไม่เหมือนภาษาพูดทั่วไป คือ เป็นภาษาที่มีการเลือกใช้ถ้อยคำตกแต่งถ้อยคำให้หรูหรา
3. เน้นการแสดงความรู้สึกที่สะเทือนอารมณ์จาการรำพันความรู้สึก ตัวละครในเรื่องจะรำพันความรู้สึกต่างๆ เช่น รัก เศร้า โกรธ ฯลฯ
4. มีขนบการแต่ง กล่าวคือ มีวิธีแต่งที่นิยมปฏิบัติแนวเดียวกันมาแต่โบราณ ได้แก่ ขึ้นต้นเรื่องด้วยการกล่าวคำไหว้ครู คือ ไหว้เทวดา ไหว้พระรัตนตรัย ไหว้ครูบาอาจารย์ สรรเสริญพระเกียรติคุณของพระหมากษัตริย์ หรือกล่าวชมบ้านเมือง

วรรณคดีมีประโยชน์ดังนี้
การเรียนวรรณคดีทำให้เราได้ศึกษาสิ่งต่างๆ หลายแง่มุมจากสิ่งที่เราอ่าน ได้สัมผัสเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย   โดยผ่านทางกวี สภาพสังคม วัฒนธรรม ศึกษาลักษณะคำประพันธ์ที่กวีใช้ สิ่งเหล่านี้ทำให้เรามีประสบการณ์มากขึ้น                      
๑ . วรรณคดีช่วยให้ความรู้หลายด้านที่จะช่วยสร้างเสริมสติปัญญาให้แก่ผู้อ่าน เช่นทางด้านภาษาจะทำให้ผู้อ่านมี ความรู้ด้านความหมายของคำ การใช้ภาษาของแต่ละยุคสมัย แต่ละภาค แบบแผนของฉันทลักษณ์แต่ละประเภท ทางด้าน ประวัติศาสตร์ พงศาวดาร ตำนาน นิทาน เรื่องราวพื้นเมืองต่างๆ
๒ . วรรณคดีให้คุณค่าทางอารมณ์ต่างๆ เพราะวรรณคดีเป็นเรื่องศิลปะของการถ่ายทอดความรู้สึกและอารมณ์ด้วยวิธี ร้อยกรองถ้อยคำที่มีชีวิตจิตใจ ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตาม ได้รับรสสุนทรียภาพของวรรณคดี
๓ . วรรณคดีจะช่วยสะท้อนภาพสังคม สภาพชีวิต วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ และค่านิยมต่างๆ กวีจะสอดแทรกอยู่ในวรรณคดีทั้งสิ้น
๔ . วรรณคดีช่วยขัดเกลาจิตใจและยกระดับจิตใจของผู้อ่านให้สูงขึ้น  ช่วยจรรโลงจิตใจ  ทำให้มนุษย์เห็นตัวอย่างของ ความทุกข์ ความสุข และปัญหาชีวิตต่างๆ  ทำให้ผู้อ่านมองชีวิต ด้วยความเข้าใจมากขึ้น  และวรรณคดีจะช่วยสอดแทรกธรรม  ผ่านตัวอักษร  เป็นการสอนใจผู้อ่านด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น